สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 7
1. ทำไมต้องเอาแถบผ้ามาพันรอบแขน แล้วรัดให้แน่นๆด้วยครับ
- เพื่อจะได้บีบลมเข้าไปที่แถบผ้าน้อย ๆ แต่พอดีไงครับ
หากพันแถบผ้าไม่แน่น เมื่อบีบลมเข้าไปแล้วจะต้องบีบนานเพื่อให้ลมเข้าไปเยอะเพียงพอ
ที่จะบีบรัดแขนให้หลอดเลือดแดงเกิดการ Open - Close ตามการบีบตัวของหัวใจได้
การพันแถบผ้าแน่น ๆ ทำให้ทำงานง่ายขึ้น ไม่หลุดหลวม และยังให้ sensor รับเสียงหลอดเลือด
ไม่เอียงคลาดเคลื่อนจากตำแหน่งไปด้วยครับ
2. ถ้าเราพันที่อื่นเช่น รอบแข้ง รอบน่องขา หรือรอบฝ่ามือ จะวัดหาค่าความดันได้เหมือนกันไหมครับ
- ได้เป็นบางจุดครับ การวัดความดันจะต้องวัดที่เส้นเลือดแดงใหญ่ (major artery) ไหลผ่าน
อย่างที่แขน นั้น คือ Brachial artery ซึ่งเป็นหลอดเลือดใหญ่ก่อนแยกแขนงไปที่แขนและมือ
เราสามารถวัดที่ขาก็ได้ โดยเอาค่า pressure มาจากเส้นเลือดใหญ่ที่ขา
ส่วนที่ฝ่ามือนั้นไม่ได้เพราะมีแต่เส้นเลือดเล็ก ๆ
3. ตอนปรอทค่อยๆวิ่งลง แล้วนางพยาบาลดู จะมีความดันเป็นครั้งที่ 1 และความดันครั้งที่ 2
3.1 จากตรงนี้ ปรอทกระตุกหรือสะดุดทั้งหมด 2 ครั้งใช่ไหมครับ (คือเขาสังเกตจากการกระตุกหรือสะดุดของปรอท
ใช่หรือเปล่า ถึงเห็นเป็นค่าออกมา)
- 2 ครั้งครับ ครั้งแรกคือการที่หลอดเลือดเริ่ม Opening - Closing จากการถูกบีบรัดมาตั้งแต่แรก
ความดันที่อ่านได้จุดนี้คือ Systolic ต่อมาเมื่อคลายผ้าที่รัดใว้ไปเรื่อย ๆ หลอดเลือดจะ Open ตลอดเวลา
ทำให้ปรอทไม่ขยับ ซึ่งจุดนี้คือ Diastolic .... ในการวัดค่าจะต้องมีการฟังเสียง Opening - Closing ของหลอดเลือด
ผ่านหูฟังด้วย หากดูแต่ปรอทอย่างเดียวอาจพลาดได้
3.2 ค่าตัวที่ 1 คืออะไรครับ ตัวที่ 2 คืออะไรครับ
- เหมือนที่ตอบข้างบนครับ ตัวแรกคือ Systolic นั้นเป็นความดันที่หัวใจบีบตัวจากห้องบน
แรงดัน Systolic นี้จะเอาชนะแรงบีบของแผ่นผ้าที่รัดมันอยู่ ค่าของ Systolic จะบ่งบอกถึง
"งาน" ที่หัวใจต้องทำเพื่อฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกาย ยิ่งหนักมากหัวใจกล้ามเนื้อก็จะยิ่งโตขึ้นเรื่อย ๆ
ผู้ป่วยที่มีค่า systolic สูง จะเรียกภาวะนี้ว่า ความดันโลหิตตัวบนสูง Isolated Systolic Hypertension (ISH)
ตัวที่สองคือ Diastolic เป็นแรงดันตอนที่หัวใจคลายตัว ซึ่งจะบ่งบอกถึงสภาพของหลอดเลือดบุคคลนั้น
หาก Diastolic มีค่าสูง เช่น 90 ++ มม.ปรอท อาจเกิดภาวะหลอดเลือดแข็ง (Arterial stiffness)
มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจอย่างมากครับ ผู้ป่วยที่มีค่า Diastolic สูง จะเรียกภาวะนี้ว่า
ความดันโลหิตตัวล่างสูง Diastolic Hypertension (DH)
3.3 ทำไมเราถึงกำหนดให้อ่านค่าเป็นครั้งที่ 1 กับครั้งที่ 2 ล่ะครับ (เช่น วัดได้ 110/65 เป็นต้น) คืออ่านค่าอันแรก
