กิจการรถไฟไทยริเริ่มมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5
จากข่าวสะเทือนขวัญ ฆ่าข่มขืนเด็กหญิงวัย 13 ปี บนรถไฟขบวน 174 สุราษฎร์ธานี-กรุงเทพฯ ซึ่งผู้ต้องหาคือพนักงานบนขบวนรถไฟ ชี้ให้เห็นว่าบนขบวนรถไฟไทยนั้นไม่มีความปลอดภัยอยู่เลย และทำให้ภาพลักษณ์ของรถไฟไทยยิ่งติดลบเข้าไปอีก
ที่ผ่านมา แม้ไม่มีข่าวอาชญากรรมสะเทือนขวัญชวนสลดใจที่เกิดขึ้นบนรถไฟ ชื่อเสียของรถไฟไทยก็มีมากกว่าชื่อเสียงอยู่แล้ว จนมีคำกล่าวเสียดสีว่า รถไฟไทยที่ได้ถือกำเนิดในสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2429 ที่มีความเจริญ(ในสมัยนั้น)อยู่ในระดับแถวหน้าของเอเชีย เทียบเคียงกับญี่ปุ่น มาวันนี้ผ่านมา 100 กว่าปี รถไฟไทยนอกจากจะไม่พัฒนาแล้ว ยังมีแต่ถอยหลังเข้าคลองเสื่อมทรุดลงไปทุกวัน
เหตุสะเทือนขวัญบนรถไฟยิ่งทำให้ภาพลักษณ์การรถไฟฯ ยิ่งติดลบ
และนี่ก็คือ 10 สิ่งแย่ๆ จากการรถไฟไทยที่เราได้ประมวลจากข้อเท็จจริงที่ผ่านมาไว้ดังนี้
1. ความไม่ปลอดภัยของผู้โดยสารรถไฟไทย ไม่เพียงแต่คดีของเด็กหญิงวัย 13 ปี ที่กำลังเป็นข่าวดังเท่านั้น แต่ที่ผ่านมา ก็มีข่าวผู้โดยสารถูกทำอนาจารบนรถไฟ ข้าวของหายหรือถูกขโมยบนรถไฟ มีทั้งที่เป็นข่าวและไม่เป็นข่าว
2. เจ้าหน้าดูแลความปลอดภัยไม่เพียงพอ เรื่องนี้ ประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยเองก็เคยออกมากล่าวว่า รถไฟบางขบวนเท่านั้นที่จะมีตำรวจรถไฟประจำอยู่ เนื่องจากบุคลากรไม่เพียงพอ
3. มารยาทของพนักงานบนรถไฟบางคน เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ได้ยินและถูกร้องเรียนกันเป็นประจำ
4. สภาพของขบวนรถไฟและรางรถไฟที่ไม่ปลอดภัย สภาพขบวนรถที่เก่าเป็นภาพชินตาของรถไฟไทย ประตูรถชำรุดบ้าง หน้าต่างชำรุดบ้าง เครื่องปัดน้ำฝนหรืออุปกรณ์ต่างๆ ชำรุดบ้างเป็นเรื่องปกติ แต่ความไม่สมประกอบบางอย่างก็ก่อให้เกิดอันตรายกับผู้โดยสาร ดูจากสถิติการเกิดเหตุรถไฟตกรางตั้งแต่ปี 2553 พบว่า มีเหตุรถไฟตกราง 102 ครั้ง มีผู้บาดเจ็บ 107 ราย เสียชีวิต 10 ราย ปี 2554 มีเหตุรถไฟตกราง 113 ครั้ง มีผู้บาดเจ็บ 54 ราย เสียชีวิต 4 ราย ปี 2555 มีเหตุรถไฟตกราง 89 ครั้ง มีผู้บาดเจ็บ 5 คน ไม่มีผู้เสียชีวิต ปี 2556 เดือนมกราคมถึงเดือนกันยายน มีเหตุรถไฟตกรางแล้ว 117 ครั้งมีผู้บาดเจ็บ 42ราย เสียชีวิต 3 ราย ซึ่งสาเหตุก็มีต่างๆ นานา ทั้งสภาพทางที่ทรุดโทรม ขบวนรถ รางรถไฟและไม้หมอนอยู่ในสภาพเก่า พนักงานประมาทเลินเล่อ ฯลฯ
