เอเจนซีส์ - ชาวอิรักประมาณ 500,000 คน แตกตื่นหนีออกจากเมืองโมซุลเมื่อวันพุธ (11 มิ.ย.) หลังกลุ่มนักรบของผู้ก่อความไม่สงบอิสลามิสต์ เข้ายึดครองนครใหญ่อันดับ 2 ของประเทศนี้ได้สำเร็จตั้งแต่วันอังคาร (10) ซึ่งนอกจากฟ้องความล้มเหลวของรัฐบาลในแบกแดดแล้ว คณะรัฐบาลสหรัฐฯของประธานาธิบดีบารัค โอบามา ก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า ดูเบากลุ่มก่อการร้ายกลุ่มนี้ และคิดผิดที่ถอนทหารอเมริกันทั้งหมดออกจากอิรัก
นักรบมุสลิมนำโดยกลุ่ม“รัฐอิสลามแห่งอิรักและเลแวนต์” (Islamic State of Iraq and the Levant หรือ ISIL) ซึ่งเป็นพวกที่แตกแยกออกมาจากอัลกออิดะห์ ได้เข้ายึดเมืองโมซุลเอาไว้ตั้งแต่วันอังคาร (10) รวมทั้งยึดพื้นที่จำนวนมากในจังหวัดนิเนวาห์ ซึ่งมีโมซุลเป็นเมืองเอก ตลอดจนพื้นที่ต่างๆ ในจังหวัดใกล้เคียงอย่าง เคอร์คุก และ ซาลาเฮดดิน
ในวันพุธ พวกนักรบเหล่านี้ได้พยายามยึดเมืองไบจี ในซาลาเฮดดิน แต่ล่าถอยออกมาหลังจากกำลังเสริมของทหารและตำรวจเดินทางไปถึง
การรุกคืบหน้าอย่างรวดเร็วน่าประหลาดใจของพวกผู้ก่อความไม่สงบอิสลามิสต์ นำโดย ISIL คราวนี้ นับเป็นความท้าทายอย่างสำคัญต่อรัฐบาลอิรักในกรุงแบกแดด
ไอฮัม คาเมล ผู้อำนวยการประจำตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือของยูเรเซีย กรุ๊ป บริษัทที่ปรึกษาในนิวยอร์ก ชี้ว่า ISIL จะสามารถนำเงินสดจากธนาคารในโมซุล รวมทั้งอาวุธยุทโธปกรณ์จากฐานทัพในเมืองดังกล่าว และปล่อยนักรบของกลุ่มที่ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำ 2,500 คนออกมาเสริมกำลัง
อย่างไรก็ดี คาเมลเชื่อว่า การยึดเมืองโมซุล ซึ่งเป็นเมืองใหญ่ที่มีประชากรราว 2 ล้านคน ตั้งอยู่ทางภาคเหนือของประเทศและถือเป็นจุดส่งออกน้ำมันที่สำคัญ จะส่งผลเพียงจำกัดต่ออุตสาหกรรมน้ำมันของอิรัก สอดรับกับการเปิดเผยของเจ้าหน้าที่อาวุโสของรัฐบาลในแบกแดด ซึ่งให้เหตุผลว่า เนื่องจากฐานการผลิตส่วนใหญ่นั้นตั้งอยู่ตอนกลางและภาคใต้ของประเทศ
กระนั้น เหตุการณ์นี้ก็ทำให้ชาวเมืองโมซุลราว 500,000 คนพยายามหนีออกจากเมือง ทั้งนี้ จากการเปิดเผยขององค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (IOM) ที่สำทับว่า ความรุนแรงในโมซุลทำให้พลเมืองได้รับบาดเจ็บและล้มตายจำนวนมาก นอกจากนี้ประชาชนยังมีช่องทางจำกัดในการเข้าถึงโรงพยาบาลหลักทั้ง 4 แห่งของเมืองนี้ ทำให้มัสยิดบางแห่งถูกดัดแปลงเป็นคลินิกชั่วคราว
