Fullmetal Alchemist Brotherhood: หนึ่งคือทุกสิ่ง, ทุกสิ่งคือหนึ่ง
Part 1
ฟูลเมทัลอัลเคมิสต์ มีชื่อภาษาไทยว่า “แขนกลคนแปรธาตุ”
ฟูลเมทัลฯ ฉบับหนังสือการ์ตูนตีพิมพ์โดยค่ายหนังสือชื่อดังของญี่ปุ่น จัดเป็นการ์ตูนประเภท “โชเน็น” หรือก็คือการ์ตูนสำหรับเด็กผู้ชายช่วงวัยรุ่นจนถึงวัยผู้ใหญ่ตอนต้น แต่ความจริงแล้วเนื้อหาของเรื่องนี้ไม่ได้เด็กเกินไปนัก และไม่ได้เฉพาะเจาะจงว่าทำมาเพื่อเด็กผู้ชายเสียทีเดียว ดังนั้นมันจึงเหมาะกับนักอ่านทุกเพศตั้งแต่วัยรุ่นขึ้นไป ต่างก็สามารถอ่านการ์ตูนเรื่องนี้ได้อย่างสนุกสนานเหมือนกัน
ฉันรู้จักกับฟูลเมทัลฯ เมื่อมันเป็นหนังสือการ์ตูนฉบับแปลไทยของสำนักพิมพ์สยามอินเตอร์คอมมิค ในตอนนั้นฉันเป็นเด็กอายุ 15-16 ปี ที่เติบโตมากับการ์ตูนแอคชั่นคอมเมดี้สำหรับเด็กผู้ชาย ฉันชอบการ์ตูนบู๊สนุกๆ เปิดตัวขำๆ เน้นมิตรภาพ การต่อสู้ สอดแทรกมุขเป็นระยะ และที่สำคัญคือต้อง “เข้าใจง่าย” ดังนั้นฉันที่เพิ่งจะได้อ่านฟูลเมทัลฯ ฉบับแปลไทยเล่มหนึ่งเป็นครั้งแรก จึง “ไม่เก็ต” การ์ตูนเรื่องนี้ และรู้สึก “เฉยๆ” กับมันมาก จนในที่สุดก็ไม่ได้ตามเล่มต่อ และลืมไปเลยว่ามีการ์ตูนเรื่องนี้อยู่บนโลกด้วย (ฮา)
ช่วงเวลาที่ชาวบ้านเขากำลังตื่นเต้นกับฉบับอนิเม ซึ่งขยันสร้างมาหลายภาคหลายจักรวาล บิดเบือนต้นฉบับบ้างอะไรบ้างจนเกิดดราม่ากันไปหลายยก ถกเถียงวิเคราะห์เนื้อหากันไปหลายกระบุง ฉันกลับไม่ได้รู้เรื่องอะไรกับเขาเลย และไม่ได้สนใจเท่าไรด้วย แต่ก็นับว่าโชคดีที่ฉันกลับมาติดตามฟูลเมทัลฯ อีกครั้งเมื่อฉันโตพอที่จะเข้าใจมัน แม้ตลาดจะวายหมดแล้วก็ตาม
ฟูลเมทัลฯ แบ่งเป็นสองภาคใหญ่ๆ คือภาค Brotherhood ซึ่งทำตามหนังสือการ์ตูนต้นฉบับทุกอย่าง และภาคอนิเมออริจินัล (หรืออนิเมภาคแรก) ซึ่งทีมงานอนิเมได้ทำการดัดแปลงเนื้อหาตอนกลางเรื่องไปจนจบเป็นอีกแบบหนึ่งแทน แถมยังมีเวอร์ชั่นภาพยนตร์อีกหลายภาคชวนให้สับสนเข้าไปอีก แต่ถ้านับเฉพาะซีรีย์หลักที่ใช้ชื่อว่า Fullmetal Alchemist ก็จะมีเพียงแค่สองภาคนี้เท่านั้น ทั้งนี้คุณสามารถเลือกดูภาคใดภาคหนึ่ง และเข้าใจมันได้โดยไม่จำเป็นต้องดูอีกภาคที่เหลือ
ฉันชอบอนิเมเรื่องนี้ทั้งสองภาค แต่ชอบภาค Brotherhood มากกว่า เพราะมันเป็นภาคที่ทำตามต้นฉบับเป๊ะ ดังนั้นมันจึงผูกเรื่องได้อย่างสมบูรณ์กว่า สนุกกว่า จบดีกว่า ที่สำคัญคือลึกซึ้งด้วยรายละเอียดและกินใจกว่ามาก ฉันเลยเลือกเขียนบทวิเคราะห์ฟูลเมทัลฯ ภาคนี้ขึ้นมา
