ย้อนดูคลิปจาก'แรงเงา'ไม่ว่าจะเป็น ตบน้อยหน้ากระทรวง หรือ ตบลวงหน้ากอง ต่างก็แรงทะลุหลักแสนไปแล้ว...ละครเรื่องนี้ก่อให้เกิดกระแสระดับปรากฏการณ์ ตั้งแต่หัวข้อสนทนาบนโต๊ะทำงาน รายงานสดบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ ไปจนถึงการชักชวนผู้เชี่ยวชาญจากหลายแขนงให้มาวิเคราะห์ประเด็นต่างๆ ที่ซุกซ่อนอยู่ภายใน โดยเฉพาะการสะท้อนภาพสังคมรายวันซึ่งถูกเคลื่นที่ทับความรุนแรงและศีลธรรมสีเทา
"คุณนันทนา (ผู้ประพันธ์นิยาย'แรงเงา') เธอทุกข์มากเวลาเขียนเรื่องแบบนี้ เพราะอินแล้วก็เจ็บ" พี่แก๊ป -- วิสุทธิชัย บุณยกาญจน ในชุดเสื้อยืดกางเกงยีนส์สบายๆ พูดคุยกับเราด้วยสีหน้ายิ้มแย้ม "แต่พี่ไม่ทุกข์เลย สนุกมาก(หัวเราะ)"
ยิ่งน่าเชื่อว่าด้วยประสบการณ์เขียนบทมาแล้วทั้ง'สตรีเหล็ก' และ 'ปีหนึ่ง เพื่อนกัน และวันอัศจรรย์(ของผม)' จะทำให้ความรู้สึกที่เขามีต่อวงการจอเงินนั้นน่าสนุกไม่แพ้กันเลยที่เดียว
หยิบบทประพันธ์เรื่องไหนดี
ขึ้นชื่อว่าเป็นละครไทย หลายคนอาจร้องยี้ (ด้วยความอินดี้) พลันตราหน้าไปเสียก่อนว่ามีแต่พล็อตน้ำเน่าแบบเดิมๆ อคติเช่นนี้จึงทำให้นักเขียนบทละครหวั่นวิตก เพราะนอกจากจะต้องใช้ทักษะความชำนาญแล้ว ยังต้องพึ่งประสาทสัมผัสที่หกในการหยิบบทประพันธ์มาดัดแปลงด้วย
ตามขั้นตอนปกติ ส่วนใหญ่ทางช่องทีวีจะตกตลงกับผู้เขียนก่อนว่าอยากทำละครเรื่องอะไร โดยส่งเรื่องย่อให้อ่านประกอบการตัดสินใจ แต่เพื่อความชัวร์นั้น พี่แก๊ปกลับเลือกอ่านนิยายทั้งเล่มแทน แล้วกะเกณฑ์ด้วยประสบการณ์เองว่าเรื่องไหนเขียนออกมาแล้วจะสนุกระดับถึงพริกถึงขิง
"
หลายเรื่องที่ไม่เขียนเพราะเป็นไปตามสูตรมากๆ คือเรื่องน้ำเน่าธรรมดา ใครๆก็เขียนได้ พระเอก-นางเอกเดินชนกัน เกลียดกันทะเลาะกันครึงแรก อีกครึ่งเรื่องรักกัน โดยเฉพาะบางเรื่อง ถ้าฟีลกู้ดจริงๆ พล็อตจะอ่อน มีทางเดียวคือสร้างตัวละครและเสริมรายละเอียดทั้งหลายเข้ามา ซึ่งบุคลิกตัวละครก็จะมีนางเอกแสนซนหยิ่ง เก่งหรือแสนดีวนๆอยู่แค่นี้ ถ้าเป็นอย่างนี้เราก็ต้องหาวิธีแตกต่างออกไป เช่น อาจเป็นพาโรดี้ ล้อตัวเองเป็นต้น"
สารพัดสารพันเส้นเรื่อง
เรามักสังเกตุเห็นยู่เสมอว่ามักให้ความสำคัญกับคู่พระ-นางเสียเยอะ เหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะทางช่องทีวีขีดข้อจำกัดบางอย่างในการเขียนบทเอาไว้ เช่น ห้ามให้พระ-นางเป็นเด็กอยู่หนึ่งตอนแล้วท้ายเรื่องค่อยโต, ทั้งคู่ต้องเจอกันช้าสุดคือจบเบรคที่4 (ตอนที่1ของบท) หรือบางทีต้องให้พระเอก-นางเอกทะเลาะกันทั้งที่ไม่มีเหตุจำเป็น
