วันนี้จะพาเพื่อนๆไปเที่ยวใกล้ๆกรุงเทพกันครับ กับสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อของจังหวัดนนทบุรี เกาะเกร็ด นั่นเอง
เกาะเกร็ดเกิดจากการขุดคลองลัดแม่น้ำเจ้าพระยาเมื่อปี พ.ศ. 2265 ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ คลองลัดดังกล่าวเรียกว่า "คลองลัดเกร็ดน้อย" หรือ "คลองเตร็ดน้อย" ดังปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงสยามฉบับบริติชมิวเซียมตอนหนึ่งว่า
"...ในปีขาล จัตวาศก ทรงพระกรุณาโปรดให้พระธนบุรีเป็นแม่กอง เกณฑ์พลนิกายคนหัวเมืองปากใต้ให้ได้คน ๑๐,๐๐๐ เศษ ให้ขุดคลองเตร็ดน้อย ลัดคุ้งบางบัวทองนั้นคดอ้อมนัก ขุดลัดตัดให้ตรง พระธนบุรีรับสั่งแล้วถวายบังคมลามา ให้เกณฑ์พลนิกายในบรรดาหัวเมืองปากใต้ได้คน ๑๐,๐๐๐ เศษ ให้ขุดคลองเตร็ดน้อยนั้นลึก ๖ ศอก กว้าง ๓ วา ยาวทางไกลได้ ๒๙ เส้นเศษ ขุดเดือนเศษจึ่งแล้ว..."
ต่อมากระแสน้ำเปลี่ยนทิศเนื่องจากไหลทางตรงได้สะดวกกว่าและกัดเซาะตลิ่งทำให้คลองสายนี้ขยายเป็นแม่น้ำลัดเกร็ด แผ่นดินตรงแหลมจึงกลายเป็นเกาะ ในรัชสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ระบุในโฉนดชื่อว่า เกาะศาลากุล ตามชื่อวัดศาลากุลที่สร้างโดยเจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ (กุน รัตนกุล) ตั้งแต่สมัยธนบุรี ต่อมาเมื่อตั้งอำเภอปากเกร็ด จึงเรียกเป็น เกาะเกร็ด
จนกระทั่งผ่านไปกระแสน้ำได้ค่อย ๆ เซาะฝั่งคลองน้อยให้ใหญ่ขึ้น จนส่วนที่เป็นแหลมถูกตัดขาดจากแผ่นดินและกลายเป็นเกาะกลางแม่น้ำในที่สุด
สัญลักษณ์ประจำเกาะเกร็ดที่เป็นเอกลักษณ์คือ พระเจดีย์มุเตาของวัดปรมัยยิกาวาส ซึ่งเป็นเจดีย์ทรงมอญ ลักษณะเด่นของเจดีย์คือ มีลักษณะเอียงๆ ไม่ตั้งตรงอยู่เหมือนเจดีย์ทั่วๆไป
วัดปรมัยยิกาวาส เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่เลขที่ 51 หมู่ที่ 7 ตำบลเกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
วัดปรมัยยิกาวาสเป็นวัดโบราณ น่าจะสร้างหลังจากพระเจ้าท้ายสระโปรดให้ขุดคลอง เมื่อ พ.ศ. 2264 ชาวเรือเรียก วัดปากอ่าว จนปี พ.ศ. 2307 พม่าบุกยึดเมืองนนทบุรี กลายเป็นวัดร้างเมื่อปี พ.ศ. 2317 ชาวมอญที่อพยพมาในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้บูรณปฏิสังขรณ์ใหม่ คนมอญเรียกว่า "เภี่ยมู้เกี้ยเติ้ง"