ฟูลเมทัลอัลเคมิสต์ เป็นการ์ตูนที่ลึกซึ้งอย่างไม่น่าเชื่อ ไม่น่าเชื่อว่าการ์ตูนเรื่องนี้จะถูกจัดให้อยู่ในประเภทโชเน็น ไม่น่าเชื่อว่าคนเขียนจะเก่งถึงขนาดทำให้เรื่องเข้าใจยากอย่างเรื่องอภิปรัชญา กลายเป็นอะไรที่เข้าใจง่าย แถมสนุกจนคนดูพากันติดงอมแงม ที่สำคัญคือการ์ตูนเรื่องนี้ไม่ได้นำเสนอแค่แง่มุมใดแง่มุมหนึ่งเพียงอย่างเดียว แต่ยังนำเสนอในทุกๆ แง่มุมที่เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า “มนุษย์” ได้อย่างแจ่มแจ้ง ชัดเจน ตรงประเด็น และครอบคลุมอย่างที่สุด สำหรับฉันแล้ว คนเขียนการ์ตูนเรื่องนี้มีความคิดและประสบการณ์อยู่ในระดับที่ไม่ธรรมดาเลย
ฟูลเมทัลฯ เริ่มต้นจากสิ่งเล็กๆ ตัวตนเล็กๆ ของเด็กคนหนึ่ง ซึ่งผูกโยงอยู่กับความสัมพันธ์เล็กๆ ระหว่างเขากับครอบครัว และเมื่อเวลาผ่านไป ความสัมพันธ์เล็กๆ นั้นก็ขยายตัวขึ้นทีละน้อย จากครอบครัวสู่ถิ่นฐานบ้านเกิด จากถิ่นฐานบ้านเกิดสู่เมืองหลวง จากเมืองหลวงสู่ผู้มีอำนาจปกครอง จากผู้มีอำนาจปกครองสู่การเมือง จากการเมืองสู่สงคราม จากสงครามสู่การสร้างวิทยาการเพื่อตอบสนองความต้องการ จากความต้องการอันไร้ขีดจำกัดสู่ความดันทุรังจะอยู่เหนือกฎธรรมชาติ จากกฎธรรมชาติสู่สัจธรรม และหลังจากมองเห็นสัจธรรมจนเต็มสองตา การ์ตูนเรื่องนี้ก็จะพาเราวนกลับมาที่ “ตัวตน”
การ์ตูนเรื่องนี้แสดงให้เราเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งเล็กๆ หนึ่งสิ่ง ที่เมื่อหนึ่งสิ่งเหล่านั้นมารวมตัวกัน ก็จะกลายเป็นเครือข่ายความสัมพันธ์อันใหญ่มหึมา ใหญ่เสียจนครอบคลุมไปทั้งจักรวาล ทุกสิ่งเกาะเกี่ยวโยงใย ส่งผลกระทบถึงกันและกัน เพราะสิ่งนี้เกิด สิ่งนั้นจึงเกิด ความเล็กน้อยไม่ได้เป็นเพียงความเล็กน้อย แต่ความเล็กน้อยเป็นส่วนหนึ่งของทุกสิ่งทั้งหมด
ในจักรวาลของฟูลเมทัลฯ มีสิ่งที่เรียกกันว่า “วิชาเล่นแร่แปรธาตุ” แม้จะฟังดูเหมือนเป็นวิชาเวทมนตร์คาถา แต่สำหรับการ์ตูนเรื่องนี้วิชาเล่นแร่แปรธาตุถือเป็นวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่ง เพราะมันมีหลักการอยู่ว่า เราต้องเข้าใจโครงสร้างของสารที่เราจะแปรธาตุเสียก่อน เมื่อเข้าใจแล้วจึงแยกส่วนมัน จากนั้นค่อยประกอบมันขึ้นมาใหม่ให้เป็นสารอื่นโดยอาศัยความเข้าใจนั้น ดังนั้น เราจะไม่สามารถเสกสร้างวัตถุหรือสารใดก็ตามออกมาจากความว่างเปล่าได้ เราทำได้แค่เรียนรู้โครงสร้างและดัดแปลงสสารที่มีอยู่แล้วเท่านั้น