ทางด้านนายกรัฐมนตรีนูริ อัล-มาลิกีของอิรักนั้น ออกมาแถลงรับมือเหตุการณ์นี้ ด้วยการขอให้รัฐสภารีบเปิดประชุมเพื่อประกาศภาวะฉุกเฉิน ซึ่งจะทำให้รัฐบาลมีอำนาจในการดำเนินการต่างๆ มากยิ่งขึ้น รวมทั้งแถลงว่าจะติดอาวุธให้พลเมืองเพื่อต่อสู้กับพวกนักรบกบฎอิสลามิสต์
ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายชี้ว่า การประกาศภาวะฉุกเฉินจะเปิดทางให้รัฐบาลสามารถประกาศเคอร์ฟิว จำกัดการเคลื่อนไหวของประชาชน และเซนเซอร์สื่อ ขณะที่สถานีทีวีของรัฐรายงานว่า รัฐสภาอาจเปิดประชุมอย่างเร็วที่สุดในวันพฤหัสบดี (12)
ขณะเดียวกัน อัล-นูไจฟี ผู้ว่าการจังหวัดนิเนวาห์ ได้กล่าวหาผู้บัญชาการกองกำลังความมั่นคงอาวุโสที่ให้ข้อมูลผิดๆ เกี่ยวกับสถานการณ์ในเมืองโมซุลแก่รัฐบาลกลางในแบกแดด และเรียกร้องให้นำตัวบุคคลเหล่านั้นเข้ารับการพิจารณาคดี
ทั้งนี้ ผู้เห็นเหตุการณ์เล่าว่า กำลังติดอาวุธอิสลามิสต์ในชุดทหารและชายชุดดำ ได้กระจายกำลังกันเข้าควบคุมอาคารรัฐบาลและธนาคารต่างๆ ในโมซุล พร้อมกับมีการประกาศผ่านเครื่องขยายเสียง ให้ข้าราชการและลูกจ้างรัฐกลับเข้าทำงานตามปกติ
ทางด้านกลุ่ม ISIL ประกาศผ่านทวิตเตอร์ว่า อยู่เบื้องหลังปฏิบัติการในนิเนวาห์คราวนี้ แต่จากลักษณะของเนื้อหาที่โพสต์ ทำให้เห็นกันว่า มีความเป็นไปได้ที่จะมีนักรบกลุ่มอื่นๆ เข้าร่วมด้วย
ISIL ซึ่งเป็นที่รู้จักในฐานะกลุ่มนักรบอิสลามที่มีความโหดเหี้ยมและนิยมใช้มือระเบิดฆ่าตัวตาย เป็นกลุ่มที่มีศักยภาพต่อสู้กับกองกำลังของประธานาธิบดีบาชาร์ อัล-อัสซาด ในซีเรียมากที่สุด รวมถึงเป็นกลุ่มก่อความไม่สงบที่มีอิทธิพลที่สุดในอิรัก
ผู้นำของกลุ่มคือ อาบู บัคร์ อัล-แบกดาดี เขาได้รับการสนับสนุนจากนักรบอิสลามิสต์ในซีเรียและอิรัก ซึ่งหลายคนเป็นชาวตะวันตก และในความเห็นของผู้สังเกตการณ์หลายคนแล้ว ดูเหมือนขณะนี้ ISIL แซงหน้าอัลกออิดะห์ในฐานะกลุ่มติดอาวุธอิสลามิสต์สุดโต่งที่อันตรายที่สุดของโลกไปแล้ว
การยึดโมซุลกระตุ้นให้วอชิงตันออกมาแถลงแสดงความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ร้ายแรงอย่างยิ่งที่เกิดขึ้นในขณะนี้ และเตือนว่า ISIL กำลังคุกคามภูมิภาคตะวันออกกลางทั้งหมด
เจน ซากี โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ กล่าวว่า การยึดโมซุลสะท้อนสถานการณ์ความมั่นคงที่เสื่อมทรุดของอิรัก
ทั้งนี้ วอชิงตันได้จัดส่งอาวุธยุทโธปกรณ์จำนวนมากให้แก่อิรักนับแต่ถอนกำลังทหารออกมาในปี 2011 ทว่า แบกแดดไม่สามารถแก้ไขความขัดแย้งระหว่างกลุ่มต่างๆ ภายในประเทศ โดยเฉพาะคลี่คลายความไม่พอใจของชาวมุสลิมนิกายสุหนี่ ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยในอิรัก นอกจากนั้นก็ไม่มีประสิทธิภาพในการป้องกันไม่ให้ความไร้เสถียรภาพลุกลามจากสงครามกลางเมืองในซีเรียซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้าน
