สวัสดีครับ เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ห้องชายคา ทุกๆ ท่านครับ
ผมเป็นลูกค้าของ CPAC และใช้ผลิตภัณฑ์ของเครือซีเมนต์ไทย ไม่ว่า เหล็กเส้น เหล็กข้ออ้อย ปูน ในการสร้างบ้านของผม (อาคารพาณิชย์ 3 ชั้นครึ่งดาดฟ้า อยู่ที่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา)บ้านเริ่มสร้างตั้งแต่ เดือนธันวาคม 2556 (งานเสาเข็ม ใช้ ซีแพ็ค 280 ksc) เริ่มก่อสร้างฐานรากตั้งแต่เดือน กุมภาพันธ์ 2557 ที่ผ่านมา (งานโครงสร้างอื่นที่ไม่ใช่เสาเข็มใช้ ซีแพ็ค 240 ksc)
จนกระทั่งวันที่ 14 พ.ค. 57 ขณะที่กำลังจะเทคานและพื้นชั้นดาดฟ้า ผมได้จ้างงานบริการภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศกรรมศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ ทดสอบแรงอัดของคอนกรีต โดยวิธี Rebound Hammer test ของเสาชั้น 1 (จำนวน 4 ต้นจาก 10 ต้น เทปูน ปลาย ก.พ.)และชั้น 2 (5 ต้น จาก 10 ต้น เทปูน หลาย มี.ค.) ปรากฏว่า
เสาชั้น 1 (ระยะเวลาประมาณ 75 วัน) ค่าที่ได้ จากน้อยไปมาก คือ 228 233 248 251
เสาชั้น 2 (ระยะเวลาประมาณ 45 วัน) ค่าที่ได้ จากน้อยไปมาก คือ 165 180 184 188 192 (ต่ำกว่าเกือบทุกต้น)
ซึ่งผมทางผู้รับเหมาได้ติดต่อให้ทางซีแพ็คมาทดสอบกำลังอัด เพื่อจะได้พิจารณาแนวทางการรับผิดชอบ โดยยังคงใช้วิธีไม่ทำลายคอนกรีตด้วยวิธี rebound hammer ต้องรอประมาณเกือบ 3 สัปดาห์ จึงได้เข้า test วันที่ 31 พ.ค. 57 และ3 มิ.ย. 57 โดยมีเจ้าหน้าที่ของซีแพ็ค 2 คนมาทดสอบ(น้องเขาให้บริการดีครับ) แต่ปรากฏว่า หลังจาก test เสร็จ ผมติดต่อเจ้าหน้าที่ซีแพ็ค และได้รับรายงานผลการทดสอบวันอังคารที่ 10 มิ.ย. 57 ที่ผ่านมา
เสาชั้น 1 (ระยะเวลาประมาณ 92 วัน) ค่าที่ได้ จากน้อยไปมาก คือ 354.60 357.70 359.70 391.30
เสาชั้น 2 (ระยะเวลาประมาณ 62 วัน) ค่าที่ได้ จากน้อยไปมาก คือ 250.70 254.80 256.80 258.80 262.90 264.90 285.30
ซึ่ง...
ค่าที่ออกมา สูงมาก สูงจนผมบอกตรงๆ ว่า บ้านผมสั่งปูนซีแพ็ค 240 ksc จ่ายไปราคาเท่า 240 ksc แต่ได้ค่า strength เกินมา 120- 150 ksc (สำหรับชั้น 1) และ 10 - 45 ksc จากเดิม เป็นไปไม่ได้แน่ จากการพูดคุยกับผู้รู้หลายๆ คนก็แปลกใจกับค่าดังกล่าวมาก หรือเพื่อให้ค่า strengthผ่านจะได้ต้องรับผิดชอบร่วมกับผู้รับเหมา? โดยส่วนตัวผมคิดว่าปูนน่าจะมีปัญหา เนื่องจากค่าของ มอ. เสาชั้น 2 ต่ำทุกต้น ถ้ากระบวนการไม่ได้ น่าจะเป็นบางต้น (ทางผู้รับเหมาได้ใช้วิธีพันแผ่นพลาสติกใสในการบ่มคอนกรีต และผมได้เข้าไปรดน้ำช่วงเย็นบ้าง ช่วงเทคอนกรีต เสาก็ใช้ค้อนเคาะแบบเหล็ก เพื่อจี้คอนกรีต)
ปล. หลังจาก มอ.ทดสอบแล้ว ช่วงรอ 2 สัปดาห์กว่า ก่อนที่ ซีแพ็คมาทดสอบ มีฝนตกประมาณ 4-5 วันต่อสัปดาห์ (ก่อนหน้านั้น ฝนตกประมาณ 3-4 วันต่อเดือน) และได้ทดสอบเสาต้นเดิม แต่เพิ่มจำนวนเสา แต่เปลี่ยนจุดซึ่งได้เจียผิวคอนกรีตลึกกว่าเดิม (ก่อนหน้านี้เจียผิวหน้าคอนกรีต จนเรียบลงไปประมาณ5 mm. เป็น 7-8 mm.)
