ถ้าพูดถึงช่อง 4 บางขุนพรหม ก็อยารู้ว่าใครคือผู้สร้าง ใครคือผู้ริเริ่ม วันนี้ไปย้อนความทรงจำกัน ในตอน
จุดเริ่มต้นช่อง 4 บางขุนพรหม
สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 มีที่มาเริ่มแรก ตั้งแต่ปี 2492 (หรือ 65 ปีก่อน) นายสรรพสิริ วิรยศิริ ข้าราชการกรมประชาสัมพันธ์ในขณะนั้น เขียนบทความลงในหนังสือเล่มหนึ่ง เพื่อแจกจ่ายให้กับผู้ร่วมงานทอดกฐินของกรมประชาสัมพันธ์ บทความที่เขียนนั้นมีชื่อว่า "วิทยุภาพ" เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งประดิษฐ์ใหม่ โดยในเวลาต่อมา ข้าราชการกรมประชาสัมพันธ์กลุ่มหนึ่ง ซึ่งได้รับมอบหมายจากทางกรมฯ ให้ไปศึกษางานด้านโทรทัศน์ ที่สหรัฐอเมริกา เมื่อประมาณปี 2492-2493 หลังจากกลับมาถึงประเทศไทยแล้ว ก็แสดงความคิดเห็นต่อรัฐบาล โดย จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น สั่งให้กรมประชาสัมพันธ์ นำเสนอ "โครงการจัดตั้งวิทยุโทรภาพ" ต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อปี 2493 โดยมีมติให้จัดตั้ง สถานีวิทยุโทรภาพ และตั้งงบประมาณขึ้น ในปี 2494 แต่ไม่ประสบความสำเร็จในระยะแรกเริ่ม จึงต้องยกเลิกโครงการดังกล่าวไปโดยปริยาย เนื่องจากเสียงส่วนมาก ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านไม่เห็นด้วย เพราะเห็นว่า สิ้นเปลืองงบประมาณแผ่นดิน ไปโดยเปล่าประโยชน์
อนึ่ง นายประสิทธิ์ ทวีสิน ประธานกรรมการ บริษัท วิเชียรวิทยุและโทรภาพ ได้นำเครื่องส่งโทรภาพ 1 เครื่อง และเครื่องรับ 4 เครื่อง น้ำหนักรวมกว่า 2 ตัน ทำการทดลองออกอากาศ ให้คณะรัฐมนตรีชมเป็นครั้งแรก ที่ทำเนียบรัฐบาล และเมื่อ 19 กรกฎาคม 2495 ก็เปิดฉายให้ประชาชนรับชม ที่ศาลาเฉลิมกรุง
ช่วงเดือนกันยายน-พฤศจิกายน 2495 มีรัฐมนตรี และข้าราชการกรมประชาสัมพันธ์ส่วนหนึ่ง จำนวน 7 คน ซึ่งประกอบด้วย หลวงสารานุประพันธ์, หม่อมหลวงขาบ กุญชร, นายประสงค์ หงสนันทน์, พลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์, นายเล็ก สงวนชาติสรไกร, นายมุนี มหาสันทนะ เวชยันต์รังสฤษฎ์ และนายเลื่อน พงษ์โสภณ เล็งเห็นถึงคุณค่าของการพัฒนาประเทศ ด้วยการใช้สื่อโทรภาพ เพื่อเผยแพร่กระจาย ข้อมูลข่าวสาร ความรู้ และเสริมสร้างคุณภาพ ของประชาชนในประเทศ จึงระดมทุนจากกรมประชาสัมพันธ์ ให้เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ จำนวน 11 ล้านบาท และหน่วยงานภาครัฐต่างๆ เช่น โรงงานยาสูบ,กองสลาก,กองทัพทั้ง 3 เหล่าทัพ และตำรวจ,โรงงานสุราบางยี่ขัน เป็นต้น ถือหุ้นมูลค่า 9 ล้านบาท รวมทั้งสิ้น 20 ล้านบาท ร่วมกันนำมาเป็นทุนจัดตั้ง "บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด" ขึ้นเพื่อดำเนินการส่งโทรทัศน์ เป็นครั้งแรกในประเทศไทย
บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด มีคณะผู้ปฏิบัติงานในยุคแรกดังนี้
