เผยสถิติคนไทยว่างงานเดือน พ.ค.ที่ผ่านมามีจำนวน 362,000 คน เพิ่มขึ้น 58,000 คน เมื่อเทียบกับเดือน เม.ย.ชี้คนจบปริญญาตรีครองแชมป์ว่างงานมากที่สุด ขณะที่คนในภาคอีสาน มีอัตราว่างงานมากที่สุด รองลงมาเป็นภาคใต้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าสำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) ได้รายงานภาวการณ์ทำงานของประชากร เมื่อเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา พบว่า จำนวนผู้ว่างงานมีทั้งสิ้น 362,000 คน หรือคิดเป็นอัตราการว่างงาน 0.9% เมื่อเปรียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน โดยเพิ่มขึ้นถึง 58,000 คน ต่อเนื่องจากช่วงเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา ซึ่ง คนว่างงานส่วนใหญ่เป็นกลุ่มของคนที่จบการศึกษาในระดับอุดมศึกษาจำนวน 144,000 คน กลุ่มนี้เพิ่มขึ้นจากเดือน เม.ย.จำนวน 20,000 คน รองลงมาเป็นระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย ประถมศึกษา และเป็นผู้ที่ไม่มีการศึกษาและต่ำกว่าประถมศึกษา
สำหรับการพิจารณาเป็นรายภาค พบว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีผู้ว่างงานเพิ่มขึ้นมากที่สุด 43,000 คน คิดเป็น 1% รองลงมาคือภาคใต้ 23,000 คน คิดเป็น 1.3% ภาคกลาง 13,000 คน คิดเป็น 1.1% และภาคเหนือ 6,000 คน คิดเป็น 0.7% ส่วนกรุงเทพฯ มีจำนวนผู้ว่างงานลดลง 27,000 คน คิดเป็น 0.4% ส่งผลให้อัตราว่างงานทั่วประเทศเพิ่มขึ้นจาก 0.8% ในเดือน เม.ย. เพิ่มขึ้นเป็น 0.9% ในเดือน พ.ค.
ทั้งนี้ จำนวนผู้มีงานทำในเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา อยู่ที่ 37.76 ล้านคน โดยทำงานในภาคเกษตรกรรม 12.30 ล้านคน หรือคิดเป็น 32.6% ของผู้มีงานทำ และทำงานนอกภาคเกษตรกรรม 25.46 ล้านคน หรือคิดเป็น 67.4% ของผู้มีงานทำ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับเดือน พ.ค.2556 พบว่า ในภาคเกษตรกรรมมีจำนวนผู้ทำงานลดลง 520,000 คน แต่นอกภาคเกษตรกรรมมีจำนวนผู้ทำงานเพิ่มขึ้น 80,000 คน โดยจำนวนนี้เป็นการเพิ่มขึ้นในสาขาการผลิตมากที่สุด 240,000 คน รองลงมาเป็นสาขากิจกรรมด้านสุขภาพ และงานสังคมสงเคราะห์ 80,000 คน สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า 70,000 คน
ขณะเดียวกัน สาขากิจกรรมการบริการด้านอื่นๆ เช่น กิจกรรมบริการ เพื่อสร้างเสริมสุขภาพร่างกาย การดูแลสัตว์เลี้ยง การบริการซักรีดและซักแห้ง มีผู้มีงานทำเพิ่มขึ้น 50,000 คนสาขาการศึกษา 40,000 คน และสาขากิจกรรมอสังหาริมทรัพย์ และสาขาการบริหารราชการ การป้องกันประเทศและการประกันสังคมภาคบังคับเพิ่มขึ้นเท่ากัน 10,000 คน ส่วนสาขาที่ลดลงคือ สาขาการก่อสร้าง 250,000 คน สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร 60,000 คน สาขากิจกรรมทางการเงิน และการประกันภัย 20,000 คน และสาขาการขายส่งการขายปลีก การซ่อมยานยนต์ และรถจักรยานยนต์ 10,000คน ที่เหลือกระจายอยู่ในสาขาอื่นๆ
ทั้งนี้เมื่อพิจารณาถึงชั่วโมงทำงาน ของผู้มีงานทำต่อสัปดาห์ในเดือน พ.ค. พบว่าส่วนใหญ่ทํางานตั้งแต่ 35 ชั่วโมงขึ้นไป ถือได้ว่าเป็นผู้ทำงานเต็มที่ ในเรื่องชั่วโมงทำงานมีจำนวน 31.38 ล้านคน หรือคิดเป็น 83.1% ของผู้มีงานทำทั้งหมด และผู้ที่ทำงาน 1-34 ชั่วโมง มีจำนวน 5.83 ล้านคน คิดเป็น15.4%.
