คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
มันเกิดจาก "อารมณ์" และ "เจตนา" ครับ ...
อย่างแรก ขอให้เข้าใจตรงกันก่อนว่า พอมีคำว่า "เถียง" แปลว่า ทั้งสองฝ่ายต่างมีอารมณ์ทั้งคู่ถูกมั๊ย ?? ทีนี้ ในฐานะฝ่ายเด็กกว่า มักจะมองว่าการเถียง คือ การพยายามอธิบายความข้างตนเอง แต่ฝ่ายผู้ใหญ่ มักจะมองว่า ไม่ต้องการให้ฝ่ายเด็ก อธิบายอะไรทั้งสิ้น เพราะคิดว่าเมื่อเกิดปัญหาขึ้น ฝ่ายตนควรจะเป็นผู้แก้ปัญหาโดยการชี้แนะ จึงตั้งความคิดตนเองเป็นหลัก แล้วพอกระแสความคิดที่อยากอธิบายของเด็ก มาชนกับกระแสความคิดที่ต้องการควบคุมสถานการณ์ของผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่เลยมองว่า การเถียงเป็นการขัดจังหวะการชี้แนะของเขา หมายถึงขัดจังหวะที่ตนเองมีเจตนาหวังดี (แต่ ... แสดงออกแบบไหน ไม่รู้นะ) เขาก็เลยโกรธ พาลเอาการเถียงนั้นไปเชื่อมโยงว่าไม่เคารพตน เพราะความเคารพคือเครื่องชี้วัดความสมารถในการควบคุมสถานการณ์ของฝ่ายผู้ใหญ่ เมื่อเสียความเคารพ จึงหมายถึงเสียการความคุม และหมายถึงเสียการปกครองด้วย จึงเป็นเหตุให้ต้องขุดอดีตขึ้นมาพูด เพื่อ Discredit ฝ่ายเด็กลง กะให้ฝ่ายเด็กแพ้เหตุผลตรงนั้น เพื่อจะได้กลับมาควบคุมสถานการณ์ได้โดยสมบูรณ์ ...
ฉะนั้น มันจึงไม่ใช่เรื่องแปลก ขอย้ำว่า ถ้าคุณเป็นผู้ใหญ่เมื่อไหร่ (ผู้ใหญ่ หมายถึง ผู้ที่มีผู้น้อยอยู่ในการดูแลของตน) คุณก็คงจะทำแบบนี้เช่นกัน เพราะมันไม่ใช่นิสัย แต่มันเป็น ตรรกะทั่วไปของจิตมนุษย์ ไม่ว่าชาติไหนก็ทำอย่างนี้ทั้งนั้น ลักษณะเดียวกันนี้เองเราจะพบได้อย่างเป็นระบบ และเข้มงวดในหมู่ของ ตำรวจและทหาร เราจึงเรียกสิ่งนี้โดยรวมว่า "กฏการปกครอง" (Order) ...
อย่างแรก ขอให้เข้าใจตรงกันก่อนว่า พอมีคำว่า "เถียง" แปลว่า ทั้งสองฝ่ายต่างมีอารมณ์ทั้งคู่ถูกมั๊ย ?? ทีนี้ ในฐานะฝ่ายเด็กกว่า มักจะมองว่าการเถียง คือ การพยายามอธิบายความข้างตนเอง แต่ฝ่ายผู้ใหญ่ มักจะมองว่า ไม่ต้องการให้ฝ่ายเด็ก อธิบายอะไรทั้งสิ้น เพราะคิดว่าเมื่อเกิดปัญหาขึ้น ฝ่ายตนควรจะเป็นผู้แก้ปัญหาโดยการชี้แนะ จึงตั้งความคิดตนเองเป็นหลัก แล้วพอกระแสความคิดที่อยากอธิบายของเด็ก มาชนกับกระแสความคิดที่ต้องการควบคุมสถานการณ์ของผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่เลยมองว่า การเถียงเป็นการขัดจังหวะการชี้แนะของเขา หมายถึงขัดจังหวะที่ตนเองมีเจตนาหวังดี (แต่ ... แสดงออกแบบไหน ไม่รู้นะ) เขาก็เลยโกรธ พาลเอาการเถียงนั้นไปเชื่อมโยงว่าไม่เคารพตน เพราะความเคารพคือเครื่องชี้วัดความสมารถในการควบคุมสถานการณ์ของฝ่ายผู้ใหญ่ เมื่อเสียความเคารพ จึงหมายถึงเสียการความคุม และหมายถึงเสียการปกครองด้วย จึงเป็นเหตุให้ต้องขุดอดีตขึ้นมาพูด เพื่อ Discredit ฝ่ายเด็กลง กะให้ฝ่ายเด็กแพ้เหตุผลตรงนั้น เพื่อจะได้กลับมาควบคุมสถานการณ์ได้โดยสมบูรณ์ ...
ฉะนั้น มันจึงไม่ใช่เรื่องแปลก ขอย้ำว่า ถ้าคุณเป็นผู้ใหญ่เมื่อไหร่ (ผู้ใหญ่ หมายถึง ผู้ที่มีผู้น้อยอยู่ในการดูแลของตน) คุณก็คงจะทำแบบนี้เช่นกัน เพราะมันไม่ใช่นิสัย แต่มันเป็น ตรรกะทั่วไปของจิตมนุษย์ ไม่ว่าชาติไหนก็ทำอย่างนี้ทั้งนั้น ลักษณะเดียวกันนี้เองเราจะพบได้อย่างเป็นระบบ และเข้มงวดในหมู่ของ ตำรวจและทหาร เราจึงเรียกสิ่งนี้โดยรวมว่า "กฏการปกครอง" (Order) ...
แสดงความคิดเห็น
เถียง=ไม่ให้ความเคารพผู้ใหญ่?
บางทีพอเราอธิบายเขาก็หาว่าเราแก้ตัว หาว่าเราเถียง หาว่าเราพยายามทำตัวใหญ่เหนือเขา อยากชนะ หาว่าเราไม่มีความเคารพผู้ใหญ่บ้างล่ะ
หาว่าท้าทายเขาบ้างล่ะ แถมบางครั้งพอเราพูดว่า ก็เขาเคยพูดไว้อย่างนี้ เขาก็บอกว่าเขาไม่เคยพูด พอเราบอกต่อว่า เคยพูดตอนนั้นไง พูดว่า....(ทั้งประโยคที่เขาเคยพูด) เขาก็บอกไม่เห็นจำได้เลยว่าเคยพูด แกจำผิด ประมาณนี้น่ะค่ะ แล้วบางทีก็ชอบขุดอดีตที่เคยทำผิดมาพูดซ้ำแล้วซ้ำอีกเพื่อจะว่าเราให้นานขึ้น พ่อแม่เราค่อนข้างหัวโบราณน่ะค่ะ หรือว่าเกี่ยวอะไรกับวัยทองด้วยรึเปล่าคะ? หรือว่าเราก้าวร้าวเอง? เราก็ไม่เคยพูดคำหยาบกับเขาซักคำเลยนะคะ ก็พูดไปแบบปกติ เขามักจะชอบพูดว่าเขาแก่กว่านะเป็นคนที่มีประสบการณ์มากกว่า ทำไมไม่ฟังที่เขาพูดประมาณนี้น่ะค่ะ
ขอบคุณที่เสียเวลาเข้ามาอ่านข้อความนี้นะคะ
ป.ล.เพิ่งเคยตั้งกระทู้ครั้งแรก ถ้าใส่แท็กผิด หมวดผิด ขออภัยด้วยค่ะ