คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 6
กลไกธรรมชาติตามความหมาย จขกท.
น่าจะหมายถึง พฤติกรรมตามหลักวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะมีอิทธิพลปัจจัยจากหลักชีวภาพร่างกายส่งผลต่อพฤติกรรมค่อนข้างเที่ยงแท้ชัดเจน ตัวอย่างที่จัดเป็นพฤติกรรมตามหลักวิทยาศาสตร์ เช่น พฤติกรรมของทุกชีวิตแรกเกิด พฤติกรรมเซลล์ พฤติกรรมจุลินทรีย์ พฤติกรรมพืช พฤติกรรมผู้ป่วยหนักวิกฤต พฤติกรรมเจ้าหญิงเจ้าชายนิทรา ฯลฯ และควรกล่าวได้ว่าเป็นกลุ่มที่มีพฤติกรรมตามธรรมชาติที่สุด โดยเป็นพฤติกรรมแบบสัญชาตญาณ นอกจากนี้ก็จะมีกลุ่มของสิ่งมีชีวิตที่มีพัฒนาการชีวิตและวิวัฒนาการสูงขึ้น เช่น สัตว์ขั้นสูงต่างๆ มนุษย์เด็กเล็กๆ ผู้พิการทางปัญญาชัดเจน ผู้ป่วยทางจิตเวชศาสตร์ชัดเจน ผู้อยู่ในสภาพภวังค์ ฯลฯ ซึ่งจะเป็นกลุ่มที่มีพฤติกรรมไปตามธรรมชาติสภาวะจิตใจลักษณะต่างๆ
ส่วนกลไกทางสังคมที่ว่ามา
น่าจะหมายถึง พฤติกรรมตามหลักสังคมวิทยาของมนุษย์ ซึ่งจะเป็นพฤติกรรมไปตามอุปาทานความยึดมั่นยึดถือของมนุษย์ ณ วิวัฒนาการปัจจุบันที่ไม่เยาว์วัยหรือพิการทางปัญญาจนเกินไป
ถ้าว่าตามหลักเกณฑ์เช่นนี้ย่อมตอบได้ว่าพฤติกรรมการรักลูกของพ่อแม่นั้นเป็นกลไกทางสังคม โดยข้อเท็จจริงของพฤติกรรมเช่นนี้จึงล้วนมาจากการยึดมั่นจดจ่อเลียนแบบจากสัตว์,การยึดถือแบบอย่างตามกันมา,การยึดถือแล้วเกิดภาวะอารมณ์รักลูกซึ่งเป็นภาวะอารมณ์ที่เป็นปรัชญาละเอียดซับซ้อนเหนือเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ ฯลฯ
และการที่มนุษย์ในปัจจุบันมีพฤติกรรมตามอุปาทานความยึดถือ (หรือที่วิวัฒนาการเดิร์นหน่อยก็จะมีพฤติกรรมไปตามความอยาก,ไม่อยาก,ชอบ,ไม่ชอบ,หรือตามเวทนาความรู้สึกในทางต่างๆ) ตามหลักสังคมวิทยาจึงมีพฤติกรรมมนุษย์ที่ซับซ้อนหลากหลายเสมอ เช่น ผู้ที่ยึดถือธรรมเนียมการเลี้ยงดูลูก ผู้ที่ยึดถือธรรมเนียมการละทิ้งหรือกำจัดลูก ผู้ที่อยากดูแลลูก ผู้ที่ไม่ชอบเด็ก ผู้ที่มีความรู้สึกรักลูกอย่างจับใจ ผู้ที่มีความรู้สึกไม่ถูกชะตากับเด็กเอาเสียเลย ฯลฯ ส่วนถ้าใครยึดถือมั่นยึดถืออารมณ์ในทางดีหรือร้ายใดๆอย่างคร่ำเคร่งหนักหน่วงก็จะเกิดสภาวะจิตใจต่างๆตามหลักจิตวิทยาขึ้นได้ หรืออาจหนักถึงขั้นเป็นอาการจิตเวชศาสตร์ชัดเจนซึ่งก็จะเป็นพฤติกรรมตามหลักวิทยาศาสตร์ที่อธิบายได้ค่อนข้างเที่ยงแท้ชัดเจนนั่นเอง