ฟูลเมทัลฯ มักจะเปิดตัวด้วยวลีที่ว่า “การแปรธาตุ คือกฎของการแลกเปลี่ยนที่เท่าเทียม เมื่อเราอยากได้สิ่งใด ก็ต้องจ่ายค่าตอบแทนที่เท่าเทียมกัน” เช่น เมื่อคุณจะสร้างเพชร คุณต้องมีคาร์บอนในปริมาณที่มากพอ เมื่อคุณแยกไฮโดรเจนออกจากน้ำ คุณก็จะได้ระเบิด เป็นต้น การแปรธาตุแต่ละครั้งต้องใช้วงแหวนเวทย์ และพลังงานในตัวของนักแปรธาตุ ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีอุปกรณ์ยุ่งยากเหมือนในความจริง ตัววงแหวนเวทย์เหมือนเป็นสัญลักษณ์แทน “ความรู้” และ “อุปกรณ์” ในวิชาแปรธาตุแขนงหนึ่งๆ ส่วน “เจตนา” หรือ “ความปรารถนา” ที่จะสร้างอะไรต่อมิอะไรของนักแปรธาตุก็คือ “พลังงาน”
การที่การ์ตูนเรื่องนี้หยิบยกเอา “ความปรารถนา” ซึ่งเป็นอารมณ์ความรู้สึก ให้เป็นสัญลักษณ์แทน “พลังงาน” นั้นมีนัยยะสำคัญอย่างมากทีเดียว
ฉากหลังของฟูลเมทัลฯ เป็นประเทศที่คล้ายกับยุโรปในยุคเครื่องจักรไอน้ำ และมีประเทศที่มีวัฒนธรรมจำลองมาจากกรีกโบราณ อินเดีย จีน อาหรับ เป็นตัวเสริม ซึ่งการมีวัฒนธรรมที่หลากหลายอยู่ในเรื่อง กลายเป็นการผูกปมอันซับซ้อนหลายชั้น แน่นอนว่าไม่ได้มีแค่ความหลากหลายทางวัฒนธรรมเท่านั้นที่ซับซ้อน แต่ “ทุกประเด็น” ที่ถูกใส่เข้าไปในเรื่องนี้ล้วนเป็นการผูกปมอันซับซ้อน อันที่จริงเราไม่ควรจะพูดว่าทุกสิ่งเกี่ยวข้องกันเป็นลูกโซ่ เพราะมันไม่ได้เกี่ยวข้องกันอย่างเป็นระบบระเบียบขนาดนั้น แต่มันโยงกันไปมาเหมือนใยแมงมุมอันสับสนยุ่งเหยิง ตัวตนของหนึ่งตัวละครจะเข้าไปพัวพันตั้งแต่สิ่งเล็กๆ จนไปถึงสิ่งใหญ่ๆ ตั้งแต่ครอบครัว การเมือง สงคราม จนไปถึงกฎจักรวาล โดยที่ทั้งหมดนั้นเกิดขึ้นพร้อมกัน เรียกได้ว่าเมื่อมีตัวละครขยับตัวหนึ่งครั้ง ทุกสิ่งที่ว่าไปย่อมต้องสั่นสะเทือนตามไปด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ตัวละครหลักของการ์ตูนเรื่องนี้คือสองพี่น้องเอลริก คนพี่ชื่อเอ็ดเวิร์ด เอลริก ส่วนคนน้องชื่ออัลฟองเซ่ เอลริก ถ้าเราสังเกตดู ในตอนเริ่มต้น การ์ตูนเรื่องนี้จะเน้นไปที่ความสัมพันธ์ของสิ่งเล็กๆ อย่างครอบครัว และชีวิตวัยเด็กอันเรียบง่ายของสองพี่น้อง พวกเขาเติบโตมาในบ้านที่มีแต่แม่ พ่อในความทรงจำอันพร่าเลือนของเอ็ดเวิร์ด เป็นแค่ผู้ชายบ้าวิชาแปรธาตุ ซึ่งมักจะคร่ำเคร่งอยู่กับเอกสารวิชาการในห้องทำงาน จนวันหนึ่งพ่อก็ทิ้งแม่ เขา กับน้องชายออกจากบ้านไป และไม่กลับมาอีกเลย
