สมัยมัธมมีเพื่อนที่เป็นเพื่อนในกลุ่มอิจฉาเรา และหาวิธีมาแกล้งเราอย่างหนักหลายวิธี ตอนนี้เราเป็นโรคจิตหวาดระแหวงกลัวคนมาแกล้งทำร้าย อยากรู้ว่าการเขียนจดหมายเพื่อที่จะไปบอกว่าสิ่งที่เค้าทำมันแย่แค่ไหน เพระาหลังจากทำเค้าก็ไม่ได้คิดว่ามันเป็นเรื่องอะไรเลยเราเลยอยากลองเขียนข้อความในเฟสไปบอกเค้า ท่าน ว บอกว่าการให้อภัยพรำ่เพื่อมันไม่มีประโยชน์อะไร เราควรจะให้อภัยเฉาะคนที่สำนึกผิด
การให้อภัยเป็นเรื่องที่ดี แต่พอให้อยู่เสมอ กลับกลายเป็นต้องยอมอยู่ตลอด
เพราะคนที่ได้รับการอภัยไม่เคยสำนึกได้เลยว่าทำอะไรไม่ดีไว้บ้าง
ยังคงเป็นเช่นเดิมไม่เปลี่ยนแปลง ควรทำอย่างไร
การให้อภัยเป็นสิ่งที่ดี ไม่มีใครเถียง แต่การ "ให้อภัยอยู่เสมอ" นี่เอง
คือสาเหตุที่ทำให้การอภัยนั้นไม่มีราคา ไม่มีน้ำหนัก ไม่มีความหมาย
ในใจของผู้รับ
สาเหตุก็เพราะคุณกำลังทำผิดหลักการของการให้อภัยที่แท้
การให้อภัยที่ถูกนั้นควรให้เพียงครั้งเดียวหรือสองครั้งเท่านั้น ถ้ามีการ
ให้อภัยจนเป็นเรื่องปกติก็ไม่ใช่ความผิดของผู้ทำผิด หากแต่เป็นความผิด
ของผู้ให้อภัยเอง ที่ให้ไม่เป็น หรือไม่มีศิลปะของการให้ การให้อภัย
ซ้ำซากคือการลดคุณค่าของการให้อภัย หรือคือการแสดงให้เห็นว่าสิ่ง
ที่ทำผิดพลาดไปไม่ใช่เรื่องใหญ่โต
ในทางพุทธศาสนา เวลาให้อภัยใคร ท่านวางขั้นตอนดังนี้
1. ผู้ทำผิดต้องตระหนักรู้ถึงความผิดที่ได้ทำลงไปแล้ว
2. ตัวผู้ทำผิดนั้นเกิดความรู้สึกอยากจะขอโทษ
3. พยายามขอโทษด้วยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่ง
4. ผู้ที่เหนือกว่าเขายกโทษให้ (= ให้อภัย)
5. ก่อนจะยกโทษ มีการชี้แจงความผิดและชี้ทางออกที่ถูกต้องให้
6. ผู้ทำผิดและมาขอให้บยกโทษให้ ตั้งใจว่าจะปรับปรุงตัว บางที
อาจมีการปฏิญาณตนว่าจะเริ่มต้นชีวิตใหม่ในทางที่ถูกต้อง
ลองทบทวนดูว่าทำไมการให้อภัยของคุณจึงให้ผลในทางลบ ทั้งที่
การให้อภัยเป็นเรื่องที่ดี
ในประเทศญี่ปุ่น มีเด็กหนุ่มคนหนึ่งเกเร ติดเหล้า ติดการพนัน
แม่ห้ามอย่างไรก็ไม่ฟัง จนปัญญาจะทำให้กลับตัวเป็นคนดีได้
หลวงลุงซึ่งบวชเป็นพระเซนอยู่ทราบเรื่อง รีบเดินทางกลับมายัง
บ้านน้องสาวและพำนักที่บ้านหลังนั้นหนึ่งคืน เช้ามาขณะกำลังจะ
เดินทางกลับ หลวงลุงหารองเท้ามาสวมด้วยด้วยกิริยางก ๆ เงิ่น ๆ
เจ้าหนุ่มที่เพิ่งฟื้นจากอาการเมาแอ๋กลับจากบ่อนเมื่อใกล้รุ่ง จึงกุลีกุจอ
