ตอนนี้ 3.6 KW ราคาประมาณ 3 แสน ระบบ On-grid จ่ายไฟคืนเข้าสายไฟฟ้า
ถ้าวันนึงผลิตได้เฉลี่ยประมาณ 6 ชม. ก็ได้ 3.6 x 6 = 21.6 หน่วย x 30 วัน ก็ 648 หน่วย
ที่บ้านตอนนี้ค่าไฟประมาณ 3-4 พันบาท เดือนนึงใช้ประมาณ 7 ร้อยกว่าหน่วย
ถ้าติดเซลล์พลังงานแสงอาทิตย์ กลางวันใช่ว่าจะคืนเข้าสายไฟได้ 100% ส่วนนึงก็ต้องใช้ในบ้าน
เฉลี่ยแล้ววันนึง ช่วงกลางวันก็เกือบครึ่งหรือเกินครึ่งจากที่ใช้ทั้งหมด เพราะเปิดแอร์ ใช้คอม ดูทีวีทั้งวัน ใช้เครื่องไฟฟ้าหลายอย่าง
ส่วนกลางคืนเปิดแอร์ ดูทีวี แค่นั้น
ต่อให้ผลิตได้ วันละ 21.6 หน่วย คงใช้เองประมาณ 11 หน่วย ส่งคืน 11 หน่วย เดือนนึง ประหยัดไป ประมาณ 330 หน่วย
เท่ากับว่าลดค่าไฟได้ประมาณ ครึ่งเดียว เดือนละสัก 1700 บาท
3 แสน หาร 1700 บาท ได้ 176 เดือน เท่ากับจะคุ้มทุน ที่ 14 ปี
ราคาติดตั้งเอามาจาก
http://www.solar-d.co.th/product.html
วิธีคำนวนหน่วยไฟที่จะได้ เอามาจาก
https://www.facebook.com/solar072/posts/294686374017658?comment_id=1180080&offset=0&total_comments=2
อันนี้เน้นระบบ on grid มีระบบ inverter สลับกระแสไฟและจ่ายไฟคืนเข้าสายไฟฟ้าโดยตรง ไม่ใช้ระบบแบตเพราะจะมีต้นทุนสูงกว่ามาก
อีกทั้งค่าเสื่อมที่ต้องคอยเปลี่ยนแบต อาจจะมากกว่าค่าไฟจริงที่ต้องจ่ายก็ได้
ลองหาข้อมูลมาจากหลายที่ เพราะอยากประหยัดค่าไฟในบ้าน หรือสามารถใช้แสงอาทิตย์มาทดแทนได้ 100% แต่ดูแล้วพวกค่าเสื่อมอาจเป็นต้นทุนแฝงที่น่ากลัว
โดยเฉพาะระบบที่จะเก็บไฟไว้ใช้ตอนกลางคืน ตอนนี้เลยมองแค่มาช่วยแบ่งเบาภาระได้บ้าง คือ on grid กลางคืนเราก็ใช้ไฟจาการไฟฟ้าตามปกติ
แต่กลางวันใช้ไฟจากพลังงานแสงอาทิตย์มาช่วย ถ้าผลิตได้เกินก็ส่งคืนเข้าระบบ แต่คิดๆ แล้วยังไงก็ไม่คุ้มเพราะต้นทุนยังแพงอยู่
โดยเฉพาะแผงเซลล์ ต้องรอให้ราคามันลงไปอีกเยอะๆ
พวกคนที่ทำงานหรือขายโซล่าเซล หรือรับติดตั้ง ชอบบอกว่าคุ้ม คืนทุน 4 ปีบ้าง 6 ปีบ้าง แต่เอาจริงๆ แล้วโม้หรือเปล่า
อย่างว่าคนขายของก็ต้องเชียร์เป็นธรรมดา แล้วพวกที่บอกประกัน 10-20 ปี ควรดูยี่ห้อด้วย ใช้ยี่ห้อดังๆ แพงๆ น่าจะอุ่นใจกว่าว่าบริษัทจะไม่ปิดหนีไปซะก่อน
แต่อายุการใช้งานพวกนี้ ควรจะหาร 2 เช่น บอกใช้ได้ 6 ปี ก็เหลือแค่ 3 ปีพอ ยิ่งมาจากปากคนขายของแล้ว ยิ่งเชื่อไม่ได้มาก
