เห็นไปเต้นแร้งเต้นกาที่หน้าสถานทูตอเมริกา ที่หน้ากะหวังฟลุคว่าคสชจะช่วย
http://m.dailynews.co.th/News.do?contentId=248714
ศาลฎีกาสั่ง"เจ้าของประตูน้ำโพลีคลินิก"จ่ายหนี้-ดอกเบี้ยค้างปี 40 ผิดสัญญาจำนองตึก 76 ล้านบาท
ศาลอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาคดีหมายเลขดำ 10824/2543 ที่กองทุนรวมแกมม่าแคปปิตอล เป็นโจทก์ฟ้อง นพ.เทพ เวชวิสิฐ เจ้าของประตูน้ำโพลีคลินิก คลินิกเสริมความงาม และนางกมลรัตน์ เวชวิสิฐ ภรรยา เป็นจำเลยที่ 1-2 เรื่องยืม ค้ำประกัน จำนอง โอนสิทธิเรียกร้อง
คดีนี้โจทก์ ยื่นฟ้อง ระบุว่า เมื่อวันที่ 4 ก.ค.39 จำเลยที่ 1 ทำสัญญาวงเงินสินเชื่อ 1 ล้านบาทกับบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์เอกสิน จำกัด (มหาชน) ต่อมาวันที่ 19 ก.ค.39 จำเลยที่ 1 ก็ได้ทำสัญญากู้เงิน 12 ล้านบาท จากบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์เอกสิน โดยจำเลยยอมเสียดอกเบี้ย ในอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารกสิกรไทย เรียกเก็บลูกค้าเงินกู้ที่ดีมีกำหนดเวลาการชำระคืนเงินต้นไม่น้อยกว่า 1 ปี บวกด้วย 1.5 ต่อ ปี (เอ็ม แอล อาร์ บวก 1.5 ต่อปี ) ซึ่งหากผิดนัดยอมให้คิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย ( ธปท.) ขณะนั้นอัตราร้อยละ 21 ต่อปี โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน ซึ่งจำเลยที่ 1 นำทรัพย์สินมาจดทะเบียนจำนองเพื่อเป็นการชำระหนี้ไว้แก่ บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์เอกสิน โดยมีข้อตกลงท้ายสัญญาจำนองว่าหากบังคับจำนองได้เงินไม่พอชำระหนี้ จำเลยที่ 1 ยอมให้ยึดทรัพย์สินขายทอดตลาด
กระทั่งจำเลยที่ 1 ชำระครั้งสุดท้ายวันที่ 19 ธ.ค.40 หลังจากนั้นผิดนัด ต่อมาบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์เอกสิน จึงโอนสิทธิ์เรียกร้องทั้งหมดให้แก่โจทก์ เมื่อโจทก์ทวงหนี้จำเลยทั้งสองเพิกเฉย ซึ่งคำนวณถึงวันฟ้อง จำเลยที่ 1 ยังค้างชำระ 11,213,062.62 บาท ดอกเบี้ย 6,967,459.18 บาท โจทก์จึงขอให้บังคับจำเลยทั้งสอง ร่วมกันชำระเงิน รวม 18,181,489.43 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 21 ต่อปี ของเงินต้น 11,213,062.62 บาท นับตั้งแต่วันที่ 30 พ.ย.43 วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จสิ้น
โดยศาลชั้นต้น มีคำพิพากษา ให้จำเลยทั้งสอง ร่วมกันชำระเงิน 11,213,062.62 บาท พร้อมดอกเบี้ยบวก 3 ต่อปีของเงินต้น นับตั้งแต่วันที่ 16 ธ.ค.40 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ แต่ดอกเบี้ยถัดจากวันฟ้องต้องไม่เกินร้อยละ 21 ต่อปี หากไม่ชำระให้ยึดที่ดินโฉนดเลขที่ 104914 ต.บางเขน อ.เมืองนนทบุรี และที่ดินโฉนดเลขที่ 2902 แขวงมักกะสัน เขตดุสิต กทม.ซึ่งเป็นทรัพย์จำนองขายทอดตลาด ถ้าไม่พอให้ยึดทรัพย์อื่นของจำเลยทั้งสองมาชำระหนี้แก่โจทก์ ให้จำเลยร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ กำหนดค่าทนายความ 20,000 บาท ขณะที่ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น ต่อมาจำเลยทั้งสองยื่นฎีกา
ศาลฎีกาตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว จำเลยทั้งสองฎีกาว่าโจทก์ ไม่ใช่ผู้ชนะการประมูลเข้าทำสัญญาขายกับองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) จึงเป็นขัดต่อ พ.ร.ก.การปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ.2540 สัญญาขายจึงตกเป็นโมฆะ ซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยย่อมมีสิทธิยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยจึงไม่ชอบนั้น