5.ความล่าช้า ไม่ตรงต่อเวลาของรถไฟไทย “ถึงก็ช่าง ไม่ถึงก็ช่าง” เป็นคำขวัญประจำรถไฟไทยก็ว่าได้ กำหนดเดินรถไฟน้อยครั้งที่จะถึงหรือออกได้ตรงตามเวลา สายเป็นนาทีถือว่าธรรมดามากๆ เพราะเราว่ากันเป็นชั่วโมง และเมื่อขบวนหนึ่งล่าช้า ขบวนอื่นที่ต้องรอหลีกหรือสับรางในบางช่วงก็ต้องล่าช้าตาม ดังนั้นรถไฟขบวนอื่นๆ ที่ต้องใช้เส้นทางร่วมกันจึงล่าช้าตามกันเป็นพรวน เป็นปัญหาที่ยังแก้ไม่ตก และคนไทยก็ต้องก้มหน้ายอมรับกันไป
บรรยากาศภายในขบวนรถไฟชั้น 3
6. ความสกปรกภายในขบวนรถ และห้องน้ำบนรถไฟที่ขึ้นชื่อลือชา เมื่อหลายปีก่อนเคยมีข่าวตัวเรือดกัดผู้โดยสารเป็นตุ่มผื่นคันกันหลายราย เมื่อตรวจสอบแล้วก็พบว่าตัวเรือดฝังตัวอยู่ในเบาะเก้าอี้เป็นจำนวนมาก จนกลายเป็นข่าวดังต้องออกมาทำความสะอาดกันครั้งใหญ่ ส่วนเรื่องห้องน้ำนั้นถ้าใครเคยขึ้นรถไฟก็คงเข้าใจว่ากลิ่นรุนแรงขนาดไหน อีกทั้งยังว่ากันว่าห้องน้ำรถไฟไม่เคยเต็ม นั่นก็เพราะขับถ่ายอะไรก็ลงไปบนราง สร้างความสกปรกไปตลอดเส้นทาง แถมยังมีข้อห้ามว่าไม่ให้ขับถ่ายตอนขบวนรถจอดอยู่ที่ชานชาลา เพราะคนบนชานชาลาจะเห็นหมดว่าถ่ายสิ่งปฏิกูลอะไรลงมาบ้าง แต่คำถามคือ ทำไมการรถไฟจึงไม่พัฒนาห้องน้ำให้มีถังเก็บสิ่งปฏิกูลเหล่านี้แทน
7. อาหารบนตู้เสบียงมีราคาแพง เข้าใจได้ว่าอาหารที่ขายบนรถไฟย่อมมีราคาแพงกว่าปกติ แต่ผู้โดยสารที่ใช้บริการตู้เสบียงหลายๆ มักบ่นถึงความคุ้มค่าของอาหารที่ได้รับกับราคาที่จ่ายไปว่าไม่ค่อยสมกันเท่าไร
ความสะอาดของรถไฟและรางรถไฟเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ต้องปรับปรุง
8. เหล้า-เบียร์ เป็นสาเหตุหนึ่งของการขาดสติจนนำไปสู่การก่อเหตุอาชญากรรมเพิ่ม หลายคนจึงมีคำถามถึงเรื่องขายเหล้าเบียร์บนรถไฟว่าเป็นเรื่องที่เหมาะสมหรือไม่
9. พ่อแม่ค้าขึ้นไปขายของบนรถไฟ เรื่องนี้บางคนก็ว่าเป็นเรื่องดี เกี่ยวกับความสะดวกของผู้โดยสารที่บางครั้งต้องนั่งรถไฟเป็นระยะทางยาวๆ หลายชั่วโมง จะได้ไม่ต้องซื้ออาหารในตู้เสบียงที่ราคาแพงกว่า แต่จริงๆ แล้วนี่คือความไร้ระเบียบของรถไฟ ที่ปล่อยให้พ่อค้าแม่ค้าเดินขึ้นมาขายของในขบวนรถ โดยเฉพาะในตู้ชั้น 3 ที่คนแน่นอยู่แล้ว ก็ยังต้องถูกเบียดด้วยคนขายของอีก