* นายจำนง รังสิกุล เป็นหัวหน้าฝ่ายผลิตรายการ
* นายอัมพร พจนพิสุทธิ์ เป็นหัวหน้าฝ่ายกำกับภาพ
* นายสมชาย มาลาเจริญ เป็นหัวหน้าฝ่ายช่างกล้อง
* นายธนะ นาคพันธุ์ เป็นหัวหน้าฝ่ายควบคุมการออกอากาศ
* นายเกรียงไกร (สนั่น) ชีวะปรีชา เป็นหัวหน้าฝ่ายเครื่องส่ง
* นายธำรง วรสูตร และ นายฟู ชมชื่น ร่วมกันเป็นหัวหน้าฝ่ายเครื่องส่งและเสาอากาศ
* นายจ้าน ตัณฑโกศัย เป็นหัวหน้าฝ่ายกำกับเสียง
* นายสรรพสิริ วิรยศิริ เป็นทั้งหัวหน้าฝ่ายช่างภาพและแสง และหัวหน้าฝ่ายข่าว
* นายรักษ์ศักดิ์ วัฒนพานิช เป็นหัวหน้าฝ่ายบริการเครื่องรับโทรทัศน์
บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด ดำเนินการจัดตั้ง สถานีวิทยุกระจายเสียง ท.ท.ท. ขึ้นก่อนจะมีสถานีโทรทัศน์ เพื่อระดมทุนมาบริหารงาน และฝึกบุคลากร รวมทั้งเตรียมงานด้านอื่นไปพร้อมกันด้วย โดยส่งกระจายเสียงจากอาคารที่ทำการสถานีฯ อาคาร อ.จ.ส. สี่แยกคอกวัว และเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2497 ได้มีพิธีวางศิลาฤกษ์ อาคารที่ทำการสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 โดยมี พลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ ประธานกรรมการบริษัท (อธิบดีกรมตำรวจในขณะนั้น) เป็นประธานในพิธี ขณะเดียวกัน ก็ได้เริ่มทดลองออกอากาศ จากห้องส่งของสถานีวิทยุกระจายเสียง ท.ท.ท.
เมื่อสร้างอาคารที่ทำการ พร้อมติดตั้งเครื่องส่ง เสร็จสิ้นแล้ว จึงมีพิธีเปิด สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 เมื่อวันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน 2498 ซึ่งตรงกับวันชาติในสมัยนั้น โดยมี จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เป็นประธานในพิธี โดยมี นายจำนง รังสิกุล เป็นกรรมการผู้อำนวยการใหญ่และผู้อำนวยการสถานีฯ คนแรก โดยใช้เครื่องส่งขนาด 10 กิโลวัตต์ แพร่ภาพขาวดำ ระบบ 525 เส้นต่อภาพ 30 ภาพต่อวินาที ในช่วงแรก มีการแพร่ภาพทุกวันอังคาร, วันพฤหัสบดี, วันเสาร์ และวันอาทิตย์ ระหว่างเวลา 18.30-23.00 น. ต่อมา จึงเพิ่มวันและเวลาออกอากาศ มากขึ้นตามลำดับ
เพลงเปิดการออกอากาศ ของทั้งสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 และสถานีวิทยุกระจายเสียง ท.ท.ท. ของบริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด คือเพลง "ต้นบรเทศ" ในวันออกอากาศวันแรก มี นางสาวอารีย์ นักดนตรี รำบรเทศออกอากาศสด (ก่อนออกอากาศจริง ทางจำนงได้เลือก 2 คน มารำบรเทศสด คือ ม.ร.ว. พิศวาส นาควานิช และอารีย์ ซึ่งพิศวาสไม่สามารถที่จะร่วมรำได้ จึงมีแค่อารีย์เพียงคนเดียว) และนางสาวเย็นจิตต์ สัมมาพันธ์ เป็นผู้ประกาศแจ้งรายการ ด้วยประกาศรายการแค้ 10 บรรทัดที่อาจินต์ ปัญจพรรค์ เขียนร่างและพิมพ์ดีดเอาไว้