ในปี พ.ศ. 2417 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทอดกฐินวัดมอญ 4 วัด ได้แก่ วัดปากอ่าว วัดรามัญ (วัดเกาะพระยาเจ่ง) วัดบางพัง และวัดสนาม (สนามเหนือ) ต่อมาทรงเห็นว่าวัดปากอ่าวทรุดโทรมมาก จึงโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์วัดใหม่ทั้งวัดโดยรักษารูปแบบมอญไว้ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล สนองพระคุณพระเจ้าบรมมหัยยิกาเธอ กรมสมเด็จพระสุดารัตนราชประยูร ผู้ทรงอภิบาลพระองค์มาแต่ทรงพระเยาว์ และได้พระราชทานนามวัดว่า วัดปรมัยยิกาวาส ซึ่งมีความหมายว่า "วัดของพระบรมอัยยิกา"
สิ่งสำคัญภายในวัดมีพระอุโบสถที่มีภาพจิตรกรรมฝาผนังแบบไทยประยุกต์ บานประตูหน้าต่างประดับ ลายปูนปั้นเขียนด้วยสี กำแพงแก้วรอบพระอุโบสถมีลวดลายที่สวยงาม เป็นกำแพงเหล็กอย่างดีทำมาจากยุโรป อีกทั้งด้านหลังพระอุโบสถมีพระเจดีย์รูปทรงแบบมอญซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่พระมหารามัญเจดีย์นี้ เมื่อปี พ.ศ. 2427 และใกล้กันนั้นมีพระวิหารซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ขนาดใหญ่เป็นที่สามในอำเภอปากเกร็ด ส่วนด้านหน้าพระวิหารเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปหินอ่อน ซึ่งพระปฏิมากรซานซิวซูนทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และมี "พระนนทมุนินท์" เป็นพระพุทธรูปปางขัดสมาธิเพชร หน้าตักกว้าง 1 เมตร สูง 1.65 เมตร หล่อด้วยโลหะ พระศาสนโสภณ (อ่อน) เจ้าคณะมณฑลกรุงเทพสร้างเป็นพระพุทธรูปประจำเมืองนนทบุรี พระยาราชสงครามเป็นผู้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ด้านใต้พระวิหารพระพุทธไสยาสน์
วัดปรมัยยิกาวาสวรวิหาร มีประเพณีของเมืองสืบมาว่า เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรีย้ายมาดำรงตำแหน่งใหม่ ได้จัดพิธีรับอย่างเป็นทางการพร้อมมีพิธีนมัสการพระพุทธรูปประจำเมืองนนทบุรีที่วัดแห่งนี้ สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเป็นพระพุทธรูปประจำจังหวัดนนทบุรีประดิษฐานอยู่ในตู้กระจก ใต้พาไล ด้านหลังพระวิหารแห่งนี้ด้วย
วัดมอญเก่าแก่แห่งนี้มีต้นไม้ใหญ่ให้ร่มเงามากมาย ทั้งยังมีม้านั่งสำหรับชมทัศนียภาพอันสวยงามริมเกาะอีกด้วย นับได้ว่า เป็นวัดที่เชิดหน้าชูตาของชาวเกาะเกร็ดเป็นอย่างมากทีเดียว
เกาะเกร็ดรู้จักกันดีในฐานะแหล่งชุมชนคนมอญที่มีชื่อเสียง ในเรื่องของเครื่องปั้นดินเผา และประเพณีวัฒนธรรมแบบพื้นบ้านดั้งเดิม ที่ยังคงอนุรักษ์ไว้ได้เป็นอย่างดี
โดยนักท่องเที่ยวจะได้เลือกชมผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผามากมายหลายหลายชนิดในราคาที่ไม่แพง