ซากีสำทับว่า เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ กำลังติดตามสถานการณ์ในอิรักอย่างใกล้ชิดร่วมกับรัฐบาลในกรุงแบกแดด และเจ้าหน้าที่อื่นๆ ซึ่งรวมถึงพื้นที่กึ่งปกครองตนเองของชาวเคิร์ดทางเหนือของอิรัก
ด้านบัน คีมุน เลขาธิการสหประชาชาติ ก็แสดงความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ความปลอดภัยในโมซุลเช่นกัน
สถานการณ์ในอิรักขณะนี้ถือว่ามีความรุนแรงสูงสุดนับแต่ปี 2006-2007 โดยในตอนนั้นมีคนนับหมื่นเสียชีวิตจากการปะทะระหว่างมุสลิมนิกายชีอะห์ ซึ่งเป็นชนส่วนใหญ่ของประเทศ กับมุสลิมนิกายสุหนี่
เจสสิกา ลูอิส นักวิเคระห์จากสถาบัน อินสติติวท์ ฟอร์ เดอะ สตัดดี ออฟ วอร์ ในวอชิงตัน วิจารณ์ว่า คณะรัฐบาลโอบามาประเมินภัยคุกคามจาก ISIL ต่ำเกินไป เนื่องจากกลุ่มนี้ไม่ได้เป็นเพียงกลุ่มก่อการร้าย แต่มีวิสัยทัศน์ในระดับรัฐ และเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการแบบมุ่งทำลายล้างทั้งในอิรักและซีเรีย
ขณะที่ จอห์น แมคเคน วุฒิสมาชิกอาวุโสของพรรครีพับลิกัน สำทับว่า การยึดเมืองโมซุลสะท้อนความล้มเหลวของประธานาธิบดี โอบามา ที่ไม่ทิ้งทหารอเมริกันไว้ช่วยสร้างหลักประกันเสถียรภาพของอิรัก
http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9570000065700
หมดยุคอัลเคด้าแล้ว ISIL กำลังมาแทนที่
นักรบมุสลิมนำโดยกลุ่ม“รัฐอิสลามแห่งอิรักและเลแวนต์” (Islamic State of Iraq and the Levant หรือ ISIL) ซึ่งเป็นพวกที่แตกแยกออกมาจากอัลกออิดะห์ ได้เข้ายึดเมืองโมซุลเอาไว้ตั้งแต่วันอังคาร (10) รวมทั้งยึดพื้นที่จำนวนมากในจังหวัดนิเนวาห์ ซึ่งมีโมซุลเป็นเมืองเอก ตลอดจนพื้นที่ต่างๆ ในจังหวัดใกล้เคียงอย่าง เคอร์คุก และ ซาลาเฮดดิน
ในวันพุธ พวกนักรบเหล่านี้ได้พยายามยึดเมืองไบจี ในซาลาเฮดดิน แต่ล่าถอยออกมาหลังจากกำลังเสริมของทหารและตำรวจเดินทางไปถึง
การรุกคืบหน้าอย่างรวดเร็วน่าประหลาดใจของพวกผู้ก่อความไม่สงบอิสลามิสต์ นำโดย ISIL คราวนี้ นับเป็นความท้าทายอย่างสำคัญต่อรัฐบาลอิรักในกรุงแบกแดด
ไอฮัม คาเมล ผู้อำนวยการประจำตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือของยูเรเซีย กรุ๊ป บริษัทที่ปรึกษาในนิวยอร์ก ชี้ว่า ISIL จะสามารถนำเงินสดจากธนาคารในโมซุล รวมทั้งอาวุธยุทโธปกรณ์จากฐานทัพในเมืองดังกล่าว และปล่อยนักรบของกลุ่มที่ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำ 2,500 คนออกมาเสริมกำลัง