ดังนั้นระยะเวลา ไม่กี่ปีก่อนที่อุปกรณ์มันจะชำรุด ต้องนำมาคำนวนว่าตกลงมันคุ้มมั๊ย
เอาเงินก้อนใหญ่ไปลงทุน มันมีค่าดอก ค่าอะไรอีก ถ้าไม่คุ้มก็จ่ายค่าไฟรายเดือนต่อไป เหมือนผ่อนจ่าย
จริงหรือเปล่าที่ รัฐไม่อยากอุดหนุนไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์อย่างจริงจังเพราะว่า ผู้มีผลประโยชน์ต้องการคงให้ใช้ถ่านหินและก๊าซธรรมชาติไปก่อนจนกว่าจะใกล้หมด
เพราะถ้าเร่งให้ไปใช้พลังงานแสงอาทิตย์มากขึ้น แล้วสเกลมันขยายใหญ่เหมือนเยอรมณี บริษัทพลังงานพวกนี้จะเสียผลประโยชน์มหาศาล
คือพลังงานทดแทนพวกนี้ยังไงก็ต้องเกิด เพราะของจากธรรมชาติมันมีระยะเวลาหมด เพียงแต่ยังไม่ถึงเวลา
ตอนนี้รัฐมีการอุดหนุน รวมถึงลดภาษี ถ้ามีบริษัทมาตั้งโรงงานผลิตโซลาเซลในประเทศ หรือลดภาษีอุปกรณ์ต่างๆ หรือเปล่า
คุณคิดว่าอีกกี่ปี เทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์จะมีราคาถูกหรือคุ้มค่าที่จะติด จนบ้านเรือนทั่วไปสามารถติดตั้งเพื่อลดค่าไฟได้อย่างจริงจัง
เมื่อไหร่เทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์จะถูกจนติดตั้งบนหลังบ้านแล้วคุ้มทุน
ถ้าวันนึงผลิตได้เฉลี่ยประมาณ 6 ชม. ก็ได้ 3.6 x 6 = 21.6 หน่วย x 30 วัน ก็ 648 หน่วย
ที่บ้านตอนนี้ค่าไฟประมาณ 3-4 พันบาท เดือนนึงใช้ประมาณ 7 ร้อยกว่าหน่วย
ถ้าติดเซลล์พลังงานแสงอาทิตย์ กลางวันใช่ว่าจะคืนเข้าสายไฟได้ 100% ส่วนนึงก็ต้องใช้ในบ้าน
เฉลี่ยแล้ววันนึง ช่วงกลางวันก็เกือบครึ่งหรือเกินครึ่งจากที่ใช้ทั้งหมด เพราะเปิดแอร์ ใช้คอม ดูทีวีทั้งวัน ใช้เครื่องไฟฟ้าหลายอย่าง
ส่วนกลางคืนเปิดแอร์ ดูทีวี แค่นั้น
ต่อให้ผลิตได้ วันละ 21.6 หน่วย คงใช้เองประมาณ 11 หน่วย ส่งคืน 11 หน่วย เดือนนึง ประหยัดไป ประมาณ 330 หน่วย
เท่ากับว่าลดค่าไฟได้ประมาณ ครึ่งเดียว เดือนละสัก 1700 บาท
3 แสน หาร 1700 บาท ได้ 176 เดือน เท่ากับจะคุ้มทุน ที่ 14 ปี
ราคาติดตั้งเอามาจาก http://www.solar-d.co.th/product.html
วิธีคำนวนหน่วยไฟที่จะได้ เอามาจาก https://www.facebook.com/solar072/posts/294686374017658?comment_id=1180080&offset=0&total_comments=2