น่าจะหมายถึง พฤติกรรมตามหลักวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะมีอิทธิพลปัจจัยจากหลักชีวภาพร่างกายส่งผลต่อพฤติกรรมค่อนข้างเที่ยงแท้ชัดเจน ตัวอย่างที่จัดเป็นพฤติกรรมตามหลักวิทยาศาสตร์ เช่น พฤติกรรมของทุกชีวิตแรกเกิด พฤติกรรมเซลล์ พฤติกรรมจุลินทรีย์ พฤติกรรมพืช พฤติกรรมผู้ป่วยหนักวิกฤต พฤติกรรมเจ้าหญิงเจ้าชายนิทรา ฯลฯ และควรกล่าวได้ว่าเป็นกลุ่มที่มีพฤติกรรมตามธรรมชาติที่สุด โดยเป็นพฤติกรรมแบบสัญชาตญาณ นอกจากนี้ก็จะมีกลุ่มของสิ่งมีชีวิตที่มีพัฒนาการชีวิตและวิวัฒนาการสูงขึ้น เช่น สัตว์ขั้นสูงต่างๆ มนุษย์เด็กเล็กๆ ผู้พิการทางปัญญาชัดเจน ผู้ป่วยทางจิตเวชศาสตร์ชัดเจน ผู้อยู่ในสภาพภวังค์ ฯลฯ ซึ่งจะเป็นกลุ่มที่มีพฤติกรรมไปตามธรรมชาติสภาวะจิตใจลักษณะต่างๆ
ส่วนกลไกทางสังคมที่ว่ามา
น่าจะหมายถึง พฤติกรรมตามหลักสังคมวิทยาของมนุษย์ ซึ่งจะเป็นพฤติกรรมไปตามอุปาทานความยึดมั่นยึดถือของมนุษย์ ณ วิวัฒนาการปัจจุบันที่ไม่เยาว์วัยหรือพิการทางปัญญาจนเกินไป
ถ้าว่าตามหลักเกณฑ์เช่นนี้ย่อมตอบได้ว่าพฤติกรรมการรักลูกของพ่อแม่นั้นเป็นกลไกทางสังคม โดยข้อเท็จจริงของพฤติกรรมเช่นนี้จึงล้วนมาจากการยึดมั่นจดจ่อเลียนแบบจากสัตว์,การยึดถือแบบอย่างตามกันมา,การยึดถือแล้วเกิดภาวะอารมณ์รักลูกซึ่งเป็นภาวะอารมณ์ที่เป็นปรัชญาละเอียดซับซ้อนเหนือเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ ฯลฯ
และการที่มนุษย์ในปัจจุบันมีพฤติกรรมตามอุปาทานความยึดถือ (หรือที่วิวัฒนาการเดิร์นหน่อยก็จะมีพฤติกรรมไปตามความอยาก,ไม่อยาก,ชอบ,ไม่ชอบ,หรือตามเวทนาความรู้สึกในทางต่างๆ) ตามหลักสังคมวิทยาจึงมีพฤติกรรมมนุษย์ที่ซับซ้อนหลากหลายเสมอ เช่น ผู้ที่ยึดถือธรรมเนียมการเลี้ยงดูลูก ผู้ที่ยึดถือธรรมเนียมการละทิ้งหรือกำจัดลูก ผู้ที่อยากดูแลลูก ผู้ที่ไม่ชอบเด็ก ผู้ที่มีความรู้สึกรักลูกอย่างจับใจ ผู้ที่มีความรู้สึกไม่ถูกชะตากับเด็กเอาเสียเลย ฯลฯ ส่วนถ้าใครยึดถือมั่นยึดถืออารมณ์ในทางดีหรือร้ายใดๆอย่างคร่ำเคร่งหนักหน่วงก็จะเกิดสภาวะจิตใจต่างๆตามหลักจิตวิทยาขึ้นได้ หรืออาจหนักถึงขั้นเป็นอาการจิตเวชศาสตร์ชัดเจนซึ่งก็จะเป็นพฤติกรรมตามหลักวิทยาศาสตร์ที่อธิบายได้ค่อนข้างเที่ยงแท้ชัดเจนนั่นเอง
แสดงความคิดเห็น
ทำไมพ่อแม่จึงรักลูก