เทคนิคแบดมินตัน . . ประเภทคู่



อมยิ้ม31 เทคนิคการเล่นแบดมินตันประเภทคู่ของ "He Hanbin"

(L) เหอฮั่นปิน - จอมพลังของทีมชาติจีน  (R) Yu Yang

He Hanbin :
-  นักแบดมินตันทีมชาติจีนประเภทคู่
-  เหรียญทองแดงโอลิมปิคที่ปักกิ่งประเภทคู่ผสม (จับคู่กับ Yu Yang)
-  แชมป์กีฬาแห่งชาติครั้งที่ 11 ประเภทคู่ผสม (จับคู่กับจ้าวถิงถิง)















ที่มา : http://sports.qq.com/a/20100513/000773.htm
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=zeng&month=07-2010&date=08&group=18&gblog=34

Djarum Indonesia Open 2011 - He Hanbin/Yu Yang vs. Tantowi Ahmad/Liliyana Natsir
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ


อมยิ้ม31 กลวิธีการเสิร์ฟลูกในการเล่นแบดมินตันประเภทคู่


        การเสิร์ฟลูกในการแข่งขันแบดมินตันประเภทคู่ถือเป็นเรื่องสำคัญมาก การเสิร์ฟทุกครั้งต้องให้มีคุณภาพ โดยเฉพาะการเสิร์ฟหยอดไปหน้าเน็ต
ถ้าคุณเสิร์ฟลูกลอยโด่งเกินไปเพียงนิดเดียว คู่แข่งขันก็สามารถฉวยโอกาสโจมตีกลับได้อย่างง่ายดาย   ลูกเสิร์ฟที่มีคุณภาพจะทำให้เราเป็นผู้กำหนด
เกมส์ให้เป็นไปตามที่เราต้องการได้ เคล็ดลับการเสิร์ฟลูกให้ดีมีหลายแง่มุมที่เราต้องพิจารณา  เราอาจแจกแจงเป็นหัวข้อได้ดังต่อไปนี้ :

1. ต้องเสิร์ฟลูกได้แม่นยำและมีคุณภาพ

พูดง่าย ๆ ก็คือ การเสิร์ฟในแต่ละครั้งจะต้องลงในจุดที่เล็งเอาไว้ เช่น เล็งว่าจะให้ลูกตกทางซ้ายหน้าเน็ต ลูกก็ต้องตกตามที่เล็งไว้ ไม่ใช่ว่าเล็งซ้าย
แต่พอเสิร์ฟไป ลูกกลับวิ่งไปทางขวา หรือไม่ก็ออกนอกเส้นไปเลย

นอกจากนี้ยังต้องใส่ใจเรื่องคุณภาพของลูกเสิร์ฟด้วย ถ้าเสิร์ฟหยอดหน้าเน็ตก็ต้องให้ลูกวิ่งเรียดเน็ตให้มากที่สุด น้ำหนักของการเสิร์ฟก็จะต้องไม่น้อย
หรือมากเกินไป ถ้าเสิร์ฟลูกเบาไป ลูกก็อาจไปตกในเส้นลูกเสิร์ฟสั้น แต่ถ้าเสิร์ฟแรงไป คู่ต่อสู้ก็สามารถดักตบได้สบาย ถ้าเลือกที่จะเสิร์ฟยาว ต้องมั่นใจ
ว่าลูกจะได้น้ำหนักเพียงพอที่จะหนีมือคู่แข่งขัน แต่ก็ต้องไม่แรงจนเลยออกนอกเส้นเสิร์ฟยาว

ถ้าเสิร์ฟลูกเลียดเน็ตพอ คู่แข่งขันก็โจมตีกลับยาก


2. ท่าทางในการเสิร์ฟจะต้องเหมือนเดิม

ไม่ว่าคุณจะเล็งให้ลูกเสิร์ฟไปตกในตำแหน่งไหนก็ตาม ท่วงท่าในการเสิร์ฟทุกครั้งจะต้องเหมือนกัน กล่าวคือ ตั้งแต่ท่าเตรียมพร้อม, ท่ายืนก่อนจะส่งลูก, ท่าเตรียมตีลูกจนถึงจังหวะการตีลูกจะต้องเหมือนกันทุกครั้ง เหตุผลที่ต้องเหมือนกันเพราะจะทำให้คู่แข่งขันเดาไม่ได้ว่าเราจะเสิร์ฟลูกแบบไหน

