อยากให้มาแชร์ความคิดกันนะคะ
ความคิดเรา กฎหมายหมายแก้ไขทั้งต้นเหตุและปลายเหตุ
- แก้ที่ต้นเหตุคือ กฎหมายที่เข้มงวดและศักดิ์สิทธิ์จะยับยั้งไม่ให้ประชาชนบางส่วนกระทำผิด เพราะเกรงกลัวผลที่จะตามมา
เราขอแบ่งแยกประชาชนในสังคมนะคะ(จากการสังเกต ไม่มีทฤษฎีหรือการวิจัยใดๆ)
1.คนดี - คนกลุ่มนี้ต่อให้ไม่มีกฎหมายพวกเขาก็ไม่ทำความผิด เกิดจากจิตสำนึก การปลูกฝังฯลฯ
2.คนกลางๆ - คนกลุ่มนี้หากเห็นช่องทาง เขาก็มี "โอกาส" ที่จะทำความผิด
เอาตัวอย่างที่เห็นกันได้ง่ายๆ เช่น กรณีขับรถฝ่าไฟแดง แอบขโมยของ ฯลฯ เราว่ากลุ่มนี้น่าจะเป็นกลุ่มที่มีเยอะที่สุดในสังคม
3.คนไม่ดี แบบ..เลวร้าย - คนกลุ่มนี้ต่อให้กฎหมายรุนแรงแค่ไหน เขาก็ยังคงทำความผิด
อันนี้เคยมีอ่านๆมาจากงานวิจัย บ้างก็บอกว่าเป็นอาการทางจิตอย่างหนึ่ง บ้างก็บอกว่ามาจากยีนความรุนแรง หรือไม่ก็ปัญหาในสังคมหรือครอบครัว
ทีนี้ว่ากันเรื่องกฎหมายต่อ
ความรุนแรงของโทษในกฎหมายมีผลต่อคนในสังคมประเภท1กับ2 และมีผลกับ3บ้าง
คือ ถ้ากฎหมายอ่อน ก็เหมือนเปิดช่องทางให้ประเภท3มากขึ้น ส่วนกลุ่ม2ก็จะทำความผิดมากขึ้น กลุ่ม1ที่ไม่ทำผิดก็ไม่แน่ วันหนึ่งเขาอาจเปลี่ยนมาเป็นแบบ2แล้วมาทำผิดได้ เพราะเรื่องของแบบอย่างที่ทำตามกัน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้อยากบอกว่าอันนี้มีเกี่ยวกับเรื่องการเมืองด้วยแหละ แต่ไม่ขอพูดเยอะ เดี๋ยวหลงประเด็น555 แต่ที่แน่ๆกฎหมายไม่สามารถปกป้องประชาชนได้ คนกลุ่ม1จึงมีโอกาสได้รับผลกระทบมากกว่ากลุ่มอื่น
แต่ถ้ากฎหมายเข้มแข็งและรุนแรง คนกลุ่ม1 ก็เหมือนเดิม ไม่ไปทำอะไรใครหรอก แต่จะทำให้คนกลุ่ม2ที่ไม่แน่ว่าจะทำถูกหรือผิด ไม่กล้าฝ่าฝืนกฎหมาย เพราะเกรงกลัวผลของกฎหมาย ส่วนกลุ่ม3ถ้ายังมีคนทำผิดอยู่อันนั้นก็ต้องดำเนินการตามกฎหมาย เพราะเขาจะไม่ได้คิดถึงผลของกฎหมาย
แม้ว่าจะไม่สามารถลดอาชญากรรมได้จนหมด แต่ที่แน่ๆประชาชนที่บริสุทธิ์ก็ได้รับการปกป้อง ไม่ใช่ใครจะคิดทำอะไรก็ทำได้
อันนี้ต้นเหตุนะ ที่เกี่ยวกับการตัดสินใจ
- ส่วนปลายเหตุ ก็ชัดเจนในตัวว่าคนที่ทำผิดต้องได้รับโทษ จะเป็นแบบอย่างสำหรับคนที่คิดจะทำผิด เรียกว่าเชือดไก่ให้ลิงดูนั่นแหละ