แต่ถึงกระนั้นแม่ก็ยังรักพ่อ รอพ่อ ไม่เคยว่าร้ายพ่อให้ลูกๆ ฟังแม้แต่คำเดียว อัลฟองเซ่ซึ่งยังเด็กจำอะไรไม่ได้มากนัก เขามีนิสัยใจเย็นคล้ายแม่ แถมยังคิดถึงพ่อในแง่ดีเหมือนแม่อีกด้วย ในขณะที่เอ็ดเวิร์ดพี่ชายคนโตกลับรู้สึกโกรธฝังใจที่พ่อทิ้งพวกตนเอาไว้ แต่ต่อให้เอ็ดเวิร์ดจะเกลียดพ่อมากแค่ไหน เขาก็มักจะเข้าไปค้นหาหนังสือเกี่ยวกับการแปรธาตุของพ่อมาอ่านกับอัลฟองเซ่เสมอๆ ทั้งสองคนต่างหลงใหลในวิชาแปรธาตุเหมือนกันตั้งแต่เด็ก รอยยิ้มอย่างภาคภูมิใจของแม่ที่บอกว่า “สมเป็นลูกพ่อ” ยิ่งทำให้ทั้งสองคนหมกมุ่นอยู่กับวิชาแปรธาตุมากขึ้น เอ็ดเวิร์ดคล้ายกับจะยกตัวเองมาแทนตำแหน่งของพ่อเพื่อให้แม่มีความสุขโดยไม่รู้ตัว จนในที่สุดตัวตนของเขาก็แทบจะถอดแบบออกมาจากพ่ออย่างไม่มีผิดเพี้ยน ไม่ว่าจะเป็นนิสัย หน้าตา หรือความหลงใหลในวิชาเล่นแร่แปรธาตุ
เทียบกันแล้ว เอ็ดเวิร์ดมีพรสวรรค์ด้านการเล่นแร่แปรธาตุมากกว่าอัลฟองเซ่ แต่อัลฟองเซ่มีทักษะการต่อสู้ดีกว่า และใจเย็นมากกว่า สามคนแม่ลูกอาศัยอยู่ในชนบทอันห่างไกลความเจริญ วัยเด็กของพวกเขาสัมผัสใกล้ชิดกับสังคมเกษตรกรรมขนาดเล็กและสงบเงียบ ทุกวันผันผ่านไปกับการเจอแม่น้ำ ทุ่งนา ทุ่งหญ้า เนินเขาเขียวขจี ต้นไม้ ท้องฟ้ากว้าง และสายลมเย็นสบาย (แต่ไม่ได้แปลว่าใช้ชีวิตอย่างสุขสบายตามนะจ๊ะ เด็กบ้านนอกส่วนใหญ่ต้องทำอะไรมากกว่าเรียนหนังสือกับวิ่งเล่น คนเขียนการ์ตูนก็โตมาในสังคมชนบทเลยเข้าใจเรื่องนี้ดีทีเดียว ถ้าอยากอ่านเรื่องเกี่ยวกับการเกษตรของคนเขียนท่านนี้แนะนำ “Silver Spoon” กับเรื่อง “รากหญ้าบรรดาศักดิ์” เขียนสนุกมากไม่แพ้กัน)
พวกเขามีเด็กผู้หญิงอายุรุ่นราวคราวเดียวกันคนหนึ่งเป็นเพื่อนบ้าน ชื่อว่าวินรี่ ร็อกเบล ครอบครัวร็อกเบลกับเอลริกสนิทสนมกันมาตั้งแต่รุ่นพ่อแม่ปู่ย่าตายาย อีกทั้งยังให้การช่วยเหลือซึ่งกันและกันมาโดยตลอด ต่อให้ชีวิตขาดส่วนประกอบที่เรียกว่าพ่อ สองพี่น้องก็สามารถอยู่กันได้อย่างไม่ทุกข์ร้อนอะไร จนกระทั่ง...แม่ของพวกเขาล้มป่วย และตายจากไปกะทันหัน
จุดเริ่มต้นมันก็ง่ายๆ แค่นั้น ดูเป็นชีวิตที่ราบเรียบอย่างถึงที่สุดแม้กระทั่งตอนที่แม่ตาย ความตายเป็นเรื่องปรกติธรรมดา เป็นเรื่องที่ไม่ว่าใครก็ต้องพบเจอ และใครที่เคยสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักก็ย่อมต้องเป็นทุกข์ พวกเขาเองก็เช่นกัน เมื่อแม่ซึ่งเป็นที่พึ่งเพียงหนึ่งเดียวในโลกด่วนจากไป เด็กชายทั้งสองจึงถูกสถานการณ์บีบบังคับให้ต้องกลายเป็นผู้ใหญ่เดี๋ยวนั้นอย่างไม่ทันตั้งตัว ทั้งหมดนี้เพราะไม่มีพ่อ...
