สวัสดีครับ วันนี้ขออนุญาตนำเรื่องราวของบุคคลหนึ่งในประวัติศาสตร์ซึ่งมีชีวประวัติและเรื่องราวที่น่าสนใจมาเล่าสู่กันฟัง
บุคคลท่านนี้มีนามว่า พานเม่ย 潘美 หรือนิยมเรียกกันแพร่หลายว่า พานเหรินเม่ย 潘仁美 หรือ พานหง 潘洪 ครับ พานเม่ยมีชีวิตอยู่ในช่วงยุคห้าราชวงศ์สิบอาณาจักร ไปจรดยุคต้นราชวงศ์เป่ยซ่ง ตัวพานเม่ยเกิดในปี คศ.925 ตรงสมัยราชวงศ์โฮ่วถัง รัชกาลของจักรพรรดิจวงจง (หลี่ชุนซี่) พื้นเพเป็นคนมือง ฉางซาน มณฑลเหอเป่ย เขาเกิดในครอบครัวนายทหารท้องที่ บิดามีชื่อว่า พานหลิน 潘璘
พอเติบโตเป็นผู้ใหญ่ พานเม่ยก็เข้าเป็นทหารท้องที่ในบ้านเกิด และค่อยๆเลื่อนยศขึ้นมาตามลำดับ ไปเข้ากับฝ่ายโน้นบ้างฝ่ายนี้บ้างไปตามเรื่อง จนภายหลังเข้าได้มาสวามิภักดิ์แก่ไฉ่หรง แห่งราชวงศ์โฮ่วโจว และเมื่อไฉ่หรงได้ขึ้นเป็นจักรพรรดิโฮ่วโจวแทนบิดาบุญธรรม พานเม่ยก็เจริญในหน้าที่การงานขึ้นจนเป็นแม่ทัพกับเขาบ้าง
ปี คศ. 960 ไฉ่หรงป่วยตายกะทันหัน โอรสของเขาคือ ไฉ่จ้งซุนขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิในวัยเยาว์ จนเป็นช่องให้กองทัพเป่ยฮั่นรุกรานโฮ่วโจว อัครมหาเสนาบดีฟ่านจื่อ เลยส่งจ้าวควงอิ้นขุนศึกใหญ่ยกทัพไปต่อต้านครับ และนำมาซึ่งกรณีก่อการที่เฉินเฉียว โดยเหล่าขุนศึกร่วมกันเชิดชูจ้าวควงอิ้นขึ้นเป็นจักรพรรดิแทน ซึ่งในกลุ่มคนที่เอาเสื้อคลุมมังกรมาคลุมให้จ้าวควงอิ้น แถมสนับสนุนให้ยกทัพเข้าเปี้ยนจิงชิงราชสมบัติ ก็มีพานเม่ยร่วมอยู่ด้วย พานเม่ยจึงกลายเป็นหนึ่งในขุนศึกคู่บัลลังก์ของจักรพรรดิไท่จู่แต่บัดนั้นมา
พานเม่ยนับว่ามีส่วนสำคัญอย่างมากในการช่วยจักรพรรดิไท่จู่สงบแผ่นดินและสร้างรากฐานให้แก่เป่ยซ่งครับ เขาเป็นคนเข้าไปเกลี้ยกล่อมให้ขุนนางเป่ยโจวเดิมหลายคน เช่น หยวนเยี่ยน ยอมจำนนต่อจ้าวควงอิ้นและหันมารับใช้ราชสำนักเป่ยซ่ง นอกจากนี้พานเม่ยยังร่วมนำทัพลงใต้ปราบอาณาจักรอิสระต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น หนานฮั่น, หนานถัง และแคว้นจิงหนาน พานเม่ยนำทัพไปปราบที่ใดก็ล้วนได้รับชัยชนะเสมอ ไม่เคยพ่ายแพ้ จนได้รับขนานนามว่า ขุนศึกไร้พ่าย
พอจักรพรรดิไท่จู่สวรรคต จ้าวคังอี้ขึ้นเป็นจักรพรรดิไท่จงแทน พานเม่ยก็เป็นขุนนางใหญ่คนสำคัญ ผู้ทรงอิทธิพลในราชสำนักครับ
