วันนี้ (25 มิ.ย.) ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ศ.นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กล่าวภายหลังลงนามความร่วมมือทางวิชาการ
“การตรวจสอบการลอกเลียนงานวรรณกรรม ด้วยโปรแกรมอักขราวิสุทธิ์”
ร่วมกับ รศ.ดร.อมร เพรชรสม คณบดีบัณฑิตวิทยาลัยจุฬาฯ และอธิการบดีมหาวิทยาลัย 17 แห่ง
ว่า จุฬาฯ ได้พัฒนาโปรแกรมอักขราวิสุทธิ์
มาตรวจสอบ
การลอกเลียนงานวรรณกรรม และการเขียนวิทยานิพนธ์ของบัณฑิตจุฬาฯ เมื่อปีการศึกษา 2556
โดยนำวิทยานิพนธ์ของบัณฑิตจุฬาฯ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2548 - ถึงปัจจุบัน
มาบรรจุเป็นฐานข้อมูลสำหรับตรวจสอบกว่า 1 หมื่นเล่ม เพื่อหวังให้บัณฑิตจบอย่างมีคุณภาพ
เพราะที่ผ่านมาพบว่า นิสิตอาจเขียนผลงานโดยนำข้อมูลมาใช้ แต่ไม่ได้อ้างอิงที่มา
ซึ่งอาจเกิดจากการรู้เท่าไม่ถึงการณ์
ศ.นพ.ภิรมย์ กล่าวอีกว่า มาตรการนี้จะมีการตรวจสอบวิทยานิพนธ์ของบัณฑิตทุกคน
หากพบว่ามีการคัดลอก จะต้องแก้ไขให้ถูกต้อง
และปีการศึกษา 2557 เป็นต้นไป
จะนำโปรแกรมดังกล่าวมาใช้ตรวจสอบสารนิพนธ์ของนิสิต และอาจารย์จุฬาฯ ด้วยเช่นกัน
นอกจากนี้ เพื่อให้การตรวจสอบขยายวงกว้าง
จึงให้มหาวิทยาลัยอื่นๆ ใช้โปรแกรมนี้ได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
เพื่อให้เรามั่นใจว่าในอนาคตเด็กไทยจะต้องเป็นคนที่ซื่อสัตย์ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น
เพราะที่ผ่านมาเราอาจคุ้นเคยกับการตัดแปะข้อมูลในการเขียนรายงานหรือทำการบ้านตั้งแต่เด็ก โดยไม่บอกที่มา
แต่จากนี้ไปเราต้องอ้างอิงข้อมูลที่มาให้ถูกต้อง
ด้าน รศ.ดร.อมร กล่าวว่า
ปัญหาการลอกเลียนวรรณกรรม
เป็นปัญหาที่สร้างความปวดหัวให้กับสถาบันการศึกษาอย่างมาก
เดิมจุฬาฯ ตรวจสอบด้วยโปรแกรม Turnitin แต่เนื่องจากเป็นฐานข้อมูลต่างประเทศ
จึงจะใช้คู่กับโปรแกรมอักขราวิสุทธิ์ ซึ่งตั้งเป้าหมายว่า อีก 3 ปี เมื่อจุฬาฯครบรอบ 100 ปี
จะต้องไม่มีปัญหาการลอกเลียนวรรณกรรมอีก
ที่ผ่านมาเรามีการลอกเลียนวรรณกรรมในรูปแบบลอกเลียนงานของรุ่นพี่
แต่กรณีล่าสุด อาจารย์จุฬาฯตรวจพบว่า มีการลอกเลียนผลงานของจุฬาฯ
โดยผู้คัดลอกอยู่ในประเทศทางตะวันออกกลาง
ขณะนี้อยู่ในระหว่างการตรวจสอบและดำเนินการ ซึ่งจะเห็นได้ว่าเป็นปัญหาข้ามชาติไปแล้ว
“สำหรับโทษของการลอกเลียนวรรณกรรมนั้น ถึงที่สุดก็จะเป็นถอดใบปริญญา
ซึ่งเป็นเรื่องที่สร้างความเสียหายให้กับทั้งตัวบัณฑิตและสถาบัน
อย่างไรก็ตาม ภายหลังการลงนามร่วมมือกับมหาวิทยาลัย 17 แห่ง
จะทำให้เรามีฐานข้อมูลในการตรวจสอบกว้างขวางมากยิ่งขึ้น
จากเดิมเราอาจตรวจสอบการคัดลอกในจุฬาฯเท่านั้น
แต่จากนี้ไปจะสามารถตรวจสอบข้ามมหาวิทยาลัยได้” รศ.ดร.อมร กล่าว
จาก
http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9570000071694
................................
เอ... ที่ว่า
การลอกเลียนวรรณกรรม
ในที่นี้หมายถึง วิทยานิพนธ์ งานวิจัยทางวิชาการเท่านั้น ใช่ไหมนี่ ?