อย่างไหร่ก็ดี สิ่งหนึ่งที่น่าเป็นดั่งลายเซ็นในบทละครของพี่แก๊ปก็คือ นอกจากคู่พระ-นางแล้ว ตัวละครอื่นๆในเรื่องก็ยังมีความขัดแย้งในตัวเอง มีเหตุที่ต้องประสบพบเจอและมี 'ชีวิต' อันมาจากการชำนาญในการวางเส้นเรื่องเยอะๆ แล้วให้มันพันกัน
"ปกติเส้นเรื่องของละครอื่นๆจะมีสัก 3-4 เส้น แต่เราทำทุกเรื่องไม่น้อยกว่า 10เส้น เพราะชอบแนวกิมย้ง ในผลงานของเขา ทุกซับพล็อตจะมีส่วนต้นเรื่องหมด มีตัวละครเยอะ ซึ่งในความรู้สึกของเรา โลกจริงๆมันเป็นอย่างนั้น เรามีบ้าน มีเพื่อนมหาลัย มีเพื่อนประถม มีเพื่อนร่วมงาน เรามีญาติและผู้คนอื่นอีกเยอะแยะที่มาผลักดันชีวิตเรา อย่างละครเกาหลีมีเรื่องหนึ่งนักแสดงสี่คน เราก็จะงงว่าไม่มีเพื่อนเหรอ หรือดู 'ชัตเตอร์' เราก็สงสัยว่าเขาเจอผีแล้วทำไมไม่ไปรดน้ำมนต์ แต่ไม่ได้บอกว่าหนังเขาไม่ดีน่ะ"
เขียนแรงเงายังไงให้แรง
ไม่ว่าจะเป็นฉากตบสะท้านจอสะเทือนใจ, การส่งโจรบุกไปข่มขืนถึงห้องพัก, เผยแพร่คลิปแฉวีรกรรมหลังฉาก, แขวนคอฆ่าตัสตาย หรือบมทพูดของตัวละครที่เสียดสีตัวเองอย่าง
"เรื่องนี้ฉันก็ดูตอนเด็กๆ ไม่เห็นจะเป็นอะไรเลย" นั้นยิ่งโหมกระหน่ำให้ 'แรงเงา' ติดอันดับละครเรตติ้งแรงไปพร้อมๆกับการนำเสนอที่รุนแรงจนสาแก่ใจคนดู
ทว่าความรุนแรงนั้นใช่จะไร้ที่มาที่ไป เพราะมันสอดแทรกด้วยประสบการณ์ของผู้เขียนบทเองด้วย "
เรื่องนี้พี่อินเป็นพิเศษ เพราะพี่เลี้ยงพี่ที่เคยสนิทเคยผูกคอตายตอนพี่อายุสักสิบขวบ ซึ่งสาเหตุน่าจะมาจากความรักนี่แหละ แล้วช่วงที่พี่ไปเก็บข้าวของเธอ ก็พบชุดแต่งงาน พร้อมด้วยชุดรดน้ำ ชุดตักบาตรครบ พี่เลยขอเอามาใส่ในชีวิตของมุตตา"
ส่วนบทพูดบางส่วนก็คงสไตล์นิยายต้นฉบับของคุณนันทนา วีระชน
"เวลาเธอเขียนนิยายจะมีสองแนว แนวตบกัน ไดอะล็อกด่ากันโดยมีเซ้นต์ตลก กับแนวซีเรียส ทิ้งมุขหมดเลยแล้วมีไดอะล็อกแรงๆเข้ามาแทนที่ อย่างเช่น 'แรงเงา' ก็เป็นนิยายที่ทุกอย่างแรงหมด ไม่มีส่วนเล่นเลย ฉะนั้นเวลาเขียนเรื่องนี้ก็เสียดายลีลาของคุณนันทนาที่ดูแล้วหัวเราะแทบตาย เราจึงขอยืมไดอะล็อกั้คุณนันทนาใช้ในเรื่องตลกมาใส่ในเรื่องนี้บ้าง"
อย่างไรก็ตาม พี่แก๊ปยังย้ำว่าละครเรื่องนี้สอนธรรมะ และมีธีมเรื่องกรรมครอบคลุมอยู่ "
เราไม่สามารถต้านทางกฏแห่งกรรมได้ ส่วนคนที่มาแก้แค้น ในที่สุดแล้วเขาก็รู้ว่าควรอโหสิกรรมกันดีกว่า" เพื่อขบเน้นประเด็นนี้ให้ชัดขึ้น พี่แก๊ปจึงต้องเพิ่มบทตัวละครของมุตตาอย่างมโหฬาร จากเดิมที่นิยายเปิดมา มุนินทร์ก็เพิ่งกลับจากต่างประเทศ เปิดประคูห้องเข้าไปก็เห็นน้องห้อยต่องแต่งอยู่