แต่สิ่งที่ทำให้ทุกอย่างพลิกผันจริงๆ ไม่ใช่การที่พวกเขาไม่มีพ่อ แต่เป็นการที่พวกเขาดัน “มีความรู้” ในวิชาการเล่นแร่แปรธาตุ
สปอยล์ และวิเคราะห์ Fullmetal Alchemist Brotherhood (อย่างละเอียดมาก)
Part 1
ฟูลเมทัลอัลเคมิสต์ มีชื่อภาษาไทยว่า “แขนกลคนแปรธาตุ”
ฟูลเมทัลฯ ฉบับหนังสือการ์ตูนตีพิมพ์โดยค่ายหนังสือชื่อดังของญี่ปุ่น จัดเป็นการ์ตูนประเภท “โชเน็น” หรือก็คือการ์ตูนสำหรับเด็กผู้ชายช่วงวัยรุ่นจนถึงวัยผู้ใหญ่ตอนต้น แต่ความจริงแล้วเนื้อหาของเรื่องนี้ไม่ได้เด็กเกินไปนัก และไม่ได้เฉพาะเจาะจงว่าทำมาเพื่อเด็กผู้ชายเสียทีเดียว ดังนั้นมันจึงเหมาะกับนักอ่านทุกเพศตั้งแต่วัยรุ่นขึ้นไป ต่างก็สามารถอ่านการ์ตูนเรื่องนี้ได้อย่างสนุกสนานเหมือนกัน
ฉันรู้จักกับฟูลเมทัลฯ เมื่อมันเป็นหนังสือการ์ตูนฉบับแปลไทยของสำนักพิมพ์สยามอินเตอร์คอมมิค ในตอนนั้นฉันเป็นเด็กอายุ 15-16 ปี ที่เติบโตมากับการ์ตูนแอคชั่นคอมเมดี้สำหรับเด็กผู้ชาย ฉันชอบการ์ตูนบู๊สนุกๆ เปิดตัวขำๆ เน้นมิตรภาพ การต่อสู้ สอดแทรกมุขเป็นระยะ และที่สำคัญคือต้อง “เข้าใจง่าย” ดังนั้นฉันที่เพิ่งจะได้อ่านฟูลเมทัลฯ ฉบับแปลไทยเล่มหนึ่งเป็นครั้งแรก จึง “ไม่เก็ต” การ์ตูนเรื่องนี้ และรู้สึก “เฉยๆ” กับมันมาก จนในที่สุดก็ไม่ได้ตามเล่มต่อ และลืมไปเลยว่ามีการ์ตูนเรื่องนี้อยู่บนโลกด้วย (ฮา)
ช่วงเวลาที่ชาวบ้านเขากำลังตื่นเต้นกับฉบับอนิเม ซึ่งขยันสร้างมาหลายภาคหลายจักรวาล บิดเบือนต้นฉบับบ้างอะไรบ้างจนเกิดดราม่ากันไปหลายยก ถกเถียงวิเคราะห์เนื้อหากันไปหลายกระบุง ฉันกลับไม่ได้รู้เรื่องอะไรกับเขาเลย และไม่ได้สนใจเท่าไรด้วย แต่ก็นับว่าโชคดีที่ฉันกลับมาติดตามฟูลเมทัลฯ อีกครั้งเมื่อฉันโตพอที่จะเข้าใจมัน แม้ตลาดจะวายหมดแล้วก็ตาม
ฟูลเมทัลฯ แบ่งเป็นสองภาคใหญ่ๆ คือภาค Brotherhood ซึ่งทำตามหนังสือการ์ตูนต้นฉบับทุกอย่าง และภาคอนิเมออริจินัล (หรืออนิเมภาคแรก) ซึ่งทีมงานอนิเมได้ทำการดัดแปลงเนื้อหาตอนกลางเรื่องไปจนจบเป็นอีกแบบหนึ่งแทน แถมยังมีเวอร์ชั่นภาพยนตร์อีกหลายภาคชวนให้สับสนเข้าไปอีก แต่ถ้านับเฉพาะซีรีย์หลักที่ใช้ชื่อว่า Fullmetal Alchemist ก็จะมีเพียงแค่สองภาคนี้เท่านั้น ทั้งนี้คุณสามารถเลือกดูภาคใดภาคหนึ่ง และเข้าใจมันได้โดยไม่จำเป็นต้องดูอีกภาคที่เหลือ
ฉันชอบอนิเมเรื่องนี้ทั้งสองภาค แต่ชอบภาค Brotherhood มากกว่า เพราะมันเป็นภาคที่ทำตามต้นฉบับเป๊ะ ดังนั้นมันจึงผูกเรื่องได้อย่างสมบูรณ์กว่า สนุกกว่า จบดีกว่า ที่สำคัญคือลึกซึ้งด้วยรายละเอียดและกินใจกว่ามาก ฉันเลยเลือกเขียนบทวิเคราะห์ฟูลเมทัลฯ ภาคนี้ขึ้นมา
