ไม่ว่าคุณจะเหยียบคันเร่งจนมิดไมล์หรือรถคุณจะโมดิฟายมาแรงแค่ไหน แต่เมื่อเจอเจ้ายักษ์เขียวรถส่งหนังสือพิมพ์ของสำนักข่าวไทยรัฐ ตำนานตัวแรงแห่งย่านวิภาวดี คุณก็จำเป็นต้องหลีกทางให้กับรถคันนี้อย่างแน่นอน
วิ่งเชียงใหม่ 4 ชม.
1 ชั่วโมง 30 นาทีแรก จากโรงพิมพ์ต้องถึงนครสวรรค์
2 ชั่วโมง ต้องถึงแถว อ.โกสัมพี บ้านวังเจ้า
3 ชั่วโมงต้องถึง อ.สบปราบ
4 ชั่วโมง ถึงเชียงใหม่
เรื่องราวของสมรรถภาพและความโดดเด่นของรถส่งหนังสือพิมพ์ ของ นสพ.ไทยรัฐ เคยถูกนำมาเผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์จำนวนมาก โดยตั้งสมญานามให้ว่า “ยักษ์เขียววิภา” ระบุว่า รถขนส่งของไทยรัฐ เคยนำ นสพ.จากโรงพิมพ์ย่านวิภาวดีรังสิต กรุงเทพฯ ไปส่งถึงเชียงใหม่ ได้ในเวลาเพียง 4 ชั่วโมงเท่านั้น (ความเร็วเกือบเท่ากับรถไฟชินกันเซนของญี่ปุ่นเลยทีเดียว) โดยเฉพาะในช่วงมีสถานการณ์ข่าวเร่งด่วนเกิดขึ้น จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาข่าว และส่งถึงมือผู้อ่านให้ทันเหตุการณ์ เช่น เมื่อช่วงต้นปี 2019 มีเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ เมื่อมีพระราชโองการเกี่ยวกับประเด็นทางการเมืองออกมาช่วงกลางดึก กองบรรณาธิการเปิดเผยว่าได้มีการสั่งหยุดพิมพ์ และให้ทุกฝ่ายเตรียมพร้อมเพื่อตีพิมพ์ใหม่และส่งหนังสือพิมพ์ให้ทันท่วงที จนสามารถใช้เวลาขนส่งอย่างด่วนจนเป็นที่กล่าวขวัญมาจนถึงปัจจุบัน
ความอยากรู้อยากเห็นเรื่องความเร็วของรถขนส่งไทยรัฐมีมาอย่างต่อเนื่อง ในเว็บไซต์หลายแห่งอ้างถึงข้อมูลที่พยายามสืบค้นจากผู้เกี่ยวข้องในระบบการขนส่งนี้ ระบุข้อมูลภาพรวมของรถบรรทุกขนส่งของ ไทยรัฐว่า
รถขนส่งทั้งหมดเป็นรถบรรทุก 6 ล้อ มีหลายโฉม อย่างเช่นมีประกาศขายมือ 2 ราคาที่ 480,000 ตาม รายละเอียดเครื่อง
รถรุ่นนี้คือ ISUZU NQR175 โฉมปี 2012 เป็นรถบรรทุก 6 ล้อ 5 ตัน ติดตั้งตู้ทึบบริเวณด้านหลังขนาด 4.5 เมตร มาพร้อมกับเครื่องยนต์ดีเซลคอมมอนเรล มาตรฐาน EURO3
แต่ที่ว่าเร็วแรงก็โฉม.ของ ISUZU FTR 240 แรงม้า เครื่องยนต์คอมมอนเรล ISUZU 6HK1 TCN เทอร์โบอินเตอร์คูลเลอร์ 6สูบ ขนาด 7,790 CC และยังอ้างอีกว่าความเร็วปกติวิ่งได้สูงสุดถึง 240 กม./ชม. แต่หากผ่านการโมดิฟาย เครื่องยนต์แล้วจะสามารถใช้ความเร็วได้มากกว่านั้น และล่าสุดหลายคนเชื่อว่าปัจจุบันก็น่าจะมีการปรับปรุงสมรรถนะของรถสายส่งเพิ่มขึ้นอีก เพราะ นสพ.ไทยรัฐมีช่างเครื่องยนต์ระดับเทพฯ คอยพัฒนาความสามารถของรถอยู่เสมอ และที่สำคัญการตกแต่งเครื่องยนต์ หรือพัฒนาสมรรถภาพทั้งหมดล้วนเป็นความลับที่ใครๆ ก็อยากรู้
อ้างอิง
https://kinyupen.co/
https://mainstand.co.th/th/news/6/article/10542
ตำนานยักษ์เขียว ไทยรัฐ วิ่งได้เร็วขนาดนี้เชียวหรอครับ
วิ่งเชียงใหม่ 4 ชม.
