โดรน หรือ อากาศยานไร้คนขับ กำลังได้รับความนิยมในหลายวงการ เช่นเดียวกับการใช้เพื่อถ่ายทำหนังและละคร
แต่การถ่ายทำด้วยโดรนในสหรัฐฯยังมีข้อจำกัดมากมาย เมื่อสำนักงานการบินสหรัฐฯยังไม่อนุญาตให้โดรนถูกใช้ในเชิงพาณิชย์ได้อย่างเสรี
หากเป็นสมัยก่อน ฉากไล่ล่าขบวนรถไฟด้วยเฮลิคอปเตอร์ จำเป็นต้องนำทีมงานขึ้นไปถ่ายทำภาพมุมสูงบนเฮลิคอปเตอร์อีกลำหนึ่ง
แต่ใน The Expendables ภาค 3 ภาพเหล่านี้ถ่ายทำด้วยกล้องดิจิตอลขนาดเบา ที่ติดไปกับ โดรน หรือ อากาศยานไร้คนขับ
ที่ถูกบังคับทิศทางการบินจากพื้นดิน สร้างมุมมองทางอากาศได้หลากหลายมิติ อย่างที่การถ่ายทำบนเฮลิคอปเตอร์ให้ไม่ได้
ขณะที่การใช้โดรนเริ่มเป็นที่นิยมของผู้สร้างภาพยนตร์และละครในหลายประเทศ แต่ยังไม่ใช่ทางเลือกของผู้สร้างในสหรัฐฯ
เนื่องจากสำนักงานการบินสหรัฐฯ หรือ FAA ยังจำกัดการใช้โดรนในเชิงพาณิชย์ เนื่องจากความกังวลเรื่องความปลอดภัย
และปัญหาการละเมิดความเป็นส่วนตัว ทำให้ทีมงานของ The Expendables ภาค 3 ต้องยกกองไปถ่ายทำยังประเทศบัลกาเรีย
ซึ่งไม่มีการควบคุมการใช้โดรนเหมือนในสหรัฐฯ
ทางสมาคมผู้สร้างภาพยนตร์สหรัฐฯ หรือ MPAA พยายามกดดันให้สำนักงานการบินสหรัฐฯอนุญาตให้โดรนซึ่งมีน้ำหนักเบากว่า 55 ปอนด์
สามารถใช้ถ่ายทำหนังและละครในสหรัฐฯได้ โดยเสนอว่าถ่ายทำทุกครั้ง จะมีการขออนุญาตเจ้าของสถานที่ซึ่งใช้ถ่ายทำล่วงหน้าเสมอ
นอกจากการเพิ่มมุมมองที่หลากหลายให้หนังและละครแล้ว ข้อได้เปรียบของการใช้โดรนยังช่วยประหยัดงบประมาณในการถ่ายทำ
เมื่อทีมงาน The Expendables ภาค 3 ซึ่งใช้ทีมงานเพียง 2 ถึง 3 คนในการถ่ายทำด้วยโดรน สามารถประหยัดงบประมาณได้ถึง 1 ใน 3
จากเดิมที่คาดว่าต้องใช้เวลานับเดือนในการถ่ายทำฉากดังกล่าว แต่โดรนช่วยให้การถ่ายทำเสร็จในเวลาสัปดาห์กว่า ๆ เท่านั้น
ซึ่งการถ่ายทำฉากมุมสูงด้วยโดรน ยังช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุจากการขึ้นไปถ่ายทำด้วยเฮลิคอปเตอร์ ที่นำไปสู่การสูญเสียในวงการภาพยนตร์มาแล้วบ่อยครั้ง
ทั้งเหตุการณ์เฮลิคอปเตอร์ตกทับนักแสดงใน Twilight Zone: The Movie เมื่อปี 1982 หรือครั้งที่ เจมส์ คาเมรอน ต้องสูญเสียช่างภาพคนสนิทไป
กับอุบัติเหตุเฮลิคอปเตอร์ตกเมื่อปี 2012 โดยปีที่แล้ว Discovery ก็เพิ่งสูญเสียทีมงาน 3 คนจากเหตุเฮลิคอปเตอร์เช่นกัน
แต่อันตรายจากการใช้โดรนก็เป็นที่ถกเถียง หลังอุบัติเหตุโดรนตกใส่นักวิ่งมาราธอนหญิงที่ออสเตรเลียเมื่อช่วงต้นปี
และช่วงเดือนมีนาคมก็มีรายงานเหตุการณ์เครื่องบินจากสายการบินแห่งหนึ่งเกือบถูกโดรนที่บินมาใกล้ ๆ พุ่งชน โดย ริชาร์ด ครูโด
ประธานสมาคมช่างภาพของ MPAA ซึ่งตั้งฉายาให้โดรนเป็นเหมือนเครื่องตัดหญ้าบินได้
ย้ำว่าการใช้โดรนในการถ่ายทำภาพยนตร์ จะต้องตามมาด้วยมาตรการควบคุมความปลอดภัยอย่างเง้มงวด
เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่พร้อมจะเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ
Richard Crudo
http://news.thaipbs.or.th/content/โอกาส-อุปสรรคการใช้โดรนในวงการภาพยนตร์