อันนี้เน้นระบบ on grid มีระบบ inverter สลับกระแสไฟและจ่ายไฟคืนเข้าสายไฟฟ้าโดยตรง ไม่ใช้ระบบแบตเพราะจะมีต้นทุนสูงกว่ามาก
อีกทั้งค่าเสื่อมที่ต้องคอยเปลี่ยนแบต อาจจะมากกว่าค่าไฟจริงที่ต้องจ่ายก็ได้
ลองหาข้อมูลมาจากหลายที่ เพราะอยากประหยัดค่าไฟในบ้าน หรือสามารถใช้แสงอาทิตย์มาทดแทนได้ 100% แต่ดูแล้วพวกค่าเสื่อมอาจเป็นต้นทุนแฝงที่น่ากลัว
โดยเฉพาะระบบที่จะเก็บไฟไว้ใช้ตอนกลางคืน ตอนนี้เลยมองแค่มาช่วยแบ่งเบาภาระได้บ้าง คือ on grid กลางคืนเราก็ใช้ไฟจาการไฟฟ้าตามปกติ
แต่กลางวันใช้ไฟจากพลังงานแสงอาทิตย์มาช่วย ถ้าผลิตได้เกินก็ส่งคืนเข้าระบบ แต่คิดๆ แล้วยังไงก็ไม่คุ้มเพราะต้นทุนยังแพงอยู่
โดยเฉพาะแผงเซลล์ ต้องรอให้ราคามันลงไปอีกเยอะๆ
พวกคนที่ทำงานหรือขายโซล่าเซล หรือรับติดตั้ง ชอบบอกว่าคุ้ม คืนทุน 4 ปีบ้าง 6 ปีบ้าง แต่เอาจริงๆ แล้วโม้หรือเปล่า
อย่างว่าคนขายของก็ต้องเชียร์เป็นธรรมดา แล้วพวกที่บอกประกัน 10-20 ปี ควรดูยี่ห้อด้วย ใช้ยี่ห้อดังๆ แพงๆ น่าจะอุ่นใจกว่าว่าบริษัทจะไม่ปิดหนีไปซะก่อน
แต่อายุการใช้งานพวกนี้ ควรจะหาร 2 เช่น บอกใช้ได้ 6 ปี ก็เหลือแค่ 3 ปีพอ ยิ่งมาจากปากคนขายของแล้ว ยิ่งเชื่อไม่ได้มาก
ดังนั้นระยะเวลา ไม่กี่ปีก่อนที่อุปกรณ์มันจะชำรุด ต้องนำมาคำนวนว่าตกลงมันคุ้มมั๊ย
เอาเงินก้อนใหญ่ไปลงทุน มันมีค่าดอก ค่าอะไรอีก ถ้าไม่คุ้มก็จ่ายค่าไฟรายเดือนต่อไป เหมือนผ่อนจ่าย
จริงหรือเปล่าที่ รัฐไม่อยากอุดหนุนไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์อย่างจริงจังเพราะว่า ผู้มีผลประโยชน์ต้องการคงให้ใช้ถ่านหินและก๊าซธรรมชาติไปก่อนจนกว่าจะใกล้หมด
เพราะถ้าเร่งให้ไปใช้พลังงานแสงอาทิตย์มากขึ้น แล้วสเกลมันขยายใหญ่เหมือนเยอรมณี บริษัทพลังงานพวกนี้จะเสียผลประโยชน์มหาศาล
คือพลังงานทดแทนพวกนี้ยังไงก็ต้องเกิด เพราะของจากธรรมชาติมันมีระยะเวลาหมด เพียงแต่ยังไม่ถึงเวลา
ตอนนี้รัฐมีการอุดหนุน รวมถึงลดภาษี ถ้ามีบริษัทมาตั้งโรงงานผลิตโซลาเซลในประเทศ หรือลดภาษีอุปกรณ์ต่างๆ หรือเปล่า
คุณคิดว่าอีกกี่ปี เทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์จะมีราคาถูกหรือคุ้มค่าที่จะติด จนบ้านเรือนทั่วไปสามารถติดตั้งเพื่อลดค่าไฟได้อย่างจริงจัง