ฟูลเมทัลอัลเคมิสต์ เป็นการ์ตูนที่ลึกซึ้งอย่างไม่น่าเชื่อ ไม่น่าเชื่อว่าการ์ตูนเรื่องนี้จะถูกจัดให้อยู่ในประเภทโชเน็น ไม่น่าเชื่อว่าคนเขียนจะเก่งถึงขนาดทำให้เรื่องเข้าใจยากอย่างเรื่องอภิปรัชญา กลายเป็นอะไรที่เข้าใจง่าย แถมสนุกจนคนดูพากันติดงอมแงม ที่สำคัญคือการ์ตูนเรื่องนี้ไม่ได้นำเสนอแค่แง่มุมใดแง่มุมหนึ่งเพียงอย่างเดียว แต่ยังนำเสนอในทุกๆ แง่มุมที่เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า “มนุษย์” ได้อย่างแจ่มแจ้ง ชัดเจน ตรงประเด็น และครอบคลุมอย่างที่สุด สำหรับฉันแล้ว คนเขียนการ์ตูนเรื่องนี้มีความคิดและประสบการณ์อยู่ในระดับที่ไม่ธรรมดาเลย
ฟูลเมทัลฯ เริ่มต้นจากสิ่งเล็กๆ ตัวตนเล็กๆ ของเด็กคนหนึ่ง ซึ่งผูกโยงอยู่กับความสัมพันธ์เล็กๆ ระหว่างเขากับครอบครัว และเมื่อเวลาผ่านไป ความสัมพันธ์เล็กๆ นั้นก็ขยายตัวขึ้นทีละน้อย จากครอบครัวสู่ถิ่นฐานบ้านเกิด จากถิ่นฐานบ้านเกิดสู่เมืองหลวง จากเมืองหลวงสู่ผู้มีอำนาจปกครอง จากผู้มีอำนาจปกครองสู่การเมือง จากการเมืองสู่สงคราม จากสงครามสู่การสร้างวิทยาการเพื่อตอบสนองความต้องการ จากความต้องการอันไร้ขีดจำกัดสู่ความดันทุรังจะอยู่เหนือกฎธรรมชาติ จากกฎธรรมชาติสู่สัจธรรม และหลังจากมองเห็นสัจธรรมจนเต็มสองตา การ์ตูนเรื่องนี้ก็จะพาเราวนกลับมาที่ “ตัวตน”
การ์ตูนเรื่องนี้แสดงให้เราเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งเล็กๆ หนึ่งสิ่ง ที่เมื่อหนึ่งสิ่งเหล่านั้นมารวมตัวกัน ก็จะกลายเป็นเครือข่ายความสัมพันธ์อันใหญ่มหึมา ใหญ่เสียจนครอบคลุมไปทั้งจักรวาล ทุกสิ่งเกาะเกี่ยวโยงใย ส่งผลกระทบถึงกันและกัน เพราะสิ่งนี้เกิด สิ่งนั้นจึงเกิด ความเล็กน้อยไม่ได้เป็นเพียงความเล็กน้อย แต่ความเล็กน้อยเป็นส่วนหนึ่งของทุกสิ่งทั้งหมด
ในจักรวาลของฟูลเมทัลฯ มีสิ่งที่เรียกกันว่า “วิชาเล่นแร่แปรธาตุ” แม้จะฟังดูเหมือนเป็นวิชาเวทมนตร์คาถา แต่สำหรับการ์ตูนเรื่องนี้วิชาเล่นแร่แปรธาตุถือเป็นวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่ง เพราะมันมีหลักการอยู่ว่า เราต้องเข้าใจโครงสร้างของสารที่เราจะแปรธาตุเสียก่อน เมื่อเข้าใจแล้วจึงแยกส่วนมัน จากนั้นค่อยประกอบมันขึ้นมาใหม่ให้เป็นสารอื่นโดยอาศัยความเข้าใจนั้น ดังนั้น เราจะไม่สามารถเสกสร้างวัตถุหรือสารใดก็ตามออกมาจากความว่างเปล่าได้ เราทำได้แค่เรียนรู้โครงสร้างและดัดแปลงสสารที่มีอยู่แล้วเท่านั้น