10. การรถไฟแห่งประเทศไทยเป็น“แดนสนธยา” ซึ่งแม้จะเป็นรัฐวิสาหกิจสาธารณูปโภคที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย แต่ขึ้นชื่อว่าขาดทุนมาโดยตลอด แต่ละปีขาดทุนนับพันล้านบาท รวมแล้วจากก่อตั้งมายุคแรกๆ ก็ขาดทุนรวมกว่าแสนล้านบาท ไม่รู้ว่านักการเมือง บอร์ด และผู้บริหารองค์กรที่ได้ผลัดเปลี่ยนกันเข้ามากำกับดูแลบริหารการรถไฟแห่งประเทศไทยนั้นเข้ามาทำงานให้เจริญขึ้นหรือเจริญลง จนทำให้การรถไฟที่ริเริ่มบุกเบิกมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 นั้น กลายเป็น “แดนสนธยา” ที่ยังมืดสลัวไม่มีทางออกจนถึงวันนี้
และนั่นก็คือ 10 สิ่งแย่ๆหลักๆจาก ร.ฟ.ท. ที่เป็นเสียงสะท้อนจากผู้ใช้บริการซึ่งนอกเหนือจากนี้ก็ยังมีสิ่งแย่ๆปลีกย่อยที่ต้องปรับปรุงอีกมากมาย ทั้งการแก้ไขแบบเร่งด่วนและการแก้ไขในระยะยาว รวมไปถึงตัวผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยที่หลังจากเกิดเหตุการณ์สะเทือนขวัญ พนักงานรถไฟฆ่าข่มขืนเด็กหญิงวัย 13 ปี บนขบวนรถ กระแสเรียกร้องให้ปลด-เปลี่ยน ผู้ว่าการรถไฟฯ พร้อมกับกระแสปฏิรูป ร.ฟ.ท. ดังกระหึ่มก้องไปทั่วสารทิศ
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com
ข่าวจาก : ASTVผู้จัดการออนไลน์
http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9570000076952
10 สิ่งแย่ๆของรถไฟไทย...100 กว่าปีมีแต่เสื่อมลง
กิจการรถไฟไทยริเริ่มมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5
จากข่าวสะเทือนขวัญ ฆ่าข่มขืนเด็กหญิงวัย 13 ปี บนรถไฟขบวน 174 สุราษฎร์ธานี-กรุงเทพฯ ซึ่งผู้ต้องหาคือพนักงานบนขบวนรถไฟ ชี้ให้เห็นว่าบนขบวนรถไฟไทยนั้นไม่มีความปลอดภัยอยู่เลย และทำให้ภาพลักษณ์ของรถไฟไทยยิ่งติดลบเข้าไปอีก
ที่ผ่านมา แม้ไม่มีข่าวอาชญากรรมสะเทือนขวัญชวนสลดใจที่เกิดขึ้นบนรถไฟ ชื่อเสียของรถไฟไทยก็มีมากกว่าชื่อเสียงอยู่แล้ว จนมีคำกล่าวเสียดสีว่า รถไฟไทยที่ได้ถือกำเนิดในสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2429 ที่มีความเจริญ(ในสมัยนั้น)อยู่ในระดับแถวหน้าของเอเชีย เทียบเคียงกับญี่ปุ่น มาวันนี้ผ่านมา 100 กว่าปี รถไฟไทยนอกจากจะไม่พัฒนาแล้ว ยังมีแต่ถอยหลังเข้าคลองเสื่อมทรุดลงไปทุกวัน
เหตุสะเทือนขวัญบนรถไฟยิ่งทำให้ภาพลักษณ์การรถไฟฯ ยิ่งติดลบ
และนี่ก็คือ 10 สิ่งแย่ๆ จากการรถไฟไทยที่เราได้ประมวลจากข้อเท็จจริงที่ผ่านมาไว้ดังนี้
1. ความไม่ปลอดภัยของผู้โดยสารรถไฟไทย ไม่เพียงแต่คดีของเด็กหญิงวัย 13 ปี ที่กำลังเป็นข่าวดังเท่านั้น แต่ที่ผ่านมา ก็มีข่าวผู้โดยสารถูกทำอนาจารบนรถไฟ ข้าวของหายหรือถูกขโมยบนรถไฟ มีทั้งที่เป็นข่าวและไม่เป็นข่าว