ถ้าการเสิร์ฟของคุณไม่เหมือนกันทุกครั้ง เช่นเวลาคุณเสิร์ฟสั้น คุณมักจะยืนสองขาขนานกัน ส่วนเสิร์ฟยาวจะเอาขาใดขาหนึ่งไว้ข้างหน้า ถ้าคู่แข่งขัน
จับไต๋ได้ก็จบกัน

ถนัดเสิร์ฟท่าไหน ก็ต้องทำให้เหมือนกันทุกครั้ง


3. เล็งจุดตกของลูกเสิร์ฟให้เปลี่ยนไปเรื่อย ๆ

ถ้าเราเอาแต่เสิร์ฟไปจุดเดิมเรื่อย ๆ คู่ต่อสู้ก็จะคาดการณ์ลูกเสิร์ฟของเราได้ล่วงหน้า ดังนั้นจึงควรเล็งตำแหน่งลูกตกให้เปลี่ยนไปเรื่อย ๆ เสิร์ฟสั้นบ้าง
ยาวบ้าง หรือเสิร์ฟไปซ้ายที ขวาที ถ้าทำแบบนี้จะทำให้คู่แข่งขันสับสน นอกจากนี้ยังเป็นการป้องกันไม่ให้คู่แข่งขัน กล้าที่จะพุ่งแย๊บลูกเสิร์ฟสั้นของ
เราอีกด้วย

เสิร์ฟไปจุดเดิม ๆ คู่แข่งขันก็ดักแย็บได้พอดี


4. เปลี่ยนจังหวะการเสิร์ฟเสียบ้าง

ในการแข่งขัน จังหวะการเสิร์ฟของเราจะต้องเปลี่ยนไปตามสภาพของคู่แข่งขัน อย่างเช่นจังหวะไหนที่คู่แข่งขันไม่ทันระวังก็ให้เสิร์ฟอย่างรวดเร็ว หรือ
บางทีถ้าฝ่ายเรากำลังเสียเปรียบอยู่ เราก็สามารถดึงเกมส์ให้ช้าลงด้วยการเสิร์ฟได้ จังหวะการเสิร์ฟควรจะต้องเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาตลอดทั้งเกมส์ บางที
ก็เร็ว บางทีก็ช้า การทำแบบนี้จะทำให้คู่ต่อสู้ลังเลและสับสนจนทำให้จังหวะเสียได้

แปลและเรียบเรียงจาก: http://sports.qq.com/a/20080714/000566.htm
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=zeng&month=10-2008&date=28&group=18&gblog=9



อมยิ้ม31 เทคนิคการโจมตีคู่แข่ง ในการแข่งขันแบดมินตันประเภทคู่

ในการแข่งขันแบดมินตันประเภทคู่ “การตบ” ถือเป็นการบุกที่มีพลังในการโจมตีมากที่สุด
แต่ถึงแม้จะตบได้หนักหน่วงก็ไม่ได้หมายความว่าจะชนะเสมอไป   จะขอแนะนำเคล็ดลับซักเล็กน้อย ไว้ใช้ในการโจมตีด้วยการตบลูก

1. ตบลูกไปยังบริเวณระหว่างคู่แข่งขัน


ตบเปรี้ยงเข้าตรงกลางนี่แหล่ะสุดยอด!

การตบที่มีประสิทธิภาพที่สุดก็คือการตบให้ใกล้เส้นครึ่งคอร์ทมากที่สุด พูดอีกอย่างก็คือ การตบใส่ช่องว่างระหว่างคู่แข่งขันทั้งสองคน ถ้าต้องการให้ลูกตบรุนแรงมากยิ่งขึ้น สามารถใช้การกระโดดตบเพื่อเสริมแรงขึ้นไปอีกได้


2. ตบใส่บริเวณรักแร้ของคู่แข่งขัน


ตบเข้ารักแร้  ฟังดูตลกแต่ได้ผลเห็น ๆ

เราสามารถเล็งตบเข้าสู่บริเวณร่างกายของคู่แข่งขันได้ บริเวณที่จะสร้างความลำบากให้คู่แข่งขันมากที่สุดก็คือบริเวณรักแร้ขวามือ   
(ถ้าคู่แข่งขันถือไม้แบดด้วยมือซ้าย  ให้เปลี่ยนเป็นตบใส่บริเวณรักแร้ซ้ายมือแทน)