แต่ แต่ แต่ ... กฎหมายต่อให้มีบทลงโทษที่รุนแรง เช่น ประหาร ก็ไม่ได้แปลว่าเป็นกฎหมายที่ดี(ไม่ได้ค้านกระแส สนับสนุนเพิ่มบทลงโทษด้วย แต่ว่า..) เพราะสิ่งที่สำคัญคือ การใช้กฎหมายที่เข้มงวดและเด็ดขาด ประชาชนทุกระดับต้องได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน ไม่เช่นนั้นบทลงโทษรุนแรงจะถูกใช้กับคนที่ไม่มีทางสู้ จน การศึกษาน้อย ซึ่งเราคิดว่าประเทศไทยไม่ใช่อย่างนั้น
กฎหมายต้องมีความศักดิ์สิทธิ์ในตัว คือ ผู้ใช้กฎหมายก็ต้องยำเกรง ซึ่งหมายความถึงกระบวนการยุติธรรม
ในความคิดเรา ปัญหาเรื่องกฎหมาย ไม่ใช่แค่ ตัวกฎหมายที่มีปัญหา(บางอย่างโทษอ่อนไปจริงๆ บางอย่างแรงเกินโดยใช่เหตุ)
แต่รวมถึง ตำรวจ ขั้นตอนการไต่สวน สืบสวน ขั้นตอนการพิจารณาคดีในชั้นศาล อัยการ ลูกขุน ต่างๆ
มันคือทุกขั้นตอนในกระบวนการยุติธรรม ถ้าโปร่งใสและถูกต้องจริง เรื่องแพะมีโอกาสน้อยมาก
อยากเน้นทั้ง ตำรวจ และ ประชาชน เพราะเราหย่อนเรื่องกฎหมาย เรื่องระเบียบวินัย มากๆๆๆๆ
ถ้าเราเอาจริงแม้กระทั่งเรื่องเล็กๆ เรื่องใหญ่ๆจะเกิดน้อยลง(จากทฤษฎีกระจกแตกที่เพิ่งอ่านมาจากพันทิปน่ะค่ะ ไม่ได้ให้เครดิตเพราะจำไม่ได้ค่ะ ขอโทษด้วย) สังคมเราจะมีจิตสำนึกมากขึ้น คือการที่เราคิดว่า เฮ้ย เราทำไม่ได้นะ มันผิด โทษร้ายแรง จะมีผลต่อค่านิยม จิตสำนึกของคนในสังคม
และจิตสำนึกก็มีผลกับกฎหมายในสังคม
อีกอย่าง กฎหมายอย่างเดียวไม่พอ แต่ต้องมีการ
ปลูกฝังจิตสำนึกของคนในสังคม(โดยเฉพาะเด็กๆ)ให้เขารู้ผิดชอบชั่วดี ครอบครัวต้องมีความอบอุ่น ดูแลกัน ข้อนี้มันสำคัญมากๆเลย เรียกว่าเป็นการ
แก้ที่ต้นเหตุที่สำคัญที่สุดเลย
ขอฝากคำพูดนึงไว้นะคะ เอาเป็นเวอร์ชั่นไทยละกัน
" สิ่งที่ท่านต่อต้าน จะยังคงอยู่ " เอามาจากหนังสือ เดอะ ซีเคร็ต ค่ะ
ปล. สิ่งที่จะทำให้สิ่งนั้นอ่อนแรงจนหายไป นั่นคือ การสนับสนุนสิ่งตรงข้าม หรือ " ความดี " ค่ะ
ปล.2 ระบบยุติธรรมต้องแก้ไขให้เข้มแข็ง และต้องสนับสนุนสิ่งดีงาม
เช่นละคร สื่อต่างๆ เสนอแต่สิ่งดีๆหน่อยยย เยาวชนเอาไปเป็นแบบอย่างหมดแล้วว
ปล.3 พิมพ์ยาวไปหน่อย555 แล้วเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ คิดกันยังไงบ้างคะ?