ละครเรื่องแรกของช่อง 4 และโทรทัศน์ไทยคือ "สุริยาณีไม่ยอมแต่งงาน" ออกฉายครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2499 ต่อมาจึงมีละครเรื่องต่อๆมา ในปีเดียวกันคือ กระสุนอาฆาต,ดึกเสียแล้ว,น้ำสาบาน,ศัตรูลับของสลยา และ ง่ายนิดเดียว
ช่อง 4 ถึงจุดแตกหักและยุคมืดเมื่อปี 2511 เมื่อผู้บริหารยุคบุกเบิก ถูกเรียกตัวกลับเข้ากรมประชาสัมพันธ์ซึ่งเป็นต้นสังกัดด้วยเหตุผลทางการเมือง มีทั้งประสงค์ หงสนันทน์ กรรมการผู้จัดการ, จำนง รังสิกุล หัวหน้าฝ่ายรายการและบันเทิง, สมจิตต์ สิทธิไชย ผู้ช่วยหัวหน้าฝ่ายรายการ ฯลฯ ทำให้เกิดผลกระทบต่อการจัดรายการและพนักงานเป็นอย่างมาก
ช่อง 4 ได้ยุติการออกอากาศเมื่อปี 2517 ก่อนที่จะย้ายไปที่บางลำพู และได้เปลี่ยนชื่อเป็นสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 จนกระทั่งไทยโทรทัศน์ อวสานลงเมื่อต้นปี 2520 นับถือเป็นสถานีโทรทัศน์ที่อยู่ในความทรงจำของใครต่อใครหลายๆคนเขาบอกต่อกัน
ที่มา : หนังสือที่ระลึก อสมท 59 ปี สื่อไทย,วิกิฯ
ติดตามตอนใหม่ๆที่
https://www.facebook.com/todayatbangkhunphrom
ตอนที่ผ่านมา
Ep.0 - แนะนำตัว -
http://bit.ly/todayatbkp00
Ep.1 - ถ้าคุณนึกถึง "บางขุนพรหม" คุณจะนึกถึง... -
http://bit.ly/todayatbkp01
[วันนี้..ที่บางขุนพรหม] Ep.2 - จุดเริ่มต้นช่อง 4 บางขุนพรหม
ถ้าพูดถึงช่อง 4 บางขุนพรหม ก็อยารู้ว่าใครคือผู้สร้าง ใครคือผู้ริเริ่ม วันนี้ไปย้อนความทรงจำกัน ในตอน จุดเริ่มต้นช่อง 4 บางขุนพรหม
สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 มีที่มาเริ่มแรก ตั้งแต่ปี 2492 (หรือ 65 ปีก่อน) นายสรรพสิริ วิรยศิริ ข้าราชการกรมประชาสัมพันธ์ในขณะนั้น เขียนบทความลงในหนังสือเล่มหนึ่ง เพื่อแจกจ่ายให้กับผู้ร่วมงานทอดกฐินของกรมประชาสัมพันธ์ บทความที่เขียนนั้นมีชื่อว่า "วิทยุภาพ" เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งประดิษฐ์ใหม่ โดยในเวลาต่อมา ข้าราชการกรมประชาสัมพันธ์กลุ่มหนึ่ง ซึ่งได้รับมอบหมายจากทางกรมฯ ให้ไปศึกษางานด้านโทรทัศน์ ที่สหรัฐอเมริกา เมื่อประมาณปี 2492-2493 หลังจากกลับมาถึงประเทศไทยแล้ว ก็แสดงความคิดเห็นต่อรัฐบาล โดย จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น สั่งให้กรมประชาสัมพันธ์ นำเสนอ "โครงการจัดตั้งวิทยุโทรภาพ" ต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อปี 2493 โดยมีมติให้จัดตั้ง สถานีวิทยุโทรภาพ และตั้งงบประมาณขึ้น ในปี 2494 แต่ไม่ประสบความสำเร็จในระยะแรกเริ่ม จึงต้องยกเลิกโครงการดังกล่าวไปโดยปริยาย เนื่องจากเสียงส่วนมาก ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านไม่เห็นด้วย เพราะเห็นว่า สิ้นเปลืองงบประมาณแผ่นดิน ไปโดยเปล่าประโยชน์
