รายได้รัฐ

รายได้ของรัฐมาจากที่ไหนบ้างมาดูกัน
รายได้ของรัฐบาลหมายถึงรายได้ที่นำส่งคลังในแต่ละปีงบประมาณประกอบด้วย รายได้จากภาษีอากร รายได้จากการขายสิ่งของและบริการ รายได้จากรัฐพาณิชย์ และรายได้อื่น ๆ
(1) ภาษีอากรหมายถึงสิ่งที่รัฐบาลบังคับเรียกเก็บจากผู้ที่มีรายได้ตามที่กำหนดไว้ เพื่อนำไปใช้ในการบริหารและการพัฒนาประเทศ ประกอบด้วย ภาษีทางตรง และภาษีทางอ้อม ดังนี้
(1) ภาษีทางตรงประกอบด้วย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีเงินได้ปิโตรเลียม
(2) ภาษีทางอ้อม ประกอบด้วย
1.ภาษีการขายทั่วไป ได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และ อากรแสตมป์
2.ภาษีการขายเฉพาะ ได้แก่ ภาษีน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน  ภาษีสรรพสามิตจากการนำเข้า ภาษีโภคภัณฑ์อื่น ค่าภาคหลวงแร่ ค่าภาคหลวงปิโตเลียม และภาษีทรัพยากรธรรมชาติอื่น
3. ภาษีสินค้าเข้า-ออก
4. ภาษีลักษณะอนุญาต
(2) การขายสิ่งของและบริการ ประกอบด้วย
(1) การขายหลักทรัพย์และทรัพย์สิน ประกอบด้วย ค่าขายทรัพย์สินซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์ ค่าขายผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ ค่าขายหลักทรัพย์ ค่าขายหนังสือราชการ และ ค่าขายสิ่งของอื่น
(2) การขายบริการ ประกอบด้วย ค่าบริการและค่าเช่า
(3) รายได้จากรัฐพาณิชย์ ประกอบด้วย ผลกำไรขององค์การรัฐบาล หน่วยงานธุรกิจที่รัฐบาลเป็นเจ้าของ รายได้จากโรงงานยาสูบ รายได้จากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล และเงินปันผลจากบริษัทที่รัฐบาลถือหุ้น
(4) รายได้อื่น ประกอบด้วย ค่าแสตมป์ฤชากร และค่าปรับ เงินรับคืนและรายได้เบ็ดเตล็ด
เงินกู้ หมายถึง การกู้เงินของรัฐบาลเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ โดยใช้วิธีออกตั๋วเงินคลัง พันธบัตร ตราสารอื่น หรือทำสัญญากู้
เงินคงคลัง หมายถึง เงินที่เหลือจากการใช้จ่ายในปีก่อนๆ ซึ่งรัฐบาลเก็บสะสมไว้ ในปีที่รายจ่ายสูงเกินกว่ารายได้และรัฐบาลไม่ต้องการก่อหนี้เพิ่มขึ้นสามารถนำออกมาใช้  ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด
*****จะได้ไม่ต้องมาเถียงว่าเงินภาษีเท่านั้นที่เป็นรายได้ที่ต้องส่งคลังหรือเป็นหลวงหรือไม่****สรุปเงินไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบไหน มาจากที่ไหน อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานใดของรัฐ ถือเป็นเงินแผ่นดินหมด***สตง. ว่าไงเห็นจ่ายกันจัง
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่