Lecture จากการอบรมเรื่องนมแม่ โดยมูลนิธินมแม่แห่งประเทศไทย

หลายอาทิตย์ก่อนผมและภรรยามีโอกาสเข้าอบรมเรื่องนมแม่ ที่ สสส. ซึ่งจัดโดยมูลนิธินมแม่แห่งประเทศไทย
ขณะที่ภรรยาผมกำลังทำ workshop เรื่องวิธีการให้นมลูก บรรดาคุณพ่อก็ถูกพามาอีกห้องนึงเพื่อพูดคุยกับคุณหมอสุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ กุมารแพทย์ทารกแรกเกิด ผู้ให้ความสำคัญและรณรงค์เรื่องนมแม่มานานกว่า 10 ปี (ดูข้อมูลจากเพจคุณหมอได้เลยครับ https://www.facebook.com/SuthiRaXeuxPhirocnKic)

และรายละเอียดด้านล่างนี้เป็นคำบรรยายของคุณหมอเท่าที่ผมพอจะจดทันและเรียบเรียงมาใหม่เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจมากที่สุดครับ หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่เหมือนผมบ้างไม่มากก็น้อยนะครับ ^^

- นมผงไม่สามารถทดแทนนมแม่ได้ 100%
- เพื่อประโยชน์สูงสุดของลูก คุณแม่ควรตั้งใจจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้นานที่สุด
- จากสถิติ แม่สามารถให้นมลูกได้ถึงลูกอายุ 6 ปี (ทั้งนี้ต้องให้อย่างต่อเนื่อง)
- มีคุณแม่เพียง 3 - 5% เท่านั้นที่จะไม่มีน้ำนมให้ลูก นอกนั้นอาจเกิดจากความเข้าใจผิด
- ส่วนใหญ่เกิดจากการที่ลูกดูดนมไม่ถูกท่า หรือมีผังผืดใต้ลิ้นลูก
- หากพบปัญหาเรื่องนมแม่ไม่มี หรือลูกไม่ดูดนมแม่ ให้ไปปรึกษาขอคำแนะนำได้ที่คลีนิคนมแม่ ร.พ.ศิริราช หรือ โรงพยาบาลเด็ก
- วิธีตรวจสอบว่าลูกได้น้ำนมเพียงพอหรือไม่ ให้ลองสังเกตว่าลูกฉี่ฉี้และอึอึ๊ปกติมั้ย น้ำหนักขึ้นปกติมั้ย
- ในช่วง 3 วันแรกหลังคลอด นมแม่มีค่ามากกว่าทองเสียอีกเพราะเป็นส่วนหัวน้ำนมซึ่งมีจำนวนเม็ดเลือดขาวสูงมาก (ช่วยเพิ่มภูมิต้านทาน) ต้องพยายามให้ลูกดูดให้ได้แม้เพียงไม่กี่หยดก็ยังดี (คุณแม่ที่ทำการผ่าคลอดน้ำนมอาจจะยังไม่มาแต่ก็ต้องให้เค้าเข้าเต้าเพื่อดูดกระตุ้น หรือใช้วิธีปั๊มเรื่อยๆ (2-3 ชั่วโมงต่อครั้ง))
- เมล็ด Chia Beans มีประโยชน์ต่อแม่และน้ำนมของแม่ (http://home.comcast.net/~turtle1ds/chiaseed.htm)
- เราสามารถให้นมแม่แก่ลูกได้โดยไม่ต้องให้ทานอะไรเสริมตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 เดือนแรก
- หลังจาก 6 เดือนก็เริ่มอาหารเสริมได้บ้าง เช่น ข้าว (แต่ยังให้นมแม่เป็นหลัก) และค่อยๆเพิ่มปริมาณข้าวขึ้นเรื่อยๆไปจนถึง 12 เดือนจึงเริ่มให้ข้าวเป็น    หลักและะค่อยๆลงปริมาณนมแม่ลงจนถึงอายุลูกได้ 2 ปีหรือมากกว่า (เด็กบางคนดื่มนมแม่ได้ถึงอายุ 6 ปี)
- ให้จัดเตรียมตารางปริมาณการให้นม และการให้ข้าว หลัง 6 เดือน
- อย่ากังวลกับความเชื่อเรื่องลูกติดมือ เพราะจริงๆแล้วในระยะ 3 เดือนแรกเราควรอุ้มลูกบ่อยๆเพื่อนพัฒนาการที่ดีของลูกน้อย