ผมจะต้องทำอย่างไรต่อดีครับ ทำใจ หรือให้ผู้รับเหมาและซีแพ็คร่วมรับผิดชอบครับ
T T
ปัญหาเกี่ยวกับ Strength ของ CPAC ครับ
ผมเป็นลูกค้าของ CPAC และใช้ผลิตภัณฑ์ของเครือซีเมนต์ไทย ไม่ว่า เหล็กเส้น เหล็กข้ออ้อย ปูน ในการสร้างบ้านของผม (อาคารพาณิชย์ 3 ชั้นครึ่งดาดฟ้า อยู่ที่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา)บ้านเริ่มสร้างตั้งแต่ เดือนธันวาคม 2556 (งานเสาเข็ม ใช้ ซีแพ็ค 280 ksc) เริ่มก่อสร้างฐานรากตั้งแต่เดือน กุมภาพันธ์ 2557 ที่ผ่านมา (งานโครงสร้างอื่นที่ไม่ใช่เสาเข็มใช้ ซีแพ็ค 240 ksc)
จนกระทั่งวันที่ 14 พ.ค. 57 ขณะที่กำลังจะเทคานและพื้นชั้นดาดฟ้า ผมได้จ้างงานบริการภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศกรรมศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ ทดสอบแรงอัดของคอนกรีต โดยวิธี Rebound Hammer test ของเสาชั้น 1 (จำนวน 4 ต้นจาก 10 ต้น เทปูน ปลาย ก.พ.)และชั้น 2 (5 ต้น จาก 10 ต้น เทปูน หลาย มี.ค.) ปรากฏว่า
เสาชั้น 1 (ระยะเวลาประมาณ 75 วัน) ค่าที่ได้ จากน้อยไปมาก คือ 228 233 248 251
เสาชั้น 2 (ระยะเวลาประมาณ 45 วัน) ค่าที่ได้ จากน้อยไปมาก คือ 165 180 184 188 192 (ต่ำกว่าเกือบทุกต้น)
ซึ่งผมทางผู้รับเหมาได้ติดต่อให้ทางซีแพ็คมาทดสอบกำลังอัด เพื่อจะได้พิจารณาแนวทางการรับผิดชอบ โดยยังคงใช้วิธีไม่ทำลายคอนกรีตด้วยวิธี rebound hammer ต้องรอประมาณเกือบ 3 สัปดาห์ จึงได้เข้า test วันที่ 31 พ.ค. 57 และ3 มิ.ย. 57 โดยมีเจ้าหน้าที่ของซีแพ็ค 2 คนมาทดสอบ(น้องเขาให้บริการดีครับ) แต่ปรากฏว่า หลังจาก test เสร็จ ผมติดต่อเจ้าหน้าที่ซีแพ็ค และได้รับรายงานผลการทดสอบวันอังคารที่ 10 มิ.ย. 57 ที่ผ่านมา
เสาชั้น 1 (ระยะเวลาประมาณ 92 วัน) ค่าที่ได้ จากน้อยไปมาก คือ 354.60 357.70 359.70 391.30
เสาชั้น 2 (ระยะเวลาประมาณ 62 วัน) ค่าที่ได้ จากน้อยไปมาก คือ 250.70 254.80 256.80 258.80 262.90 264.90 285.30
ซึ่ง...
ค่าที่ออกมา สูงมาก สูงจนผมบอกตรงๆ ว่า บ้านผมสั่งปูนซีแพ็ค 240 ksc จ่ายไปราคาเท่า 240 ksc แต่ได้ค่า strength เกินมา 120- 150 ksc (สำหรับชั้น 1) และ 10 - 45 ksc จากเดิม เป็นไปไม่ได้แน่ จากการพูดคุยกับผู้รู้หลายๆ คนก็แปลกใจกับค่าดังกล่าวมาก หรือเพื่อให้ค่า strengthผ่านจะได้ต้องรับผิดชอบร่วมกับผู้รับเหมา? โดยส่วนตัวผมคิดว่าปูนน่าจะมีปัญหา เนื่องจากค่าของ มอ. เสาชั้น 2 ต่ำทุกต้น ถ้ากระบวนการไม่ได้ น่าจะเป็นบางต้น (ทางผู้รับเหมาได้ใช้วิธีพันแผ่นพลาสติกใสในการบ่มคอนกรีต และผมได้เข้าไปรดน้ำช่วงเย็นบ้าง ช่วงเทคอนกรีต เสาก็ใช้ค้อนเคาะแบบเหล็ก เพื่อจี้คอนกรีต)
ปล. หลังจาก มอ.ทดสอบแล้ว ช่วงรอ 2 สัปดาห์กว่า ก่อนที่ ซีแพ็คมาทดสอบ มีฝนตกประมาณ 4-5 วันต่อสัปดาห์ (ก่อนหน้านั้น ฝนตกประมาณ 3-4 วันต่อเดือน) และได้ทดสอบเสาต้นเดิม แต่เพิ่มจำนวนเสา แต่เปลี่ยนจุดซึ่งได้เจียผิวคอนกรีตลึกกว่าเดิม (ก่อนหน้านี้เจียผิวหน้าคอนกรีต จนเรียบลงไปประมาณ5 mm. เป็น 7-8 mm.)
ผมจะต้องทำอย่างไรต่อดีครับ ทำใจ หรือให้ผู้รับเหมาและซีแพ็คร่วมรับผิดชอบครับ
T T