อนึ่ง นายประสิทธิ์ ทวีสิน ประธานกรรมการ บริษัท วิเชียรวิทยุและโทรภาพ ได้นำเครื่องส่งโทรภาพ 1 เครื่อง และเครื่องรับ 4 เครื่อง น้ำหนักรวมกว่า 2 ตัน ทำการทดลองออกอากาศ ให้คณะรัฐมนตรีชมเป็นครั้งแรก ที่ทำเนียบรัฐบาล และเมื่อ 19 กรกฎาคม 2495 ก็เปิดฉายให้ประชาชนรับชม ที่ศาลาเฉลิมกรุง
ช่วงเดือนกันยายน-พฤศจิกายน 2495 มีรัฐมนตรี และข้าราชการกรมประชาสัมพันธ์ส่วนหนึ่ง จำนวน 7 คน ซึ่งประกอบด้วย หลวงสารานุประพันธ์, หม่อมหลวงขาบ กุญชร, นายประสงค์ หงสนันทน์, พลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์, นายเล็ก สงวนชาติสรไกร, นายมุนี มหาสันทนะ เวชยันต์รังสฤษฎ์ และนายเลื่อน พงษ์โสภณ เล็งเห็นถึงคุณค่าของการพัฒนาประเทศ ด้วยการใช้สื่อโทรภาพ เพื่อเผยแพร่กระจาย ข้อมูลข่าวสาร ความรู้ และเสริมสร้างคุณภาพ ของประชาชนในประเทศ จึงระดมทุนจากกรมประชาสัมพันธ์ ให้เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ จำนวน 11 ล้านบาท และหน่วยงานภาครัฐต่างๆ เช่น โรงงานยาสูบ,กองสลาก,กองทัพทั้ง 3 เหล่าทัพ และตำรวจ,โรงงานสุราบางยี่ขัน เป็นต้น ถือหุ้นมูลค่า 9 ล้านบาท รวมทั้งสิ้น 20 ล้านบาท ร่วมกันนำมาเป็นทุนจัดตั้ง "บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด" ขึ้นเพื่อดำเนินการส่งโทรทัศน์ เป็นครั้งแรกในประเทศไทย
บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด มีคณะผู้ปฏิบัติงานในยุคแรกดังนี้
* นายจำนง รังสิกุล เป็นหัวหน้าฝ่ายผลิตรายการ
* นายอัมพร พจนพิสุทธิ์ เป็นหัวหน้าฝ่ายกำกับภาพ
* นายสมชาย มาลาเจริญ เป็นหัวหน้าฝ่ายช่างกล้อง
* นายธนะ นาคพันธุ์ เป็นหัวหน้าฝ่ายควบคุมการออกอากาศ
* นายเกรียงไกร (สนั่น) ชีวะปรีชา เป็นหัวหน้าฝ่ายเครื่องส่ง
* นายธำรง วรสูตร และ นายฟู ชมชื่น ร่วมกันเป็นหัวหน้าฝ่ายเครื่องส่งและเสาอากาศ
* นายจ้าน ตัณฑโกศัย เป็นหัวหน้าฝ่ายกำกับเสียง
* นายสรรพสิริ วิรยศิริ เป็นทั้งหัวหน้าฝ่ายช่างภาพและแสง และหัวหน้าฝ่ายข่าว
* นายรักษ์ศักดิ์ วัฒนพานิช เป็นหัวหน้าฝ่ายบริการเครื่องรับโทรทัศน์
บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด ดำเนินการจัดตั้ง สถานีวิทยุกระจายเสียง ท.ท.ท. ขึ้นก่อนจะมีสถานีโทรทัศน์ เพื่อระดมทุนมาบริหารงาน และฝึกบุคลากร รวมทั้งเตรียมงานด้านอื่นไปพร้อมกันด้วย โดยส่งกระจายเสียงจากอาคารที่ทำการสถานีฯ อาคาร อ.จ.ส. สี่แยกคอกวัว และเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2497 ได้มีพิธีวางศิลาฤกษ์ อาคารที่ทำการสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 โดยมี พลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ ประธานกรรมการบริษัท (อธิบดีกรมตำรวจในขณะนั้น) เป็นประธานในพิธี ขณะเดียวกัน ก็ได้เริ่มทดลองออกอากาศ จากห้องส่งของสถานีวิทยุกระจายเสียง ท.ท.ท.