2. เจ้าหน้าดูแลความปลอดภัยไม่เพียงพอ เรื่องนี้ ประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยเองก็เคยออกมากล่าวว่า รถไฟบางขบวนเท่านั้นที่จะมีตำรวจรถไฟประจำอยู่ เนื่องจากบุคลากรไม่เพียงพอ
3. มารยาทของพนักงานบนรถไฟบางคน เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ได้ยินและถูกร้องเรียนกันเป็นประจำ
4. สภาพของขบวนรถไฟและรางรถไฟที่ไม่ปลอดภัย สภาพขบวนรถที่เก่าเป็นภาพชินตาของรถไฟไทย ประตูรถชำรุดบ้าง หน้าต่างชำรุดบ้าง เครื่องปัดน้ำฝนหรืออุปกรณ์ต่างๆ ชำรุดบ้างเป็นเรื่องปกติ แต่ความไม่สมประกอบบางอย่างก็ก่อให้เกิดอันตรายกับผู้โดยสาร ดูจากสถิติการเกิดเหตุรถไฟตกรางตั้งแต่ปี 2553 พบว่า มีเหตุรถไฟตกราง 102 ครั้ง มีผู้บาดเจ็บ 107 ราย เสียชีวิต 10 ราย ปี 2554 มีเหตุรถไฟตกราง 113 ครั้ง มีผู้บาดเจ็บ 54 ราย เสียชีวิต 4 ราย ปี 2555 มีเหตุรถไฟตกราง 89 ครั้ง มีผู้บาดเจ็บ 5 คน ไม่มีผู้เสียชีวิต ปี 2556 เดือนมกราคมถึงเดือนกันยายน มีเหตุรถไฟตกรางแล้ว 117 ครั้งมีผู้บาดเจ็บ 42ราย เสียชีวิต 3 ราย ซึ่งสาเหตุก็มีต่างๆ นานา ทั้งสภาพทางที่ทรุดโทรม ขบวนรถ รางรถไฟและไม้หมอนอยู่ในสภาพเก่า พนักงานประมาทเลินเล่อ ฯลฯ
5.ความล่าช้า ไม่ตรงต่อเวลาของรถไฟไทย “ถึงก็ช่าง ไม่ถึงก็ช่าง” เป็นคำขวัญประจำรถไฟไทยก็ว่าได้ กำหนดเดินรถไฟน้อยครั้งที่จะถึงหรือออกได้ตรงตามเวลา สายเป็นนาทีถือว่าธรรมดามากๆ เพราะเราว่ากันเป็นชั่วโมง และเมื่อขบวนหนึ่งล่าช้า ขบวนอื่นที่ต้องรอหลีกหรือสับรางในบางช่วงก็ต้องล่าช้าตาม ดังนั้นรถไฟขบวนอื่นๆ ที่ต้องใช้เส้นทางร่วมกันจึงล่าช้าตามกันเป็นพรวน เป็นปัญหาที่ยังแก้ไม่ตก และคนไทยก็ต้องก้มหน้ายอมรับกันไป
บรรยากาศภายในขบวนรถไฟชั้น 3
6. ความสกปรกภายในขบวนรถ และห้องน้ำบนรถไฟที่ขึ้นชื่อลือชา เมื่อหลายปีก่อนเคยมีข่าวตัวเรือดกัดผู้โดยสารเป็นตุ่มผื่นคันกันหลายราย เมื่อตรวจสอบแล้วก็พบว่าตัวเรือดฝังตัวอยู่ในเบาะเก้าอี้เป็นจำนวนมาก จนกลายเป็นข่าวดังต้องออกมาทำความสะอาดกันครั้งใหญ่ ส่วนเรื่องห้องน้ำนั้นถ้าใครเคยขึ้นรถไฟก็คงเข้าใจว่ากลิ่นรุนแรงขนาดไหน อีกทั้งยังว่ากันว่าห้องน้ำรถไฟไม่เคยเต็ม นั่นก็เพราะขับถ่ายอะไรก็ลงไปบนราง สร้างความสกปรกไปตลอดเส้นทาง แถมยังมีข้อห้ามว่าไม่ให้ขับถ่ายตอนขบวนรถจอดอยู่ที่ชานชาลา เพราะคนบนชานชาลาจะเห็นหมดว่าถ่ายสิ่งปฏิกูลอะไรลงมาบ้าง แต่คำถามคือ ทำไมการรถไฟจึงไม่พัฒนาห้องน้ำให้มีถังเก็บสิ่งปฏิกูลเหล่านี้แทน
