5 รัฐวิสาหกิจอยู่ในภาวะวิกฤต

กระทู้สนทนา
นำเสนอข่าวโดยทีมงาน Sanook.com

ภายหลังคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. มีนโยบายปรับปรุงประสิทธิภาพรัฐวิสาหกิจ โดยเฉพาะประเด็นเรื่องผู้ที่มาเป็นกรรมการและ ผู้บริหารระดับสูง ส่งผลให้มีกรรมการและผู้บริหารรัฐวิสาหกิจเริ่มทยอยลาออกหลายตำแหน่ง ขณะที่กระทรวงการคลัง กำลังเดินหน้าพิจารณาโครงสร้างผลตอบแทนรัฐวิสาหกิจใหม่ทั้งระบบ

หลังได้รับมอบหมายจากคสช. ขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ หรือ สคร. อยู่ระหว่างประเมินสถานะและวิเคราะห์ประสิทธิภาพของกรรมการรัฐวิสาหกิจ และบริษัทมหาชนที่รัฐบาลถือหุ้นอยู่ทั้ง 56 แห่งโดยจะมีการรวบรวมรายละเอียด ทั้งเรื่องของผลตอบแทนและสิทธิประโยชน์ส่วนเกิน ค่าตอบแทนกรรมการ เบี้ยประชุม โบนัส และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่กรรมการได้รับ เพื่อเสนอให้ คสช.พิจารณาความเหมาะสมอีกครั้ง

สำหรับสถานะของรัฐวิสาหกิจจากข้อมูลของ สคร. เมื่อสิ้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา พบว่า มีรัฐวิสาหกิจ ที่อยู่ในภาวะวิกฤติ คือ การรถไฟแห่งประเทศไทย ขสมก. การบินไทย ทีโอที และ องค์การคลังสินค้า หรือ อคส.

ส่วนการลาออกของคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ นายประสงค์ พูนธเนศ ผู้อำนวยการ สคร. เปิดเผยว่า ล่าสุดเมื่อวานนี้ ได้รับแจ้งการลาออกจากตำแหน่งของ นายวรวิทย์ จำปีรัตน์ ประธานธนาคารกรุงไทย เรียบร้อยแล้ว ส่งผลให้ยอดรายชื่อบอร์ดรัฐวิสาหกิจที่แจ้งลาออกจากตำแหน่งแล้วจำนวน 5 คน

สำหรับคณะกรรมการ 4 คนที่ได้แจ้งลาออกก่อนหน้านี้ ประกอบด้วย นายศิธา ทิวารี ประธานกรรมการบริษัท ท่าอากาศยานไทย นายปานปรีย์ พหิทธานุกร ประธานกรรมการบริษัท ปตท. พล.ต.ต.อรรถกฤษณ์ ธารีฉัตร ผู้อำนวยการสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล และ นายธานินทร์ อังสุวรังษี กรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์

นอกจากนี้ นายณอคุณ สิทธิพงศ์ ได้มีหนังสือแจ้งลาออกจากการดำรงตำแหน่งกรรมการ และประธานกรรมการบริษัท ไทยออยล์ เนื่องจากมีภารกิจอื่น โดยการลาออกมีผลตั้งแต่วันที่ 16 มิ.ย.เป็นต้นไป


ทั้งนี้ก็เพียงอยากถามว่าทำไมตั้งนานก็มีปัญหามาตลอด แล้วมากกระพื่ออะไรมากมายตอนนี้นะ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่