อันเดียวเลยได้ไหมครับ เช่น 110 ก็คือความดันปกติ 50 ก็คือความดันต่ำ ส่วน 160 ก็คือความดันสูง อะไรอย่างนี้
(ไม่ต้องมีค่าหลังพ่วงตัวท้าย)
- ไม่ได้ครับ เพราะทั้ง 2 ค่านี้จะบ่งบอกถึงพยาธิสภาพต่าง ๆ ของหลอดเลือด และ หัวใจ
โดยเลขทั้ง 2 ค่าจะต้องแยกกันวินิจฉัยว่าผู้ป่วยเป็นอะไรตามที่อธิบายในข้อ 3.2 เลยครับ
3.4 ถ้าค่าตัวที่ 1 กับตัวที่ 2 ทิ้งระยะห่างกันมาก มันจะสื่อถึงอะไรได้หรือเปล่า เช่น ค่าห่างกันเกิน 100 ขึ้นไป
(หรือปกติจะไม่มีกรณีห่างแบบนี้แน่นอน จะมีเพียงวัดความดันสูงกับความดันต่ำทั่วๆไปเท่านั้น) ข้อนี้ลองสมมติ
ดูเล่นๆครับ ไม่รู้ว่ามีจริงหรือเปล่า
- ก็ต้องวินิจฉัยเป็นราย ๆ ไปครับว่าค่า systolic - diastolic มันมีนัยสำคัญอย่างไร
ต้องดูทั้ง 2 ค่าประกอบกัน รวมทั้งสุขภาพอื่น ๆ ของบุคคลนั้นด้วยครับ
- เพื่อจะได้บีบลมเข้าไปที่แถบผ้าน้อย ๆ แต่พอดีไงครับ
หากพันแถบผ้าไม่แน่น เมื่อบีบลมเข้าไปแล้วจะต้องบีบนานเพื่อให้ลมเข้าไปเยอะเพียงพอ
ที่จะบีบรัดแขนให้หลอดเลือดแดงเกิดการ Open - Close ตามการบีบตัวของหัวใจได้
การพันแถบผ้าแน่น ๆ ทำให้ทำงานง่ายขึ้น ไม่หลุดหลวม และยังให้ sensor รับเสียงหลอดเลือด
ไม่เอียงคลาดเคลื่อนจากตำแหน่งไปด้วยครับ
2. ถ้าเราพันที่อื่นเช่น รอบแข้ง รอบน่องขา หรือรอบฝ่ามือ จะวัดหาค่าความดันได้เหมือนกันไหมครับ
- ได้เป็นบางจุดครับ การวัดความดันจะต้องวัดที่เส้นเลือดแดงใหญ่ (major artery) ไหลผ่าน
อย่างที่แขน นั้น คือ Brachial artery ซึ่งเป็นหลอดเลือดใหญ่ก่อนแยกแขนงไปที่แขนและมือ
เราสามารถวัดที่ขาก็ได้ โดยเอาค่า pressure มาจากเส้นเลือดใหญ่ที่ขา
ส่วนที่ฝ่ามือนั้นไม่ได้เพราะมีแต่เส้นเลือดเล็ก ๆ
3. ตอนปรอทค่อยๆวิ่งลง แล้วนางพยาบาลดู จะมีความดันเป็นครั้งที่ 1 และความดันครั้งที่ 2
3.1 จากตรงนี้ ปรอทกระตุกหรือสะดุดทั้งหมด 2 ครั้งใช่ไหมครับ (คือเขาสังเกตจากการกระตุกหรือสะดุดของปรอท
ใช่หรือเปล่า ถึงเห็นเป็นค่าออกมา)
- 2 ครั้งครับ ครั้งแรกคือการที่หลอดเลือดเริ่ม Opening - Closing จากการถูกบีบรัดมาตั้งแต่แรก
ความดันที่อ่านได้จุดนี้คือ Systolic ต่อมาเมื่อคลายผ้าที่รัดใว้ไปเรื่อย ๆ หลอดเลือดจะ Open ตลอดเวลา
ทำให้ปรอทไม่ขยับ ซึ่งจุดนี้คือ Diastolic .... ในการวัดค่าจะต้องมีการฟังเสียง Opening - Closing ของหลอดเลือด
ผ่านหูฟังด้วย หากดูแต่ปรอทอย่างเดียวอาจพลาดได้
3.2 ค่าตัวที่ 1 คืออะไรครับ ตัวที่ 2 คืออะไรครับ
- เหมือนที่ตอบข้างบนครับ ตัวแรกคือ Systolic นั้นเป็นความดันที่หัวใจบีบตัวจากห้องบน
แรงดัน Systolic นี้จะเอาชนะแรงบีบของแผ่นผ้าที่รัดมันอยู่ ค่าของ Systolic จะบ่งบอกถึง
"งาน" ที่หัวใจต้องทำเพื่อฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกาย ยิ่งหนักมากหัวใจกล้ามเนื้อก็จะยิ่งโตขึ้นเรื่อย ๆ