ศาลฎีกา เห็นว่า จำเลยทั้งสองอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา ซึ่งศาลฎีกามีคำพิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งอนุญาตให้จำเลยทั้งสองยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา โดยศาลฎีกาวินิจฉัยแล้วว่าอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมาย อุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองจึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ใช่ปัญหาข้อกฎหมาย เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ได้ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ จำเลยทั้งสองจึงไม่มีสิทธิยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์จึงชอบแล้ว ฎีกาของจำเลยทั้งสองฟังไม่ขึ้น ส่วนที่จำเลยทั้งสองฎีกาในข้อปลีกย่อยอื่นๆ แม้ศาลฎีกาจะรับวินิจฉัยก็ไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป จึงเป็นฎีกาที่ไม่เป็นสาระ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย พิพากษายืน
ภายหลัง นพ.เทพ เจ้าของประตูน้ำโพลีคลินิก กล่าวว่า ยอมรับในคำพิพากษาของศาลฎีกา และพร้อมใช้หนี้ดังกล่าวให้แก่โจทก์ หลังพยายามต่อสู้คดีมา 14 ปี เรื่องนี้เกิดจากตนไปซื้อตึกแถว 2 คูหาที่ประตูน้ำ ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของประตูน้ำโพลีคลินิก ต่อมาเกิดวิกฤติฟองสบู่แตกเมื่อปี 2540 บริษัทหลักทรัพย์และธนาคารล้มหลายแห่ง ปรส. จึงเข้ามาบริหารสินทรัพย์และตีว่าทรัพย์สินตนเป็นหนี้เน่า จึงขายทอดตลาดให้แก่โจทก์ไป ทั้งที่เคยผ่อนชำระมาก่อนหน้าจะเกิดฟองสบู่แตกหลังจากนั้นจึงไม่ผ่อนชำระอีก
นพ.เทพ กล่าวว่า เหตุที่ไม่ยอมใช้หนี้ให้แก่โจทก์นั้น ตนเห็นว่า ปรส.มีการเลี่ยงภาษีทำให้รัฐเสียหายจึงไม่อาจขายสินทรัพย์ได้ แต่ปัญหาดังกล่าวมาทราบภายหลังศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาไปแล้ว ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าว ตนยอมรับและพร้อมจะขายทรัพย์สินที่มีเพื่อใช้หนี้พร้อมดอกเบี้ยรวม 76 ล้านบาทต่อไป
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/politics/20140709/592338/%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%95%E0%B8%B9%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B9%82%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%88%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%8976%E0%B8%A5..html
หมอที่ไปยื่นหนังสือที่สถานฑูตอเมริกา ที่แท้ก็พวกขี้โกงนั้นเอง
http://m.dailynews.co.th/News.do?contentId=248714
ศาลฎีกาสั่ง"เจ้าของประตูน้ำโพลีคลินิก"จ่ายหนี้-ดอกเบี้ยค้างปี 40 ผิดสัญญาจำนองตึก 76 ล้านบาท
ศาลอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาคดีหมายเลขดำ 10824/2543 ที่กองทุนรวมแกมม่าแคปปิตอล เป็นโจทก์ฟ้อง นพ.เทพ เวชวิสิฐ เจ้าของประตูน้ำโพลีคลินิก คลินิกเสริมความงาม และนางกมลรัตน์ เวชวิสิฐ ภรรยา เป็นจำเลยที่ 1-2 เรื่องยืม ค้ำประกัน จำนอง โอนสิทธิเรียกร้อง
คดีนี้โจทก์ ยื่นฟ้อง ระบุว่า เมื่อวันที่ 4 ก.ค.39 จำเลยที่ 1 ทำสัญญาวงเงินสินเชื่อ 1 ล้านบาทกับบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์เอกสิน จำกัด (มหาชน) ต่อมาวันที่ 19 ก.ค.39 จำเลยที่ 1 ก็ได้ทำสัญญากู้เงิน 12 ล้านบาท จากบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์เอกสิน โดยจำเลยยอมเสียดอกเบี้ย ในอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารกสิกรไทย เรียกเก็บลูกค้าเงินกู้ที่ดีมีกำหนดเวลาการชำระคืนเงินต้นไม่น้อยกว่า 1 ปี บวกด้วย 1.5 ต่อ ปี (เอ็ม แอล อาร์ บวก 1.5 ต่อปี ) ซึ่งหากผิดนัดยอมให้คิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย ( ธปท.) ขณะนั้นอัตราร้อยละ 21 ต่อปี โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน ซึ่งจำเลยที่ 1 นำทรัพย์สินมาจดทะเบียนจำนองเพื่อเป็นการชำระหนี้ไว้แก่ บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์เอกสิน โดยมีข้อตกลงท้ายสัญญาจำนองว่าหากบังคับจำนองได้เงินไม่พอชำระหนี้ จำเลยที่ 1 ยอมให้ยึดทรัพย์สินขายทอดตลาด
กระทั่งจำเลยที่ 1 ชำระครั้งสุดท้ายวันที่ 19 ธ.ค.40 หลังจากนั้นผิดนัด ต่อมาบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์เอกสิน จึงโอนสิทธิ์เรียกร้องทั้งหมดให้แก่โจทก์ เมื่อโจทก์ทวงหนี้จำเลยทั้งสองเพิกเฉย ซึ่งคำนวณถึงวันฟ้อง จำเลยที่ 1 ยังค้างชำระ 11,213,062.62 บาท ดอกเบี้ย 6,967,459.18 บาท โจทก์จึงขอให้บังคับจำเลยทั้งสอง ร่วมกันชำระเงิน รวม 18,181,489.43 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 21 ต่อปี ของเงินต้น 11,213,062.62 บาท นับตั้งแต่วันที่ 30 พ.ย.43 วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จสิ้น
