สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 10
จริงๆ ผมค่อนข้างเห็นด้วยกับ มิสเตอร์ตลาดหุ้น ครับ คือ ยอมรับว่า Audit ก็คือ Audit และ Finance ก็คือ Finance มันคนละเรื่องกัน แยกให้ออกเถอะ ... ถ้าจะทำงานด้าน Audit แค่ 3 ปี เพื่อสอบได้ให้ CPA Certificate เอาไว้เป็น Background Credential ผมว่าเปลี่ยนไปจับงาน Corporate Finance แล้วสอบ CFA Certificate ให้ได้ 3 ระดับเลยน่าจะดีกว่า ...
แต่ผมไม่ได้บอกนะว่า ไอการไปมีประสบการณ์ทำงาน Audit 3 ปี กับ CPA ที่ได้มา มันจะไม่มีประโยชน์ ต่อการไปต่อยอดสาย Finance ... คือซึ่งมันก็ได้ครับ แต่ผมมองมันเป็น contour มากกว่านะ มันไม่ใช่ real shortcut และอีกอย่าง ของแบบนี้มันขึ้นอยู่กับหัวคน ว่าจะเข้าใจเร็วหรือช้า หรือเอาสิ่งที่เคยทำมา มาประยุกต์ได้มากน้อยแค่ไหน แต่ถ้าอยู่น้อยกว่านั้น นับเป็น 0 ไปเถอะครับ ถ้าคิดจะเปลี่ยนไปทำ finance
มี คห. บนๆ ตอบว่า อ่านงบการเงินเป็น หาความสัมพันธ์ระหว่างตัวเลขบนหน้างบการเงินได้ ว่ามาจากไหน ... มันก็ใช่ครับ คุณต้องรู้อยู่แล้ว เพราะคุณทำมัน คุณตรวจมัน ... ถ้าคุณไม่รู้ซิแปลก จะกลายเป็นคำถามว่า คุณตรวจมายังไง ถ้าไม่รู้ว่า correlation ของ information บน F/S มันได้มายังไง ... งงมั้ย? แต่ถ้าลองมองกลับกันกับคนที่ไม่ได้เรียนบัญชีมาเลย แต่กลับรู้ถึง วิธีการอ่านงบการเงิน รู้ความสัมพันธ์ของมันได้ และรู้ด้วยว่าจะเอาข้อมูลตรงนี้ไปใช้ประโยชน์อย่างไรให้เม็ดเงินของตัวเอง งอกเงยเพิ่มขึ้น ... ขอตรรกะง่ายๆ เลย แบบไหนมันเก่งกว่ากัน!!
ผมลองถามคุณกลับว่า ถ้าสมมติคุณไปตรวจเรื่อง common stock (preferred stock) ของ บมจ. หนึ่งๆ แล้วมันจะทำให้คุณรู้ได้หรือไม่ว่า คุณจะ maximize shareholder value ตรงนั้นยังไง ... ผมว่า ต่อให้เป็น auditor ปี 3 (ระดับ Senior) น้อยคนที่จะรู้ ถ้าไม่ได้สนใจอ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมเป็นการส่วนตัว เพราะบางคน บอกว่าตัวเองรู้นั่น รู้นี่ แต่ยังเล่นหุ้นแบบ งูๆ ปลาๆ หรืออ่าน graph, plot graph, หรือ describe curve ยังไม่เป็นเลย
เอาง่ายๆ ตอนที่คุณไปตรวจเรื่อง Employee Benefit ตาม TAS 19 คุณยังต้องพึ่ง Actuarial Report ของพวก Actuary เลยครับ เพราะอะไร เพราะ measurement ของพวกคุณคลอบไปไม่ถึง และอีกอย่างมันเป็นคนละเรื่องในหน้าที่ที่ต้องทำ ... หรืออีกอย่าง ตามมาตรฐานฉบับที่ 107 เรื่องการเปิดเผยเครื่องมือทางการเงิน ... ทำไมต้องมีฉบับนี้ ที่ต้องมีก็เพื่อบอกพวกคุณว่า ... ไอวิธีการวัดค่าของพวกคุณ มันจะไม่คลอบคลุมถึง การวัดมูลค่าสินทรัพย์ทางการเงิน หนี้สินทางการเงินและตราสารทุน ได้เลยแม้แต่น้อย หรือแม้กระทั่งเรื่อง exchange rate คุณเองก็ได้แค่อ้างอิงถึง BOT Rate และก็ดูแค่ว่ามันไม่ misstatement ใน rate ที่ใช้ตามมาตรฐานนู้นนี่นั่น แต่คุณรู้จริงๆ เหรอว่า ถ้าลูกค้าเกิดถามว่า คุณ auditor ค่ะ วันนี้ EURUSD Spot Exchange Rate - Price of 1 EUR in US มันลดลง 0.03% มันเกิดจากอะไรค่ะ แล้วมันจะมีผลกระทบอย่างไรบ้างกับการค้าขายของพี่?