ผู้ป่วยที่มีค่า systolic สูง จะเรียกภาวะนี้ว่า ความดันโลหิตตัวบนสูง Isolated Systolic Hypertension (ISH)
ตัวที่สองคือ Diastolic เป็นแรงดันตอนที่หัวใจคลายตัว ซึ่งจะบ่งบอกถึงสภาพของหลอดเลือดบุคคลนั้น
หาก Diastolic มีค่าสูง เช่น 90 ++ มม.ปรอท อาจเกิดภาวะหลอดเลือดแข็ง (Arterial stiffness)
มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจอย่างมากครับ ผู้ป่วยที่มีค่า Diastolic สูง จะเรียกภาวะนี้ว่า
ความดันโลหิตตัวล่างสูง Diastolic Hypertension (DH)
3.3 ทำไมเราถึงกำหนดให้อ่านค่าเป็นครั้งที่ 1 กับครั้งที่ 2 ล่ะครับ (เช่น วัดได้ 110/65 เป็นต้น) คืออ่านค่าอันแรก
อันเดียวเลยได้ไหมครับ เช่น 110 ก็คือความดันปกติ 50 ก็คือความดันต่ำ ส่วน 160 ก็คือความดันสูง อะไรอย่างนี้
(ไม่ต้องมีค่าหลังพ่วงตัวท้าย)
- ไม่ได้ครับ เพราะทั้ง 2 ค่านี้จะบ่งบอกถึงพยาธิสภาพต่าง ๆ ของหลอดเลือด และ หัวใจ
โดยเลขทั้ง 2 ค่าจะต้องแยกกันวินิจฉัยว่าผู้ป่วยเป็นอะไรตามที่อธิบายในข้อ 3.2 เลยครับ
3.4 ถ้าค่าตัวที่ 1 กับตัวที่ 2 ทิ้งระยะห่างกันมาก มันจะสื่อถึงอะไรได้หรือเปล่า เช่น ค่าห่างกันเกิน 100 ขึ้นไป
(หรือปกติจะไม่มีกรณีห่างแบบนี้แน่นอน จะมีเพียงวัดความดันสูงกับความดันต่ำทั่วๆไปเท่านั้น) ข้อนี้ลองสมมติ
ดูเล่นๆครับ ไม่รู้ว่ามีจริงหรือเปล่า
- ก็ต้องวินิจฉัยเป็นราย ๆ ไปครับว่าค่า systolic - diastolic มันมีนัยสำคัญอย่างไร
ต้องดูทั้ง 2 ค่าประกอบกัน รวมทั้งสุขภาพอื่น ๆ ของบุคคลนั้นด้วยครับ
แสดงความคิดเห็น
สงสัยเรื่อง"ความดัน"ในร่างกายตอนนางพยาบาลเอาที่วัดความดันมาวัดเราครับ
1. ทำไมต้องเอาแถบผ้ามาพันรอบแขน แล้วรัดให้แน่นๆด้วยครับ
2. ถ้าเราพันที่อื่นเช่น รอบแข้ง รอบน่องขา หรือรอบฝ่ามือ จะวัดหาค่าความดันได้เหมือนกันไหมครับ
3. ตอนปรอทค่อยๆวิ่งลง แล้วนางพยาบาลดู จะมีความดันเป็นครั้งที่ 1 และความดันครั้งที่ 2
3.1 จากตรงนี้ ปรอทกระตุกหรือสะดุดทั้งหมด 2 ครั้งใช่ไหมครับ (คือเขาสังเกตจากการกระตุกหรือสะดุดของปรอทใช่หรือเปล่า ถึงเห็นเป็นค่าออกมา)
3.2 ค่าตัวที่ 1 คืออะไรครับ ตัวที่ 2 คืออะไรครับ
3.3 ทำไมเราถึงกำหนดให้อ่านค่าเป็นครั้งที่ 1 กับครั้งที่ 2 ล่ะครับ (เช่น วัดได้ 110/65 เป็นต้น) คืออ่านค่าอันแรกอันเดียวเลยได้ไหมครับ เช่น 110 ก็คือความดันปกติ 50 ก็คือความดันต่ำ ส่วน 160 ก็คือความดันสูง อะไรอย่างนี้ (ไม่ต้องมีค่าหลังพ่วงตัวท้าย)
3.4 ถ้าค่าตัวที่ 1 กับตัวที่ 2 ทิ้งระยะห่างกันมาก มันจะสื่อถึงอะไรได้หรือเปล่า เช่น ค่าห่างกันเกิน 100 ขึ้นไป (หรือปกติจะไม่มีกรณีห่างแบบนี้แน่นอน จะมีเพียงวัดความดันสูงกับความดันต่ำทั่วๆไปเท่านั้น) ข้อนี้ลองสมมติดูเล่นๆครับ ไม่รู้ว่ามีจริงหรือเปล่า
สอบถามผู้รู้หน่อยนะครับ