"โอกาส-อุปสรรค" การใช้โดรนในวงการภาพยนตร์
โดรน หรือ อากาศยานไร้คนขับ กำลังได้รับความนิยมในหลายวงการ เช่นเดียวกับการใช้เพื่อถ่ายทำหนังและละคร
แต่การถ่ายทำด้วยโดรนในสหรัฐฯยังมีข้อจำกัดมากมาย เมื่อสำนักงานการบินสหรัฐฯยังไม่อนุญาตให้โดรนถูกใช้ในเชิงพาณิชย์ได้อย่างเสรี
หากเป็นสมัยก่อน ฉากไล่ล่าขบวนรถไฟด้วยเฮลิคอปเตอร์ จำเป็นต้องนำทีมงานขึ้นไปถ่ายทำภาพมุมสูงบนเฮลิคอปเตอร์อีกลำหนึ่ง
แต่ใน The Expendables ภาค 3 ภาพเหล่านี้ถ่ายทำด้วยกล้องดิจิตอลขนาดเบา ที่ติดไปกับ โดรน หรือ อากาศยานไร้คนขับ
ที่ถูกบังคับทิศทางการบินจากพื้นดิน สร้างมุมมองทางอากาศได้หลากหลายมิติ อย่างที่การถ่ายทำบนเฮลิคอปเตอร์ให้ไม่ได้
ขณะที่การใช้โดรนเริ่มเป็นที่นิยมของผู้สร้างภาพยนตร์และละครในหลายประเทศ แต่ยังไม่ใช่ทางเลือกของผู้สร้างในสหรัฐฯ
เนื่องจากสำนักงานการบินสหรัฐฯ หรือ FAA ยังจำกัดการใช้โดรนในเชิงพาณิชย์ เนื่องจากความกังวลเรื่องความปลอดภัย
และปัญหาการละเมิดความเป็นส่วนตัว ทำให้ทีมงานของ The Expendables ภาค 3 ต้องยกกองไปถ่ายทำยังประเทศบัลกาเรีย
ซึ่งไม่มีการควบคุมการใช้โดรนเหมือนในสหรัฐฯ
ทางสมาคมผู้สร้างภาพยนตร์สหรัฐฯ หรือ MPAA พยายามกดดันให้สำนักงานการบินสหรัฐฯอนุญาตให้โดรนซึ่งมีน้ำหนักเบากว่า 55 ปอนด์
สามารถใช้ถ่ายทำหนังและละครในสหรัฐฯได้ โดยเสนอว่าถ่ายทำทุกครั้ง จะมีการขออนุญาตเจ้าของสถานที่ซึ่งใช้ถ่ายทำล่วงหน้าเสมอ
นอกจากการเพิ่มมุมมองที่หลากหลายให้หนังและละครแล้ว ข้อได้เปรียบของการใช้โดรนยังช่วยประหยัดงบประมาณในการถ่ายทำ
เมื่อทีมงาน The Expendables ภาค 3 ซึ่งใช้ทีมงานเพียง 2 ถึง 3 คนในการถ่ายทำด้วยโดรน สามารถประหยัดงบประมาณได้ถึง 1 ใน 3
จากเดิมที่คาดว่าต้องใช้เวลานับเดือนในการถ่ายทำฉากดังกล่าว แต่โดรนช่วยให้การถ่ายทำเสร็จในเวลาสัปดาห์กว่า ๆ เท่านั้น
ซึ่งการถ่ายทำฉากมุมสูงด้วยโดรน ยังช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุจากการขึ้นไปถ่ายทำด้วยเฮลิคอปเตอร์ ที่นำไปสู่การสูญเสียในวงการภาพยนตร์มาแล้วบ่อยครั้ง
ทั้งเหตุการณ์เฮลิคอปเตอร์ตกทับนักแสดงใน Twilight Zone: The Movie เมื่อปี 1982 หรือครั้งที่ เจมส์ คาเมรอน ต้องสูญเสียช่างภาพคนสนิทไป
กับอุบัติเหตุเฮลิคอปเตอร์ตกเมื่อปี 2012 โดยปีที่แล้ว Discovery ก็เพิ่งสูญเสียทีมงาน 3 คนจากเหตุเฮลิคอปเตอร์เช่นกัน
แต่อันตรายจากการใช้โดรนก็เป็นที่ถกเถียง หลังอุบัติเหตุโดรนตกใส่นักวิ่งมาราธอนหญิงที่ออสเตรเลียเมื่อช่วงต้นปี
และช่วงเดือนมีนาคมก็มีรายงานเหตุการณ์เครื่องบินจากสายการบินแห่งหนึ่งเกือบถูกโดรนที่บินมาใกล้ ๆ พุ่งชน โดย ริชาร์ด ครูโด
ประธานสมาคมช่างภาพของ MPAA ซึ่งตั้งฉายาให้โดรนเป็นเหมือนเครื่องตัดหญ้าบินได้
ย้ำว่าการใช้โดรนในการถ่ายทำภาพยนตร์ จะต้องตามมาด้วยมาตรการควบคุมความปลอดภัยอย่างเง้มงวด
เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่พร้อมจะเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ
Richard Crudo
http://news.thaipbs.or.th/content/โอกาส-อุปสรรคการใช้โดรนในวงการภาพยนตร์