ปี คศ.975 กองทัพเป่ยซ่งก็กรีฑาทัพขึ้นเหนือบุกเป่ยฮั่น และสามารถพิชิตแคว้นเป่ยฮั่นได้สำเร็จ ในศึกนี้ หยางเย่ว์และครอบครัวก็ได้เข้าสวามิภักดิ์ต่อเป่ยซ่ง และได้รับปูนบำเหน็จเป็นแม่ทัพแห่งไต้โจว เป็นการเริ่มตำนานขุนศึกตระกูลหยาง
ปี คศ.980 กองทัพเหลียว 1 แสนคนบุกลงใต้เข้าตีด่านเยี่ยนเหมิน หยางเย่ว์และลูกๆนำทัพออกรบปกป้องด่านเยี่ยนเหมินอย่างสุดกำลังอยู่หลายเดือน จนภายหลังจักรพรรดิไท่จงทรงให้พานเม่ยนำทัพหลวงขึ้นเหนือไปช่วยทัพสกุลหยางต้านเมืองเหลียว ทั้งหยางเย่ว์และพานเม่ยร่วมแรงร่วมใจกันทำลายทัพเหลียวแตกพ่ายไป ถือเป็นชัยชนะครั้งใหญ่ของต้าซ่ง หลังศึกนี้ ชื่อเสียงของทัพสกุลหยางก็ขจรขจายครับ หยางเย่ว์ได้เป็นแม่ทัพใหญ่หยุนโจว และคุมกำลังทหารในซานซีเป็นรางวัล ส่วนพานเม่ยก็ได้รับแต่งตั้งเป็นขุนนางระดับ 1
ปี คศ.986 จักรพรรดิไท่จงทรงมีบัญชาให้ 3 แม่ทัพคือ พานเม่ย, หยางเย่ว์ และ เฉาปิน นำทัพขึ้นเหนือเพื่อยึดเอา 16 หัวเมืองคืนจากพวกชี่ตานครับ เป็นศึกใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในรัชกาลไท่จงและของ 3 แม่ทัพ
กองทัพซ่งบุกอย่างรวดเร็ว ทัพของพานเม่ยและหยางเย่ว์บุกลึกเข้าไปทางตะวันตกของอาณาจักรเหลียวครับ สามารถยึดเมืองต่างๆได้มากมาย ตีกองทัพเหลียวถอยขึ้นเหนือไปไกล แต่ปัญหาคือทัพของเฉาปิน ที่บุกไปทางตะวันออกกลับถูกกองทัพเหลียวซ้อนกลพ่ายแพ้ยับเยิน
เนื่องจากความพ่ายแพ้นี้เอง ทางราชสำนักซ่งจึงสั่งถอยทัพครับ แต่ก็วางแผนจะอพยพประชาชนและพลเมืองชาวจีนฮั่นจากเขตยึดครองลงใต้ให้หมด โดยพานเม่ยและหยางเย่ว์ได้รับภารกิจคุ้มครองขบวนอพยพชาวบ้านไป
ในชั้นแรก หยางเย่ว์เสนอให้ช่วยเท่าที่ช่วยได้ คือทิ้งชาวบ้านในบางเขตและรีบถอยทัพลงใต้เพื่อความปลอดภัยของขบวนอพยพที่เหลือ แต่หวางเซิน ที่เป็นที่ปรึกษาใหญ่ของกองทัพไม่เห็นด้วย และยืนยันที่จะให้ทัพของหยางเย่ว์เข้าไปอพยพผู้คนลึกเข้าไปในเขตของเหลียวมากครับ หยางเย่ว์ขัดคำสั่งเสนาธิการใหญ่ไม่ได้ เลยต้องยกทัพเข้าไปในเขตแดนของเหลียว จนไปติดกับของ เยลู่เซี่ยเจิน และถูกล้อมเอาไว้แน่นหนา
