จริงหรือไม่ที่อาชีพรับจ้างเป็นอาชีพยอดนิยมของคนไทย ผมเห็นข้อความเก่าจากกระทู้เมื่อปี 2547 ยังไม่มีคำตอบเลย
"ถ้าไม่ใช่ข้าราชการส่วนใหญ่ถ้าเขียนไปว่าอาชีพรับจ้างก็จะไม่ค่อยมีปัญหาแต่ถ้าไปใส่ว่า วิศวกร แพทย์ นักบัญชี นักกฎหมาย ช่างซ่อมรถ ช่างปูน ช่างเหล็ก หมอดู หมอนวด ช่างทำผม ช่างตัดเสื้อ ศิลปิน นักวาดรูป นักเขียน จะมีปัญหา เจ้าหน้าที่รับเรื่องมักจะพยายามทำให้เป็นอาชีพรับจ้างหมดไม่ทราบว่าเพราะอะไร ใครรู้ช่วยบอกด้วย"
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://www.atriumtech.com/cgi-bin/hilightcgi?Home=/home/InterWeb2000&File=/home2/searchdata/Forums/http/www.ppantip.com/cafe/library/topic/K3098996/K3098996.html
อยากลองถามเพื่อนชาวพันทิปดูว่า
* ครั้งสุดท้ายที่กรอกแบบฟอร์มขอวีซ่า (ประเทศที่พัฒนาแล้ว/ประเทศกำลังพัฒนา)
* ครั้งสุดท้ายที่ติดต่อธนาคาร/บล./บลจ./... (ทั้งด้านฝากเงิน/สินเชื่อ/ประกัน/...)
* ครั้งสุดท้ายที่ติดต่อราชการ (ทั้งที่เราเป็นฝ่ายไปขอให้เขาช่วย/ที่เขาขอให้เราช่วย)
- สรรพากร
- สัสดี (สำหรับผู้ชาย)
- สำนักงานเขต/อำเภอ/กิ่งอำเภอ
- สำนักงานประกันสังคม
- จดทะเบียนนิติบุคคล (สมาคม มูลนิธิ ห้าง บริษัท)
- ...
คุณบอกเขาว่าทำอาชีพอะไร และเขายอมรับในข้อความที่คุณกรอกหรือไม่
เคยไหมที่ต้องใส่อาชีพของคุณว่า "รับจ้าง"
และผลจากการที่กรอกอาชีพไปอย่างนั้น ก่อให้เกิดผลอย่างไร
ผมมีสองสมมติฐานในใจ ไม่รู้ว่าผิดถูกอย่างไรให้ช่วยกันไปคิด
1. ในสารบบราชการยังไม่มีอาชีพอื่นที่เฉพาะทาง (แต่ไปดูในเว็บสำนักงานสถิติแห่งชาติก็พบว่ามีอาชีพอื่นให้เลือกมากมาย)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://service.nso.go.th/nso/knowledge/standard/page3.htm
2. เป็นเรื่องความสัมพันธุ์เชิงอำนาจบางอย่างระหว่างรัฐกับประชาชน สร้างเกียรติ สร้างความเป็นพวกเดียวกันให้กับผู้รับราชการ หรือแม้แต่ผู้เป็น "พนักงานราชการ" หรือเพื่อนร่วมอาชีพเดียวกันเอง ในขณะที่ลดความสำคัญของคนอื่นไม่ใช่พวกตน (ขอตัวอย่างหนึ่งจากเว็บเนติบัณฑิตยสภา)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://www.thethaibar.or.th/thaibarweb/index.php?id=member-approval
ผู้ขึ้นทะเบียนใหม่มีอาชีพส่วนใหญ่คือรับจ้าง นอกนั้นมีเพียง รับราชการ พนักงานราชการ และ (เสมียน) ทนายความ
สุ่มดูหลายสิบหน้าก็ไม่เห็นมีอาชีพอื่นเลย
ป.ล. สำหรับบางท่านอาจจะบอกว่าเรื่องแค่นี้อย่าคิดมาก ก็อาจจะจริงก็ได้ แต่ลองอ่านข้อความต่อไปนี้
1. ใช่เลย ในหลายๆ กรณี
ถ้าจะรับแต่คำตอบว่ารับจ้างหรือไม่รับจ้าง
ในแบบฟอร์มต่างๆ จะถามหาอาชีพไปทำอะไร ไม่ต้องถามหาอาชีพไปเลยดีกว่าไหม ?
ประหยัดเวลาคนมาติดต่อ ประหยัดเวลาคนดำเนินการเกี่ยวกับเอกสารนั้นต่อไป ประหยัดทรัพยากรของชาติ
2. ในหลายเรื่อง ผมคิดว่าคำว่าการใส่ "อาชีพรับจ้าง" แทนอาชีพที่เฉพาะเจาะจงมีผลต่อการตัดสินใจ ดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง
โดยเฉพาะเรื่องวีซ่า เรื่องการประเมินความเสี่ยงทางการเงิน เรื่องราชการบางอย่าง เช่น ภาษี การเรียกพลเพื่อฝึกวิชาทหาร ฯลฯ
ไม่ใช่ว่า "รับจ้าง" จะมองว่าไม่ดีอย่างเดียว บางครั้งเราก็อาจใช้ให้เป็นประโยชน์ได้เช่นกัน ถ้าเรารู้ว่าผู้มีอำนาจตัดสินใจคิดอย่างไร ?
