ข้อเสนอแนะ : ในเมื่อประกาศกฎอัยการศึก..คดีเหล่านี้ควรขึ้นศาลทหารด้วยครับ

กระทู้สนทนา
.

ว่ากันตรงๆครับ ไม่ต้องอารัมภบท..

ไหนๆ ทั่นก็เด็ดขาดมาพอสมควรแล้ว ก็เลยเสนอแนะให้คดีเหล่านี้ที่ไม่เคยแก้ไขได้มาตลอก 10 ปีที่ผ่านมาเหมือนท่านโฆษกฯ วินธัยว่า...

ถ้าเป็นเช่นนั้นทำไมจำกัดเฉพาะ 3 ฐานความผิดล่ะครับ

จัดไปเลยครับ คดีที่ประชาชนเขาเรียกร้อง ประชาชนเดินดิน กินข้าวแกงอย่างครอบครัวกระผมจะได้สบายใจ

ใครมีความผิดในข้อหาเหล่านี้ให้พนักงานสอบสวนส่งฟ้องต่อศาลทหารได้เลยจะเป็นการดีมาก

คดีอะไรบ้างล่ะ..ว่ากันกว้างๆแบบ ตลก.มวยวัด อย่างนี้แหละ

1) ลักลอบค้าแรงงานมนุษย์ ละเมิดสิทธิเด็ก ขโมยเด็ก

2 ) ข่มขืน ฆ่าและข่มขืน หรือพยายามข่มขืนแล้วฆ่า

3 ) จ้างวานฆ่า เจตนาฆ่า เพื่อหวังทรัพย์  ( โดยเฉพาะพวกมือปืน และซุ้มต่างๆ )

4 ) ผลิตยาเสพติด ค้ายาเสพติด หรือมียาเสพติดเพื่อไว้การค้า

5 ) จ้างวาน หรือตัดไม้ทำลายป่า ทำลายทรัพยากรของชาติ หรือมีทรัพยากรที่หวงห้ามของชาติ ไว้ครอบครองไม่ว่าจะเป็นการค้าหรือไม่ก็ตาม

6 ) พวกติดสินบาท คาดสินบน ( ทั้งผู้ให้ และผู้รับ )

7 ) ค้าของเถื่อน

8 ) การพนันต่างๆ หวยเถื่อน หวยใต้ดิน บ่อนการพนัน โต๊ะบอล ตู้ม้า ตู้เกมส์ ฯลฯ

9 ) ให้ผู้พักพิง หรือให้การสนับสนุนกับ จำเลยที่มีมูลความผิดทั้ง 8 ข้อที่ถูกกล่าวหา


ไม่ทราบว่าใครมีอะไรจะเติม จะเสริมข้อหาความผิดอะไรเพิ่มก็เชิญน่ะครับ..

อย่างไรก็ดี เพื่อให้เห็นภาพ เราควรมาทำความรู้เรื่องศาลทหารกันเสียก่อน

1. ศาลทหารแตกต่างจากศาลพลเรือนอย่างไร

- กระบวนการพิจารณาคดีนั้นเหมือนกันเกือบทั้งหมด เพราะให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาใช้ในกับการพิจารณาคดีในศาลทหารด้วย
- โครงสร้างการบริหารงานของศาลศาลทหารจะแตกต่างกับศาลพลเรือน เพราะอยู่ใต้กระทรวงกลาโหม ตุลาการและเจ้าหน้าที่ศาลจะเป็นข้าราชการทหาร
- ศาลทหารมีที่ทำการต่างหากจากศาลพลเรือน ศาลทหารกรุงเทพตั้งอยู่ข้างกระทรวงกลาโหม ใกล้สนามหลวง อยู่ด้านหลังของศาลหลักเมือง อาคารของศาลทหารขึ้นป้ายว่า “กรมพระธรรมนูญ”

2. สิทธิของผู้ต้องหาที่ขึ้นศาลทหารแตกต่างกับสิทธิในการขึ้นศาลพลเรือนอย่างไรบ้าง
- โดยปกติแล้วไม่ต่างกัน
เว้นแต่เป็นศาลทหารในเวลาไม่ปกติ เวลาที่ประกาศกฎอัยการศึกจะไม่มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกา

3. ผู้ต้องหามีสิทธิตั้งทนายความมาว่าความให้ได้หรือไม่ มีสิทธิเรียกคนมาเป็นพยานให้ตัวเองได้หรือไม่
- ได้ เหมือนศาลพลเรือน

4. สิทธิประกันตัว และการควบคุมตัวเป็นอย่างไร
- ผู้ต้องหาหรือจำเลยมีสิทธิประกันตัวเหมือนกันกับศาลพลเรือน อำนาจในการควบคุมตัวก็เหมือนกันกับศาลพลเรือน คือ การส่งฟ้องต้องนำตัวไปฝากขังที่ศาล และควบคุมตัวก่อนส่งฟ้องได้สูงสุดไม่เกิน 84 วัน