ทางด้านพานเม่ยเมื่อทราบว่ากองทัพสกุลหยางถูกล้อมเอาไว้ ก็พยายามจะส่งกองทหารไปช่วยครับ แต่เนื่องจากเขามีภารกิจคุ้มกันขบวนชาวบ้านผู้อพยพหลายแสนคน และทางหวางเซินก็ห้ามปรามไม่ให้แบ่งแยกกำลังออกไป พานเม่ยเลยไปช่วยหยางเย่ว์เองไม่ได้ และกองทหารที่ส่งไปช่วยก็โดนทัพเหลียวสกัดเอาไว้หมด
ท้ายสุดเมื่อราชสำนักมีคำสั่งให้รีบถอนทัพลงใต้โดยเร็ว และทัพเหลียวก็ยกติดตามมากระชั้นชิด พานเม่ยจึงต้องรักษากองทหารส่วนใหญ่และขบวนอพยพเอาไว้ โดยการเดินทัพลงใต้ทิ้งเขตแดน 3 เมืองที่ยึดครองเอาไว้ระหว่างสงคราม
ด้วยเหตุนี้เอง กองทัพสกุลหยางที่ถูก เยลู่เซี่ยเจินล้อมเอาไว้ จึงต้องสู้อย่างโดดเดี่ยวจนถูกสังหารตายหมดสิ้น ปิดฉากวีรกรรมของขุนศึกสกุลหยางในศึกหาดทรายทองไป
เมื่อพานเม่ยและเฉาปิน ถอนทัพกลับถึงเมืองหลวง จักรพรรดิไท่จงก็ทรงไต่สวนเอาผิดเหล่าแม่ทัพที่ทำให้การศึกนี้พ่ายแพ้ยับเยินครับ มีแม่ทัพหลายคนถูกประหาร ถูกปลดและเนรเทศ ด้านพานเม่ยนั้น แม้ได้รับการยกเว้นโทษตาย แต่ก็โดนลดตำแหน่ง 3 ขั้น และต้องทำรายงานสารภาพผิดส่งต่อราชสำนัก โดยจักรพรรดิไท่จงตรัสว่า ที่เอาโทษเบาเพราะเห็นว่าพานเม่ยมีความชอบที่ตัดสินใจได้ถูกต้อง สามารถคุ้มกันทหารปีกตะวันตกส่วนใหญ่ ตลอดจนชาวบ้านหลายแสนคนที่อพยพลงใต้มาได้อย่างปลอดภัย
ศึกปราบต้าเหลียวในปี 986 จึงเป็นความพ่ายแพ้ครั้งแรกในชีวิตของพานเม่ย นับแต่รับใช้ราชสำนัก โจวและเป่ยซ่งมาเกือบ 40 ปี ครับ เมื่อเสร็จศึกแล้ว พานเม่ยเสียใจที่ทำการล้มเหลว แถมยังตรอมใจที่ไม่สามารถช่วยเหลือเพื่อนรักอย่างหยางเย่ว์ และต้องทิ้งทหารอีกหลายหมื่นให้ตายในวงล้อม พานเม่ยจึงลาออกจากราชการไปอยู่บ้านเกิด และป่วยตายในปี 3 ปีต่อมา (ปี 991) ปิดฉากหนึ่งในขุนศึกและแม่ทัพที่เก่งกาจที่สุดของจักรพรรดิซ่งไท่จู่ไปในที่สุด
หลายร้อยปีผ่านมา วีรกรรมของหยางเย่ว์และขุนศึกตระกูลหยางยังคงอยู่ในใจของประชาชนชาวจีน มีการแต่งบทเพลง บทงิ้ว บทกลอน สดุดีความกล้าหาญของพวกเขา แถมมีการเสริมเรื่องราวของ สือไซ่ฮัว ภรรยาหม้ายของหยางเย่ว์ และเหล่าแม่หม้ายสกุลหยางที่ออกรบต่อต้านทัพเหลียวแทนสามี และเพิ่มตัวละครอย่างมู่กุ้ยอิง จนกลายเป็นขุนศึกหญิงในนวนิยายที่น่าจะเก่งกาจที่สุดไป
