มติชน 6 ก.ค.2557
ช่วงนี้คนที่เดินทางไปต่างประเทศหลายคนหนาวๆ ร้อนๆ กับกรณีป้ายเตือนของกรมศุลกากรที่บอกให้รู้ว่าถ้าซื้อสินค้าจากต่างประเทศกลับไทยเกิน 1 หมื่นบาทอาจถูกเก็บภาษีทันที
แม้ว่าป้ายเตือนถูกเก็บไปแล้ว แต่ นายสมชัย สัจจพงษ์ อธิบดีกรมศุลกากร บอกว่า การบังคับใช้กฎหมายจะเข้มงวดเหมือนเดิม ผู้ที่เดินทางกลับจากต่างประเทศถูกสุ่มตรวจจากเจ้าหน้าที่กรมศุลกากร พร้อมทั้งยังฝากเตือนไปยังขบวนการรับฝากซื้อสินค้าจากต่างประเทศ (พรีออเดอร์) ว่าศุลกากรมีข้อมูล ทราบชื่อ ทราบกลุ่ม และมีประวัติในมืออยู่แล้ว ให้เลิกพฤติกรรมนี้เสียที
การจัดเก็บภาษีจากสินค้านำเข้าเกิน 1 หมื่นบาทนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ ถือเป็นกฎหมายเดิมที่ใช้มานานแล้ว
แต่ที่ผ่านมากรมศุลกากรจะไม่เข้มงวดกับการซื้อมาเพื่อใช้ส่วนตัว ตรงนี้เป็นช่องโหว่ให้ขบวนการหิ้วของมาขายในไทยมีเพิ่มมากขึ้น และขายกันเกลื่อนในโลกออนไลน์ ทั้งในเฟซบุ๊ก อินสตาแกรม ในเว็บไซต์บางแห่งโฆษณาว่า แอร์โฮสเตสหิ้วเอง เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้ตัวสินค้า
ยิ่งยุคนี้การเข้าถึงอินเตอร์เน็ตง่ายขึ้น ทำให้ตลาดค้าขายสินค้าเหล่านี้โตขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี แม้ว่าขณะนี้จะยังไม่มีหน่วยงานใดสรุปสถิติของสินค้าพรีออเดอร์ที่ขายกันว่ามีจำนวนเท่าไหร่
แต่จากการเปิดเผยของ น.ส.วิไลพร ทวีลาภพันทอง หุ้นส่วนสายงานที่ปรึกษา บริษัท PwC Consulting (ประเทศไทย) ถึงผลสำรวจ Achieving Total Retail: Consumer expectations driving the next retail business model เมื่อช่วงเดือนพฤษภาคม 2557 พบว่า ประเมินตลาดสินค้าออนไลน์ในไทยมีมูลค่าสูงกว่า 1 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2556 ที่มีมูลค่าการตลาดประมาณ 9 หมื่นล้านบาท สินค้าออนไลน์ที่คนไทยนิยมสั่งซื้อมากที่สุด คือ สินค้าแฟชั่น และสินค้าที่เกี่ยวกับความสวยความงาม เช่น เสื้อผ้า เครื่องประดับ
จากผลการสำรวจในโลกออนไลน์ของทีมข่าวเศรษฐกิจ "มติชน" พบว่า
สินค้าที่ได้รับความนิยมแบ่งเป็นกลุ่ม ดังนี้ กระเป๋า อาทิ กระเป๋า Coach ของอเมริกา กระเป๋า Louis Vuitton ของฝรั่งเศส และกระเป๋า Longchamp จากยุโรป เครื่องสำอาง สกินแคร์ จากเกาหลีและญี่ปุ่น ยี่ห้อ Etude Skinfood Shiseido รองเท้า NB Onitsuka Tiger Vans Flipflop แว่นตา Rayban, Oakley นาฬิกา Casio G-shock นอกจากนี้ยังมีกลุ่มอาหารเสริม และวิตามิน รวมถึงขนมจากญี่ปุ่นเป็นที่นิยมสั่งซื้อในโลกออนไลน์ค่อนข้างมาก
นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มของไฮโซ ดารา ที่เปิดร้านขายของแบรนด์เนมราคาแพงอย่างกระเป๋า Hermes Prada นาฬิกา Rolex ในอินสตาแกรม ซึ่งกลุ่มนี้จะบินไปซื้อของเองในยุโรปหรืออเมริกา
เมื่อถูกตรวจค้นมักอ้างว่าเอามาใช้เองเพราะมีไม่กี่ชิ้น ตรงนี้อาจถือเป็นสาเหตุของป้ายประกาศกรมศุลกากรที่ติดไว้ว่าอนุญาตให้นำเข้าเฉพาะของส่วนตัว ห้ามฝากญาติ พี่น้อง และเจ้านาย กลุ่มนำเข้าสินค้าหรูราคาแพงชิ้นละหลายแสนบาทที่ทำเป็นล่ำเป็นสัน หนีไม่พ้นกลุ่มอาชีพแอร์ สจ๊วต ซึ่งนำเข้าครั้งละไม่มากแค่ 1-2 ใบตามออเดอร์ แต่ด้วยราคาสินค้าที่แพงมากทำให้กลุ่มนี้จะต้องไปทำความคุ้นเคยกับเจ้าหน้าที่ศุลกากร บางครั้งต้องจ่ายใต้โต๊ะให้เจ้าหน้าที่ตามมูลค่าสินค้า ตั้งแต่ระดับพันบาทถึงหมื่นบาท
ส่วนพวกมือใหม่ที่เพิ่งหัดขายใช้วิธีบินไปซื้อเองใกล้ๆ อย่างเกาหลี ญี่ปุ่น ที่มีโปรโมชั่นตั๋วบินราคาถูก นำเข้าครั้งละหลายสิบชิ้น บางครั้งไปหลายคนเพื่อแยกราคา แยกป้าย แยกกล่องไว้ต่างหาก หลังจากนั้นวัดดวงกันระหว่างผ่านด่านศุลกากรว่าจะถูกเจ้าหน้าที่สุ่มตรวจหรือไม่ กลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะหนีไม่พ้นสายตากรมศุลกากร ข้อสังเกตคือกระเป๋าผ้าใบใหญ่ๆ ที่สำคัญไม่มีเส้นสายรู้จักใครที่พอจะช่วยพูดให้เว้นๆ ให้บ้าง
แต่จะมีอีกกลุ่มที่ขายสินค้าพรีออเดอร์ในลักษณะที่มีญาติ เพื่อน หรือคนรู้จักอยู่ในต่างประเทศ หลังจากนั้นจะส่งของเข้ามาทางเรือ หรือบางรายทางไปรษณีย์ ถ้ากล่องใหญ่ๆ บางครั้งส่วนใหญ่ไม่รอดพ้นที่จะต้องเสียภาษี และอีกกลุ่มเป็นพ่อค้าแม่ขายเอง เป็นคนไทยที่ไปใช้ชีวิตยังต่างประเทศและส่งของเข้ามาให้กับผู้ซื้อในไทยผ่านทางไปรษณีย์ระหว่างประเทศ (เครื่องบิน)
กลุ่มนี้มีเทคนิคการส่งของว่าให้ห่อเป็นของขวัญและเขียนอวยพรแนบไว้ หรือส่งเป็นกล่องเล็กๆ เพื่อตบตาเจ้าหน้าที่ศุลกากร แต่สุดท้ายมีบ้างที่ไม่รอดถูกเจ้าหน้าที่เรียกมาเสียภาษี แต่จนถึงปัจจุบันกลุ่มนี้ยังมีเรื่อยๆ ชอบเสี่ยงดวงทำมาตลอด ส่วนใหญ่จะเป็นรายเล็กๆ
แหล่งข่าวจากเจ้าหน้าที่ระดับสูงในกรมศุลกากร ระบุว่า ในแต่ละปีกรมศุลกากรที่สนามบินสุวรรณภูมิสามารถจับสินค้านำเข้าและส่งออกปีละหลายสิบล้านบาท โดยในปีงบประมาณ 2556 มีการจับกุมได้ 107 ครั้ง มูลค่าสินค้า 29 ล้านบาท และในปีงบประมาณ 2557 ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2556 ถึงเดือนมิถุนายน 2557 จับกุมได้ 75 ครั้ง มูลค่าสินค้า 40 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าสินค้าหรู อาทิ นาฬิกา กระเป๋าแบรนด์เนม เครื่องสำอาง น้ำหอม