เข้าไปช่วยผูกเชือกรองเท้า หลวงลุงยืดตัวขึ้นพลางลูบหัวพร้อมกล่าว
ว่า
"หลานเอ้ย! หลวงลุงต้องขอโทษด้วยที่รบกวนเธอ ดูเอาเถอะ
คนเราวันหนึ่งก็ต้องแก่เหมือนหลวงลุงนี่แหละ พอแก่แล้วทำอะไรก็
ไม่สะดวก หูตาฝ้าฟางลงทุกที นี่แค่ผูกเชือกรองเท้ายังต้องพึ่งคนอื่น
เลย หลวงลุงขอโทษเธอจริง ๆ นะ เฮ้อ! ไม่น่าเกิดมาสร้างภาระให้
ใครเลย"
ไม่พูดเปล่า น้ำตาหลวงลุงร่วงพรูลงบนหลังมือเจ้าหลานชาย นาทีนั้น
เอง ชายหนุ่มเริ่มรู้สึกว่าเขาทอดทิ้งหลวงลุงมาเป็นเวลานาน แล้วใจ
ก็เชื่อมโยงถึงผู้เป็นแม่ ซึ่งต้องคอยเป็นห่วงเป็นใยเขาวันแล้ววันเล่า
โอ... เขากลายเป็นภาระของแม่ไปตั้งแต่เมื่อไหร่กัน หยาดน้ำตาบน
หลังมือพลันให้เขาเกิดสามัญสำนึกถึงความไม่ได้เรื่องของตน จึงบอกว่า
"หลวงลุงครับ ผมต่างหากที่ต้องขอโทษ ผมละเลยทั้งแม่และหลวงลุง
มาโดยตลอด จากนี้ไปผมจะเริ่มต้นชีวิตใหม่ ขอหลวงลุงให้อภัยผมด้วย"
จากนั้นเป็นต้นมา แม่ก็ได้ลูกชายคนใหม่มาด้วยกุศโลบายในการทำให้
หลานชายรู้สึกสำนึกผิดอย่างลึกซึ้งจากหลวงลุงของเขานั่นเอง
การให้อภัยที่จะมีผลที่แท้จริงจึงไม่ใช่การบอกว่า "ฉันยกโทษให้เธอ"
แล้วจบกัน หากแต่ต้องมาจากการที่คนทำผิดเกิดจิตสำนึกขึ้นมาอย่าง
ถ่องแท้ว่าสิ่งทีเขาทำนั้นผิด แล้วอยากเริ่มต้นใหม่ อยากแก้ไขตัวเอง
หากการให้อภัยดำเนินไปในลักษณะนี้ จึงจะเป็นการให้อภัยใน
ความหมายที่แท้
ควรเขียนจดหมายไปบอกเพื่อนสมัยมัธยมจนส่งผลให้เราเป็นโรคจิตหวาดระแวงหรือไม่
การให้อภัยเป็นเรื่องที่ดี แต่พอให้อยู่เสมอ กลับกลายเป็นต้องยอมอยู่ตลอด
เพราะคนที่ได้รับการอภัยไม่เคยสำนึกได้เลยว่าทำอะไรไม่ดีไว้บ้าง
ยังคงเป็นเช่นเดิมไม่เปลี่ยนแปลง ควรทำอย่างไร
การให้อภัยเป็นสิ่งที่ดี ไม่มีใครเถียง แต่การ "ให้อภัยอยู่เสมอ" นี่เอง
คือสาเหตุที่ทำให้การอภัยนั้นไม่มีราคา ไม่มีน้ำหนัก ไม่มีความหมาย
ในใจของผู้รับ
สาเหตุก็เพราะคุณกำลังทำผิดหลักการของการให้อภัยที่แท้
การให้อภัยที่ถูกนั้นควรให้เพียงครั้งเดียวหรือสองครั้งเท่านั้น ถ้ามีการ
ให้อภัยจนเป็นเรื่องปกติก็ไม่ใช่ความผิดของผู้ทำผิด หากแต่เป็นความผิด
ของผู้ให้อภัยเอง ที่ให้ไม่เป็น หรือไม่มีศิลปะของการให้ การให้อภัย
ซ้ำซากคือการลดคุณค่าของการให้อภัย หรือคือการแสดงให้เห็นว่าสิ่ง
ที่ทำผิดพลาดไปไม่ใช่เรื่องใหญ่โต
ในทางพุทธศาสนา เวลาให้อภัยใคร ท่านวางขั้นตอนดังนี้