เมื่อมีฝ่ายดี ก็ต้องมีฝ่ายตัวโกง เพื่อเสริมบทงิ้วบทละครให้น่าติดตามถึงใจผู้ชม โดยหวยบทตัวร้ายก็ไปลงที่พานเม่ยครับ เขาถูกแต่งเติมเสียใหม่ ให้เป็นตัวละครกังฉินที่ชื่อว่า พานเหรินเม่ย หรือ พานหง กลายเป็นตัวละครร้าย ตัวอิจฉาที่เป็นศัตรูกับสกุลหยาง เป็นอำมาตย์ขายชาติ สมคบกับพวกเหลียวทำลายสกุลหยาง และเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้กองทัพเป่ยซ่งพ่ายแพ้ในศึกบุกภาคเหนือตอนปี 986 รับบาปไปแทนจักรพรรดิซ่งไท่จง จ้าวคังอี้ และหวางเซิน ที่เป็นคนวางแผนผิดพลาดจนนำมาซึ่งความพ่ายแพ้
ความชั่วร้ายของพานเม่ยถูกแต่งเติมโดยนักเขียนบทละคร จนเพิ่มลูกหลานทั้ง พานเป้า พานเว่ย ฯลฯ พานเหรินเม่ยจากจขุนศึกนายทหาร กลายเป็นราชครูหน้าขาวที่ขี้ขลาดและขี้โกงไปเสีย
ชื่อเสียงของพานเหรินเม่ยเหม็นเน่าฉาวโฉ่ในวงการนิทานพื้นบ้านมาหลายร้อยปี (นิทานขุนศึกสกุลหยางและพานเหรินเม่ย มีอายุได้นับไปถึงยุคราชวงศ์หมิง) จนเมื่อปลายยุค 1990 ที่มีการชำระบทบาททางประวัติศาสตร์ของ พานเม่ย โดยนักวิชาการยุคใหม่ เพื่อคืนความเป็นธรรมให้เขา
พานเม่ย จึงนับว่าเป็นยอดวีรบุรุษ ผู้ถูกบทละครงิ้ว แต่งแต้ม ทำให้กลายเป็นกังฉินมาหลายร้อยปีครับ
พานเม่ย วีรบุรุษผู้กลายเป็นกังฉิน
บุคคลท่านนี้มีนามว่า พานเม่ย 潘美 หรือนิยมเรียกกันแพร่หลายว่า พานเหรินเม่ย 潘仁美 หรือ พานหง 潘洪 ครับ พานเม่ยมีชีวิตอยู่ในช่วงยุคห้าราชวงศ์สิบอาณาจักร ไปจรดยุคต้นราชวงศ์เป่ยซ่ง ตัวพานเม่ยเกิดในปี คศ.925 ตรงสมัยราชวงศ์โฮ่วถัง รัชกาลของจักรพรรดิจวงจง (หลี่ชุนซี่) พื้นเพเป็นคนมือง ฉางซาน มณฑลเหอเป่ย เขาเกิดในครอบครัวนายทหารท้องที่ บิดามีชื่อว่า พานหลิน 潘璘
พอเติบโตเป็นผู้ใหญ่ พานเม่ยก็เข้าเป็นทหารท้องที่ในบ้านเกิด และค่อยๆเลื่อนยศขึ้นมาตามลำดับ ไปเข้ากับฝ่ายโน้นบ้างฝ่ายนี้บ้างไปตามเรื่อง จนภายหลังเข้าได้มาสวามิภักดิ์แก่ไฉ่หรง แห่งราชวงศ์โฮ่วโจว และเมื่อไฉ่หรงได้ขึ้นเป็นจักรพรรดิโฮ่วโจวแทนบิดาบุญธรรม พานเม่ยก็เจริญในหน้าที่การงานขึ้นจนเป็นแม่ทัพกับเขาบ้าง