นอกเหนือจากการเลือกซื้อของแล้ว นักท่องเที่ยวสามารถเดินชมการปั้นเครื่องปั้นดินเผาได้แบบใกล้ชิดด้วย โดยเราจะเห็นโรงงานแบบชาวบ้านๆ และการปั้นเครื่องปั้นดินเผาให้เห็นกันชัดๆเลย บางร้านจะเปิดให้นักท่องเที่ยวลองปั้นดูได้ด้วย
การปั้นเครื่องปั้นดินเผาประกอบด้วย 4 ขั้นตอนหลักๆ
ขั้นตอนแรก การเตรียมดิน
ในการปั้นเครื่องปั้นดินเผาจะ ต้องจัดหาดิน เหนียวเพื่อเตรียมไว้ สำหรับใช้ในการปั้น โดยครั้งหนึ่งต้อง เตรียมหลายตัน การ เตรียม ดินเมื่อในอดีตดิน ที่ใช้ปั้นจะต้อง มีความเหนียวตาม คุณสมบัติคือ ความเหนียวดี สีนวล หรือ ปนเหลือง ไม่มีสีดำเกินไป เนื้อดิน จับกันเป็นก้อน ไม่ร่วนซุย ซึ่งเป็นดินที่พบได้ บริเวณเกาะเกร็ด
ขั้นตอนที่สอง การปั้น
การปั้นเครื่องปั้นดินเผาสมัย ก่อนไม่มีเครื่องมือทุ่นแรงโดย จำเป็นต้องใช้แรงงานมาก ทำให้เครื่องปั้นดินเผาใช้ระยะ เวลาในการผลิตนาน ปัจจุบัน มีการใช้เครื่องมือเข้ามาช่วย ทำให้งานที่ได้ออกมานั้นมีรูปทรงหลากหลาย และสวยงาม มากยิ่งขึ้น โดยที่ใช้ระยะเวลา และแรงงานที่น้อยลง
ขั้นตอนที่สาม ตบแต่งและแกะสลัก
เครื่องปั้นดินเผาทุกชิ้นจะได้รับการตบแต่ง และแกะสลักเป็น ลวดลายต่างๆ ขั้นตอนนี้ต้องอาศัย ทักษะความชำนาญ และ ความละเอียดของช่าง เป็นอย่างมากความยากง่ายของงานจึง ขึ้นอยู่กับลวดลายที่แกะสลักว่ามีความซับซ้อน ละเอียดมากน้อย รวมถึงขนาดและรูปทรงของเครื่องปั้นดินเผา อีกด้วย
ขั้นตอนสุดท้าย การเผา
เพื่อที่จะทำให้เครื่องปั้นดินเผามีความแข็งแกร่ง เราจึงต้องนำไปเผา ซึ่งอุณหภูมิที่ใช้ในการ เผานั้นมีผลต่อความแข็ง แกร่งและสีที่เกิดขึ้น ในอดีตการเผาจะทำในเตาดินซึ่งใช้ ฝืนเป็นเชื้อเพลิง ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาการเผาในเตา ที่ให้ความร้อน โดยใช้แก็สหรือไฟฟ้า ทำให้มีการควบคุม อุณภูมิในการเผา ได้ดีงานที่ได้จึงมีความ แข็งแกร่งและ สวยงามทุกชิ้น
มาถึงเกาะเกร็ดแล้ว ก้อต้องไปพลาดกับอาหารต่างๆ โดยเฉพาะของหวาน โดยร้านค้าต่างๆจะคงบรรยากาศแบบชาวบ้านๆ ให้ความรู้สึกย้อนยุคได้เป็นอย่างดี
ระหว่างเดินทางเยี่ยมชมเกาะเกร็ด ต้องระวังอ้วนด้วยนะครับ เพราะจะมีขนมหวานแบบต่างๆ สีสันสดใส น่ากิน คอยยั่วยวนใจอยู่ตลอดเส้นทาง
การเดินทางไปยังเกาะเกร็ด เดินทางได้ 3 ทาง ดังนี้
รถยนต์