ข้อสังเกตว่าใครจะขนสินค้าเข้ามาขายนั้น เจ้าหน้าที่กรมศุลกากรจะดูจากพฤติกรรมการเดินทาง เช่น
คนนี้เดินทางเกือบทุกเดือน ใช้กระเป๋าใบใหญ่ๆ ต้องถูกเจ้าหน้าที่นำมาตรวจสอบ พร้อมกันนี้ดูผู้ที่มีบุคลิกเป็นพ่อค้า แม่ค้า ซึ่งวิธีสังเกตแบบนี้ถือเป็นความสามารถเฉพาะตัวเจ้าหน้าที่ที่มีประสบการณ์ต้องเจอคนวันละหลายพันคนที่จะแยกได้เอง
นอกจากนี้จะมี
ทีมเข้าไปดูทั้งในอินสตาแกรม เฟซบุ๊ก หรือในเว็บไซต์ที่รับพรีออเดอร์สินค้าจากต่างประเทศว่าเจ้าของแอ๊กเคานต์ชื่ออะไร มีแผนจะเดินทางไปประเทศไหน และจะเดินทางกลับไทยเที่ยวบินไหน ที่ผ่านมีการจับกุมในลักษณะสืบจากการขายสินค้าออนไลน์หลายคดีแล้ว
"ถ้านำมาขายส่วนใหญ่จะไม่ทิ้งป้ายราคาและยังเก็บกล่องใส่สินค้าพร้อมทั้งอาจจะนำเข้ามาในลักษณะสินค้าเดียวเป็นสิบชิ้น ส่วนของราคาแพงคนที่นำเข้ามาอ้างว่าซื้อมาใช้เอง ต้องดูว่าเหมาะสมกับฐานะหรือไม่ บางคนที่บินกลับจากฝรั่งเศสแม้ว่าจะนำเข้ามาชิ้นเดียว อาทิ
หิ้วกระเป๋าแอร์เมสใบละ 4-5 แสนบาท ใส่นาฬิกาโรเล็กซ์เรือนละเป็นล้านบาทเข้ามา แต่ยังเก็บกล่องมีป้ายราคาครบ และดูบุคลิกแล้วไม่น่าจะเป็นผู้ใช้ของแพงขนาดนั้นต้องเรียกตรวจและจัดเก็บภาษี" รายงานข่าวระบุ
สำหรับลูกเรือสายการบินทั้งแอร์และสจ๊วตนั้น ทางกรมศุลกากรจะพิจารณาพฤติกรรมในการขนสินค้า คือ ถ้าขนสินค้าเดิมๆ ซ้ำๆ หลายเที่ยว หรือเป็นสินค้าที่มีราคาแพงเข้ามาบ่อยๆ จะตั้งข้อสังเกตทันทีนำมาขายต่อ ต้องเสียภาษี โดยกรมศุลกากรมีการอะลุ้มอล่วยให้ เริ่มตั้งแต่ ครั้งแรกปล่อยไปก่อน เพราะส่วนใหญ่จะอ้างว่านำมาเพื่อใช้เอง หากนำเข้ามาอีกเป็นครั้งที่ 2 จะว่ากล่าวตักเตือน และหากยังนำเข้ามาอีกเป็นครั้งที่ 3 จะถูกเก็บภาษีทันทีและไม่ให้โต้แย้งใดๆ ทั้งสิ้น
ถ้าถูกเรียกเก็บแล้วไม่ยอมเสียภาษี เพราะไม่เห็นด้วยกับการเก็บภาษีต้องถูกยึดของไว้เป็นของแผ่นดิน แต่ถ้าไม่ยอมให้ยึดต้องฟ้องร้องดำเนินคดีกันต่อไป อย่างไรก็ตาม หากไม่มีเงินเสียภาษีทันทีจะนำตัวไปทำพิธีการด้านภาษี มีเงินเมื่อไหร่ค่อยนำมาจ่าย
ส่วนใหญ่ผู้ที่ถูกเรียกเก็บภาษีจะยอมเสีย เพราะมูลค่าสินค้าจะสูงกว่าภาษี มีบ้างที่โวยวายต่อว่าเจ้าหน้าที่และอ้างว่าไม่รู้เกี่ยวกับคำเตือน
นี่เป็นอีกเหตุผลที่ต้องทำป้ายใหม่มาตั้งที่สนามบินสุวรรณภูมิ