5. องค์คณะผู้พิพากษาในศาลทหารเป็นอย่างไร
- องค์คณะของทุกชั้นศาลจะต้องประกอบด้วยตุลาการทหาร คือ นายทหารที่มียศสูงกว่าจำเลย ซึ่งเป็นทหารไม่มีความรู้กฎหมาย และตุลาการพระธรรมนูญซึ่งมีความรู้กฎหมาย
ศาลทหารชั้นต้น ต้องมีตุลาการสามนายเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษา คือ นายทหารชั้นสัญญาบัตรสองนาย ตุลาการพระธรรมนูญหนึ่งนาย

6. สิทธิในการอุทธรณ์ฎีกาเหมือนกับศาลพลเรือนหรือไม่
- ไม่เหมือน ถ้าเป็นเวลาไม่ปกติที่ประกาศกฎอัยการศึก อุทธรณ์หรือฎีกาไม่ได้เลย
ถ้าเป็นเวลาปกติ อุทธรณ์ หรือฎีกา ได้ หลักเกณฑ์เหมือนกับศาลพลเรือน

7. กรณีไหนบ้างที่ต้องขึ้นศาลทหาร
- คดีที่จำเลยเป็นทหาร
- คดีความผิดต่อกฎหมายทหาร หรือความผิดที่ คสช. ประกาศให้ขึ้นศาลทหาร ได้แก่ (1) ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาทและผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 107 – 112 (2) ความผิดต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 113 - 118 และ (3) ความผิดตามประกาศ หรือคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
- คดีที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร คือ คดีที่ทหารกระทำความผิดร่วมกับพลเรือน คดีที่ผู้กระทำความผิดเป็นด็กและเยาวชน

8. ผู้ที่ถูกจับกุมจากการร่วมชุมนุมต่อต้านรัฐประหารอย่างสันติต้องขึ้นศาลทหารหรือไม่
- ขึ้นอยู่กับการตั้งข้อหา ถ้าถูกตั้งข้อหาว่าทำผิดฐานฝ่าฝืนประกาศ คสช. และเป็นการกระทำหลังวันที่ 25 พฤษภาคม 2557 ก็ต้องขึ้นศาลทหาร

9. หากความผิดที่ถูกตั้งข้อหาเกิดขึ้นก่อนวันที่ 25 พ.ค. จะขึ้นศาลทหารหรือศาลพลเรือน
- ความผิดที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ 25 พฤษภาคม 2557 ต้องขึ้นศาลพลเรือน
ยกเว้นความผิดที่ “เกี่ยวโยง” กับความผิดที่ต้องขึ้นศาลทหาร ที่เกิดขึ้นหลังวันที่ 25 พฤษภาคม 2557 ต้องไปขึ้นศาลทหารด้วย

10. กรณีศาลทหารพิพากษาให้จำคุก จะถูกจำคุกในศาลทหารหรือศาลพลเรือน
หากศาลพิพากษาลงโทษจำคุก ต้องรับโทษจำคุกในเรือนจำทหาร เว้นแต่ถ้าต้องจำคุกเกิน 3 ปี ก็จะโอนไปรับโทษยังเรือนจำพลเรือน ซึ่งมีข้อสังเกตว่าเรือนจำทหารน่าจะแออัดน้อยกว่าเรือนจำพลเรือน (ข้อมูลจากอดีตนายทหารพระธรรมนูญ)

ทั้งนี้ คสช.ออกประกาศฉบับที่ 44/2557 ให้เรือนจำกรมราชทัณฑ์ ปฏิบัติตามหมายของศาลทหาร  คนที่ถูกศาลทหารพิพากษาจำคุก มีแนวโน้มว่าอาจถูกส่งไปจำคุกที่ศาลพลเรือนก็ได้

http://prachatai.com/

http://www.ilaw.or.th/node/3118


..เมื่อรู้ ก็ต้องเรียนรู้ เพื่ออยู่กันต่อไปน่ะครับ..

เพราะกระทู้ก่อนหน้าใช้เวลาเขียนกว่า 2 ชั่วโมง ด้วยความตั้งใจดี หวังดีจากการได้คุยกับเพื่อนๆชาวต่างประเทศว่าจะลดแรงกดดันได้อย่างไร แต่อยู่ได้เพียงชั่วโมงกว่าก็หายไป..

บางทีอาจไม่สร้างสรรเหมือน คุณ วินธัยว่าไว้ก็ได้น่ะครับ..

But....The show must go on.....







.
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่