เมื่อสร้างอาคารที่ทำการ พร้อมติดตั้งเครื่องส่ง เสร็จสิ้นแล้ว จึงมีพิธีเปิด สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 เมื่อวันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน 2498 ซึ่งตรงกับวันชาติในสมัยนั้น โดยมี จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เป็นประธานในพิธี โดยมี นายจำนง รังสิกุล เป็นกรรมการผู้อำนวยการใหญ่และผู้อำนวยการสถานีฯ คนแรก โดยใช้เครื่องส่งขนาด 10 กิโลวัตต์ แพร่ภาพขาวดำ ระบบ 525 เส้นต่อภาพ 30 ภาพต่อวินาที ในช่วงแรก มีการแพร่ภาพทุกวันอังคาร, วันพฤหัสบดี, วันเสาร์ และวันอาทิตย์ ระหว่างเวลา 18.30-23.00 น. ต่อมา จึงเพิ่มวันและเวลาออกอากาศ มากขึ้นตามลำดับ
เพลงเปิดการออกอากาศ ของทั้งสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 และสถานีวิทยุกระจายเสียง ท.ท.ท. ของบริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด คือเพลง "ต้นบรเทศ" ในวันออกอากาศวันแรก มี นางสาวอารีย์ นักดนตรี รำบรเทศออกอากาศสด (ก่อนออกอากาศจริง ทางจำนงได้เลือก 2 คน มารำบรเทศสด คือ ม.ร.ว. พิศวาส นาควานิช และอารีย์ ซึ่งพิศวาสไม่สามารถที่จะร่วมรำได้ จึงมีแค่อารีย์เพียงคนเดียว) และนางสาวเย็นจิตต์ สัมมาพันธ์ เป็นผู้ประกาศแจ้งรายการ ด้วยประกาศรายการแค้ 10 บรรทัดที่อาจินต์ ปัญจพรรค์ เขียนร่างและพิมพ์ดีดเอาไว้
ละครเรื่องแรกของช่อง 4 และโทรทัศน์ไทยคือ "สุริยาณีไม่ยอมแต่งงาน" ออกฉายครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2499 ต่อมาจึงมีละครเรื่องต่อๆมา ในปีเดียวกันคือ กระสุนอาฆาต,ดึกเสียแล้ว,น้ำสาบาน,ศัตรูลับของสลยา และ ง่ายนิดเดียว
ช่อง 4 ถึงจุดแตกหักและยุคมืดเมื่อปี 2511 เมื่อผู้บริหารยุคบุกเบิก ถูกเรียกตัวกลับเข้ากรมประชาสัมพันธ์ซึ่งเป็นต้นสังกัดด้วยเหตุผลทางการเมือง มีทั้งประสงค์ หงสนันทน์ กรรมการผู้จัดการ, จำนง รังสิกุล หัวหน้าฝ่ายรายการและบันเทิง, สมจิตต์ สิทธิไชย ผู้ช่วยหัวหน้าฝ่ายรายการ ฯลฯ ทำให้เกิดผลกระทบต่อการจัดรายการและพนักงานเป็นอย่างมาก
ช่อง 4 ได้ยุติการออกอากาศเมื่อปี 2517 ก่อนที่จะย้ายไปที่บางลำพู และได้เปลี่ยนชื่อเป็นสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 จนกระทั่งไทยโทรทัศน์ อวสานลงเมื่อต้นปี 2520 นับถือเป็นสถานีโทรทัศน์ที่อยู่ในความทรงจำของใครต่อใครหลายๆคนเขาบอกต่อกัน
ที่มา : หนังสือที่ระลึก อสมท 59 ปี สื่อไทย,วิกิฯ
ติดตามตอนใหม่ๆที่ https://www.facebook.com/todayatbangkhunphrom
ตอนที่ผ่านมา
Ep.0 - แนะนำตัว - http://bit.ly/todayatbkp00
Ep.1 - ถ้าคุณนึกถึง "บางขุนพรหม" คุณจะนึกถึง... - http://bit.ly/todayatbkp01