กองทัพเรือสหรัฐฯ ยิงปืนรางแม่เหล็กไฟฟ้าครบ 1000 นัดแล้ว

ปืนรางแม่เหล็กไฟฟ้า (electromagnetic railgun) เป็นปืนที่นับว่าเป็นความฝันทางการทหารมานาน ด้วยความที่ตัวปืนไม่ต้องการดินปืนอีกต่อไป แต่อาศัยการขับเคลื่อนด้วยแม่เหล็กไฟฟ้าพลังงานสูง เร่งให้ลูกปืนพุ่งออกไปด้วยความเร็วสูง โดยตอนนี้ปืนต้นแบบขนาดใหญ่นั้นอยู่ในห้องทดลองของกองทัพเรือสหรัฐฯ และหลังกจากติดตั้งมานานกว่าสี่ปี ตอนนี้ปืนกระบอกล่าสุดก็สามารถยิงได้ 1,000 นัดแล้ว

ความท้าทายของปืนรูปแบบนี้คือมันสามารถยิงกระสุนออกไปด้วยความเร็วสูงมากจนเมื่อยิงกระสุนออกไปจะเกิดความร้อนจนกระทั่งหลอมตัวกระบอกปืนเอง การพัฒนาของกองทัพเรือสหรัฐฯ สามารถหาวัสดุที่ทนทานต่อความร้อนได้จนสามารถยิงกระสุนด้วยพลังงานจลถึง 1.5 เมกกะจูลได้เป็นปรกติ ข้อดีของการยิงความเร็วสูงแบบนี้คือพลังงานจลในการยิงเองจะเพิ่มอำนาจการทำลายล้างของกระสุนจนไม่ต้องใช้ดินปืนแต่อย่างใด ความเร็วที่สูงจะทำให้ความเป็นวิถืโค้งของกระสุนน้อยลง สามารถเล็งได้แม่นยำขึ้น กระสุนอาจจะเป็นกระสุนขนาดเล็กลง น้ำหนักเบาลงทำให้สามารถนำกระสุนไปด้วยครั้งละมากๆ ได้

นอกจากใช้ทำลายล้างแล้ว ความหวังอย่างหนึ่งของปืนรางแบบนี้คือการใช้นำส่งวัสดุขึ้นสู่อวกาศ จากการเร่งความเร็วต้นได้สูงมาก ทำให้นักออกแบบจรวดมีความหวังว่าจะสร้างระบบนำส่งที่มีต้นทุนต่อกิโลกรัมถูกกว่าเดิม ด้วยการใช้ปืนรางนี้ยิงจรวดจากพื้นโลกขึ้นไปด้วยความเร็วสูงจนหลุดพ้นแรงโน้มถ่วงโลกได้ คาดว่าหากใช้งานได้จริง การนำส่งจรวดขึ้นไปยังวงโคจรจะมีต้นทุนถูกลงหลายสิบเท่าตัว

ที่มา - Engadget

สมมุติว่าเราเอามายิงเรือรบ เรือบรรทุกเครื่องบิน จะเป็นไง  ห้ามบอกว่าเรือพวกนั้นไม่อยู่เฉยรอเป็นเป้านิ่งโดยเด็ดขาด เพราะว่าแน่นอนว่าไม่ยิงไปเฉย ๆ อาจใช้ Drone หรือ Uav ชี้เป้าจากระยะไกลก็ได้ ระบะติดตามด้วยดาวเทียมก็มี หรือใช้คอมพิวเตอร์คำนวนดักหน้าก็ได้เพราะไม่ได้ยิงเพียงนัดเดียวอยู่แล้ว
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่