"เราต้องแต่งเองทั้งหมดเพื่อให้คนดูเห็นความแตกต่างชัดๆ ทั้งการถูกกระทำในครึ่งแรกและการเอาคืนในครึ่งหลัง อย่างภาคก่อนนางเอกจะดูเศร้าตลอด ภาคนี้เลยเพิ่มบทให้มุตตาร่าเริงมากขึ้น พูดเล่นกับวีกิจมากขึ้น และไม่กลัวปริม คือเป็นการขยายปมปัญหาและแสดงในโทนที่มืดหม่นมากกว่าภาคเก่า"
นอกจากนี้ยังสร้างตัวละครเนตรนภิสขึ้น เพื่อเล่าประเด็นการเลี้ยงลูกแบบผิดๆ "
ในนิยายเนตรนภิสไม่มีแม้กระทั่งชื่อ รู้แต่ว่า วันหนึ่งมีน้องสาวของนพนภาขึ้นมา เราก็เอาละครมาขยายประเด็นนี้ ตั้งแต่ต้นเรื่อง เรียกว่าเป็นการ echoing theme คือสะท้อนประเด็นไปมาในแต่ละเส้นเรื่อง"
ว่าด้วยระบบเรตติ้ง
แรงขนาดคว้าเรต 18+ มาครองแต่พี่แก๊ปกก็เชื่อว่าการจัดเรตเช่นนี้ช่วยเอื้อให้เล่าเรื่องได้รุนแรงในระดับหนึ่ง ยิ่งไปกว่านั้น 'แรงเงา' ยังไม่ใช่แค่การเน้นนำเสนอเรื่องทะลึ่งลามกเพียงอย่างเดียว เพราะ
"มันมีโทนตลกอยู่แล้ว ละครเรื่องนี้ไม่ใช่เมียน้อยมาแก้แค้นเมียหลวง นางเอกมาแย่งผัวอะไรกับเขาล่ะ เปล่านี่ นางเอกสวมรอยเป็นเมียน้อยแล้วใช้ฟอร์แมตเมียน้อยในละครโทรทัศน์ทั้งหลายมาตอบได้ เช่น เมียหลวงปิดประตูบ้านไม่ให้เข้า เมียน้อยก็ไปปีน แล้วมีคนใช้ออกมาเท้าสะเอวด่า ทุกอย่างคือ พาโรดี้ อยู่ในตัว"
ส่วนระบบที่พี่แก๊ปมองเห็นว่าเป็นปัญหาจริงๆ คือการเซ็นเซอร์ห้ามฉาย
"น่าสงสารหลายเรื่องที่เขาไม่ได้ฉาย หรือให้ฉายแต่ต้องตัดโน่นตัดนี่ แล้วระบบนี้จะมีไว้ทำไม คนไทยทำเหมือนกับไม่มีคลิปทั้งหลายอยู่ในเน็ต ทำเหมือนกับว่าไม่มีคลองถม ไม่มีสีลม ทำเหมือนกับว่าเด็กจะกระเหี้ยนกระหือรือไปดู 'จันดารา' ในโรง ทั้งที่มีสื่อเหล่านี้อยู่เต็มไปหมด"
บทหนัง VS บทละคร
ก่อนเริ่มเข้าสู่วงการเขียนบทละคร พี่แก๊ปเองก็เคยเขียนบทหนังมาก่อนทั้ง 'ปีหนึ่ง เพื่อนกัน และวันอัศจรรย์(ของผม)', 'มังกรเจ้าพระยา', และ'สตรีเหล็ก' 9ล9 ซึ่งความแตกต่างที่เห็นได้อย่างเด้นชัดคือ เวลาเขียนบทหนัง ไม่ควรเขียนเส้นเรื่องเกิน 4เส้น "
อย่างตอนทำสตรีเหล็ก ตัวละครเกือบทำให้เกิดมัลติพล็อตขึ้นมา จนมากกว่า 4 เส้นแล้ว ถ้าทมำตามบทเป๊ะก็จะกินเวลาถึงสองชั่วโมงยี่สิบ ตอนเขียนบทหนังเราจึงต้องสะกดจิตตัวเองเลยว่ามีเส้นเรื่องเท่านี้พอ หนังต้องแคบกว่า หรือไม่ก็ใช้กลวิธีอื่นมาช่วยในการย่นเรื่องแทน"