ปี คศ. 960 ไฉ่หรงป่วยตายกะทันหัน โอรสของเขาคือ ไฉ่จ้งซุนขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิในวัยเยาว์ จนเป็นช่องให้กองทัพเป่ยฮั่นรุกรานโฮ่วโจว อัครมหาเสนาบดีฟ่านจื่อ เลยส่งจ้าวควงอิ้นขุนศึกใหญ่ยกทัพไปต่อต้านครับ และนำมาซึ่งกรณีก่อการที่เฉินเฉียว โดยเหล่าขุนศึกร่วมกันเชิดชูจ้าวควงอิ้นขึ้นเป็นจักรพรรดิแทน ซึ่งในกลุ่มคนที่เอาเสื้อคลุมมังกรมาคลุมให้จ้าวควงอิ้น แถมสนับสนุนให้ยกทัพเข้าเปี้ยนจิงชิงราชสมบัติ ก็มีพานเม่ยร่วมอยู่ด้วย พานเม่ยจึงกลายเป็นหนึ่งในขุนศึกคู่บัลลังก์ของจักรพรรดิไท่จู่แต่บัดนั้นมา
พานเม่ยนับว่ามีส่วนสำคัญอย่างมากในการช่วยจักรพรรดิไท่จู่สงบแผ่นดินและสร้างรากฐานให้แก่เป่ยซ่งครับ เขาเป็นคนเข้าไปเกลี้ยกล่อมให้ขุนนางเป่ยโจวเดิมหลายคน เช่น หยวนเยี่ยน ยอมจำนนต่อจ้าวควงอิ้นและหันมารับใช้ราชสำนักเป่ยซ่ง นอกจากนี้พานเม่ยยังร่วมนำทัพลงใต้ปราบอาณาจักรอิสระต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น หนานฮั่น, หนานถัง และแคว้นจิงหนาน พานเม่ยนำทัพไปปราบที่ใดก็ล้วนได้รับชัยชนะเสมอ ไม่เคยพ่ายแพ้ จนได้รับขนานนามว่า ขุนศึกไร้พ่าย
พอจักรพรรดิไท่จู่สวรรคต จ้าวคังอี้ขึ้นเป็นจักรพรรดิไท่จงแทน พานเม่ยก็เป็นขุนนางใหญ่คนสำคัญ ผู้ทรงอิทธิพลในราชสำนักครับ
ปี คศ.975 กองทัพเป่ยซ่งก็กรีฑาทัพขึ้นเหนือบุกเป่ยฮั่น และสามารถพิชิตแคว้นเป่ยฮั่นได้สำเร็จ ในศึกนี้ หยางเย่ว์และครอบครัวก็ได้เข้าสวามิภักดิ์ต่อเป่ยซ่ง และได้รับปูนบำเหน็จเป็นแม่ทัพแห่งไต้โจว เป็นการเริ่มตำนานขุนศึกตระกูลหยาง
ปี คศ.980 กองทัพเหลียว 1 แสนคนบุกลงใต้เข้าตีด่านเยี่ยนเหมิน หยางเย่ว์และลูกๆนำทัพออกรบปกป้องด่านเยี่ยนเหมินอย่างสุดกำลังอยู่หลายเดือน จนภายหลังจักรพรรดิไท่จงทรงให้พานเม่ยนำทัพหลวงขึ้นเหนือไปช่วยทัพสกุลหยางต้านเมืองเหลียว ทั้งหยางเย่ว์และพานเม่ยร่วมแรงร่วมใจกันทำลายทัพเหลียวแตกพ่ายไป ถือเป็นชัยชนะครั้งใหญ่ของต้าซ่ง หลังศึกนี้ ชื่อเสียงของทัพสกุลหยางก็ขจรขจายครับ หยางเย่ว์ได้เป็นแม่ทัพใหญ่หยุนโจว และคุมกำลังทหารในซานซีเป็นรางวัล ส่วนพานเม่ยก็ได้รับแต่งตั้งเป็นขุนนางระดับ 1
ปี คศ.986 จักรพรรดิไท่จงทรงมีบัญชาให้ 3 แม่ทัพคือ พานเม่ย, หยางเย่ว์ และ เฉาปิน นำทัพขึ้นเหนือเพื่อยึดเอา 16 หัวเมืองคืนจากพวกชี่ตานครับ เป็นศึกใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในรัชกาลไท่จงและของ 3 แม่ทัพ