ฟูลเมทัลฯ มักจะเปิดตัวด้วยวลีที่ว่า “การแปรธาตุ คือกฎของการแลกเปลี่ยนที่เท่าเทียม เมื่อเราอยากได้สิ่งใด ก็ต้องจ่ายค่าตอบแทนที่เท่าเทียมกัน” เช่น เมื่อคุณจะสร้างเพชร คุณต้องมีคาร์บอนในปริมาณที่มากพอ เมื่อคุณแยกไฮโดรเจนออกจากน้ำ คุณก็จะได้ระเบิด เป็นต้น การแปรธาตุแต่ละครั้งต้องใช้วงแหวนเวทย์ และพลังงานในตัวของนักแปรธาตุ ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีอุปกรณ์ยุ่งยากเหมือนในความจริง ตัววงแหวนเวทย์เหมือนเป็นสัญลักษณ์แทน “ความรู้” และ “อุปกรณ์” ในวิชาแปรธาตุแขนงหนึ่งๆ ส่วน “เจตนา” หรือ “ความปรารถนา” ที่จะสร้างอะไรต่อมิอะไรของนักแปรธาตุก็คือ “พลังงาน”
การที่การ์ตูนเรื่องนี้หยิบยกเอา “ความปรารถนา” ซึ่งเป็นอารมณ์ความรู้สึก ให้เป็นสัญลักษณ์แทน “พลังงาน” นั้นมีนัยยะสำคัญอย่างมากทีเดียว
ฉากหลังของฟูลเมทัลฯ เป็นประเทศที่คล้ายกับยุโรปในยุคเครื่องจักรไอน้ำ และมีประเทศที่มีวัฒนธรรมจำลองมาจากกรีกโบราณ อินเดีย จีน อาหรับ เป็นตัวเสริม ซึ่งการมีวัฒนธรรมที่หลากหลายอยู่ในเรื่อง กลายเป็นการผูกปมอันซับซ้อนหลายชั้น แน่นอนว่าไม่ได้มีแค่ความหลากหลายทางวัฒนธรรมเท่านั้นที่ซับซ้อน แต่ “ทุกประเด็น” ที่ถูกใส่เข้าไปในเรื่องนี้ล้วนเป็นการผูกปมอันซับซ้อน อันที่จริงเราไม่ควรจะพูดว่าทุกสิ่งเกี่ยวข้องกันเป็นลูกโซ่ เพราะมันไม่ได้เกี่ยวข้องกันอย่างเป็นระบบระเบียบขนาดนั้น แต่มันโยงกันไปมาเหมือนใยแมงมุมอันสับสนยุ่งเหยิง ตัวตนของหนึ่งตัวละครจะเข้าไปพัวพันตั้งแต่สิ่งเล็กๆ จนไปถึงสิ่งใหญ่ๆ ตั้งแต่ครอบครัว การเมือง สงคราม จนไปถึงกฎจักรวาล โดยที่ทั้งหมดนั้นเกิดขึ้นพร้อมกัน เรียกได้ว่าเมื่อมีตัวละครขยับตัวหนึ่งครั้ง ทุกสิ่งที่ว่าไปย่อมต้องสั่นสะเทือนตามไปด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ตัวละครหลักของการ์ตูนเรื่องนี้คือสองพี่น้องเอลริก คนพี่ชื่อเอ็ดเวิร์ด เอลริก ส่วนคนน้องชื่ออัลฟองเซ่ เอลริก ถ้าเราสังเกตดู ในตอนเริ่มต้น การ์ตูนเรื่องนี้จะเน้นไปที่ความสัมพันธ์ของสิ่งเล็กๆ อย่างครอบครัว และชีวิตวัยเด็กอันเรียบง่ายของสองพี่น้อง พวกเขาเติบโตมาในบ้านที่มีแต่แม่ พ่อในความทรงจำอันพร่าเลือนของเอ็ดเวิร์ด เป็นแค่ผู้ชายบ้าวิชาแปรธาตุ ซึ่งมักจะคร่ำเคร่งอยู่กับเอกสารวิชาการในห้องทำงาน จนวันหนึ่งพ่อก็ทิ้งแม่ เขา กับน้องชายออกจากบ้านไป และไม่กลับมาอีกเลย