1 ชั่วโมง 30 นาทีแรก จากโรงพิมพ์ต้องถึงนครสวรรค์
2 ชั่วโมง ต้องถึงแถว อ.โกสัมพี บ้านวังเจ้า
3 ชั่วโมงต้องถึง อ.สบปราบ
4 ชั่วโมง ถึงเชียงใหม่
เรื่องราวของสมรรถภาพและความโดดเด่นของรถส่งหนังสือพิมพ์ ของ นสพ.ไทยรัฐ เคยถูกนำมาเผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์จำนวนมาก โดยตั้งสมญานามให้ว่า “ยักษ์เขียววิภา” ระบุว่า รถขนส่งของไทยรัฐ เคยนำ นสพ.จากโรงพิมพ์ย่านวิภาวดีรังสิต กรุงเทพฯ ไปส่งถึงเชียงใหม่ ได้ในเวลาเพียง 4 ชั่วโมงเท่านั้น (ความเร็วเกือบเท่ากับรถไฟชินกันเซนของญี่ปุ่นเลยทีเดียว) โดยเฉพาะในช่วงมีสถานการณ์ข่าวเร่งด่วนเกิดขึ้น จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาข่าว และส่งถึงมือผู้อ่านให้ทันเหตุการณ์ เช่น เมื่อช่วงต้นปี 2019 มีเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ เมื่อมีพระราชโองการเกี่ยวกับประเด็นทางการเมืองออกมาช่วงกลางดึก กองบรรณาธิการเปิดเผยว่าได้มีการสั่งหยุดพิมพ์ และให้ทุกฝ่ายเตรียมพร้อมเพื่อตีพิมพ์ใหม่และส่งหนังสือพิมพ์ให้ทันท่วงที จนสามารถใช้เวลาขนส่งอย่างด่วนจนเป็นที่กล่าวขวัญมาจนถึงปัจจุบัน
ความอยากรู้อยากเห็นเรื่องความเร็วของรถขนส่งไทยรัฐมีมาอย่างต่อเนื่อง ในเว็บไซต์หลายแห่งอ้างถึงข้อมูลที่พยายามสืบค้นจากผู้เกี่ยวข้องในระบบการขนส่งนี้ ระบุข้อมูลภาพรวมของรถบรรทุกขนส่งของ ไทยรัฐว่า
รถขนส่งทั้งหมดเป็นรถบรรทุก 6 ล้อ มีหลายโฉม อย่างเช่นมีประกาศขายมือ 2 ราคาที่ 480,000 ตาม รายละเอียดเครื่อง
รถรุ่นนี้คือ ISUZU NQR175 โฉมปี 2012 เป็นรถบรรทุก 6 ล้อ 5 ตัน ติดตั้งตู้ทึบบริเวณด้านหลังขนาด 4.5 เมตร มาพร้อมกับเครื่องยนต์ดีเซลคอมมอนเรล มาตรฐาน EURO3
แต่ที่ว่าเร็วแรงก็โฉม.ของ ISUZU FTR 240 แรงม้า เครื่องยนต์คอมมอนเรล ISUZU 6HK1 TCN เทอร์โบอินเตอร์คูลเลอร์ 6สูบ ขนาด 7,790 CC และยังอ้างอีกว่าความเร็วปกติวิ่งได้สูงสุดถึง 240 กม./ชม. แต่หากผ่านการโมดิฟาย เครื่องยนต์แล้วจะสามารถใช้ความเร็วได้มากกว่านั้น และล่าสุดหลายคนเชื่อว่าปัจจุบันก็น่าจะมีการปรับปรุงสมรรถนะของรถสายส่งเพิ่มขึ้นอีก เพราะ นสพ.ไทยรัฐมีช่างเครื่องยนต์ระดับเทพฯ คอยพัฒนาความสามารถของรถอยู่เสมอ และที่สำคัญการตกแต่งเครื่องยนต์ หรือพัฒนาสมรรถภาพทั้งหมดล้วนเป็นความลับที่ใครๆ ก็อยากรู้
อ้างอิง
https://kinyupen.co/
https://mainstand.co.th/th/news/6/article/10542