1. ผู้ทำผิดต้องตระหนักรู้ถึงความผิดที่ได้ทำลงไปแล้ว
2. ตัวผู้ทำผิดนั้นเกิดความรู้สึกอยากจะขอโทษ
3. พยายามขอโทษด้วยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่ง
4. ผู้ที่เหนือกว่าเขายกโทษให้ (= ให้อภัย)
5. ก่อนจะยกโทษ มีการชี้แจงความผิดและชี้ทางออกที่ถูกต้องให้
6. ผู้ทำผิดและมาขอให้บยกโทษให้ ตั้งใจว่าจะปรับปรุงตัว บางที
อาจมีการปฏิญาณตนว่าจะเริ่มต้นชีวิตใหม่ในทางที่ถูกต้อง
ลองทบทวนดูว่าทำไมการให้อภัยของคุณจึงให้ผลในทางลบ ทั้งที่
การให้อภัยเป็นเรื่องที่ดี
ในประเทศญี่ปุ่น มีเด็กหนุ่มคนหนึ่งเกเร ติดเหล้า ติดการพนัน
แม่ห้ามอย่างไรก็ไม่ฟัง จนปัญญาจะทำให้กลับตัวเป็นคนดีได้
หลวงลุงซึ่งบวชเป็นพระเซนอยู่ทราบเรื่อง รีบเดินทางกลับมายัง
บ้านน้องสาวและพำนักที่บ้านหลังนั้นหนึ่งคืน เช้ามาขณะกำลังจะ
เดินทางกลับ หลวงลุงหารองเท้ามาสวมด้วยด้วยกิริยางก ๆ เงิ่น ๆ
เจ้าหนุ่มที่เพิ่งฟื้นจากอาการเมาแอ๋กลับจากบ่อนเมื่อใกล้รุ่ง จึงกุลีกุจอ
เข้าไปช่วยผูกเชือกรองเท้า หลวงลุงยืดตัวขึ้นพลางลูบหัวพร้อมกล่าว
ว่า
"หลานเอ้ย! หลวงลุงต้องขอโทษด้วยที่รบกวนเธอ ดูเอาเถอะ
คนเราวันหนึ่งก็ต้องแก่เหมือนหลวงลุงนี่แหละ พอแก่แล้วทำอะไรก็
ไม่สะดวก หูตาฝ้าฟางลงทุกที นี่แค่ผูกเชือกรองเท้ายังต้องพึ่งคนอื่น
เลย หลวงลุงขอโทษเธอจริง ๆ นะ เฮ้อ! ไม่น่าเกิดมาสร้างภาระให้
ใครเลย"
ไม่พูดเปล่า น้ำตาหลวงลุงร่วงพรูลงบนหลังมือเจ้าหลานชาย นาทีนั้น
เอง ชายหนุ่มเริ่มรู้สึกว่าเขาทอดทิ้งหลวงลุงมาเป็นเวลานาน แล้วใจ
ก็เชื่อมโยงถึงผู้เป็นแม่ ซึ่งต้องคอยเป็นห่วงเป็นใยเขาวันแล้ววันเล่า
โอ... เขากลายเป็นภาระของแม่ไปตั้งแต่เมื่อไหร่กัน หยาดน้ำตาบน
หลังมือพลันให้เขาเกิดสามัญสำนึกถึงความไม่ได้เรื่องของตน จึงบอกว่า
"หลวงลุงครับ ผมต่างหากที่ต้องขอโทษ ผมละเลยทั้งแม่และหลวงลุง
มาโดยตลอด จากนี้ไปผมจะเริ่มต้นชีวิตใหม่ ขอหลวงลุงให้อภัยผมด้วย"
จากนั้นเป็นต้นมา แม่ก็ได้ลูกชายคนใหม่มาด้วยกุศโลบายในการทำให้
หลานชายรู้สึกสำนึกผิดอย่างลึกซึ้งจากหลวงลุงของเขานั่นเอง
การให้อภัยที่จะมีผลที่แท้จริงจึงไม่ใช่การบอกว่า "ฉันยกโทษให้เธอ"
แล้วจบกัน หากแต่ต้องมาจากการที่คนทำผิดเกิดจิตสำนึกขึ้นมาอย่าง
ถ่องแท้ว่าสิ่งทีเขาทำนั้นผิด แล้วอยากเริ่มต้นใหม่ อยากแก้ไขตัวเอง
หากการให้อภัยดำเนินไปในลักษณะนี้ จึงจะเป็นการให้อภัยใน
ความหมายที่แท้