นี่ยังไม่รวมการใช้งานพื้นฐานของพวก Bloomberg ที่เป็นฐานข้อมูลเบื้องต้นในการค้นหา ซึ่งเชื่อว่า auditor ที่อยู่ได้แค่ 3 ปี น้อยคนนักที่จะรู้จักใช้ เอาง่ายๆ แค่ ใช้ Finance Formula บน Excel บางคนยังมึนๆ หรือไม่ก็การคำนวณพื้นฐานอย่าง WACC ที่อาจเคยเรียนกันมา ผมว่าน้อยคนที่จะเอาข้อมูลจริงๆ มานั่ง WACC ถ้าไม่ได้จับงานสายนี้ และทำมันได้ถูก
Big4 สำหรับผม ถือเป็น Business School ที่ดีในระดับหนึ่งเลยทีเดียว แต่สำหรับงาน audit ถ้าอยู่แค่ 3 ปี แล้วจะมาบอกว่าได้เยอะกว่า คนที่เขาย้ำสาย Finance มาตลอด 3 ปี อันนี้ผมว่า ตรรกะเพี้ยน หรือว่า โลกแคบ ไปหน่อยแล้ว ... ไอที่คุณได้ มันก็แค่ roughly ครับ หรือเทียบเท่ากับว่าคุณไม่ได้อะไรเลย (ไม่งั้นคุณคงไม่ดั้นด้นเอาตัวเองไปลง Master of Finance กันถึง U TOP) ... ผมเองก็เป็น auditor อยู่ใน Big4 (ปี 2) เหมือนกัน แต่ผมสำเนียกอยู่ตลอดเวลาว่า Understanding Through Client's Business ที่ได้มานั้น ได้มาจากการเข้าไปทำ inquiry ... คือคุณไม่มีทางรู้เอง ถ้าไม่ได้ถามลูกค้า ถามมาเพื่อวางแผนตรวจ และวิเคราะห์ที่คุณๆ ทำกันอยู่นั้น มันก็ได้มาจาก inquiry อีกนั่นแหละ มันเทียบไม่ได้จริงๆ กับ บทวิเคราะห์ของนักวิเคราะห์ ที่เขาวิเคราะห์ เพื่อหา solution ให้ลูกค้า ยกตัวอย่างเช่น การวิเคราะห์สินทรัพย์ที่มีตัวตนเพื่อทำ Merger & Acquisition ... จุดนี้เขาไม่ได้จ้าง auditor ทำนะครับ อย่าลืม
อยากให้ จขกท. ตัดสินใจให้ดีครับ อย่าเชื่ออะไรทั้งนั้น จนกว่าจะได้ลองเอง วิธีการง่ายๆ คุณลองนั่งทำโจทย์ CPA ซักวิชา ถ้าถูก คุณลองเอาความรู้ที่คุณไปทำโจทย์ CPA นั้น ลองไปทำข้อสอบ CFA ดูครับ ดูว่ามันจะเอื้ออะไรกันได้บ้าง ... ถ้าคุณทำมันได้หมด แสดงว่า ผมต้องเปลี่ยนความคิดตัวเองใหม่ทั้งหมด และช่วยมาบอกผมด้วยว่า มันเอื้อกันยังไง ผมจะได้หู-ตา สว่าง!
