== ความรักและคณิตศาสตร์ หัวใจของความจริงที่ซ่อนอยู่ Love and Math: The Heart of Hidden Reality ==

วันนี้ผมได้กลับไปอ่านทบทวนหนังสือฟิสิกส์ปีหนึ่งของ Serway ก่อนที่จะเข้าเนื้อหาการของฟิสิกส์
หนังสือเล่มนี้ได้ยกคำพูดของ อองรี ปวงกาเร นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศสมา ความว่า

“The scientist does not study nature because it is useful; he studies it because he delights in it, and he delights in it because it is beautiful. If nature were not beautiful, it would not be worth knowing, and if nature were not worth knowing, life would not be worth living.”

แปลเป็นภาษาไทยก็คงประมาณว่า

"นักวิทยาศาสตร์ไม่ได้ศึกษาธรรมชาติเพราะมันมีประโยชน์ เขาศึกษาเพราะเขาเป็นสุขใจกับมัน เขาเป็นสุขใจกับมันเพราะมันมีสวยงาม ถ้าธรรมชาติไม่สวยงาม มันก็ไม่มีค่าพอในการเรียนรู้ ถ้าธรรมชาติไม่มีค่าพอในการเรียนรู้  ชีวิตก็ไม่มีค่าพอแก่การดำรงอยู่"


Henri Poincare


และก็พึ่งได้มีโอกาสฟังเสียงธรรมบรรยายจากท่านศาสตราจารย์พิเศษ พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) ตอนหนึ่งท่านตั้งข้อสังเกตว่าคนไทยส่วนใหญ่เข้าใจผิดชอบคิดว่าเทคโนโลยีคือวิทยาศาสตร์ ทั้งสองสิ่งนี้สัมพันธ์กันแต่คนละอย่างกัน แต่คนไทยจำนวนมากชอบเข้าใจเรื่องนี้ผิดๆ ความจริงแล้ว เทคโนโลยีต่างๆที่เราเห็นคือ การที่นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม ส่วนวิทยาศาสตร์แล้วนั้นคือการศึกษาทำความเข้าใจปรากฎการณ์ธรรมชาติ ต้องทำความเข้าใจให้ถูกต้อง



พระพรหมคุณาภรณ์


วันนี้จะมาพูดถึงเรื่องทางวิทยาศาสตร์ เรื่องความเข้าใจธรรมชาติ ในหัวข้อ ความรักและคณิตศาสตร์ หัวใจของความจริงที่ซ่อนอยู่
ขอเชิญมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้เลยครับ

ก่อนเข้าเนื้อหา
ไปฟังเพลงกันก่อนครับ

เพลง Turn Down For What
ศิลปิน DJ Snake feat. Lil Jon  

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
========================




แน่นอนวิชาคณิตศาสตร์นี่เป็นวิชาที่หลายคนไม่ชอบ พอมีคณิตศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้องก็กลัว บางคนถึงกับวิ่งหนี แต่จะไปกลัวคณิตศาสตร์ทำไมมันไม่ได้มาขอยืมตังเราสักหน่อย ก็มีหลากหลายความเห็นถ้าไปถามว่าทำไมถึงเกลียดคณิตสาสตร์ แน่นอน คำว่า ความรัก กับ คณิตศาสตร์ไม่สมควรมาอยู่ในประโยคเดียวกันใช่ไหมหล่ะ



วิ่งหนีวิชาคณิตศาสตร์

แน่นอนนักเศรษศาสตร์ชื่อดัง John Maynard Keynes บอกเราว่า  “In the long run we are all dead” สุดท้ายแล้วเราทุกคนก็ล้วนต้องตาย แล้วเราจะไปปวดหัวกับวิชาคณิตสาสตร์ทำไม มิสู้เอาเวลาไปหาอาหารอร่อยกิน ไปเที่ยวให้สนุก ไปเดินห้าง อัพรูปลงเฟซบุค ตั้งสเตตัสเกี่ยวกับความรักคมๆ รอคนกดไลค์ แค่นี้ก็สุขใจแล้วมิใช่หรือ แต่บางคนก็ไม่ได้ต้องการแบบนั้น เขารู้สึกหลงไหลในปริศนาของเอกภพ ปริศนาที่คณิตศาสตร์น่าจะให้คำตอบแก่เราได้


มันมีความลับในโลกนี้อยู่ เอกภพคู่ขนานกับเอกภพของเราที่สวยงามและน่าหลงไหล มันคือโลกของคณิตศาสตร์ มันมองไม่เห็นสำหรับผู้คนส่วนมาก



มันช่างเป็นเรื่องปฏิทรรศน์  (paradox) ยิ่งนัก



อย่างไรกันเล่า ในทางหนึ่งแล้วคณิตศาสตร์เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันยิ่งนัก ตอนเช้าไปตลาดซื้อข้าวก็ต้องนับตังเพื่อไปซื้อของ จะเล่นหวยก็ต้องไปหาเลขเด็ดๆ หรือทุกครั้งที่เราซื้อของออนไลน์ ส่งข้อความ sms  ค้นหาโดยกูเกิล ใช้ gps  ตีดอท กดวินนิ่ง สูตรคณิตศาสตร์และอัลกอริทึ่มเป็นตัวการอยู่เบื้องหลังทั้งสิ้น แต่ในอีกทางหนึ่งแล้ว ผู้คนส่วนใหญ่กลับกลัวคณิตศาสตร์ มันเป็นโลกที่กวีชื่อ  Hans Magnus Enzensberger กล่าวว่า "มันเป็นจุดมืดบอดแห่งสังคมเรา เป็นพื้นที่แปลกปลอม ซึ่งมีแต่พวกชนชั้นนำเท่านั้นที่เข้าไปได้..."