ทว่าหากเทียบกันแล้ว สิ่งที่พี่แก๊ปมองว่าเป็นปัญหาสำหรับตัวเขามากที่สุดคือ การเปลี่ยนบทของผู้กำกับ เพราะเคยเจอข้อผิดพลาดตั้งแต่การตัดต่อหนังแบบละคร มีตัวละครเดินเข้า-ออกฉาก จนไม่สามารถจุบทหนังได้หมด เวลาผู้กำกับยกฉากออกตึงทำให้เหตุผลในการไต่ระดับดราม่านั้นหายไป, นักแสดงติดคิวถ่ายเยอะ จึงต้องสลับบทมาใส่ในตัวละครอื่น ส่งผลให้บุคลิกตัวละครเปลี่ยน หรือการเขียนบทดราม่าปนตลก บางครั้งการกำกับก็ทำให้ส่วนตลกนั้นหายไป
"ฉะนั้นละครเขาเปลี่ยนเราน้อยกว่าหนัง เปลี่ยนแล้วดีขึ้นเราจะไม่ว่าอะไรเลย แต่เปลี่ยนโดยยังไม่เข้าใจโครงสร้างอะไรนัก บางครั้งก็ทำให้กญแจสำคัญของเรื่องหายไป"
"พูดไปแล้วอาจเหมือนดูหมิ่นดูแคลนคนที่โตมากับหนังจริงๆ แต่ในวงการหนังไทยเราว่ามีพวกครูพักลักจำเยอะ แล้วคิดว่าตัวเองเขียนได้ ทำได้ แต่ก็ไปอ่อนตั้งแต่สตอรี่ไอเดีย หลายเรื่องสตอรี่ไอเดียใช้ได้ แต่ไปอ่อนตรงบท หลายเรื่องบทใช้ได้แต่ไปเสียเล็กๆน้อยๆ ไม่ว่าจะเป็นการกำกับหรือหาจุดขายของหนัง ฉะนั้นมันจะพังได้ก็มีตั้งแต่ฐานเลย ส่วนคนที่เรียนทางหนังมาจริงๆ หลาายตนก็มัวแต่ไปนิยม auteur theory แล้วก็เพ้อไปอีกทาง"
"อยากให้คนเขียนบทรุ่นใหม่รู้ว่าตัวเองจะเล่าอะไร ใช้โครงเรื่องอะไร ตัวละครเป็นยังไง จิตวิทยาตัวละครเป็นยังไง เพราะท้ายที่สุดแล้วมันไม่ใช่การกำกับแค่เรื่องหรือนักแสดง เราต้องกำกับคนดูด้วย ทำยังไงให้คนดูสนุกกับเรื่องได้ตลอด ขอให้แม่นๆกับพื้นฐานการเล่าเรื่องก่อน ลองเอาหนังทำเงินร้อยล้านสิบอันดับแรกมาดู ก็มีอะไรไม่ใหม่มาก ไม่เห็นต้องคิดพล็อตหรือสตอรี่ไอเดียมหัศจรรย์มาจากไหน แต่ต้องดูว่าเรื่องที่เล่ามีวิธีเล่ายังไงให้สนุกได้มากกว่า"
สาเหตุของปัญหาวงการหนัง
นอกจากนี้ พี่แก๊ปยังเชื่อว่าหนังไทยมีเรื่องน่าเสียดายอยู่เยอะมากๆ
"อาจเพราะในช่วง 2-3 ปีนี้มีวัยรุ่นใหม่ที่ยังไม่เก่งพอเข้ามาทำหนัง แต่ที่แย่กว่านั้นคือมีรุ่นเก่าฝีมือตกออกมาปนด้วย รุ่นกลางที่เก่งไม่ยอมทำหนัง ไปมัวโปรดิวซ์ ทำละครหรือไม่ก็เข้าบ้านเอเอฟ"
"บางครั้งหนังก็ประสบความสำเร็จเพราะทำกระแสได้ เกิดภาวะคนดูไม่ได้ดูหนังแต่ดูหน้าหนังแทน ดูการทำโปรโมชั่น ทำเทรลเลอร์หรือทีเซอร์ หรือไม่ก็ดูแค่นักแสดง หนังที่พอใช้ได้จึงถูกทำลายไปเยอะมาก นั่นเท่ากับว่าผู้กำกับเหล่านี้อาจหมดโอกาสทำหนัง เราม่มีคนสกรีนหนังที่ดีพอในหลายๆค่าย"