จุฬาฯ เปิดโปรแกรม “อักขราวิสุทธิ์” ตรวจสอบลอกวิทยานิพนธ์
ศ.นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กล่าวภายหลังลงนามความร่วมมือทางวิชาการ
“การตรวจสอบการลอกเลียนงานวรรณกรรม ด้วยโปรแกรมอักขราวิสุทธิ์”
ร่วมกับ รศ.ดร.อมร เพรชรสม คณบดีบัณฑิตวิทยาลัยจุฬาฯ และอธิการบดีมหาวิทยาลัย 17 แห่ง
ว่า จุฬาฯ ได้พัฒนาโปรแกรมอักขราวิสุทธิ์
มาตรวจสอบ การลอกเลียนงานวรรณกรรม และการเขียนวิทยานิพนธ์ของบัณฑิตจุฬาฯ เมื่อปีการศึกษา 2556
โดยนำวิทยานิพนธ์ของบัณฑิตจุฬาฯ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2548 - ถึงปัจจุบัน
มาบรรจุเป็นฐานข้อมูลสำหรับตรวจสอบกว่า 1 หมื่นเล่ม เพื่อหวังให้บัณฑิตจบอย่างมีคุณภาพ
เพราะที่ผ่านมาพบว่า นิสิตอาจเขียนผลงานโดยนำข้อมูลมาใช้ แต่ไม่ได้อ้างอิงที่มา
ซึ่งอาจเกิดจากการรู้เท่าไม่ถึงการณ์
ศ.นพ.ภิรมย์ กล่าวอีกว่า มาตรการนี้จะมีการตรวจสอบวิทยานิพนธ์ของบัณฑิตทุกคน
หากพบว่ามีการคัดลอก จะต้องแก้ไขให้ถูกต้อง
และปีการศึกษา 2557 เป็นต้นไป
จะนำโปรแกรมดังกล่าวมาใช้ตรวจสอบสารนิพนธ์ของนิสิต และอาจารย์จุฬาฯ ด้วยเช่นกัน
นอกจากนี้ เพื่อให้การตรวจสอบขยายวงกว้าง
จึงให้มหาวิทยาลัยอื่นๆ ใช้โปรแกรมนี้ได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
เพื่อให้เรามั่นใจว่าในอนาคตเด็กไทยจะต้องเป็นคนที่ซื่อสัตย์ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น
เพราะที่ผ่านมาเราอาจคุ้นเคยกับการตัดแปะข้อมูลในการเขียนรายงานหรือทำการบ้านตั้งแต่เด็ก โดยไม่บอกที่มา
แต่จากนี้ไปเราต้องอ้างอิงข้อมูลที่มาให้ถูกต้อง
ด้าน รศ.ดร.อมร กล่าวว่า ปัญหาการลอกเลียนวรรณกรรม
เป็นปัญหาที่สร้างความปวดหัวให้กับสถาบันการศึกษาอย่างมาก
เดิมจุฬาฯ ตรวจสอบด้วยโปรแกรม Turnitin แต่เนื่องจากเป็นฐานข้อมูลต่างประเทศ
จึงจะใช้คู่กับโปรแกรมอักขราวิสุทธิ์ ซึ่งตั้งเป้าหมายว่า อีก 3 ปี เมื่อจุฬาฯครบรอบ 100 ปี
จะต้องไม่มีปัญหาการลอกเลียนวรรณกรรมอีก
ที่ผ่านมาเรามีการลอกเลียนวรรณกรรมในรูปแบบลอกเลียนงานของรุ่นพี่
แต่กรณีล่าสุด อาจารย์จุฬาฯตรวจพบว่า มีการลอกเลียนผลงานของจุฬาฯ
โดยผู้คัดลอกอยู่ในประเทศทางตะวันออกกลาง
ขณะนี้อยู่ในระหว่างการตรวจสอบและดำเนินการ ซึ่งจะเห็นได้ว่าเป็นปัญหาข้ามชาติไปแล้ว
“สำหรับโทษของการลอกเลียนวรรณกรรมนั้น ถึงที่สุดก็จะเป็นถอดใบปริญญา
ซึ่งเป็นเรื่องที่สร้างความเสียหายให้กับทั้งตัวบัณฑิตและสถาบัน
อย่างไรก็ตาม ภายหลังการลงนามร่วมมือกับมหาวิทยาลัย 17 แห่ง
จะทำให้เรามีฐานข้อมูลในการตรวจสอบกว้างขวางมากยิ่งขึ้น
จากเดิมเราอาจตรวจสอบการคัดลอกในจุฬาฯเท่านั้น
แต่จากนี้ไปจะสามารถตรวจสอบข้ามมหาวิทยาลัยได้” รศ.ดร.อมร กล่าว
จาก http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9570000071694
................................
เอ... ที่ว่า การลอกเลียนวรรณกรรม
ในที่นี้หมายถึง วิทยานิพนธ์ งานวิจัยทางวิชาการเท่านั้น ใช่ไหมนี่ ?