กฎหมายมีผลกับสังคมอย่างไร? แชร์ความคิดกันหน่อย
ความคิดเรา กฎหมายหมายแก้ไขทั้งต้นเหตุและปลายเหตุ
- แก้ที่ต้นเหตุคือ กฎหมายที่เข้มงวดและศักดิ์สิทธิ์จะยับยั้งไม่ให้ประชาชนบางส่วนกระทำผิด เพราะเกรงกลัวผลที่จะตามมา
เราขอแบ่งแยกประชาชนในสังคมนะคะ(จากการสังเกต ไม่มีทฤษฎีหรือการวิจัยใดๆ)
1.คนดี - คนกลุ่มนี้ต่อให้ไม่มีกฎหมายพวกเขาก็ไม่ทำความผิด เกิดจากจิตสำนึก การปลูกฝังฯลฯ
2.คนกลางๆ - คนกลุ่มนี้หากเห็นช่องทาง เขาก็มี "โอกาส" ที่จะทำความผิด
เอาตัวอย่างที่เห็นกันได้ง่ายๆ เช่น กรณีขับรถฝ่าไฟแดง แอบขโมยของ ฯลฯ เราว่ากลุ่มนี้น่าจะเป็นกลุ่มที่มีเยอะที่สุดในสังคม
3.คนไม่ดี แบบ..เลวร้าย - คนกลุ่มนี้ต่อให้กฎหมายรุนแรงแค่ไหน เขาก็ยังคงทำความผิด
อันนี้เคยมีอ่านๆมาจากงานวิจัย บ้างก็บอกว่าเป็นอาการทางจิตอย่างหนึ่ง บ้างก็บอกว่ามาจากยีนความรุนแรง หรือไม่ก็ปัญหาในสังคมหรือครอบครัว
ทีนี้ว่ากันเรื่องกฎหมายต่อ
ความรุนแรงของโทษในกฎหมายมีผลต่อคนในสังคมประเภท1กับ2 และมีผลกับ3บ้าง
คือ ถ้ากฎหมายอ่อน ก็เหมือนเปิดช่องทางให้ประเภท3มากขึ้น ส่วนกลุ่ม2ก็จะทำความผิดมากขึ้น กลุ่ม1ที่ไม่ทำผิดก็ไม่แน่ วันหนึ่งเขาอาจเปลี่ยนมาเป็นแบบ2แล้วมาทำผิดได้ เพราะเรื่องของแบบอย่างที่ทำตามกัน [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ แต่ที่แน่ๆกฎหมายไม่สามารถปกป้องประชาชนได้ คนกลุ่ม1จึงมีโอกาสได้รับผลกระทบมากกว่ากลุ่มอื่น
แต่ถ้ากฎหมายเข้มแข็งและรุนแรง คนกลุ่ม1 ก็เหมือนเดิม ไม่ไปทำอะไรใครหรอก แต่จะทำให้คนกลุ่ม2ที่ไม่แน่ว่าจะทำถูกหรือผิด ไม่กล้าฝ่าฝืนกฎหมาย เพราะเกรงกลัวผลของกฎหมาย ส่วนกลุ่ม3ถ้ายังมีคนทำผิดอยู่อันนั้นก็ต้องดำเนินการตามกฎหมาย เพราะเขาจะไม่ได้คิดถึงผลของกฎหมาย
แม้ว่าจะไม่สามารถลดอาชญากรรมได้จนหมด แต่ที่แน่ๆประชาชนที่บริสุทธิ์ก็ได้รับการปกป้อง ไม่ใช่ใครจะคิดทำอะไรก็ทำได้
อันนี้ต้นเหตุนะ ที่เกี่ยวกับการตัดสินใจ
- ส่วนปลายเหตุ ก็ชัดเจนในตัวว่าคนที่ทำผิดต้องได้รับโทษ จะเป็นแบบอย่างสำหรับคนที่คิดจะทำผิด เรียกว่าเชือดไก่ให้ลิงดูนั่นแหละ