กองทัพซ่งบุกอย่างรวดเร็ว ทัพของพานเม่ยและหยางเย่ว์บุกลึกเข้าไปทางตะวันตกของอาณาจักรเหลียวครับ สามารถยึดเมืองต่างๆได้มากมาย ตีกองทัพเหลียวถอยขึ้นเหนือไปไกล แต่ปัญหาคือทัพของเฉาปิน ที่บุกไปทางตะวันออกกลับถูกกองทัพเหลียวซ้อนกลพ่ายแพ้ยับเยิน
เนื่องจากความพ่ายแพ้นี้เอง ทางราชสำนักซ่งจึงสั่งถอยทัพครับ แต่ก็วางแผนจะอพยพประชาชนและพลเมืองชาวจีนฮั่นจากเขตยึดครองลงใต้ให้หมด โดยพานเม่ยและหยางเย่ว์ได้รับภารกิจคุ้มครองขบวนอพยพชาวบ้านไป
ในชั้นแรก หยางเย่ว์เสนอให้ช่วยเท่าที่ช่วยได้ คือทิ้งชาวบ้านในบางเขตและรีบถอยทัพลงใต้เพื่อความปลอดภัยของขบวนอพยพที่เหลือ แต่หวางเซิน ที่เป็นที่ปรึกษาใหญ่ของกองทัพไม่เห็นด้วย และยืนยันที่จะให้ทัพของหยางเย่ว์เข้าไปอพยพผู้คนลึกเข้าไปในเขตของเหลียวมากครับ หยางเย่ว์ขัดคำสั่งเสนาธิการใหญ่ไม่ได้ เลยต้องยกทัพเข้าไปในเขตแดนของเหลียว จนไปติดกับของ เยลู่เซี่ยเจิน และถูกล้อมเอาไว้แน่นหนา
ทางด้านพานเม่ยเมื่อทราบว่ากองทัพสกุลหยางถูกล้อมเอาไว้ ก็พยายามจะส่งกองทหารไปช่วยครับ แต่เนื่องจากเขามีภารกิจคุ้มกันขบวนชาวบ้านผู้อพยพหลายแสนคน และทางหวางเซินก็ห้ามปรามไม่ให้แบ่งแยกกำลังออกไป พานเม่ยเลยไปช่วยหยางเย่ว์เองไม่ได้ และกองทหารที่ส่งไปช่วยก็โดนทัพเหลียวสกัดเอาไว้หมด
ท้ายสุดเมื่อราชสำนักมีคำสั่งให้รีบถอนทัพลงใต้โดยเร็ว และทัพเหลียวก็ยกติดตามมากระชั้นชิด พานเม่ยจึงต้องรักษากองทหารส่วนใหญ่และขบวนอพยพเอาไว้ โดยการเดินทัพลงใต้ทิ้งเขตแดน 3 เมืองที่ยึดครองเอาไว้ระหว่างสงคราม
ด้วยเหตุนี้เอง กองทัพสกุลหยางที่ถูก เยลู่เซี่ยเจินล้อมเอาไว้ จึงต้องสู้อย่างโดดเดี่ยวจนถูกสังหารตายหมดสิ้น ปิดฉากวีรกรรมของขุนศึกสกุลหยางในศึกหาดทรายทองไป
เมื่อพานเม่ยและเฉาปิน ถอนทัพกลับถึงเมืองหลวง จักรพรรดิไท่จงก็ทรงไต่สวนเอาผิดเหล่าแม่ทัพที่ทำให้การศึกนี้พ่ายแพ้ยับเยินครับ มีแม่ทัพหลายคนถูกประหาร ถูกปลดและเนรเทศ ด้านพานเม่ยนั้น แม้ได้รับการยกเว้นโทษตาย แต่ก็โดนลดตำแหน่ง 3 ขั้น และต้องทำรายงานสารภาพผิดส่งต่อราชสำนัก โดยจักรพรรดิไท่จงตรัสว่า ที่เอาโทษเบาเพราะเห็นว่าพานเม่ยมีความชอบที่ตัดสินใจได้ถูกต้อง สามารถคุ้มกันทหารปีกตะวันตกส่วนใหญ่ ตลอดจนชาวบ้านหลายแสนคนที่อพยพลงใต้มาได้อย่างปลอดภัย