หรือถ้าจะวัดว่าคุณชอบอะไรมากกว่ากัน ให้ลองเอามาตรฐานการบัญชีซักเล่ม มาอ่าน อ่านจบแล้วอ่านลองหาหนังสือ CFA ของ Kaplan Schweser มาอ่าน แล้วลองดูว่า อะไรมันทำให้คุณรู้สึก สนุก ตื่นเต้น อยากอ่านต่อเรื่อยๆ มากกว่ากันครับ ... ถ้าอันไหน "ใช่" กันอันนั้นแหละ รีบมุ่งไปหามันเลย ก่อนจะสาย
ป.ล. ผมชอบสาย Finance เหมือนกัน (ผมใช้ bloomberg website หาข้อมูลธุรกิจมากกว่า google search engine ครับ) แต่มารู้กระจ่างก็เมื่อสายไป ... คือ ตอนนั้นผมเลือกแล้วว่าจะอยู่ ผมเลยต้องอยู่ (ไม่มีใครบังคับ แต่ผมต้องรับผิดชอบกับการตัดสินใจของผมเอง) เพราะถ้าผมอยู่ไม่ครบ 3 ปี หรือเป็น Senior ใน Big4 ไม่ได้ แล้วออกไป มันจะเกิดการด้อยค่าใน % Growth ของ Salary ผมทันที ... อันนี้เอาฮา!!
เพลีย!!!
แต่ผมไม่ได้บอกนะว่า ไอการไปมีประสบการณ์ทำงาน Audit 3 ปี กับ CPA ที่ได้มา มันจะไม่มีประโยชน์ ต่อการไปต่อยอดสาย Finance ... คือซึ่งมันก็ได้ครับ แต่ผมมองมันเป็น contour มากกว่านะ มันไม่ใช่ real shortcut และอีกอย่าง ของแบบนี้มันขึ้นอยู่กับหัวคน ว่าจะเข้าใจเร็วหรือช้า หรือเอาสิ่งที่เคยทำมา มาประยุกต์ได้มากน้อยแค่ไหน แต่ถ้าอยู่น้อยกว่านั้น นับเป็น 0 ไปเถอะครับ ถ้าคิดจะเปลี่ยนไปทำ finance
มี คห. บนๆ ตอบว่า อ่านงบการเงินเป็น หาความสัมพันธ์ระหว่างตัวเลขบนหน้างบการเงินได้ ว่ามาจากไหน ... มันก็ใช่ครับ คุณต้องรู้อยู่แล้ว เพราะคุณทำมัน คุณตรวจมัน ... ถ้าคุณไม่รู้ซิแปลก จะกลายเป็นคำถามว่า คุณตรวจมายังไง ถ้าไม่รู้ว่า correlation ของ information บน F/S มันได้มายังไง ... งงมั้ย? แต่ถ้าลองมองกลับกันกับคนที่ไม่ได้เรียนบัญชีมาเลย แต่กลับรู้ถึง วิธีการอ่านงบการเงิน รู้ความสัมพันธ์ของมันได้ และรู้ด้วยว่าจะเอาข้อมูลตรงนี้ไปใช้ประโยชน์อย่างไรให้เม็ดเงินของตัวเอง งอกเงยเพิ่มขึ้น ... ขอตรรกะง่ายๆ เลย แบบไหนมันเก่งกว่ากัน!!
ผมลองถามคุณกลับว่า ถ้าสมมติคุณไปตรวจเรื่อง common stock (preferred stock) ของ บมจ. หนึ่งๆ แล้วมันจะทำให้คุณรู้ได้หรือไม่ว่า คุณจะ maximize shareholder value ตรงนั้นยังไง ... ผมว่า ต่อให้เป็น auditor ปี 3 (ระดับ Senior) น้อยคนที่จะรู้ ถ้าไม่ได้สนใจอ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมเป็นการส่วนตัว เพราะบางคน บอกว่าตัวเองรู้นั่น รู้นี่ แต่ยังเล่นหุ้นแบบ งูๆ ปลาๆ หรืออ่าน graph, plot graph, หรือ describe curve ยังไม่เป็นเลย
เอาง่ายๆ ตอนที่คุณไปตรวจเรื่อง Employee Benefit ตาม TAS 19 คุณยังต้องพึ่ง Actuarial Report ของพวก Actuary เลยครับ เพราะอะไร เพราะ measurement ของพวกคุณคลอบไปไม่ถึง และอีกอย่างมันเป็นคนละเรื่องในหน้าที่ที่ต้องทำ ... หรืออีกอย่าง ตามมาตรฐานฉบับที่ 107 เรื่องการเปิดเผยเครื่องมือทางการเงิน ... ทำไมต้องมีฉบับนี้ ที่ต้องมีก็เพื่อบอกพวกคุณว่า ... ไอวิธีการวัดค่าของพวกคุณ มันจะไม่คลอบคลุมถึง การวัดมูลค่าสินทรัพย์ทางการเงิน หนี้สินทางการเงินและตราสารทุน ได้เลยแม้แต่น้อย หรือแม้กระทั่งเรื่อง exchange rate คุณเองก็ได้แค่อ้างอิงถึง BOT Rate และก็ดูแค่ว่ามันไม่ misstatement ใน rate ที่ใช้ตามมาตรฐานนู้นนี่นั่น แต่คุณรู้จริงๆ เหรอว่า ถ้าลูกค้าเกิดถามว่า คุณ auditor ค่ะ วันนี้ EURUSD Spot Exchange Rate - Price of 1 EUR in US มันลดลง 0.03% มันเกิดจากอะไรค่ะ แล้วมันจะมีผลกระทบอย่างไรบ้างกับการค้าขายของพี่?