- เรื่องการปั้มนม ให้คุณแม่ปั้มตอนมีเวลาว่าง เช่น ปั้มในช่วงลูกหลับ (ใช้เวลาสัก 10 - 15 นาทีต่อชั่วโมง ก่อนไปทำอย่างอื่น)
- ในกรณีที่น้ำนมแม่พอให้ลูก ก็ไม่จำเป็นต้องให้นมผงอื่นๆเสริม
- ควรซื้อเครื่องปั้มนมทั้ง 2 ข้าง (เพื่อช่วยให้ได้น้ำนมมากขึ้น)
- คุณแม่ควรฝึกให้นมทั้งท่าคุณแม่นั่งและท่าคุณแม่นอน
- หัวปลี แกงเลียง ถ้าไม่ชอบก็ไม่ต้องก็ได้
- ถ้าเป็นคุณแม่ full time (สามารถเลี้ยงลูกด้วยตัวเองได้ตลอดทั้งวัน) ก็ไม่ต้องจำเป็นต้องปั้มนมไว้เยอะ หากลูกหิวก็ให้เข้าเต้าเลย
- แต่ก็ควรที่จะหัดให้ลูกดูดจากนมที่ปั้ม หรือนมสต๊อคไว้บ้างผื่อกรณีฉุกเฉิน
- ควรล้างและนึ่งขวดนมวันละ 1 ครั้ง
- แนะนำให้ซื้อตู้แช่เย็น -20 องศา เพื่อเก็บนมสต๊อคซึ่งจะสามารถเก็บไว้ได้นาน 1 ปี
- นมแม่ที่เก็บไว้นานยังคงประโยชน์ไว้เท่าเดิม เพียงแต่อาจจะเหม็นหืนบ้าง
- เราสามารถลดการเหม็นหืนของนมได้ โดยการนำนมเก่ากับนมใหม่มาผสมกัน หรือให้ลูกดื่มเป็นนมแช่เย็นไปไม่ต้องอุ่นจะช่วยลดความหืนของนมได้บ้าง (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความไวของประสาทรับกลิ่นของลูกด้วย)
- First In First Out (FIFO) น้ำนมจากช่อง freeze ในตู้เก็บและจริงๆแล้วเราสามารถให้ลูกดื่มเย็นๆได้เลย
- ในกรณีให้นมสต๊อค (จากขวด) ควรใช้จุกนมเบอร์ S หรือ SS
- เวลาให้นมลูก อย่าจับขวดนมให้ตั้งมาก ให้จับราบๆ แล้วค่อยจับเรอไล่ลมเอา
- การฝึกให้ลูกกินนมสต๊อค ให้แม่หลบไปก่อนก็ได้ โดยให้คุณพ่อช่วยแทน เพราะลูกเห็นแม่แล้วก็อาจจะไม่ยอมกิน
- แต่ถ้าลูกไม่ยอมดูดนมจากขวดจริงๆ ก็ลองให้เค้าจิบจากแก้ว หรือหลอดเล็กๆแทนไปก่อนได้
- จุกหลอก ใช้ได้แต่ให้ช่วงเวลานอน ใช้แค่ช่วงขวบปีแรก
- ปริมาณน้ำนมี่ลูกต้องการในช่วง 4 เดือนแรกคือ 16 18 20 24 oz ต่อวัน ใน 1 2 3 และ 4 เดือนตามลำดับ
- ระวังการให้นม over feeding หรือให้มากเกินไป แก้ไขได้โดยการให้ลูกหัดใช้จุกหลอก
- น้ำอุ่นดีกับการสร้างนมแม่ในช่วงแรก ช่วงหลังดื่มเป็นน้ำเย็นก็ได้
- ถ้าลูกหลับยาวก็ปล่อยหลับได้ แสดงว่าเค้าทานพอ
- หลังสามเดือนสามารถปล่อยให้ลูกนอนกลางคืนยาวได้ 12 ชม ต้องฝึก กล่อมให้หลับ
- มีเวลาก้ปั๊มนมสต๊อคเก็บไว้ เพราะอนาคตได้ใช้แน่วันที่เค้าหน่ายเต้า แต่ให้ดีให้เค้าติดเต้ากว่าติดขวดดีที่สุด
- อย่าพยายามใช้ที่อุ่นนมถ้าไม่จำเป็น ให้ตั้งเตาอุ่นดีกว่า
- เดือนแรก น้ำหนักลูกจะลดได้อีก 10% ไม่ต้องตกใจ และยังไม่ต้องเสริมนมผงจากขวด
- โวทีเลียม เป็นยาเร่งน้ำนม (ยาประเภทเดียวกันกับยาลดกรดไหลย้อน) ต้องศึกษาให้ดีก่อนทานยา

ประมาณนี้นะครับ หากใครมีข้อมูลเพิ่มเติมก็แนะนำกันมาได้นะครับ หรือถ้าให้ผมแก้ไขข้อมูลส่วนไหนก็แจ้งมาได้ครับผม
ขอให้เจ้าตัวน้อยของทุกท่านแข็งแรงนะครับ ^^

ขอบคุณมากครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่