แต่ถึงกระนั้นแม่ก็ยังรักพ่อ รอพ่อ ไม่เคยว่าร้ายพ่อให้ลูกๆ ฟังแม้แต่คำเดียว อัลฟองเซ่ซึ่งยังเด็กจำอะไรไม่ได้มากนัก เขามีนิสัยใจเย็นคล้ายแม่ แถมยังคิดถึงพ่อในแง่ดีเหมือนแม่อีกด้วย ในขณะที่เอ็ดเวิร์ดพี่ชายคนโตกลับรู้สึกโกรธฝังใจที่พ่อทิ้งพวกตนเอาไว้ แต่ต่อให้เอ็ดเวิร์ดจะเกลียดพ่อมากแค่ไหน เขาก็มักจะเข้าไปค้นหาหนังสือเกี่ยวกับการแปรธาตุของพ่อมาอ่านกับอัลฟองเซ่เสมอๆ ทั้งสองคนต่างหลงใหลในวิชาแปรธาตุเหมือนกันตั้งแต่เด็ก รอยยิ้มอย่างภาคภูมิใจของแม่ที่บอกว่า “สมเป็นลูกพ่อ” ยิ่งทำให้ทั้งสองคนหมกมุ่นอยู่กับวิชาแปรธาตุมากขึ้น เอ็ดเวิร์ดคล้ายกับจะยกตัวเองมาแทนตำแหน่งของพ่อเพื่อให้แม่มีความสุขโดยไม่รู้ตัว จนในที่สุดตัวตนของเขาก็แทบจะถอดแบบออกมาจากพ่ออย่างไม่มีผิดเพี้ยน ไม่ว่าจะเป็นนิสัย หน้าตา หรือความหลงใหลในวิชาเล่นแร่แปรธาตุ
เทียบกันแล้ว เอ็ดเวิร์ดมีพรสวรรค์ด้านการเล่นแร่แปรธาตุมากกว่าอัลฟองเซ่ แต่อัลฟองเซ่มีทักษะการต่อสู้ดีกว่า และใจเย็นมากกว่า สามคนแม่ลูกอาศัยอยู่ในชนบทอันห่างไกลความเจริญ วัยเด็กของพวกเขาสัมผัสใกล้ชิดกับสังคมเกษตรกรรมขนาดเล็กและสงบเงียบ ทุกวันผันผ่านไปกับการเจอแม่น้ำ ทุ่งนา ทุ่งหญ้า เนินเขาเขียวขจี ต้นไม้ ท้องฟ้ากว้าง และสายลมเย็นสบาย (แต่ไม่ได้แปลว่าใช้ชีวิตอย่างสุขสบายตามนะจ๊ะ เด็กบ้านนอกส่วนใหญ่ต้องทำอะไรมากกว่าเรียนหนังสือกับวิ่งเล่น คนเขียนการ์ตูนก็โตมาในสังคมชนบทเลยเข้าใจเรื่องนี้ดีทีเดียว ถ้าอยากอ่านเรื่องเกี่ยวกับการเกษตรของคนเขียนท่านนี้แนะนำ “Silver Spoon” กับเรื่อง “รากหญ้าบรรดาศักดิ์” เขียนสนุกมากไม่แพ้กัน)
พวกเขามีเด็กผู้หญิงอายุรุ่นราวคราวเดียวกันคนหนึ่งเป็นเพื่อนบ้าน ชื่อว่าวินรี่ ร็อกเบล ครอบครัวร็อกเบลกับเอลริกสนิทสนมกันมาตั้งแต่รุ่นพ่อแม่ปู่ย่าตายาย อีกทั้งยังให้การช่วยเหลือซึ่งกันและกันมาโดยตลอด ต่อให้ชีวิตขาดส่วนประกอบที่เรียกว่าพ่อ สองพี่น้องก็สามารถอยู่กันได้อย่างไม่ทุกข์ร้อนอะไร จนกระทั่ง...แม่ของพวกเขาล้มป่วย และตายจากไปกะทันหัน
จุดเริ่มต้นมันก็ง่ายๆ แค่นั้น ดูเป็นชีวิตที่ราบเรียบอย่างถึงที่สุดแม้กระทั่งตอนที่แม่ตาย ความตายเป็นเรื่องปรกติธรรมดา เป็นเรื่องที่ไม่ว่าใครก็ต้องพบเจอ และใครที่เคยสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักก็ย่อมต้องเป็นทุกข์ พวกเขาเองก็เช่นกัน เมื่อแม่ซึ่งเป็นที่พึ่งเพียงหนึ่งเดียวในโลกด่วนจากไป เด็กชายทั้งสองจึงถูกสถานการณ์บีบบังคับให้ต้องกลายเป็นผู้ใหญ่เดี๋ยวนั้นอย่างไม่ทันตั้งตัว ทั้งหมดนี้เพราะไม่มีพ่อ...
แต่สิ่งที่ทำให้ทุกอย่างพลิกผันจริงๆ ไม่ใช่การที่พวกเขาไม่มีพ่อ แต่เป็นการที่พวกเขาดัน “มีความรู้” ในวิชาการเล่นแร่แปรธาตุ