3. เมื่อการตบใช้ไม่ได้ผล  ต้องเปลี่ยนเป็นหยอดหรือโยนยาวแทน


คู่แข่งตั้งรับเหนียวแน่น  ตบไปก็เหนื่อยเปล่า

ถ้าระหว่างการแข่งขัน คู่แข่งขันมีการตั้งรับที่เหนียวแน่นมากเป็นพิเศษ การตบเพียงอย่างเดียวคงยากที่จะทำคะแนนจากคู่แข่งขันได้ ให้เราสับเปลี่ยนไปใช้การโยนลูกยาวไปด้านหลัง หรือไม่ก็หยอดลงบริเวณหน้าเน็ตเพื่อทำลายการตั้งรับของคู่แข่งขันเสียก่อน แล้วคอยหาโอกาสเข้าทำด้วยการตบ


4. ท่วงท่าในการโยนยาวและการหยอดต้องเหมือนกับท่วงท่าในการตบ


ท่าตีเหมือนเดิม แต่จะหยอด  จะโยน หรือจะตบ ลองเดาดูละกัน

เมื่อจำเป็นต้องเปลี่ยนจากการตบไปเป็นการหยอดหรือโยน สิ่งสำคัญคือท่วงท่าในการตีลูกจะต้องเหมือนกัน มิเช่นนั้นคู่แข่งขันจะเดาได้ว่าเราจะตีในรูปแบบไหน นอกจากนี้การหยอดหรือการโยนจะต้องเน้นตีเข้าบริเวณระหว่างกลางคอร์ท ซึ่งก็คือพื้นที่ระหว่างคู่แข่งขันทั้งสองคนนั่นเอง

ถอดความและเรียบเรียงจาก:http://bbs.badmintoncn.com/thread-91426-1-1.html
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=zeng&month=03-2011&date=13&group=18&gblog=37



อมยิ้ม31 เทคนิคเพิ่มเติมของ Gu Jun-Ge Fei (กู้จวิ้นและเก๋อเฟย)
ถอดความจากคลิปวีดีโอรายการ " โอลิมปิค ABC " จากประเทศจีน


คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
ในการแข่งขันแบตมินตันประเภทคู่นั้น  ผลงานจะออกมาดีหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับการประสานงานของผู้เล่นจะดีเพียงใด
พูดได้ว่าไม่มีการแข่งกีฬาประเภททีมใด ๆ อีกแล้ว  ที่จะต้องอาศัยความเข้าใจระหว่างผู้เล่นมากเป็นพิเศษอย่างกีฬาแบดมินตันประเภทคู่


ตำแหน่งการยืนในการเล่นแบดมินตันประเภทคู่

การประสานงานของนักแบดมินตันประเภทคู่จะลงตัวมากน้อยแค่ไหนนั้น สิ่งแรกที่จะบอกได้ก็คือ การยืนตำแหน่งและการสลับตำแหน่ง
การยืนตำแหน่งในแบดมินตันประเภทคู่มีแบบหลัก ๆ ก็คือ
•  การยืนแบบหน้า-หลัง  
•  การยืนแบบซ้าย-ขวา
•  การยืนแบบหมุนวน

1. การยืนแบบหน้า-หลัง มักจะใช้ในเวลาที่ฝ่ายเราต้องทำการส่งลูก คนที่ส่งลูกจะยืนอยู่ข้างหน้า ส่วนอีกคนหนึ่งจะยืนอยู่กลางคอร์ทหรือไม่ก็หลังคอร์ท
เพื่อคอยรับลูกที่ฝั่งตรงข้ามจะตีกลับมา

2. การยืนแบบซ้าย-ขวา มักจะใช้เวลาที่ฝ่ายเราต้องคอยรับลูกจากฝ่ายตรงข้าม หรืออยู่ในสถานการณ์ที่ถูกฝั่งตรงข้ามจู่โจมอย่างหนัก ก็จะต้องใช้การยืน
เช่นนี้เพื่อตั้งรับ เวลาที่ฝั่งตรงข้ามเป็นฝ่ายส่งลูกหรือตีลูกยาวกลับมาในแดนของฝั่งเรา ฝั่งเราทั้งสองคนจะต้องรับผิดชอบพื้นที่คนละฝั่ง

3. การยืนแบบหมุนวน การยืนแบบหน้า-หลังและการยืนแบบซ้าย-ขวาเมื่อต้องมีการสลับระหว่างสองแบบนี้จะเรียกว่าการยืนแบบหมุนเวียน