มติชนสำรวจ หิ้วแบรนด์หรูขายในเน็ต กรมศุลฯเปิดศึก-ไล่สกัด
ช่วงนี้คนที่เดินทางไปต่างประเทศหลายคนหนาวๆ ร้อนๆ กับกรณีป้ายเตือนของกรมศุลกากรที่บอกให้รู้ว่าถ้าซื้อสินค้าจากต่างประเทศกลับไทยเกิน 1 หมื่นบาทอาจถูกเก็บภาษีทันที
แม้ว่าป้ายเตือนถูกเก็บไปแล้ว แต่ นายสมชัย สัจจพงษ์ อธิบดีกรมศุลกากร บอกว่า การบังคับใช้กฎหมายจะเข้มงวดเหมือนเดิม ผู้ที่เดินทางกลับจากต่างประเทศถูกสุ่มตรวจจากเจ้าหน้าที่กรมศุลกากร พร้อมทั้งยังฝากเตือนไปยังขบวนการรับฝากซื้อสินค้าจากต่างประเทศ (พรีออเดอร์) ว่าศุลกากรมีข้อมูล ทราบชื่อ ทราบกลุ่ม และมีประวัติในมืออยู่แล้ว ให้เลิกพฤติกรรมนี้เสียที
การจัดเก็บภาษีจากสินค้านำเข้าเกิน 1 หมื่นบาทนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ ถือเป็นกฎหมายเดิมที่ใช้มานานแล้ว แต่ที่ผ่านมากรมศุลกากรจะไม่เข้มงวดกับการซื้อมาเพื่อใช้ส่วนตัว ตรงนี้เป็นช่องโหว่ให้ขบวนการหิ้วของมาขายในไทยมีเพิ่มมากขึ้น และขายกันเกลื่อนในโลกออนไลน์ ทั้งในเฟซบุ๊ก อินสตาแกรม ในเว็บไซต์บางแห่งโฆษณาว่า แอร์โฮสเตสหิ้วเอง เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้ตัวสินค้า
ยิ่งยุคนี้การเข้าถึงอินเตอร์เน็ตง่ายขึ้น ทำให้ตลาดค้าขายสินค้าเหล่านี้โตขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี แม้ว่าขณะนี้จะยังไม่มีหน่วยงานใดสรุปสถิติของสินค้าพรีออเดอร์ที่ขายกันว่ามีจำนวนเท่าไหร่
แต่จากการเปิดเผยของ น.ส.วิไลพร ทวีลาภพันทอง หุ้นส่วนสายงานที่ปรึกษา บริษัท PwC Consulting (ประเทศไทย) ถึงผลสำรวจ Achieving Total Retail: Consumer expectations driving the next retail business model เมื่อช่วงเดือนพฤษภาคม 2557 พบว่า ประเมินตลาดสินค้าออนไลน์ในไทยมีมูลค่าสูงกว่า 1 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2556 ที่มีมูลค่าการตลาดประมาณ 9 หมื่นล้านบาท สินค้าออนไลน์ที่คนไทยนิยมสั่งซื้อมากที่สุด คือ สินค้าแฟชั่น และสินค้าที่เกี่ยวกับความสวยความงาม เช่น เสื้อผ้า เครื่องประดับ
จากผลการสำรวจในโลกออนไลน์ของทีมข่าวเศรษฐกิจ "มติชน" พบว่า สินค้าที่ได้รับความนิยมแบ่งเป็นกลุ่ม ดังนี้ กระเป๋า อาทิ กระเป๋า Coach ของอเมริกา กระเป๋า Louis Vuitton ของฝรั่งเศส และกระเป๋า Longchamp จากยุโรป เครื่องสำอาง สกินแคร์ จากเกาหลีและญี่ปุ่น ยี่ห้อ Etude Skinfood Shiseido รองเท้า NB Onitsuka Tiger Vans Flipflop แว่นตา Rayban, Oakley นาฬิกา Casio G-shock นอกจากนี้ยังมีกลุ่มอาหารเสริม และวิตามิน รวมถึงขนมจากญี่ปุ่นเป็นที่นิยมสั่งซื้อในโลกออนไลน์ค่อนข้างมาก
นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มของไฮโซ ดารา ที่เปิดร้านขายของแบรนด์เนมราคาแพงอย่างกระเป๋า Hermes Prada นาฬิกา Rolex ในอินสตาแกรม ซึ่งกลุ่มนี้จะบินไปซื้อของเองในยุโรปหรืออเมริกา เมื่อถูกตรวจค้นมักอ้างว่าเอามาใช้เองเพราะมีไม่กี่ชิ้น ตรงนี้อาจถือเป็นสาเหตุของป้ายประกาศกรมศุลกากรที่ติดไว้ว่าอนุญาตให้นำเข้าเฉพาะของส่วนตัว ห้ามฝากญาติ พี่น้อง และเจ้านาย กลุ่มนำเข้าสินค้าหรูราคาแพงชิ้นละหลายแสนบาทที่ทำเป็นล่ำเป็นสัน หนีไม่พ้นกลุ่มอาชีพแอร์ สจ๊วต ซึ่งนำเข้าครั้งละไม่มากแค่ 1-2 ใบตามออเดอร์ แต่ด้วยราคาสินค้าที่แพงมากทำให้กลุ่มนี้จะต้องไปทำความคุ้นเคยกับเจ้าหน้าที่ศุลกากร บางครั้งต้องจ่ายใต้โต๊ะให้เจ้าหน้าที่ตามมูลค่าสินค้า ตั้งแต่ระดับพันบาทถึงหมื่นบาท
ส่วนพวกมือใหม่ที่เพิ่งหัดขายใช้วิธีบินไปซื้อเองใกล้ๆ อย่างเกาหลี ญี่ปุ่น ที่มีโปรโมชั่นตั๋วบินราคาถูก นำเข้าครั้งละหลายสิบชิ้น บางครั้งไปหลายคนเพื่อแยกราคา แยกป้าย แยกกล่องไว้ต่างหาก หลังจากนั้นวัดดวงกันระหว่างผ่านด่านศุลกากรว่าจะถูกเจ้าหน้าที่สุ่มตรวจหรือไม่ กลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะหนีไม่พ้นสายตากรมศุลกากร ข้อสังเกตคือกระเป๋าผ้าใบใหญ่ๆ ที่สำคัญไม่มีเส้นสายรู้จักใครที่พอจะช่วยพูดให้เว้นๆ ให้บ้าง
แต่จะมีอีกกลุ่มที่ขายสินค้าพรีออเดอร์ในลักษณะที่มีญาติ เพื่อน หรือคนรู้จักอยู่ในต่างประเทศ หลังจากนั้นจะส่งของเข้ามาทางเรือ หรือบางรายทางไปรษณีย์ ถ้ากล่องใหญ่ๆ บางครั้งส่วนใหญ่ไม่รอดพ้นที่จะต้องเสียภาษี และอีกกลุ่มเป็นพ่อค้าแม่ขายเอง เป็นคนไทยที่ไปใช้ชีวิตยังต่างประเทศและส่งของเข้ามาให้กับผู้ซื้อในไทยผ่านทางไปรษณีย์ระหว่างประเทศ (เครื่องบิน) กลุ่มนี้มีเทคนิคการส่งของว่าให้ห่อเป็นของขวัญและเขียนอวยพรแนบไว้ หรือส่งเป็นกล่องเล็กๆ เพื่อตบตาเจ้าหน้าที่ศุลกากร แต่สุดท้ายมีบ้างที่ไม่รอดถูกเจ้าหน้าที่เรียกมาเสียภาษี แต่จนถึงปัจจุบันกลุ่มนี้ยังมีเรื่อยๆ ชอบเสี่ยงดวงทำมาตลอด ส่วนใหญ่จะเป็นรายเล็กๆ
แหล่งข่าวจากเจ้าหน้าที่ระดับสูงในกรมศุลกากร ระบุว่า ในแต่ละปีกรมศุลกากรที่สนามบินสุวรรณภูมิสามารถจับสินค้านำเข้าและส่งออกปีละหลายสิบล้านบาท โดยในปีงบประมาณ 2556 มีการจับกุมได้ 107 ครั้ง มูลค่าสินค้า 29 ล้านบาท และในปีงบประมาณ 2557 ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2556 ถึงเดือนมิถุนายน 2557 จับกุมได้ 75 ครั้ง มูลค่าสินค้า 40 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าสินค้าหรู อาทิ นาฬิกา กระเป๋าแบรนด์เนม เครื่องสำอาง น้ำหอม