อย่างไรก็ดี คาเมลเชื่อว่า การยึดเมืองโมซุล ซึ่งเป็นเมืองใหญ่ที่มีประชากรราว 2 ล้านคน ตั้งอยู่ทางภาคเหนือของประเทศและถือเป็นจุดส่งออกน้ำมันที่สำคัญ จะส่งผลเพียงจำกัดต่ออุตสาหกรรมน้ำมันของอิรัก สอดรับกับการเปิดเผยของเจ้าหน้าที่อาวุโสของรัฐบาลในแบกแดด ซึ่งให้เหตุผลว่า เนื่องจากฐานการผลิตส่วนใหญ่นั้นตั้งอยู่ตอนกลางและภาคใต้ของประเทศ
กระนั้น เหตุการณ์นี้ก็ทำให้ชาวเมืองโมซุลราว 500,000 คนพยายามหนีออกจากเมือง ทั้งนี้ จากการเปิดเผยขององค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (IOM) ที่สำทับว่า ความรุนแรงในโมซุลทำให้พลเมืองได้รับบาดเจ็บและล้มตายจำนวนมาก นอกจากนี้ประชาชนยังมีช่องทางจำกัดในการเข้าถึงโรงพยาบาลหลักทั้ง 4 แห่งของเมืองนี้ ทำให้มัสยิดบางแห่งถูกดัดแปลงเป็นคลินิกชั่วคราว
ทางด้านนายกรัฐมนตรีนูริ อัล-มาลิกีของอิรักนั้น ออกมาแถลงรับมือเหตุการณ์นี้ ด้วยการขอให้รัฐสภารีบเปิดประชุมเพื่อประกาศภาวะฉุกเฉิน ซึ่งจะทำให้รัฐบาลมีอำนาจในการดำเนินการต่างๆ มากยิ่งขึ้น รวมทั้งแถลงว่าจะติดอาวุธให้พลเมืองเพื่อต่อสู้กับพวกนักรบกบฎอิสลามิสต์
ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายชี้ว่า การประกาศภาวะฉุกเฉินจะเปิดทางให้รัฐบาลสามารถประกาศเคอร์ฟิว จำกัดการเคลื่อนไหวของประชาชน และเซนเซอร์สื่อ ขณะที่สถานีทีวีของรัฐรายงานว่า รัฐสภาอาจเปิดประชุมอย่างเร็วที่สุดในวันพฤหัสบดี (12)
ขณะเดียวกัน อัล-นูไจฟี ผู้ว่าการจังหวัดนิเนวาห์ ได้กล่าวหาผู้บัญชาการกองกำลังความมั่นคงอาวุโสที่ให้ข้อมูลผิดๆ เกี่ยวกับสถานการณ์ในเมืองโมซุลแก่รัฐบาลกลางในแบกแดด และเรียกร้องให้นำตัวบุคคลเหล่านั้นเข้ารับการพิจารณาคดี
ทั้งนี้ ผู้เห็นเหตุการณ์เล่าว่า กำลังติดอาวุธอิสลามิสต์ในชุดทหารและชายชุดดำ ได้กระจายกำลังกันเข้าควบคุมอาคารรัฐบาลและธนาคารต่างๆ ในโมซุล พร้อมกับมีการประกาศผ่านเครื่องขยายเสียง ให้ข้าราชการและลูกจ้างรัฐกลับเข้าทำงานตามปกติ
ทางด้านกลุ่ม ISIL ประกาศผ่านทวิตเตอร์ว่า อยู่เบื้องหลังปฏิบัติการในนิเนวาห์คราวนี้ แต่จากลักษณะของเนื้อหาที่โพสต์ ทำให้เห็นกันว่า มีความเป็นไปได้ที่จะมีนักรบกลุ่มอื่นๆ เข้าร่วมด้วย
ISIL ซึ่งเป็นที่รู้จักในฐานะกลุ่มนักรบอิสลามที่มีความโหดเหี้ยมและนิยมใช้มือระเบิดฆ่าตัวตาย เป็นกลุ่มที่มีศักยภาพต่อสู้กับกองกำลังของประธานาธิบดีบาชาร์ อัล-อัสซาด ในซีเรียมากที่สุด รวมถึงเป็นกลุ่มก่อความไม่สงบที่มีอิทธิพลที่สุดในอิรัก