ศึกปราบต้าเหลียวในปี 986 จึงเป็นความพ่ายแพ้ครั้งแรกในชีวิตของพานเม่ย นับแต่รับใช้ราชสำนัก โจวและเป่ยซ่งมาเกือบ 40 ปี ครับ เมื่อเสร็จศึกแล้ว พานเม่ยเสียใจที่ทำการล้มเหลว แถมยังตรอมใจที่ไม่สามารถช่วยเหลือเพื่อนรักอย่างหยางเย่ว์ และต้องทิ้งทหารอีกหลายหมื่นให้ตายในวงล้อม พานเม่ยจึงลาออกจากราชการไปอยู่บ้านเกิด และป่วยตายในปี 3 ปีต่อมา (ปี 991) ปิดฉากหนึ่งในขุนศึกและแม่ทัพที่เก่งกาจที่สุดของจักรพรรดิซ่งไท่จู่ไปในที่สุด
หลายร้อยปีผ่านมา วีรกรรมของหยางเย่ว์และขุนศึกตระกูลหยางยังคงอยู่ในใจของประชาชนชาวจีน มีการแต่งบทเพลง บทงิ้ว บทกลอน สดุดีความกล้าหาญของพวกเขา แถมมีการเสริมเรื่องราวของ สือไซ่ฮัว ภรรยาหม้ายของหยางเย่ว์ และเหล่าแม่หม้ายสกุลหยางที่ออกรบต่อต้านทัพเหลียวแทนสามี และเพิ่มตัวละครอย่างมู่กุ้ยอิง จนกลายเป็นขุนศึกหญิงในนวนิยายที่น่าจะเก่งกาจที่สุดไป
เมื่อมีฝ่ายดี ก็ต้องมีฝ่ายตัวโกง เพื่อเสริมบทงิ้วบทละครให้น่าติดตามถึงใจผู้ชม โดยหวยบทตัวร้ายก็ไปลงที่พานเม่ยครับ เขาถูกแต่งเติมเสียใหม่ ให้เป็นตัวละครกังฉินที่ชื่อว่า พานเหรินเม่ย หรือ พานหง กลายเป็นตัวละครร้าย ตัวอิจฉาที่เป็นศัตรูกับสกุลหยาง เป็นอำมาตย์ขายชาติ สมคบกับพวกเหลียวทำลายสกุลหยาง และเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้กองทัพเป่ยซ่งพ่ายแพ้ในศึกบุกภาคเหนือตอนปี 986 รับบาปไปแทนจักรพรรดิซ่งไท่จง จ้าวคังอี้ และหวางเซิน ที่เป็นคนวางแผนผิดพลาดจนนำมาซึ่งความพ่ายแพ้
ความชั่วร้ายของพานเม่ยถูกแต่งเติมโดยนักเขียนบทละคร จนเพิ่มลูกหลานทั้ง พานเป้า พานเว่ย ฯลฯ พานเหรินเม่ยจากจขุนศึกนายทหาร กลายเป็นราชครูหน้าขาวที่ขี้ขลาดและขี้โกงไปเสีย
ชื่อเสียงของพานเหรินเม่ยเหม็นเน่าฉาวโฉ่ในวงการนิทานพื้นบ้านมาหลายร้อยปี (นิทานขุนศึกสกุลหยางและพานเหรินเม่ย มีอายุได้นับไปถึงยุคราชวงศ์หมิง) จนเมื่อปลายยุค 1990 ที่มีการชำระบทบาททางประวัติศาสตร์ของ พานเม่ย โดยนักวิชาการยุคใหม่ เพื่อคืนความเป็นธรรมให้เขา
พานเม่ย จึงนับว่าเป็นยอดวีรบุรุษ ผู้ถูกบทละครงิ้ว แต่งแต้ม ทำให้กลายเป็นกังฉินมาหลายร้อยปีครับ