7. อาหารบนตู้เสบียงมีราคาแพง เข้าใจได้ว่าอาหารที่ขายบนรถไฟย่อมมีราคาแพงกว่าปกติ แต่ผู้โดยสารที่ใช้บริการตู้เสบียงหลายๆ มักบ่นถึงความคุ้มค่าของอาหารที่ได้รับกับราคาที่จ่ายไปว่าไม่ค่อยสมกันเท่าไร
ความสะอาดของรถไฟและรางรถไฟเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ต้องปรับปรุง
8. เหล้า-เบียร์ เป็นสาเหตุหนึ่งของการขาดสติจนนำไปสู่การก่อเหตุอาชญากรรมเพิ่ม หลายคนจึงมีคำถามถึงเรื่องขายเหล้าเบียร์บนรถไฟว่าเป็นเรื่องที่เหมาะสมหรือไม่
9. พ่อแม่ค้าขึ้นไปขายของบนรถไฟ เรื่องนี้บางคนก็ว่าเป็นเรื่องดี เกี่ยวกับความสะดวกของผู้โดยสารที่บางครั้งต้องนั่งรถไฟเป็นระยะทางยาวๆ หลายชั่วโมง จะได้ไม่ต้องซื้ออาหารในตู้เสบียงที่ราคาแพงกว่า แต่จริงๆ แล้วนี่คือความไร้ระเบียบของรถไฟ ที่ปล่อยให้พ่อค้าแม่ค้าเดินขึ้นมาขายของในขบวนรถ โดยเฉพาะในตู้ชั้น 3 ที่คนแน่นอยู่แล้ว ก็ยังต้องถูกเบียดด้วยคนขายของอีก
10. การรถไฟแห่งประเทศไทยเป็น“แดนสนธยา” ซึ่งแม้จะเป็นรัฐวิสาหกิจสาธารณูปโภคที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย แต่ขึ้นชื่อว่าขาดทุนมาโดยตลอด แต่ละปีขาดทุนนับพันล้านบาท รวมแล้วจากก่อตั้งมายุคแรกๆ ก็ขาดทุนรวมกว่าแสนล้านบาท ไม่รู้ว่านักการเมือง บอร์ด และผู้บริหารองค์กรที่ได้ผลัดเปลี่ยนกันเข้ามากำกับดูแลบริหารการรถไฟแห่งประเทศไทยนั้นเข้ามาทำงานให้เจริญขึ้นหรือเจริญลง จนทำให้การรถไฟที่ริเริ่มบุกเบิกมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 นั้น กลายเป็น “แดนสนธยา” ที่ยังมืดสลัวไม่มีทางออกจนถึงวันนี้
และนั่นก็คือ 10 สิ่งแย่ๆหลักๆจาก ร.ฟ.ท. ที่เป็นเสียงสะท้อนจากผู้ใช้บริการซึ่งนอกเหนือจากนี้ก็ยังมีสิ่งแย่ๆปลีกย่อยที่ต้องปรับปรุงอีกมากมาย ทั้งการแก้ไขแบบเร่งด่วนและการแก้ไขในระยะยาว รวมไปถึงตัวผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยที่หลังจากเกิดเหตุการณ์สะเทือนขวัญ พนักงานรถไฟฆ่าข่มขืนเด็กหญิงวัย 13 ปี บนขบวนรถ กระแสเรียกร้องให้ปลด-เปลี่ยน ผู้ว่าการรถไฟฯ พร้อมกับกระแสปฏิรูป ร.ฟ.ท. ดังกระหึ่มก้องไปทั่วสารทิศ
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com
ข่าวจาก : ASTVผู้จัดการออนไลน์
http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9570000076952