ข้อสังเกตว่าใครจะขนสินค้าเข้ามาขายนั้น เจ้าหน้าที่กรมศุลกากรจะดูจากพฤติกรรมการเดินทาง เช่น คนนี้เดินทางเกือบทุกเดือน ใช้กระเป๋าใบใหญ่ๆ ต้องถูกเจ้าหน้าที่นำมาตรวจสอบ พร้อมกันนี้ดูผู้ที่มีบุคลิกเป็นพ่อค้า แม่ค้า ซึ่งวิธีสังเกตแบบนี้ถือเป็นความสามารถเฉพาะตัวเจ้าหน้าที่ที่มีประสบการณ์ต้องเจอคนวันละหลายพันคนที่จะแยกได้เอง
นอกจากนี้จะมีทีมเข้าไปดูทั้งในอินสตาแกรม เฟซบุ๊ก หรือในเว็บไซต์ที่รับพรีออเดอร์สินค้าจากต่างประเทศว่าเจ้าของแอ๊กเคานต์ชื่ออะไร มีแผนจะเดินทางไปประเทศไหน และจะเดินทางกลับไทยเที่ยวบินไหน ที่ผ่านมีการจับกุมในลักษณะสืบจากการขายสินค้าออนไลน์หลายคดีแล้ว
"ถ้านำมาขายส่วนใหญ่จะไม่ทิ้งป้ายราคาและยังเก็บกล่องใส่สินค้าพร้อมทั้งอาจจะนำเข้ามาในลักษณะสินค้าเดียวเป็นสิบชิ้น ส่วนของราคาแพงคนที่นำเข้ามาอ้างว่าซื้อมาใช้เอง ต้องดูว่าเหมาะสมกับฐานะหรือไม่ บางคนที่บินกลับจากฝรั่งเศสแม้ว่าจะนำเข้ามาชิ้นเดียว อาทิ หิ้วกระเป๋าแอร์เมสใบละ 4-5 แสนบาท ใส่นาฬิกาโรเล็กซ์เรือนละเป็นล้านบาทเข้ามา แต่ยังเก็บกล่องมีป้ายราคาครบ และดูบุคลิกแล้วไม่น่าจะเป็นผู้ใช้ของแพงขนาดนั้นต้องเรียกตรวจและจัดเก็บภาษี" รายงานข่าวระบุ
สำหรับลูกเรือสายการบินทั้งแอร์และสจ๊วตนั้น ทางกรมศุลกากรจะพิจารณาพฤติกรรมในการขนสินค้า คือ ถ้าขนสินค้าเดิมๆ ซ้ำๆ หลายเที่ยว หรือเป็นสินค้าที่มีราคาแพงเข้ามาบ่อยๆ จะตั้งข้อสังเกตทันทีนำมาขายต่อ ต้องเสียภาษี โดยกรมศุลกากรมีการอะลุ้มอล่วยให้ เริ่มตั้งแต่ ครั้งแรกปล่อยไปก่อน เพราะส่วนใหญ่จะอ้างว่านำมาเพื่อใช้เอง หากนำเข้ามาอีกเป็นครั้งที่ 2 จะว่ากล่าวตักเตือน และหากยังนำเข้ามาอีกเป็นครั้งที่ 3 จะถูกเก็บภาษีทันทีและไม่ให้โต้แย้งใดๆ ทั้งสิ้น
ถ้าถูกเรียกเก็บแล้วไม่ยอมเสียภาษี เพราะไม่เห็นด้วยกับการเก็บภาษีต้องถูกยึดของไว้เป็นของแผ่นดิน แต่ถ้าไม่ยอมให้ยึดต้องฟ้องร้องดำเนินคดีกันต่อไป อย่างไรก็ตาม หากไม่มีเงินเสียภาษีทันทีจะนำตัวไปทำพิธีการด้านภาษี มีเงินเมื่อไหร่ค่อยนำมาจ่าย
ส่วนใหญ่ผู้ที่ถูกเรียกเก็บภาษีจะยอมเสีย เพราะมูลค่าสินค้าจะสูงกว่าภาษี มีบ้างที่โวยวายต่อว่าเจ้าหน้าที่และอ้างว่าไม่รู้เกี่ยวกับคำเตือน
นี่เป็นอีกเหตุผลที่ต้องทำป้ายใหม่มาตั้งที่สนามบินสุวรรณภูมิ