เดินทางโดยรถยนต์มาที่ห้าแยกปากเกร็ด ตรงไปตามถนนแจ้งวัฒนะ ทางไปเทศบาลปากเกร็ด จากห้าแยกประมาณ 20 เมตร ก่อนถึงโรงหนังเมเจอร์ฮอลลีวู้ด เลี้ยวซ้ายเข้าถนนภูมิเวท ระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร ถึงวัดสนามเหนือจอดรถทิ้งไว้ที่วัด แล้วนั่งเรือข้ามไปเกาะเกร็ด ไปขึ้นเกาะเกร็ดที่วัดปรมัยยิกาวาส หรือไปที่วัดกลางเกร็ด นั่งเรือข้ามฟากไปขึ้นเกาะเกร็ดที่วัดป่าฝ้าย ที่วัดสนามเหนือ มีบริการจัดที่จอดรถรถยนต์สำหรับนักท่องเที่ยว
รถโดยสารประจำทาง นั่งรถโดยสารสายที่ผ่านท่าน้ำปากเกร็ด ให้ลงรถที่ป้ายโรงหนังเมเจอร์ฮอลลีวูด แล้วนั่งรถจักรยานยนต์รับจ้างไปที่ท่าเรือวัดสนามเหนือหรือวัดกลางเกร็ด
เรือ
จากกรุงเทพฯ โดยเรือด่วนเจ้าพระยาออกจากท่าวัดสิงขร ลงที่ท่าน้ำจังหวัดนนทบุรี (เรือทัวร์) จากนั้นเช่าเหมาเรือหางยาวที่ท่าน้ำนนทบุรี ไปที่เกาะเกร็ด หรือนั่งเรือรถประจำทางจากท่านน้ำนนทบุรีไปที่อำเภอปากเกร็ด แล้วลงเรือที่วัดสนามเหนือหรือวัดกลาง
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
สะพายกล้องท่องเที่ยวตอนเก่าๆ
ตอน38 บิณฑบาตรพระขี่ม้าที่ วัดถ้ำป่าอาชาทอง เชียงราย
http://ppantip.com/topic/32070247
ตอน37 Samui Heritage Resort ที่พักดีๆบนเกาะสมุย
http://ppantip.com/topic/32008519
ตอน36 ชิมบุฟเฟ่ห์เนื้อย่างระดับ Premium ที่ Grill101 Urban Grill&Bar
http://ppantip.com/topic/31939322
ตอน35 The White Temple วัดร่องขุ่น จังหวัดเชียงราย
http://ppantip.com/topic/31727242
ตอน34 อร่อยกับ Kacha Kacha Teppanyaki ที่ Asiatique
http://ppantip.com/topic/31633460
ติดตามผลงานได้ที่
http://voravudstudio.blogspot.com/
http://www.facebook.com/voravuds
http://www.facebook.com/voravudstudio
[CR] สะพายกล้องท่องเที่ยว#39 เกาะเกร็ด แหล่งเครื่องปั้นดินเผา และขนมหวาน
เกาะเกร็ดเกิดจากการขุดคลองลัดแม่น้ำเจ้าพระยาเมื่อปี พ.ศ. 2265 ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ คลองลัดดังกล่าวเรียกว่า "คลองลัดเกร็ดน้อย" หรือ "คลองเตร็ดน้อย" ดังปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงสยามฉบับบริติชมิวเซียมตอนหนึ่งว่า
"...ในปีขาล จัตวาศก ทรงพระกรุณาโปรดให้พระธนบุรีเป็นแม่กอง เกณฑ์พลนิกายคนหัวเมืองปากใต้ให้ได้คน ๑๐,๐๐๐ เศษ ให้ขุดคลองเตร็ดน้อย ลัดคุ้งบางบัวทองนั้นคดอ้อมนัก ขุดลัดตัดให้ตรง พระธนบุรีรับสั่งแล้วถวายบังคมลามา ให้เกณฑ์พลนิกายในบรรดาหัวเมืองปากใต้ได้คน ๑๐,๐๐๐ เศษ ให้ขุดคลองเตร็ดน้อยนั้นลึก ๖ ศอก กว้าง ๓ วา ยาวทางไกลได้ ๒๙ เส้นเศษ ขุดเดือนเศษจึ่งแล้ว..."