"แค่คนในวงการยังเชื่อกันว่า แต่ก่อนวงจรอยู่ที่ ไท เอนเตอร์เทนเมนท์ มาอีกยุคหนึ่งอยที่อาร์เอส แล้วขยายไปสู่ยุคของสหมงคลฟิล์ม แต่ตอนนี้หยุดอยูที่จีเอช เดี๋ยวนี้มันก็เปลี่ยน โดยที่เขาไม่รู้เลยว่า ทุกค่ายนั้นไม่ได้มีโปรเจ็กต์ที่จะเกิดใหม่ขึ้นได้อีกมาหวังว่าโชคชะตาและดวงดาวจะเวียนมาได้ยังไง คุณต้องสร้างมันด้วยตัวเองสิ"
ที่มา :: Bioscope issue 131 - Life of Pi
(Repost) ดูละคร ย้อนดูหนัง กับ วิสุทธิชัย บุณยกาญจน คนเขียนบท'แรงเงา'
"คุณนันทนา (ผู้ประพันธ์นิยาย'แรงเงา') เธอทุกข์มากเวลาเขียนเรื่องแบบนี้ เพราะอินแล้วก็เจ็บ" พี่แก๊ป -- วิสุทธิชัย บุณยกาญจน ในชุดเสื้อยืดกางเกงยีนส์สบายๆ พูดคุยกับเราด้วยสีหน้ายิ้มแย้ม "แต่พี่ไม่ทุกข์เลย สนุกมาก(หัวเราะ)"
ยิ่งน่าเชื่อว่าด้วยประสบการณ์เขียนบทมาแล้วทั้ง'สตรีเหล็ก' และ 'ปีหนึ่ง เพื่อนกัน และวันอัศจรรย์(ของผม)' จะทำให้ความรู้สึกที่เขามีต่อวงการจอเงินนั้นน่าสนุกไม่แพ้กันเลยที่เดียว
ขึ้นชื่อว่าเป็นละครไทย หลายคนอาจร้องยี้ (ด้วยความอินดี้) พลันตราหน้าไปเสียก่อนว่ามีแต่พล็อตน้ำเน่าแบบเดิมๆ อคติเช่นนี้จึงทำให้นักเขียนบทละครหวั่นวิตก เพราะนอกจากจะต้องใช้ทักษะความชำนาญแล้ว ยังต้องพึ่งประสาทสัมผัสที่หกในการหยิบบทประพันธ์มาดัดแปลงด้วย
ตามขั้นตอนปกติ ส่วนใหญ่ทางช่องทีวีจะตกตลงกับผู้เขียนก่อนว่าอยากทำละครเรื่องอะไร โดยส่งเรื่องย่อให้อ่านประกอบการตัดสินใจ แต่เพื่อความชัวร์นั้น พี่แก๊ปกลับเลือกอ่านนิยายทั้งเล่มแทน แล้วกะเกณฑ์ด้วยประสบการณ์เองว่าเรื่องไหนเขียนออกมาแล้วจะสนุกระดับถึงพริกถึงขิง
"หลายเรื่องที่ไม่เขียนเพราะเป็นไปตามสูตรมากๆ คือเรื่องน้ำเน่าธรรมดา ใครๆก็เขียนได้ พระเอก-นางเอกเดินชนกัน เกลียดกันทะเลาะกันครึงแรก อีกครึ่งเรื่องรักกัน โดยเฉพาะบางเรื่อง ถ้าฟีลกู้ดจริงๆ พล็อตจะอ่อน มีทางเดียวคือสร้างตัวละครและเสริมรายละเอียดทั้งหลายเข้ามา ซึ่งบุคลิกตัวละครก็จะมีนางเอกแสนซนหยิ่ง เก่งหรือแสนดีวนๆอยู่แค่นี้ ถ้าเป็นอย่างนี้เราก็ต้องหาวิธีแตกต่างออกไป เช่น อาจเป็นพาโรดี้ ล้อตัวเองเป็นต้น"
เรามักสังเกตุเห็นยู่เสมอว่ามักให้ความสำคัญกับคู่พระ-นางเสียเยอะ เหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะทางช่องทีวีขีดข้อจำกัดบางอย่างในการเขียนบทเอาไว้ เช่น ห้ามให้พระ-นางเป็นเด็กอยู่หนึ่งตอนแล้วท้ายเรื่องค่อยโต, ทั้งคู่ต้องเจอกันช้าสุดคือจบเบรคที่4 (ตอนที่1ของบท) หรือบางทีต้องให้พระเอก-นางเอกทะเลาะกันทั้งที่ไม่มีเหตุจำเป็น