นี่ยังไม่รวมการใช้งานพื้นฐานของพวก Bloomberg ที่เป็นฐานข้อมูลเบื้องต้นในการค้นหา ซึ่งเชื่อว่า auditor ที่อยู่ได้แค่ 3 ปี น้อยคนนักที่จะรู้จักใช้ เอาง่ายๆ แค่ ใช้ Finance Formula บน Excel บางคนยังมึนๆ หรือไม่ก็การคำนวณพื้นฐานอย่าง WACC ที่อาจเคยเรียนกันมา ผมว่าน้อยคนที่จะเอาข้อมูลจริงๆ มานั่ง WACC ถ้าไม่ได้จับงานสายนี้ และทำมันได้ถูก
Big4 สำหรับผม ถือเป็น Business School ที่ดีในระดับหนึ่งเลยทีเดียว แต่สำหรับงาน audit ถ้าอยู่แค่ 3 ปี แล้วจะมาบอกว่าได้เยอะกว่า คนที่เขาย้ำสาย Finance มาตลอด 3 ปี อันนี้ผมว่า ตรรกะเพี้ยน หรือว่า โลกแคบ ไปหน่อยแล้ว ... ไอที่คุณได้ มันก็แค่ roughly ครับ หรือเทียบเท่ากับว่าคุณไม่ได้อะไรเลย (ไม่งั้นคุณคงไม่ดั้นด้นเอาตัวเองไปลง Master of Finance กันถึง U TOP) ... ผมเองก็เป็น auditor อยู่ใน Big4 (ปี 2) เหมือนกัน แต่ผมสำเนียกอยู่ตลอดเวลาว่า Understanding Through Client's Business ที่ได้มานั้น ได้มาจากการเข้าไปทำ inquiry ... คือคุณไม่มีทางรู้เอง ถ้าไม่ได้ถามลูกค้า ถามมาเพื่อวางแผนตรวจ และวิเคราะห์ที่คุณๆ ทำกันอยู่นั้น มันก็ได้มาจาก inquiry อีกนั่นแหละ มันเทียบไม่ได้จริงๆ กับ บทวิเคราะห์ของนักวิเคราะห์ ที่เขาวิเคราะห์ เพื่อหา solution ให้ลูกค้า ยกตัวอย่างเช่น การวิเคราะห์สินทรัพย์ที่มีตัวตนเพื่อทำ Merger & Acquisition ... จุดนี้เขาไม่ได้จ้าง auditor ทำนะครับ อย่าลืม
อยากให้ จขกท. ตัดสินใจให้ดีครับ อย่าเชื่ออะไรทั้งนั้น จนกว่าจะได้ลองเอง วิธีการง่ายๆ คุณลองนั่งทำโจทย์ CPA ซักวิชา ถ้าถูก คุณลองเอาความรู้ที่คุณไปทำโจทย์ CPA นั้น ลองไปทำข้อสอบ CFA ดูครับ ดูว่ามันจะเอื้ออะไรกันได้บ้าง ... ถ้าคุณทำมันได้หมด แสดงว่า ผมต้องเปลี่ยนความคิดตัวเองใหม่ทั้งหมด และช่วยมาบอกผมด้วยว่า มันเอื้อกันยังไง ผมจะได้หู-ตา สว่าง!