ต่อมากระแสน้ำเปลี่ยนทิศเนื่องจากไหลทางตรงได้สะดวกกว่าและกัดเซาะตลิ่งทำให้คลองสายนี้ขยายเป็นแม่น้ำลัดเกร็ด แผ่นดินตรงแหลมจึงกลายเป็นเกาะ ในรัชสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ระบุในโฉนดชื่อว่า เกาะศาลากุล ตามชื่อวัดศาลากุลที่สร้างโดยเจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ (กุน รัตนกุล) ตั้งแต่สมัยธนบุรี ต่อมาเมื่อตั้งอำเภอปากเกร็ด จึงเรียกเป็น เกาะเกร็ด
จนกระทั่งผ่านไปกระแสน้ำได้ค่อย ๆ เซาะฝั่งคลองน้อยให้ใหญ่ขึ้น จนส่วนที่เป็นแหลมถูกตัดขาดจากแผ่นดินและกลายเป็นเกาะกลางแม่น้ำในที่สุด
สัญลักษณ์ประจำเกาะเกร็ดที่เป็นเอกลักษณ์คือ พระเจดีย์มุเตาของวัดปรมัยยิกาวาส ซึ่งเป็นเจดีย์ทรงมอญ ลักษณะเด่นของเจดีย์คือ มีลักษณะเอียงๆ ไม่ตั้งตรงอยู่เหมือนเจดีย์ทั่วๆไป
วัดปรมัยยิกาวาส เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่เลขที่ 51 หมู่ที่ 7 ตำบลเกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
วัดปรมัยยิกาวาสเป็นวัดโบราณ น่าจะสร้างหลังจากพระเจ้าท้ายสระโปรดให้ขุดคลอง เมื่อ พ.ศ. 2264 ชาวเรือเรียก วัดปากอ่าว จนปี พ.ศ. 2307 พม่าบุกยึดเมืองนนทบุรี กลายเป็นวัดร้างเมื่อปี พ.ศ. 2317 ชาวมอญที่อพยพมาในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้บูรณปฏิสังขรณ์ใหม่ คนมอญเรียกว่า "เภี่ยมู้เกี้ยเติ้ง"
ในปี พ.ศ. 2417 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทอดกฐินวัดมอญ 4 วัด ได้แก่ วัดปากอ่าว วัดรามัญ (วัดเกาะพระยาเจ่ง) วัดบางพัง และวัดสนาม (สนามเหนือ) ต่อมาทรงเห็นว่าวัดปากอ่าวทรุดโทรมมาก จึงโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์วัดใหม่ทั้งวัดโดยรักษารูปแบบมอญไว้ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล สนองพระคุณพระเจ้าบรมมหัยยิกาเธอ กรมสมเด็จพระสุดารัตนราชประยูร ผู้ทรงอภิบาลพระองค์มาแต่ทรงพระเยาว์ และได้พระราชทานนามวัดว่า วัดปรมัยยิกาวาส ซึ่งมีความหมายว่า "วัดของพระบรมอัยยิกา"
สิ่งสำคัญภายในวัดมีพระอุโบสถที่มีภาพจิตรกรรมฝาผนังแบบไทยประยุกต์ บานประตูหน้าต่างประดับ ลายปูนปั้นเขียนด้วยสี กำแพงแก้วรอบพระอุโบสถมีลวดลายที่สวยงาม เป็นกำแพงเหล็กอย่างดีทำมาจากยุโรป อีกทั้งด้านหลังพระอุโบสถมีพระเจดีย์รูปทรงแบบมอญซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่พระมหารามัญเจดีย์นี้ เมื่อปี พ.ศ. 2427 และใกล้กันนั้นมีพระวิหารซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ขนาดใหญ่เป็นที่สามในอำเภอปากเกร็ด ส่วนด้านหน้าพระวิหารเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปหินอ่อน ซึ่งพระปฏิมากรซานซิวซูนทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และมี "พระนนทมุนินท์" เป็นพระพุทธรูปปางขัดสมาธิเพชร หน้าตักกว้าง 1 เมตร สูง 1.65 เมตร หล่อด้วยโลหะ พระศาสนโสภณ (อ่อน) เจ้าคณะมณฑลกรุงเทพสร้างเป็นพระพุทธรูปประจำเมืองนนทบุรี พระยาราชสงครามเป็นผู้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ด้านใต้พระวิหารพระพุทธไสยาสน์