อย่างไหร่ก็ดี สิ่งหนึ่งที่น่าเป็นดั่งลายเซ็นในบทละครของพี่แก๊ปก็คือ นอกจากคู่พระ-นางแล้ว ตัวละครอื่นๆในเรื่องก็ยังมีความขัดแย้งในตัวเอง มีเหตุที่ต้องประสบพบเจอและมี 'ชีวิต' อันมาจากการชำนาญในการวางเส้นเรื่องเยอะๆ แล้วให้มันพันกัน "ปกติเส้นเรื่องของละครอื่นๆจะมีสัก 3-4 เส้น แต่เราทำทุกเรื่องไม่น้อยกว่า 10เส้น เพราะชอบแนวกิมย้ง ในผลงานของเขา ทุกซับพล็อตจะมีส่วนต้นเรื่องหมด มีตัวละครเยอะ ซึ่งในความรู้สึกของเรา โลกจริงๆมันเป็นอย่างนั้น เรามีบ้าน มีเพื่อนมหาลัย มีเพื่อนประถม มีเพื่อนร่วมงาน เรามีญาติและผู้คนอื่นอีกเยอะแยะที่มาผลักดันชีวิตเรา อย่างละครเกาหลีมีเรื่องหนึ่งนักแสดงสี่คน เราก็จะงงว่าไม่มีเพื่อนเหรอ หรือดู 'ชัตเตอร์' เราก็สงสัยว่าเขาเจอผีแล้วทำไมไม่ไปรดน้ำมนต์ แต่ไม่ได้บอกว่าหนังเขาไม่ดีน่ะ"
ไม่ว่าจะเป็นฉากตบสะท้านจอสะเทือนใจ, การส่งโจรบุกไปข่มขืนถึงห้องพัก, เผยแพร่คลิปแฉวีรกรรมหลังฉาก, แขวนคอฆ่าตัสตาย หรือบมทพูดของตัวละครที่เสียดสีตัวเองอย่าง "เรื่องนี้ฉันก็ดูตอนเด็กๆ ไม่เห็นจะเป็นอะไรเลย" นั้นยิ่งโหมกระหน่ำให้ 'แรงเงา' ติดอันดับละครเรตติ้งแรงไปพร้อมๆกับการนำเสนอที่รุนแรงจนสาแก่ใจคนดู
ทว่าความรุนแรงนั้นใช่จะไร้ที่มาที่ไป เพราะมันสอดแทรกด้วยประสบการณ์ของผู้เขียนบทเองด้วย "เรื่องนี้พี่อินเป็นพิเศษ เพราะพี่เลี้ยงพี่ที่เคยสนิทเคยผูกคอตายตอนพี่อายุสักสิบขวบ ซึ่งสาเหตุน่าจะมาจากความรักนี่แหละ แล้วช่วงที่พี่ไปเก็บข้าวของเธอ ก็พบชุดแต่งงาน พร้อมด้วยชุดรดน้ำ ชุดตักบาตรครบ พี่เลยขอเอามาใส่ในชีวิตของมุตตา"
ส่วนบทพูดบางส่วนก็คงสไตล์นิยายต้นฉบับของคุณนันทนา วีระชน "เวลาเธอเขียนนิยายจะมีสองแนว แนวตบกัน ไดอะล็อกด่ากันโดยมีเซ้นต์ตลก กับแนวซีเรียส ทิ้งมุขหมดเลยแล้วมีไดอะล็อกแรงๆเข้ามาแทนที่ อย่างเช่น 'แรงเงา' ก็เป็นนิยายที่ทุกอย่างแรงหมด ไม่มีส่วนเล่นเลย ฉะนั้นเวลาเขียนเรื่องนี้ก็เสียดายลีลาของคุณนันทนาที่ดูแล้วหัวเราะแทบตาย เราจึงขอยืมไดอะล็อกั้คุณนันทนาใช้ในเรื่องตลกมาใส่ในเรื่องนี้บ้าง"
อย่างไรก็ตาม พี่แก๊ปยังย้ำว่าละครเรื่องนี้สอนธรรมะ และมีธีมเรื่องกรรมครอบคลุมอยู่ "เราไม่สามารถต้านทางกฏแห่งกรรมได้ ส่วนคนที่มาแก้แค้น ในที่สุดแล้วเขาก็รู้ว่าควรอโหสิกรรมกันดีกว่า" เพื่อขบเน้นประเด็นนี้ให้ชัดขึ้น พี่แก๊ปจึงต้องเพิ่มบทตัวละครของมุตตาอย่างมโหฬาร จากเดิมที่นิยายเปิดมา มุนินทร์ก็เพิ่งกลับจากต่างประเทศ เปิดประคูห้องเข้าไปก็เห็นน้องห้อยต่องแต่งอยู่ "เราต้องแต่งเองทั้งหมดเพื่อให้คนดูเห็นความแตกต่างชัดๆ ทั้งการถูกกระทำในครึ่งแรกและการเอาคืนในครึ่งหลัง อย่างภาคก่อนนางเอกจะดูเศร้าตลอด ภาคนี้เลยเพิ่มบทให้มุตตาร่าเริงมากขึ้น พูดเล่นกับวีกิจมากขึ้น และไม่กลัวปริม คือเป็นการขยายปมปัญหาและแสดงในโทนที่มืดหม่นมากกว่าภาคเก่า"