หรือถ้าจะวัดว่าคุณชอบอะไรมากกว่ากัน ให้ลองเอามาตรฐานการบัญชีซักเล่ม มาอ่าน อ่านจบแล้วอ่านลองหาหนังสือ CFA ของ Kaplan Schweser มาอ่าน แล้วลองดูว่า อะไรมันทำให้คุณรู้สึก สนุก ตื่นเต้น อยากอ่านต่อเรื่อยๆ มากกว่ากันครับ ... ถ้าอันไหน "ใช่" กันอันนั้นแหละ รีบมุ่งไปหามันเลย ก่อนจะสาย
ป.ล. ผมชอบสาย Finance เหมือนกัน (ผมใช้ bloomberg website หาข้อมูลธุรกิจมากกว่า google search engine ครับ) แต่มารู้กระจ่างก็เมื่อสายไป ... คือ ตอนนั้นผมเลือกแล้วว่าจะอยู่ ผมเลยต้องอยู่ (ไม่มีใครบังคับ แต่ผมต้องรับผิดชอบกับการตัดสินใจของผมเอง) เพราะถ้าผมอยู่ไม่ครบ 3 ปี หรือเป็น Senior ใน Big4 ไม่ได้ แล้วออกไป มันจะเกิดการด้อยค่าใน % Growth ของ Salary ผมทันที ... อันนี้เอาฮา!!
เพลีย!!!
แสดงความคิดเห็น
ถ้าเป้าหมายไม่ใช่ CPA ...ไม่คุ้มหรอกที่จะทำงานออดิท (ขอคำปรึกษาค่ะ)
จริงๆเราวางแผนเอาไว้แล้วว่าตั้งใจจะทำออดิทเพื่อให้ได้ประสบการณ์+ความรู้ ซัก 1-2 ปี
แล้วต่อป.โท Finance (ช่วงนี้เตรียม IELTS ไปด้วย เพราะอยากต่อเมืองนอกค่ะ)
พอกลับมาเริ่มงานสายการเงิน (สาเหตุที่คิดแบบนี้เพราะตอนเรียนชอบ Finance และก็หัวไปทาง Finance มากกว่า)
แต่พอปรึกษาเรื่องนี้กับรุ่นพี่ที่รู้จัก เค้าก็บอกว่าถ้าเป้าหมายของเราไม่ใช่ CPA
จะมาทนทำออดิทให้เหนื่อยทำไม ไม่คุ้มหรอก เสียเวลา เลยเชียร์เราลาออกแล้วสมัครงานใหม่ไปเลย
เพราะ ถ้าเราไม่ชอบงานออดิทจริงๆ แถมไม่ได้ Focus CPA อีก เค้าบอกว่าทนได้เต็มที่ไม่เกิน 6 เดือนหรอก
แต่พอถามเพื่อน เพื่อนก็บอกว่าอยากให้ลองทำไปก่อน ถ้าไม่ชอบหรือทนไม่ไหวจริงๆค่อยลาออก
ตอนนี้เราก็เลยสับสนค่ะ ในใจเราตอนนี้ก็คิดว่าการทำงานออดิทเราจะได้ความรู้+ประสบการณ์+ฝึกความอดทน+Profile
มาเต็มที่แน่ๆ และมันก็จะดีกับเราในอนาคต แต่เพื่อความชัวร์เลยอยากขอคำปรึกษาพี่ๆในนี้ค่ะว่าเราควรตัดสินใจอย่างไรดี
รบกวนพี่ๆทุกคนด้วยนะคะ
ขอบคุณค่ะ
ปล. ก่อนหน้านี้สมัคร IB ของธนาคารนึงใน website ไปค่ะ ทาง HR เรียกให้ไปสอบข้อเขียน
(จริงๆตอนสมัครไปไม่คิดว่าเค้าจะเรียก เพราะคุณสมบัติที่กำหนดคือจบ ป.โท และก็มีประสบการณ์)
เราก็อยากไปลองสอบดูนะคะ แต่ก็กลัวว่าถ้าไปสอบแล้วไม่ได้งานขึ้นมาก็จะเสีย Annual Leave ไป
ซึ่งนี่ก็เป็นอีกสาเหตุนึงค่ะที่อยากตัดสินใจให้เด็ดขาดไปเลย เพราะถ้าตัดสินใจแน่วแน่แล้วว่าจะทำออดิทต่อ
ก็จะได้ไม่ต้องเอาจิตมาจับกับการหางานใหม่