โดยศาลชั้นต้น มีคำพิพากษา ให้จำเลยทั้งสอง ร่วมกันชำระเงิน 11,213,062.62 บาท พร้อมดอกเบี้ยบวก 3 ต่อปีของเงินต้น นับตั้งแต่วันที่ 16 ธ.ค.40 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ แต่ดอกเบี้ยถัดจากวันฟ้องต้องไม่เกินร้อยละ 21 ต่อปี หากไม่ชำระให้ยึดที่ดินโฉนดเลขที่ 104914 ต.บางเขน อ.เมืองนนทบุรี และที่ดินโฉนดเลขที่ 2902 แขวงมักกะสัน เขตดุสิต กทม.ซึ่งเป็นทรัพย์จำนองขายทอดตลาด ถ้าไม่พอให้ยึดทรัพย์อื่นของจำเลยทั้งสองมาชำระหนี้แก่โจทก์ ให้จำเลยร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ กำหนดค่าทนายความ 20,000 บาท ขณะที่ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น ต่อมาจำเลยทั้งสองยื่นฎีกา
ศาลฎีกาตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว จำเลยทั้งสองฎีกาว่าโจทก์ ไม่ใช่ผู้ชนะการประมูลเข้าทำสัญญาขายกับองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) จึงเป็นขัดต่อ พ.ร.ก.การปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ.2540 สัญญาขายจึงตกเป็นโมฆะ ซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยย่อมมีสิทธิยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยจึงไม่ชอบนั้น
ศาลฎีกา เห็นว่า จำเลยทั้งสองอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา ซึ่งศาลฎีกามีคำพิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งอนุญาตให้จำเลยทั้งสองยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา โดยศาลฎีกาวินิจฉัยแล้วว่าอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมาย อุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองจึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ใช่ปัญหาข้อกฎหมาย เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ได้ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ จำเลยทั้งสองจึงไม่มีสิทธิยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์จึงชอบแล้ว ฎีกาของจำเลยทั้งสองฟังไม่ขึ้น ส่วนที่จำเลยทั้งสองฎีกาในข้อปลีกย่อยอื่นๆ แม้ศาลฎีกาจะรับวินิจฉัยก็ไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป จึงเป็นฎีกาที่ไม่เป็นสาระ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย พิพากษายืน
ภายหลัง นพ.เทพ เจ้าของประตูน้ำโพลีคลินิก กล่าวว่า ยอมรับในคำพิพากษาของศาลฎีกา และพร้อมใช้หนี้ดังกล่าวให้แก่โจทก์ หลังพยายามต่อสู้คดีมา 14 ปี เรื่องนี้เกิดจากตนไปซื้อตึกแถว 2 คูหาที่ประตูน้ำ ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของประตูน้ำโพลีคลินิก ต่อมาเกิดวิกฤติฟองสบู่แตกเมื่อปี 2540 บริษัทหลักทรัพย์และธนาคารล้มหลายแห่ง ปรส. จึงเข้ามาบริหารสินทรัพย์และตีว่าทรัพย์สินตนเป็นหนี้เน่า จึงขายทอดตลาดให้แก่โจทก์ไป ทั้งที่เคยผ่อนชำระมาก่อนหน้าจะเกิดฟองสบู่แตกหลังจากนั้นจึงไม่ผ่อนชำระอีก
นพ.เทพ กล่าวว่า เหตุที่ไม่ยอมใช้หนี้ให้แก่โจทก์นั้น ตนเห็นว่า ปรส.มีการเลี่ยงภาษีทำให้รัฐเสียหายจึงไม่อาจขายสินทรัพย์ได้ แต่ปัญหาดังกล่าวมาทราบภายหลังศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาไปแล้ว ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าว ตนยอมรับและพร้อมจะขายทรัพย์สินที่มีเพื่อใช้หนี้พร้อมดอกเบี้ยรวม 76 ล้านบาทต่อไป
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/politics/20140709/592338/%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%95%E0%B8%B9%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B9%82%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%88%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%8976%E0%B8%A5..html