นอกจากนี้ยังสร้างตัวละครเนตรนภิสขึ้น เพื่อเล่าประเด็นการเลี้ยงลูกแบบผิดๆ "ในนิยายเนตรนภิสไม่มีแม้กระทั่งชื่อ รู้แต่ว่า วันหนึ่งมีน้องสาวของนพนภาขึ้นมา เราก็เอาละครมาขยายประเด็นนี้ ตั้งแต่ต้นเรื่อง เรียกว่าเป็นการ echoing theme คือสะท้อนประเด็นไปมาในแต่ละเส้นเรื่อง"
แรงขนาดคว้าเรต 18+ มาครองแต่พี่แก๊ปกก็เชื่อว่าการจัดเรตเช่นนี้ช่วยเอื้อให้เล่าเรื่องได้รุนแรงในระดับหนึ่ง ยิ่งไปกว่านั้น 'แรงเงา' ยังไม่ใช่แค่การเน้นนำเสนอเรื่องทะลึ่งลามกเพียงอย่างเดียว เพราะ "มันมีโทนตลกอยู่แล้ว ละครเรื่องนี้ไม่ใช่เมียน้อยมาแก้แค้นเมียหลวง นางเอกมาแย่งผัวอะไรกับเขาล่ะ เปล่านี่ นางเอกสวมรอยเป็นเมียน้อยแล้วใช้ฟอร์แมตเมียน้อยในละครโทรทัศน์ทั้งหลายมาตอบได้ เช่น เมียหลวงปิดประตูบ้านไม่ให้เข้า เมียน้อยก็ไปปีน แล้วมีคนใช้ออกมาเท้าสะเอวด่า ทุกอย่างคือ พาโรดี้ อยู่ในตัว"
ส่วนระบบที่พี่แก๊ปมองเห็นว่าเป็นปัญหาจริงๆ คือการเซ็นเซอร์ห้ามฉาย"น่าสงสารหลายเรื่องที่เขาไม่ได้ฉาย หรือให้ฉายแต่ต้องตัดโน่นตัดนี่ แล้วระบบนี้จะมีไว้ทำไม คนไทยทำเหมือนกับไม่มีคลิปทั้งหลายอยู่ในเน็ต ทำเหมือนกับว่าไม่มีคลองถม ไม่มีสีลม ทำเหมือนกับว่าเด็กจะกระเหี้ยนกระหือรือไปดู 'จันดารา' ในโรง ทั้งที่มีสื่อเหล่านี้อยู่เต็มไปหมด"
ก่อนเริ่มเข้าสู่วงการเขียนบทละคร พี่แก๊ปเองก็เคยเขียนบทหนังมาก่อนทั้ง 'ปีหนึ่ง เพื่อนกัน และวันอัศจรรย์(ของผม)', 'มังกรเจ้าพระยา', และ'สตรีเหล็ก' 9ล9 ซึ่งความแตกต่างที่เห็นได้อย่างเด้นชัดคือ เวลาเขียนบทหนัง ไม่ควรเขียนเส้นเรื่องเกิน 4เส้น "อย่างตอนทำสตรีเหล็ก ตัวละครเกือบทำให้เกิดมัลติพล็อตขึ้นมา จนมากกว่า 4 เส้นแล้ว ถ้าทมำตามบทเป๊ะก็จะกินเวลาถึงสองชั่วโมงยี่สิบ ตอนเขียนบทหนังเราจึงต้องสะกดจิตตัวเองเลยว่ามีเส้นเรื่องเท่านี้พอ หนังต้องแคบกว่า หรือไม่ก็ใช้กลวิธีอื่นมาช่วยในการย่นเรื่องแทน"