แต่ แต่ แต่ ... กฎหมายต่อให้มีบทลงโทษที่รุนแรง เช่น ประหาร ก็ไม่ได้แปลว่าเป็นกฎหมายที่ดี(ไม่ได้ค้านกระแส สนับสนุนเพิ่มบทลงโทษด้วย แต่ว่า..) เพราะสิ่งที่สำคัญคือ การใช้กฎหมายที่เข้มงวดและเด็ดขาด ประชาชนทุกระดับต้องได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน ไม่เช่นนั้นบทลงโทษรุนแรงจะถูกใช้กับคนที่ไม่มีทางสู้ จน การศึกษาน้อย ซึ่งเราคิดว่าประเทศไทยไม่ใช่อย่างนั้น
กฎหมายต้องมีความศักดิ์สิทธิ์ในตัว คือ ผู้ใช้กฎหมายก็ต้องยำเกรง ซึ่งหมายความถึงกระบวนการยุติธรรม
ในความคิดเรา ปัญหาเรื่องกฎหมาย ไม่ใช่แค่ ตัวกฎหมายที่มีปัญหา(บางอย่างโทษอ่อนไปจริงๆ บางอย่างแรงเกินโดยใช่เหตุ)
แต่รวมถึง ตำรวจ ขั้นตอนการไต่สวน สืบสวน ขั้นตอนการพิจารณาคดีในชั้นศาล อัยการ ลูกขุน ต่างๆ
มันคือทุกขั้นตอนในกระบวนการยุติธรรม ถ้าโปร่งใสและถูกต้องจริง เรื่องแพะมีโอกาสน้อยมาก
อยากเน้นทั้ง ตำรวจ และ ประชาชน เพราะเราหย่อนเรื่องกฎหมาย เรื่องระเบียบวินัย มากๆๆๆๆ
ถ้าเราเอาจริงแม้กระทั่งเรื่องเล็กๆ เรื่องใหญ่ๆจะเกิดน้อยลง(จากทฤษฎีกระจกแตกที่เพิ่งอ่านมาจากพันทิปน่ะค่ะ ไม่ได้ให้เครดิตเพราะจำไม่ได้ค่ะ ขอโทษด้วย) สังคมเราจะมีจิตสำนึกมากขึ้น คือการที่เราคิดว่า เฮ้ย เราทำไม่ได้นะ มันผิด โทษร้ายแรง จะมีผลต่อค่านิยม จิตสำนึกของคนในสังคม
และจิตสำนึกก็มีผลกับกฎหมายในสังคม
อีกอย่าง กฎหมายอย่างเดียวไม่พอ แต่ต้องมีการปลูกฝังจิตสำนึกของคนในสังคม(โดยเฉพาะเด็กๆ)ให้เขารู้ผิดชอบชั่วดี ครอบครัวต้องมีความอบอุ่น ดูแลกัน ข้อนี้มันสำคัญมากๆเลย เรียกว่าเป็นการแก้ที่ต้นเหตุที่สำคัญที่สุดเลย
ขอฝากคำพูดนึงไว้นะคะ เอาเป็นเวอร์ชั่นไทยละกัน
" สิ่งที่ท่านต่อต้าน จะยังคงอยู่ " เอามาจากหนังสือ เดอะ ซีเคร็ต ค่ะ
ปล. สิ่งที่จะทำให้สิ่งนั้นอ่อนแรงจนหายไป นั่นคือ การสนับสนุนสิ่งตรงข้าม หรือ " ความดี " ค่ะ
ปล.2 ระบบยุติธรรมต้องแก้ไขให้เข้มแข็ง และต้องสนับสนุนสิ่งดีงาม
เช่นละคร สื่อต่างๆ เสนอแต่สิ่งดีๆหน่อยยย เยาวชนเอาไปเป็นแบบอย่างหมดแล้วว
ปล.3 พิมพ์ยาวไปหน่อย555 แล้วเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ คิดกันยังไงบ้างคะ?