ที่มา:
http://www.thairath.co.th/content/429774
เผยจบปริญญาตรีแชมป์เตะฝุ่น สถิติคนว่างงานเดือน พ.ค.พุ่งติดลมบน 3.6 แสนคน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าสำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) ได้รายงานภาวการณ์ทำงานของประชากร เมื่อเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา พบว่า จำนวนผู้ว่างงานมีทั้งสิ้น 362,000 คน หรือคิดเป็นอัตราการว่างงาน 0.9% เมื่อเปรียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน โดยเพิ่มขึ้นถึง 58,000 คน ต่อเนื่องจากช่วงเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา ซึ่ง คนว่างงานส่วนใหญ่เป็นกลุ่มของคนที่จบการศึกษาในระดับอุดมศึกษาจำนวน 144,000 คน กลุ่มนี้เพิ่มขึ้นจากเดือน เม.ย.จำนวน 20,000 คน รองลงมาเป็นระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย ประถมศึกษา และเป็นผู้ที่ไม่มีการศึกษาและต่ำกว่าประถมศึกษา
สำหรับการพิจารณาเป็นรายภาค พบว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีผู้ว่างงานเพิ่มขึ้นมากที่สุด 43,000 คน คิดเป็น 1% รองลงมาคือภาคใต้ 23,000 คน คิดเป็น 1.3% ภาคกลาง 13,000 คน คิดเป็น 1.1% และภาคเหนือ 6,000 คน คิดเป็น 0.7% ส่วนกรุงเทพฯ มีจำนวนผู้ว่างงานลดลง 27,000 คน คิดเป็น 0.4% ส่งผลให้อัตราว่างงานทั่วประเทศเพิ่มขึ้นจาก 0.8% ในเดือน เม.ย. เพิ่มขึ้นเป็น 0.9% ในเดือน พ.ค.
ทั้งนี้ จำนวนผู้มีงานทำในเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา อยู่ที่ 37.76 ล้านคน โดยทำงานในภาคเกษตรกรรม 12.30 ล้านคน หรือคิดเป็น 32.6% ของผู้มีงานทำ และทำงานนอกภาคเกษตรกรรม 25.46 ล้านคน หรือคิดเป็น 67.4% ของผู้มีงานทำ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับเดือน พ.ค.2556 พบว่า ในภาคเกษตรกรรมมีจำนวนผู้ทำงานลดลง 520,000 คน แต่นอกภาคเกษตรกรรมมีจำนวนผู้ทำงานเพิ่มขึ้น 80,000 คน โดยจำนวนนี้เป็นการเพิ่มขึ้นในสาขาการผลิตมากที่สุด 240,000 คน รองลงมาเป็นสาขากิจกรรมด้านสุขภาพ และงานสังคมสงเคราะห์ 80,000 คน สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า 70,000 คน
ขณะเดียวกัน สาขากิจกรรมการบริการด้านอื่นๆ เช่น กิจกรรมบริการ เพื่อสร้างเสริมสุขภาพร่างกาย การดูแลสัตว์เลี้ยง การบริการซักรีดและซักแห้ง มีผู้มีงานทำเพิ่มขึ้น 50,000 คนสาขาการศึกษา 40,000 คน และสาขากิจกรรมอสังหาริมทรัพย์ และสาขาการบริหารราชการ การป้องกันประเทศและการประกันสังคมภาคบังคับเพิ่มขึ้นเท่ากัน 10,000 คน ส่วนสาขาที่ลดลงคือ สาขาการก่อสร้าง 250,000 คน สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร 60,000 คน สาขากิจกรรมทางการเงิน และการประกันภัย 20,000 คน และสาขาการขายส่งการขายปลีก การซ่อมยานยนต์ และรถจักรยานยนต์ 10,000คน ที่เหลือกระจายอยู่ในสาขาอื่นๆ
ทั้งนี้เมื่อพิจารณาถึงชั่วโมงทำงาน ของผู้มีงานทำต่อสัปดาห์ในเดือน พ.ค. พบว่าส่วนใหญ่ทํางานตั้งแต่ 35 ชั่วโมงขึ้นไป ถือได้ว่าเป็นผู้ทำงานเต็มที่ ในเรื่องชั่วโมงทำงานมีจำนวน 31.38 ล้านคน หรือคิดเป็น 83.1% ของผู้มีงานทำทั้งหมด และผู้ที่ทำงาน 1-34 ชั่วโมง มีจำนวน 5.83 ล้านคน คิดเป็น15.4%.
ที่มา: http://www.thairath.co.th/content/429774