ทำไมถึงเป็นแบบนั้น เหตุผลหลักที่เป็นไปได้ 2 อย่างคือ คณิตศาสตร์เป็นเรื่องทางนามธรรมมากกว่าวิชาอื่นๆ ดังนั้นมันเลยยากกว่าในการศึกษาทำความเข้าใจ อย่างที่สองคือคณิตศาสตร์ที่เราเรียนในโรงเรียนเป็นเพียงแค่ส่วนเล็กน้อยของคณิตศาสตร์ ส่วนใหญ่ของมันถูกทำความเข้าใจกระจ่างแจ้งมานานเป็นร้อยเป็นพันปีแล้ว ปัจจุบันคณิตศาสตร์ถูกพัฒนาขึ้นอย่างมาก คณิตศาสตร์ในปัจจุบันถูกซ่อนไว้จากผู้คนส่วนใหญ่

สมมติที่โรงเรียนคุณมีวิชาศิลปะ คุณถูกสอนแค่วิชาใช้ดินสอวาดรูป ถ้าคุณไม่เคยเห็นรูปวาดระดับเมพๆของดาวินชี หรือปิกัสโซ่เลย คุณจะชอบวิชาศิลปะไหม ผมสงสัย คุณอาจจะบอกว่า การเรียนศิลปะที่โรงเรียนเป็นเรื่องเสียเวลา แน่นอนถ้าฉันต้องการรูปวาดสวยๆฉันก็เอาเงินไปจ้างศิลปินที่สะพานพุทธมาวาดรูปให้ดีกว่า




รูปวาดของปิกัสโซ่


คณิตศาสตร์ก็เช่นกัน ในโรงเรียนคุณถูกสอนแต่เรื่องเก่า พื้นฐาน ในขณะที่รูปวาดขั้นเทพมีคนทำอยู่แล้ว เช่นกันคณิตศาสตร์ก็เป็นแบบนั้น
อย่างไรก็ตามมันไม่ใช่แค่ความสวยงามของคณิตศาสตร์ที่ทำให้ผู้คนติดใจ กาลิเลโอเคยกล่าวประโยคเด็ดไว้ว่า







"กฎทางธรรมชาติถูกเขียนโดยภาษาคณิตศาสตร์"






คณิตศาสตร์เป็นเป็นหนทางแห่งการอธิบายความจริงและอธิบายว่าโลกทำงานอย่างไร มันเป็นภาษาสากลในการอธิบายความจริง  ในโลกของเราปัจจุบันนี้ถูกขับเคลื่อนโดยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากขึ้นเรื่อยๆอย่างไม่เคยมีมาก่อน


แน่นอนธรรมชาติที่แสนสวยงามที่เราเห็น มีกฎทางคณิตศาสตร์อยู่เบื้องหลัง !

หนึ่งในความเข้าใจผิดเกี่ยวกับคณิตศาสตร์คือมันเป็นเพียงแค่  เครื่องมือ   นักชีววิทยาอาจไปออกงานภาคสนาม เก็บข้อมูล และพยายามสร้างแบบจำลองคณิตศาสตร์ให้สอดคล้องกับข้อมูลเหล่านั้น ในขณะที่เรื่องนี้เป็นคุณประโยชน์ที่สำคัญของคณิตศาสตร์ แต่คณิตศาสตร์ยังมีประโยชน์มากกว่านี้อีกมากมาย มันสามารถสร้าง การเปลี่ยนกระบวนทัศน์ (paradigm-shift) (เย้ๆในที่สุดก็ได้เขียนคำนี้ลงกระทู้เท่จริงๆ 555)


ตัวอย่างเช่น อัลเบิต ไอนสไตน์ไม่ได้พยายามที่จะนำข้อมูลที่ได้พยายามให้สอดคล้องกับสมการ เมื่อเขาเข้าใจว่าแรงโน้มถ่วงทำให้ปริภูมิของเรา (space) มีความโค้ง ความจริงแล้วมันไม่มีหรอกข้อมูล ไม่มีใครสามารถจินตนาการได้ว่า ปริภูมิของเราโค้ง แต่ไอนสไตน์เข้าใจว่ามันเป็นหนทางเดียวที่จะ generalize ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษของเขาไปเป็นระบบแบบ non-inertial และด้วยความเมพของเขาทำให้เขาเข้าใจว่า ความโน้มถ่วงและความเร่งก่อให้เกิดผลแบบเดียวกัน นี่เป็นความเมพขิงๆด้านคณิตสาสตร์ของไอนสไตน์ ซึ่งมาจากงานของนักคณิตศาสตร์ แบร์นฮาร์ด รีมันน์  (Bernhard Riemann ) ซึ่งเป็นงานที่เขาทำเสร็จเมื่อ 50 ปีที่แล้ว  


สมองของมนุษย์ไม่สามารถจินตนาการปริภูมิโค้งในมิติที่มากกว่า 2 ได้


สมองของมนุษย์เป็นเรื่องแปลกที่มันไม่สามารถจินตนาการปริภูมิโค้งในมิติที่มากกว่า 2 ได้ แต่เราสามารถเข้าใจ เข้าถึงได้ผ่านเฉพาะทางคณิตศาสตร์เท่านั้น  และแน่นอน เอกภพของเรานั้นโค้ง มันเป็นความจริง และมันกำลังขยายตัวด้วย นี่แหละคือพลังของคณิตศาสตร์ !




"พลังที่ยิ่งใหญ่มาพร้อมกับความรับผิดชอบที่ยิ่งใหญ่" สไปเดอร์แมนกล่าวไว้






ตัดเข้าโฆษณาก่อน
เดี๋ยวมาต่อครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่