วัดปรมัยยิกาวาสวรวิหาร มีประเพณีของเมืองสืบมาว่า เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรีย้ายมาดำรงตำแหน่งใหม่ ได้จัดพิธีรับอย่างเป็นทางการพร้อมมีพิธีนมัสการพระพุทธรูปประจำเมืองนนทบุรีที่วัดแห่งนี้ สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเป็นพระพุทธรูปประจำจังหวัดนนทบุรีประดิษฐานอยู่ในตู้กระจก ใต้พาไล ด้านหลังพระวิหารแห่งนี้ด้วย
วัดมอญเก่าแก่แห่งนี้มีต้นไม้ใหญ่ให้ร่มเงามากมาย ทั้งยังมีม้านั่งสำหรับชมทัศนียภาพอันสวยงามริมเกาะอีกด้วย นับได้ว่า เป็นวัดที่เชิดหน้าชูตาของชาวเกาะเกร็ดเป็นอย่างมากทีเดียว
เกาะเกร็ดรู้จักกันดีในฐานะแหล่งชุมชนคนมอญที่มีชื่อเสียง ในเรื่องของเครื่องปั้นดินเผา และประเพณีวัฒนธรรมแบบพื้นบ้านดั้งเดิม ที่ยังคงอนุรักษ์ไว้ได้เป็นอย่างดี
โดยนักท่องเที่ยวจะได้เลือกชมผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผามากมายหลายหลายชนิดในราคาที่ไม่แพง
นอกเหนือจากการเลือกซื้อของแล้ว นักท่องเที่ยวสามารถเดินชมการปั้นเครื่องปั้นดินเผาได้แบบใกล้ชิดด้วย โดยเราจะเห็นโรงงานแบบชาวบ้านๆ และการปั้นเครื่องปั้นดินเผาให้เห็นกันชัดๆเลย บางร้านจะเปิดให้นักท่องเที่ยวลองปั้นดูได้ด้วย
การปั้นเครื่องปั้นดินเผาประกอบด้วย 4 ขั้นตอนหลักๆ
ขั้นตอนแรก การเตรียมดิน
ในการปั้นเครื่องปั้นดินเผาจะ ต้องจัดหาดิน เหนียวเพื่อเตรียมไว้ สำหรับใช้ในการปั้น โดยครั้งหนึ่งต้อง เตรียมหลายตัน การ เตรียม ดินเมื่อในอดีตดิน ที่ใช้ปั้นจะต้อง มีความเหนียวตาม คุณสมบัติคือ ความเหนียวดี สีนวล หรือ ปนเหลือง ไม่มีสีดำเกินไป เนื้อดิน จับกันเป็นก้อน ไม่ร่วนซุย ซึ่งเป็นดินที่พบได้ บริเวณเกาะเกร็ด
ขั้นตอนที่สอง การปั้น
การปั้นเครื่องปั้นดินเผาสมัย ก่อนไม่มีเครื่องมือทุ่นแรงโดย จำเป็นต้องใช้แรงงานมาก ทำให้เครื่องปั้นดินเผาใช้ระยะ เวลาในการผลิตนาน ปัจจุบัน มีการใช้เครื่องมือเข้ามาช่วย ทำให้งานที่ได้ออกมานั้นมีรูปทรงหลากหลาย และสวยงาม มากยิ่งขึ้น โดยที่ใช้ระยะเวลา และแรงงานที่น้อยลง
ขั้นตอนที่สาม ตบแต่งและแกะสลัก
เครื่องปั้นดินเผาทุกชิ้นจะได้รับการตบแต่ง และแกะสลักเป็น ลวดลายต่างๆ ขั้นตอนนี้ต้องอาศัย ทักษะความชำนาญ และ ความละเอียดของช่าง เป็นอย่างมากความยากง่ายของงานจึง ขึ้นอยู่กับลวดลายที่แกะสลักว่ามีความซับซ้อน ละเอียดมากน้อย รวมถึงขนาดและรูปทรงของเครื่องปั้นดินเผา อีกด้วย