ในการแข่งขันแบดมินตันประเภทเดี่ยว นักแบดมินตันประเภทเดี่ยวเพียงแค่ต้องแสดงความสามารถของตนให้ดีที่สุดก็จะได้รับชัยชนะ แต่ในการแข่งขันประเภทคู่ไม่ง่ายดายเหมือนเช่นนั้น ในชั่วเวลาเพียงพริบตาเดียว นักแบดมินตันทั้ง 4 คนในประเภทคู่จะมีการเคลื่อนย้ายตำแหน่งมากกว่านักแบดมินตันประเภทเดี่ยว 2 คนหลายเท่าตัว

ถ้าความสามารถของนักแบดที่จับคู่กันไม่บาลานซ์ หรือนักแบดคนใดคนหนึ่งเล่นแบบเอาแต่ใจตนจนมองข้ามการเล่นประสานงานกับคู่ของตน นอกจาก
จะส่งผลให้การประสานงานไม่ดีแล้ว ต่างฝ่ายต่างก็จะรบกวนซึ่งกันและกันอีกด้วย เช่น ไม้แบดบวกกันหรือไม่ก็วิ่งชนกันเอง, ยืนบังทางเพื่อนร่วมทีม,
ยืนผิดตำแหน่งจนทำให้เกิดช่องโหว่ให้คู่ต่อสู้โจมตี ฯลฯ

ดังนั้นแล้ว ในการแข่งขันประเภทคู่นั้น กลยุทธที่เราจะพบมากก็คือ “ โจมตีเฉพาะบุคคล “ กล่าวคือ ถ้าเราพบว่านักแบดฝั่งตรงข้ามทั้งสองคนมีความ
สามารถไม่เท่าเทียมกัน เราก็สามารถเลือกใช้กลยุทธการบุกแบบ “ 2 รุม 1 “ โดยเลือกโจมตีใส่นักแบดมินตันที่ฝีมืออ่อนกว่า


ความสามารถและอุปนิสัยส่วนบุคคล

การเล่นในประเภทคู่นั้น การผสมผสานระหว่างความสามารถและอุปนิสัยส่วนบุคคลของผู้เล่นทั้งสองคนก็เป็นเรื่องสำคัญเป็นอย่างยิ่ง

ดูได้จากการเล่นของกู้จวิ้นและเก๋อเฟย
กู้จวิ้นนั้น  ถึงแม้จะเตี้ยกว่าเก๋อเฟยแต่เธอมีพละกำลังดี เธอสามารถวิ่งได้ทั่วทุกพื้นที่ของสนามและเธอยังมีลูกตบที่รุนแรงอีกด้วย
ดังนั้นกู้จวิ้นจึงมักจะปักหลักในแดนหลังที่มีพื้นที่รับผิดชอบกว้างเป็นส่วนใหญ่

เก๋อเฟย  ที่มีไหวพริบเยี่ยมนั้นจะรับผิดชอบพื้นที่แดนหน้าเพื่อดักลูกหน้าเน็ต นอกจากนี้เธอยังคอยจับตามองการเคลื่อนไหวของฝั่ง
ตรงข้ามอีกด้วย เมื่อใดที่ฝั่งตรงข้ามเผยจุดอ่อนให้โจมตี เธอก็จะรีบชิงจู่โจมทันที

เมื่อดูจากอุปนิสัย "กู้จวิ้น" ในบางเวลาจะค่อนข้างร้อนรนมากเกินไป แต่ "เก๋อเฟย" จะค่อนข้างสุขุมมากกว่า ในช่วงแต้มสำคัญระหว่างการแข่งขัน
"เก๋อเฟย" จะคอยคุมอารมณ์ของ "กู้จวิ้น"  ไม่ให้เร่งเกมส์มากเกินไป

แต่ในทางกลับกัน การเล่นแบบดุดันและรวดเร็วของ "กู้จวิ้น" ก็ทำให้เก๋อเฟยคึกคักตามไปด้วยเช่นกัน ความแตกต่างของทั้งสองคนจึงกลับกลายเป็น
การเติมเต็มซึ่งกันและกันไปโดยปริยาย

http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=zeng&month=02-2008&date=10&group=18&gblog=2



Olympic Sdyney 2000 -  Badminton Women Doubles Gold Medal Match
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
cr.youtube Foong Fatty


Uber Cup Final in Hongkong 1996  : Ge Fei/Gu Jun  vs  Eliza/Zelin Resiana
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
cr.youtube Ryan Nugraha Kurniawan


Sudirman Cup 1995 Final - Ge Fei and Gu Jun
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
cr.youtube Mynah Bird
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่