คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
น่าจะมาจาก
1. การเล่นบทเกินอายุจริงของนักแสดงค่ะ เอาคนอายุไม่ถึง 20 มาเล่นบทคนอายุ 20-35 ปี เล่นบ่อยๆ คนดูก็คุ้นเคยกับวัยตามบทบาทที่ได้รับมากกว่าอายุจริง และทำให้นักแสดงที่อายุมากกว่านี้ต้องไปรับบทคนที่มีอายุมากกว่านั้น
พอย้อนมาดูนิยายที่เป็นที่มาของละคร อายุของพระเอกนางเอกก็อยู่ช่วง 25-35 ปีเป็นส่วนใหญ่ พอนำนักแสดงที่มีอายุตามตัวละครจริงมาเล่น คนดูก็ย่อมรู้สึกว่าแก่ค่ะ เพราะเค้ามองว่าสามารถนำคนที่อายุน้อยกว่ามาเล่นได้ค่ะ
2. บทพระเอกนางเอกต้องการคนมีฝีมือขนาดไหน ส่วนใหญ่พระเอกนางเอกมีบทดำเนินเรื่องก็วนอยู่เพียงรัก ทะเลาะ ง้อ งอน เข้าใจผิด จนชอบมีคำถามว่าตกลงพระเอกนางเอกเค้าไม่ต้องทำงานทำการเหรอ ;)
ข้อสำคัญ จุดขายของละครไทย อยู่ที่ พระ-นาง ค่ะ ทำให้ต้องเลือกคนที่คิดว่าขายได้ มีกลุ่มคนดูแน่ๆ เป็นหลักค่ะ แต่ระยะหลังก็มีแนวโน้มดูที่ภาพรวมมากขึ้น (ฝีมือการแสดง บท ผู้กำกับ แคสติ้ง)
ส่วนของบางประเทศที่เล่นเป็นพระเอกนางเอกกันเป็น 10-20 ปี นักแสดงจะเล่นตามวัยที่ใกล้เคียงกับอายุจริง บทที่ได้รับจะโตขึ้นตามวัยของนักแสดง และมีงานต่อเนื่องอย่างน้อยปีละเรื่อง
ทางด้านบทพระเอกนางเอก เค้าจะแสดงให้เห็นในหลายด้านหลายมุมของตัวละคร (ด้านการงาน ครอบครัว เพื่อน ฯลฯ) ทำให้ต้องการคนที่มีฝีมือการแสดงสูงโดยอัตโนมัติค่ะ
สำหรับบทโทรทัศน์ ส่วนใหญ่จะเขียนใหม่ ทำให้มีทางเลือกในการกำหนดอายุของพระเอกนางเอกได้มากกว่าค่ะ พระเอกนางเอกจะอายุ 40-50 ปีก็ได้ หรือจะพัฒนาโครงเรื่องให้ทันกับยุคสมัยก็ได้ค่ะ เช่น ประเทศเค้าเริ่มเข้าสู่วัยสังคมผู้สูงอายุ เค้าก็จับประเด็นเรื่องนี้มาสร้างเป็นละครได้ค่ะ (เรทติ้งดีด้วยค่ะ)
เพิ่มเติม อีกประเด็นนะคะ
หลังๆ มักจะเลือกพระนางที่อยู่ในกระแส ทำให้นักแสดงหันมาสร้างกระแสเป็นหลักมากกว่าพัฒนาฝีมือการแสดง
ทำให้เริ่มมีปัญหากับบทพระเอกนางเอกรุ่นเล็กที่ต้องใช้ฝีมือการแสดงสูง ต้องไปใช้นักแสดงที่มีอายุเกินกว่าบทมาเล่น เหมือนกรณีของแมทในข้าบดินทร์ค่ะ
1. การเล่นบทเกินอายุจริงของนักแสดงค่ะ เอาคนอายุไม่ถึง 20 มาเล่นบทคนอายุ 20-35 ปี เล่นบ่อยๆ คนดูก็คุ้นเคยกับวัยตามบทบาทที่ได้รับมากกว่าอายุจริง และทำให้นักแสดงที่อายุมากกว่านี้ต้องไปรับบทคนที่มีอายุมากกว่านั้น
พอย้อนมาดูนิยายที่เป็นที่มาของละคร อายุของพระเอกนางเอกก็อยู่ช่วง 25-35 ปีเป็นส่วนใหญ่ พอนำนักแสดงที่มีอายุตามตัวละครจริงมาเล่น คนดูก็ย่อมรู้สึกว่าแก่ค่ะ เพราะเค้ามองว่าสามารถนำคนที่อายุน้อยกว่ามาเล่นได้ค่ะ
2. บทพระเอกนางเอกต้องการคนมีฝีมือขนาดไหน ส่วนใหญ่พระเอกนางเอกมีบทดำเนินเรื่องก็วนอยู่เพียงรัก ทะเลาะ ง้อ งอน เข้าใจผิด จนชอบมีคำถามว่าตกลงพระเอกนางเอกเค้าไม่ต้องทำงานทำการเหรอ ;)
ข้อสำคัญ จุดขายของละครไทย อยู่ที่ พระ-นาง ค่ะ ทำให้ต้องเลือกคนที่คิดว่าขายได้ มีกลุ่มคนดูแน่ๆ เป็นหลักค่ะ แต่ระยะหลังก็มีแนวโน้มดูที่ภาพรวมมากขึ้น (ฝีมือการแสดง บท ผู้กำกับ แคสติ้ง)
ส่วนของบางประเทศที่เล่นเป็นพระเอกนางเอกกันเป็น 10-20 ปี นักแสดงจะเล่นตามวัยที่ใกล้เคียงกับอายุจริง บทที่ได้รับจะโตขึ้นตามวัยของนักแสดง และมีงานต่อเนื่องอย่างน้อยปีละเรื่อง
ทางด้านบทพระเอกนางเอก เค้าจะแสดงให้เห็นในหลายด้านหลายมุมของตัวละคร (ด้านการงาน ครอบครัว เพื่อน ฯลฯ) ทำให้ต้องการคนที่มีฝีมือการแสดงสูงโดยอัตโนมัติค่ะ
สำหรับบทโทรทัศน์ ส่วนใหญ่จะเขียนใหม่ ทำให้มีทางเลือกในการกำหนดอายุของพระเอกนางเอกได้มากกว่าค่ะ พระเอกนางเอกจะอายุ 40-50 ปีก็ได้ หรือจะพัฒนาโครงเรื่องให้ทันกับยุคสมัยก็ได้ค่ะ เช่น ประเทศเค้าเริ่มเข้าสู่วัยสังคมผู้สูงอายุ เค้าก็จับประเด็นเรื่องนี้มาสร้างเป็นละครได้ค่ะ (เรทติ้งดีด้วยค่ะ)
เพิ่มเติม อีกประเด็นนะคะ
หลังๆ มักจะเลือกพระนางที่อยู่ในกระแส ทำให้นักแสดงหันมาสร้างกระแสเป็นหลักมากกว่าพัฒนาฝีมือการแสดง
ทำให้เริ่มมีปัญหากับบทพระเอกนางเอกรุ่นเล็กที่ต้องใช้ฝีมือการแสดงสูง ต้องไปใช้นักแสดงที่มีอายุเกินกว่าบทมาเล่น เหมือนกรณีของแมทในข้าบดินทร์ค่ะ
แสดงความคิดเห็น
ปัจจัยใดทำให้คนไทยชอบนิยามคำว่านางเอกว่าต้องเด็ก