ผู้นำของกลุ่มคือ อาบู บัคร์ อัล-แบกดาดี เขาได้รับการสนับสนุนจากนักรบอิสลามิสต์ในซีเรียและอิรัก ซึ่งหลายคนเป็นชาวตะวันตก และในความเห็นของผู้สังเกตการณ์หลายคนแล้ว ดูเหมือนขณะนี้ ISIL แซงหน้าอัลกออิดะห์ในฐานะกลุ่มติดอาวุธอิสลามิสต์สุดโต่งที่อันตรายที่สุดของโลกไปแล้ว
การยึดโมซุลกระตุ้นให้วอชิงตันออกมาแถลงแสดงความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ร้ายแรงอย่างยิ่งที่เกิดขึ้นในขณะนี้ และเตือนว่า ISIL กำลังคุกคามภูมิภาคตะวันออกกลางทั้งหมด
เจน ซากี โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ กล่าวว่า การยึดโมซุลสะท้อนสถานการณ์ความมั่นคงที่เสื่อมทรุดของอิรัก
ทั้งนี้ วอชิงตันได้จัดส่งอาวุธยุทโธปกรณ์จำนวนมากให้แก่อิรักนับแต่ถอนกำลังทหารออกมาในปี 2011 ทว่า แบกแดดไม่สามารถแก้ไขความขัดแย้งระหว่างกลุ่มต่างๆ ภายในประเทศ โดยเฉพาะคลี่คลายความไม่พอใจของชาวมุสลิมนิกายสุหนี่ ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยในอิรัก นอกจากนั้นก็ไม่มีประสิทธิภาพในการป้องกันไม่ให้ความไร้เสถียรภาพลุกลามจากสงครามกลางเมืองในซีเรียซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้าน
ซากีสำทับว่า เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ กำลังติดตามสถานการณ์ในอิรักอย่างใกล้ชิดร่วมกับรัฐบาลในกรุงแบกแดด และเจ้าหน้าที่อื่นๆ ซึ่งรวมถึงพื้นที่กึ่งปกครองตนเองของชาวเคิร์ดทางเหนือของอิรัก
ด้านบัน คีมุน เลขาธิการสหประชาชาติ ก็แสดงความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ความปลอดภัยในโมซุลเช่นกัน
สถานการณ์ในอิรักขณะนี้ถือว่ามีความรุนแรงสูงสุดนับแต่ปี 2006-2007 โดยในตอนนั้นมีคนนับหมื่นเสียชีวิตจากการปะทะระหว่างมุสลิมนิกายชีอะห์ ซึ่งเป็นชนส่วนใหญ่ของประเทศ กับมุสลิมนิกายสุหนี่
เจสสิกา ลูอิส นักวิเคระห์จากสถาบัน อินสติติวท์ ฟอร์ เดอะ สตัดดี ออฟ วอร์ ในวอชิงตัน วิจารณ์ว่า คณะรัฐบาลโอบามาประเมินภัยคุกคามจาก ISIL ต่ำเกินไป เนื่องจากกลุ่มนี้ไม่ได้เป็นเพียงกลุ่มก่อการร้าย แต่มีวิสัยทัศน์ในระดับรัฐ และเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการแบบมุ่งทำลายล้างทั้งในอิรักและซีเรีย
ขณะที่ จอห์น แมคเคน วุฒิสมาชิกอาวุโสของพรรครีพับลิกัน สำทับว่า การยึดเมืองโมซุลสะท้อนความล้มเหลวของประธานาธิบดี โอบามา ที่ไม่ทิ้งทหารอเมริกันไว้ช่วยสร้างหลักประกันเสถียรภาพของอิรัก
http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9570000065700