ทว่าหากเทียบกันแล้ว สิ่งที่พี่แก๊ปมองว่าเป็นปัญหาสำหรับตัวเขามากที่สุดคือ การเปลี่ยนบทของผู้กำกับ เพราะเคยเจอข้อผิดพลาดตั้งแต่การตัดต่อหนังแบบละคร มีตัวละครเดินเข้า-ออกฉาก จนไม่สามารถจุบทหนังได้หมด เวลาผู้กำกับยกฉากออกตึงทำให้เหตุผลในการไต่ระดับดราม่านั้นหายไป, นักแสดงติดคิวถ่ายเยอะ จึงต้องสลับบทมาใส่ในตัวละครอื่น ส่งผลให้บุคลิกตัวละครเปลี่ยน หรือการเขียนบทดราม่าปนตลก บางครั้งการกำกับก็ทำให้ส่วนตลกนั้นหายไป "ฉะนั้นละครเขาเปลี่ยนเราน้อยกว่าหนัง เปลี่ยนแล้วดีขึ้นเราจะไม่ว่าอะไรเลย แต่เปลี่ยนโดยยังไม่เข้าใจโครงสร้างอะไรนัก บางครั้งก็ทำให้กญแจสำคัญของเรื่องหายไป"
"พูดไปแล้วอาจเหมือนดูหมิ่นดูแคลนคนที่โตมากับหนังจริงๆ แต่ในวงการหนังไทยเราว่ามีพวกครูพักลักจำเยอะ แล้วคิดว่าตัวเองเขียนได้ ทำได้ แต่ก็ไปอ่อนตั้งแต่สตอรี่ไอเดีย หลายเรื่องสตอรี่ไอเดียใช้ได้ แต่ไปอ่อนตรงบท หลายเรื่องบทใช้ได้แต่ไปเสียเล็กๆน้อยๆ ไม่ว่าจะเป็นการกำกับหรือหาจุดขายของหนัง ฉะนั้นมันจะพังได้ก็มีตั้งแต่ฐานเลย ส่วนคนที่เรียนทางหนังมาจริงๆ หลาายตนก็มัวแต่ไปนิยม auteur theory แล้วก็เพ้อไปอีกทาง"
"อยากให้คนเขียนบทรุ่นใหม่รู้ว่าตัวเองจะเล่าอะไร ใช้โครงเรื่องอะไร ตัวละครเป็นยังไง จิตวิทยาตัวละครเป็นยังไง เพราะท้ายที่สุดแล้วมันไม่ใช่การกำกับแค่เรื่องหรือนักแสดง เราต้องกำกับคนดูด้วย ทำยังไงให้คนดูสนุกกับเรื่องได้ตลอด ขอให้แม่นๆกับพื้นฐานการเล่าเรื่องก่อน ลองเอาหนังทำเงินร้อยล้านสิบอันดับแรกมาดู ก็มีอะไรไม่ใหม่มาก ไม่เห็นต้องคิดพล็อตหรือสตอรี่ไอเดียมหัศจรรย์มาจากไหน แต่ต้องดูว่าเรื่องที่เล่ามีวิธีเล่ายังไงให้สนุกได้มากกว่า"
นอกจากนี้ พี่แก๊ปยังเชื่อว่าหนังไทยมีเรื่องน่าเสียดายอยู่เยอะมากๆ "อาจเพราะในช่วง 2-3 ปีนี้มีวัยรุ่นใหม่ที่ยังไม่เก่งพอเข้ามาทำหนัง แต่ที่แย่กว่านั้นคือมีรุ่นเก่าฝีมือตกออกมาปนด้วย รุ่นกลางที่เก่งไม่ยอมทำหนัง ไปมัวโปรดิวซ์ ทำละครหรือไม่ก็เข้าบ้านเอเอฟ"
"บางครั้งหนังก็ประสบความสำเร็จเพราะทำกระแสได้ เกิดภาวะคนดูไม่ได้ดูหนังแต่ดูหน้าหนังแทน ดูการทำโปรโมชั่น ทำเทรลเลอร์หรือทีเซอร์ หรือไม่ก็ดูแค่นักแสดง หนังที่พอใช้ได้จึงถูกทำลายไปเยอะมาก นั่นเท่ากับว่าผู้กำกับเหล่านี้อาจหมดโอกาสทำหนัง เราม่มีคนสกรีนหนังที่ดีพอในหลายๆค่าย"
"แค่คนในวงการยังเชื่อกันว่า แต่ก่อนวงจรอยู่ที่ ไท เอนเตอร์เทนเมนท์ มาอีกยุคหนึ่งอยที่อาร์เอส แล้วขยายไปสู่ยุคของสหมงคลฟิล์ม แต่ตอนนี้หยุดอยูที่จีเอช เดี๋ยวนี้มันก็เปลี่ยน โดยที่เขาไม่รู้เลยว่า ทุกค่ายนั้นไม่ได้มีโปรเจ็กต์ที่จะเกิดใหม่ขึ้นได้อีกมาหวังว่าโชคชะตาและดวงดาวจะเวียนมาได้ยังไง คุณต้องสร้างมันด้วยตัวเองสิ"
ที่มา :: Bioscope issue 131 - Life of Pi