ความโด่งดังของรถกระบะ DATSUN เริ่มเป็นที่รู้จักกันอย่างขนานใหญ่ ตั้งแต่รุ่นที่ผลิตในปี พศ.2515 ซึ่งเป็นการเปลี่ยนตัวถังรถ โดยมีรหัสเรียกอย่างเป็นทางการว่า “L 620“ แต่ชาวบ้านนิยมเรียกกันว่า รุ่น “ช้างเหยียบ” ตามการโฆษณาทั้งภาพยนต์และภาพนิ่ง ที่นำ ช้าง ขึ้นไปยืนอยู่ภานในกระบะทั้งตัว เพื่อเสื่อให้เห็นถึง พละกำลัง และความทนทรหดของตัวรถ นอกจากนั้นยังมีการเพิ่มรุ่นให้เลือกซื้อหามากขึ้นด้วยเครื่องยนต์ สองขนาด คือ “J 13” ในระดับ 1,300 ซีซี ที่เหมือนเดิมและ “J 15” ที่เพิ่มความจุขึ้นเป็น 1,500 ซีซี ซึ่งเปลี่ยนระบบถ่ายทอดกำลังมาเป็นแบบเดินหน้า 4 จังหวะ และมีให้เลือกทั้ง “เกียร์มือ” หรือ “เกียร์กระปุก” ตามลักษณะปัจจุบันซึ่งในขณะนั้นทางกลุ่มของ รถเก๋ง ได้ให้ความนิยมล่วงหน้าไป สี่-ห้าปีแล้ว แถมด้วยการเพิ่มขนาดของตัวรถให้เลือกหาทั้งแบบ ช่วงสั้น-ช่วงยาว ซึ่งจากการที่มีทางเลือกมากขึ้นประกอบกับรูปลักษณ์ของตัวรถที่จัดได้ว่ามีความสวย เข้าตามากกว่ายี่ห้ออื่นอยู่ไม่น้อยได้สร้างยอกจำหน่ายให้ กระฉูด ไปทั่วประเทศ
และในช่วงใกล้เคียงกันนี้เองก็ได้มีการ นำเข้ารถกระบะ รุ่นที่ใหญ่กว่าคือ เป็นในระดับ Mid Size ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มของ Light Truck เช่นเดียวกันเข้ามาเสริมตลาดคือ Nissan “Caball Junior” ที่ใช้เครื่องยนต์เบ็นซิน 2,000 ซีซี (ถ้าเป็นรุ่น “Caball” ธรรมดาจะเป็นรถหน้าตัดในลักษณะ และพิกัดเดียวกับ Isuzu “Elf” และ Toyota “Dyna” ) ซึ่งในปัจจุบันยังคงหลงเหลือให้พอเห็นในสภาพที่ไม่ค่อยจะสมบูรณ์นัก
เครื่องยนต์ “J 15 “ : เบ็นซิน 4 สูบเรียง OHV
ปริมาณกระบอกสูบ : 1,452 ซีซี
กระบอกสูบ X ช่วงชัก : 76.0 x 80.0 มม.
แรงม้าสูงสุด : 74 แรงม้า ที่ 5,000 รอบต่อนาที
แรงบิดสูงสุด : 10.7 กก.-ม. ที่ 2,800 รอบต่อนาที
เครื่องยนต์ “H 20“ : เบ็นซิน 4 สูบเรียง OHV
ปริมาณกระบอกสูบ : 1,982 ซีซี
กระบอกสูบ X ช่วงชัก : 87.0 x 83.0 มม.
แรงม้าสูงสุด : 91 แรงม้า ที่ 4,800 รอบต่อนาที
แรงบิดสูงสุด : 16.3 กก.-ม. ที่ 3,200 รอบต่อนาที
วันวานยังเก๋าอยู่กับ ดัสสันช้างเหยียบ
และในช่วงใกล้เคียงกันนี้เองก็ได้มีการ นำเข้ารถกระบะ รุ่นที่ใหญ่กว่าคือ เป็นในระดับ Mid Size ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มของ Light Truck เช่นเดียวกันเข้ามาเสริมตลาดคือ Nissan “Caball Junior” ที่ใช้เครื่องยนต์เบ็นซิน 2,000 ซีซี (ถ้าเป็นรุ่น “Caball” ธรรมดาจะเป็นรถหน้าตัดในลักษณะ และพิกัดเดียวกับ Isuzu “Elf” และ Toyota “Dyna” ) ซึ่งในปัจจุบันยังคงหลงเหลือให้พอเห็นในสภาพที่ไม่ค่อยจะสมบูรณ์นัก
เครื่องยนต์ “J 15 “ : เบ็นซิน 4 สูบเรียง OHV
ปริมาณกระบอกสูบ : 1,452 ซีซี
กระบอกสูบ X ช่วงชัก : 76.0 x 80.0 มม.
แรงม้าสูงสุด : 74 แรงม้า ที่ 5,000 รอบต่อนาที
แรงบิดสูงสุด : 10.7 กก.-ม. ที่ 2,800 รอบต่อนาที
เครื่องยนต์ “H 20“ : เบ็นซิน 4 สูบเรียง OHV
ปริมาณกระบอกสูบ : 1,982 ซีซี
กระบอกสูบ X ช่วงชัก : 87.0 x 83.0 มม.
แรงม้าสูงสุด : 91 แรงม้า ที่ 4,800 รอบต่อนาที
แรงบิดสูงสุด : 16.3 กก.-ม. ที่ 3,200 รอบต่อนาที