เช่น ถ้าจะโดนขายประกันให้บอกว่ามีอาชีพรับจ้าง [หาเช้ากินค่ำ]... ?
3. ถ้ามีลูกมีหลาน เข้าโรงเรียนไปแล้วครูแนะแนวบอกว่าอาชีพในอนาคตมีแต่รับราชการกับรับจ้าง จะว่าอย่างไร ?
ถ้าไม่รับราชการหรือมีกิจการของตนเอง อาชีพของคุณคือ "รับจ้าง" ?
"ถ้าไม่ใช่ข้าราชการส่วนใหญ่ถ้าเขียนไปว่าอาชีพรับจ้างก็จะไม่ค่อยมีปัญหาแต่ถ้าไปใส่ว่า วิศวกร แพทย์ นักบัญชี นักกฎหมาย ช่างซ่อมรถ ช่างปูน ช่างเหล็ก หมอดู หมอนวด ช่างทำผม ช่างตัดเสื้อ ศิลปิน นักวาดรูป นักเขียน จะมีปัญหา เจ้าหน้าที่รับเรื่องมักจะพยายามทำให้เป็นอาชีพรับจ้างหมดไม่ทราบว่าเพราะอะไร ใครรู้ช่วยบอกด้วย"
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
อยากลองถามเพื่อนชาวพันทิปดูว่า
* ครั้งสุดท้ายที่กรอกแบบฟอร์มขอวีซ่า (ประเทศที่พัฒนาแล้ว/ประเทศกำลังพัฒนา)
* ครั้งสุดท้ายที่ติดต่อธนาคาร/บล./บลจ./... (ทั้งด้านฝากเงิน/สินเชื่อ/ประกัน/...)
* ครั้งสุดท้ายที่ติดต่อราชการ (ทั้งที่เราเป็นฝ่ายไปขอให้เขาช่วย/ที่เขาขอให้เราช่วย)
- สรรพากร
- สัสดี (สำหรับผู้ชาย)
- สำนักงานเขต/อำเภอ/กิ่งอำเภอ
- สำนักงานประกันสังคม
- จดทะเบียนนิติบุคคล (สมาคม มูลนิธิ ห้าง บริษัท)
- ...
คุณบอกเขาว่าทำอาชีพอะไร และเขายอมรับในข้อความที่คุณกรอกหรือไม่
เคยไหมที่ต้องใส่อาชีพของคุณว่า "รับจ้าง"
และผลจากการที่กรอกอาชีพไปอย่างนั้น ก่อให้เกิดผลอย่างไร
ผมมีสองสมมติฐานในใจ ไม่รู้ว่าผิดถูกอย่างไรให้ช่วยกันไปคิด
1. ในสารบบราชการยังไม่มีอาชีพอื่นที่เฉพาะทาง (แต่ไปดูในเว็บสำนักงานสถิติแห่งชาติก็พบว่ามีอาชีพอื่นให้เลือกมากมาย)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
2. เป็นเรื่องความสัมพันธุ์เชิงอำนาจบางอย่างระหว่างรัฐกับประชาชน สร้างเกียรติ สร้างความเป็นพวกเดียวกันให้กับผู้รับราชการ หรือแม้แต่ผู้เป็น "พนักงานราชการ" หรือเพื่อนร่วมอาชีพเดียวกันเอง ในขณะที่ลดความสำคัญของคนอื่นไม่ใช่พวกตน (ขอตัวอย่างหนึ่งจากเว็บเนติบัณฑิตยสภา)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ป.ล. สำหรับบางท่านอาจจะบอกว่าเรื่องแค่นี้อย่าคิดมาก ก็อาจจะจริงก็ได้ แต่ลองอ่านข้อความต่อไปนี้
1. ใช่เลย ในหลายๆ กรณี
ถ้าจะรับแต่คำตอบว่ารับจ้างหรือไม่รับจ้าง
ในแบบฟอร์มต่างๆ จะถามหาอาชีพไปทำอะไร ไม่ต้องถามหาอาชีพไปเลยดีกว่าไหม ?
ประหยัดเวลาคนมาติดต่อ ประหยัดเวลาคนดำเนินการเกี่ยวกับเอกสารนั้นต่อไป ประหยัดทรัพยากรของชาติ
2. ในหลายเรื่อง ผมคิดว่าคำว่าการใส่ "อาชีพรับจ้าง" แทนอาชีพที่เฉพาะเจาะจงมีผลต่อการตัดสินใจ ดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง
โดยเฉพาะเรื่องวีซ่า เรื่องการประเมินความเสี่ยงทางการเงิน เรื่องราชการบางอย่าง เช่น ภาษี การเรียกพลเพื่อฝึกวิชาทหาร ฯลฯ
ไม่ใช่ว่า "รับจ้าง" จะมองว่าไม่ดีอย่างเดียว บางครั้งเราก็อาจใช้ให้เป็นประโยชน์ได้เช่นกัน ถ้าเรารู้ว่าผู้มีอำนาจตัดสินใจคิดอย่างไร ?
เช่น ถ้าจะโดนขายประกันให้บอกว่ามีอาชีพรับจ้าง [หาเช้ากินค่ำ]... ?
3. ถ้ามีลูกมีหลาน เข้าโรงเรียนไปแล้วครูแนะแนวบอกว่าอาชีพในอนาคตมีแต่รับราชการกับรับจ้าง จะว่าอย่างไร ?