ขั้นตอนสุดท้าย การเผา
เพื่อที่จะทำให้เครื่องปั้นดินเผามีความแข็งแกร่ง เราจึงต้องนำไปเผา ซึ่งอุณหภูมิที่ใช้ในการ เผานั้นมีผลต่อความแข็ง แกร่งและสีที่เกิดขึ้น ในอดีตการเผาจะทำในเตาดินซึ่งใช้ ฝืนเป็นเชื้อเพลิง ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาการเผาในเตา ที่ให้ความร้อน โดยใช้แก็สหรือไฟฟ้า ทำให้มีการควบคุม อุณภูมิในการเผา ได้ดีงานที่ได้จึงมีความ แข็งแกร่งและ สวยงามทุกชิ้น
มาถึงเกาะเกร็ดแล้ว ก้อต้องไปพลาดกับอาหารต่างๆ โดยเฉพาะของหวาน โดยร้านค้าต่างๆจะคงบรรยากาศแบบชาวบ้านๆ ให้ความรู้สึกย้อนยุคได้เป็นอย่างดี
ระหว่างเดินทางเยี่ยมชมเกาะเกร็ด ต้องระวังอ้วนด้วยนะครับ เพราะจะมีขนมหวานแบบต่างๆ สีสันสดใส น่ากิน คอยยั่วยวนใจอยู่ตลอดเส้นทาง
การเดินทางไปยังเกาะเกร็ด เดินทางได้ 3 ทาง ดังนี้
รถยนต์
เดินทางโดยรถยนต์มาที่ห้าแยกปากเกร็ด ตรงไปตามถนนแจ้งวัฒนะ ทางไปเทศบาลปากเกร็ด จากห้าแยกประมาณ 20 เมตร ก่อนถึงโรงหนังเมเจอร์ฮอลลีวู้ด เลี้ยวซ้ายเข้าถนนภูมิเวท ระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร ถึงวัดสนามเหนือจอดรถทิ้งไว้ที่วัด แล้วนั่งเรือข้ามไปเกาะเกร็ด ไปขึ้นเกาะเกร็ดที่วัดปรมัยยิกาวาส หรือไปที่วัดกลางเกร็ด นั่งเรือข้ามฟากไปขึ้นเกาะเกร็ดที่วัดป่าฝ้าย ที่วัดสนามเหนือ มีบริการจัดที่จอดรถรถยนต์สำหรับนักท่องเที่ยว
รถโดยสารประจำทาง นั่งรถโดยสารสายที่ผ่านท่าน้ำปากเกร็ด ให้ลงรถที่ป้ายโรงหนังเมเจอร์ฮอลลีวูด แล้วนั่งรถจักรยานยนต์รับจ้างไปที่ท่าเรือวัดสนามเหนือหรือวัดกลางเกร็ด
เรือ
จากกรุงเทพฯ โดยเรือด่วนเจ้าพระยาออกจากท่าวัดสิงขร ลงที่ท่าน้ำจังหวัดนนทบุรี (เรือทัวร์) จากนั้นเช่าเหมาเรือหางยาวที่ท่าน้ำนนทบุรี ไปที่เกาะเกร็ด หรือนั่งเรือรถประจำทางจากท่านน้ำนนทบุรีไปที่อำเภอปากเกร็ด แล้วลงเรือที่วัดสนามเหนือหรือวัดกลาง
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
สะพายกล้องท่องเที่ยวตอนเก่าๆ
ตอน38 บิณฑบาตรพระขี่ม้าที่ วัดถ้ำป่าอาชาทอง เชียงราย
http://ppantip.com/topic/32070247
ตอน37 Samui Heritage Resort ที่พักดีๆบนเกาะสมุย
http://ppantip.com/topic/32008519
ตอน36 ชิมบุฟเฟ่ห์เนื้อย่างระดับ Premium ที่ Grill101 Urban Grill&Bar
http://ppantip.com/topic/31939322
ตอน35 The White Temple วัดร่องขุ่น จังหวัดเชียงราย
http://ppantip.com/topic/31727242
ตอน34 อร่อยกับ Kacha Kacha Teppanyaki ที่ Asiatique
http://ppantip.com/topic/31633460
ติดตามผลงานได้ที่
http://voravudstudio.blogspot.com/
http://www.facebook.com/voravuds
http://www.facebook.com/voravudstudio