ตั้งแต่เมื่อวาน ผมเห็นมีหลายคนนำความเห็นนี้ ก็อปไปโพสตอบในหลายกระทู้ ก็เลยอยากจะแลกเปลี่ยนกับความเห็นอันนี้
ผมลองไปค้นดู ก็คิดว่า น่าจะเป็นการแสดงความเห็น ในกระทู้อันนี้
http://ppantip.com/topic/32134940/comment12
แล้วขอตัดมาเป็นท่อน ๆ เพื่อตอบนะครับ
-การเริ่มต้นโครงการรัฐบาลก็ตั้งประมาณการณ์ไว้แล้วว่าจะต้องขาดทุนประมาณ สองแสนกว่าล้านอยู่แล้ว
อันนี้ผมว่า น่าจะเข้าใจผิดนะครับ เพราะรัฐบาลไม่เคยพูดว่าจะขาดทุนสองแสนกว่าล้านเลย มีแต่บอกว่า รับรองจะไม่ขาดทุนมากกว่าประกันรายได้ ซึ่งสองปีใช้เงินไป 110,000 ล้านบาทเท่านั้น
เพราะต้องการยกระดับรายได้ของชาวนาให้อยู่ได้จากปกติประมาณ 60,000 บาท/ปี เฉลี่ย 5,000 บาท/เดื่อน จากฐานคิดชาวนาทำนา 15 ไร่ ได้ข้าว 12 ตัน(ตีให้อย่างสูง) ราคาตันละ 7,500 บาทได้เงิน 90,000บาทหักค่าลงทุน 60,000 บาทเหลือ 30,000 บาททำนา 2 รอบได้ 60,000 บาทเฉพาะในพื้นที่ชลประทานเท่านั้น ภาคอิสานไม่ต้องพูดถึงปีหนึ่งทำได้คร้ังเดียวบางปีก็แล้งมากๆคุณคิดว่า 60,000บาท/ปีคุณอยู่ได้ไหม
ผมว่าอันนี้คงคิดไปเองมากกว่า เพราะถ้าหากมีหลักคิดตรงนี้ ก็คงต้องตอบคำถามว่า แล้วชาวนาที่ปลูกข้าวได้น้อยกว่า 12 ตันล่ะครับ จะอยู่ได้มั้ย ก็ยิ่งอยู่ไม่ได้ใหญ่
แล้วชาวนาที่ทำนาเป็นร้อยไร่ แบบนี้ก็ยิ่งสบายซิครับ
ผมเคยแสดงความเห็นนึงไว้ เมื่อนานมาแล้ว
หลัก ๆ ก็คือ การช่วยเหลือชาวนา ที่รัฐคิด ไม่ใช่จุดนี้แน่ ๆ แต่ที่ต้องรับจำนำราคาสูง และต้องทุกเมล็ด เพื่อหวังผลเรื่องการยกระดับราคามากกว่า ไม่ใช่เกี่ยวกับการช่วยเหลือชาวนา
เพราะถ้ามีเป้าหมายที่รายได้ขั้นต่ำของชาวนา ก็คงจะกำหนดหลักเกณฑ์การจำนำในรูปแบบอื่น เช่นการกำหนดราคารับจำนำเป็นขั้นบันได ข้าวต้นแรก ๆ ให้ราคาสูง ข้าวตันหลัง ๆ ให้ราคาต่ำลงไปเรื่อย ๆ จนถึงจุดที่ไม่ช่วยเหลือ ให้ไปขายเองในตลาดตามราคาตลาด
ถ้าเขาอยู่ไม่ได้เขาก็ต้องดิ้นรนหากินให้ได้ไม่ว่าจะเป็นวิธีใด เช่น จี้ ปล้น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสังคมโดยรวมทำให้การแก้ไขปัญหามีความยุ่งยากต้องเสียงบ ประมาณจำนวนมหาศาล
ท่อนนี้ไปกันใหญ่ จะบ้ากันไปแล้ว รายได้ไม่พอกับค่าใช้จ่าย ต้องไปเป็นโจรกันเลยเหรอครับ ทำไมไม่มองว่า จะพยายามหาอาชีพเสริม ปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ หรือไปหางานอื่นทำในช่วงว่างจากการทำนา คงไม่ใช่ว่า พอทำนารอบเดียว ก็หวังว่า เงินรอบเดียวจะพออยู่ได้ทั้งปี ถ้าเงินไม่พอ จะต้องไปประกอบอาชีพไม่สุจริตมั้งครับ
โครงการรับจำนำข้าวมีความรัดกุมในการป้องกันการโกงได้ดีกว่าโครงการประกัน
จุดนี้ใจจริงผมอยากจะให้คุณ 1007993 ช่วยขยายความหน่อย เพราะเท่าที่ผมรู้ โครงการประกันรายได้มีการทุจริตกันในขั้นตอนการขึ้นทะเบียนเป็นหลัก ส่วนในขั้นตอนอื่นนั้น ไม่น่าจะมีจุดให้ทุจริตได้เพิ่มแล้ว เช่นถ้าทำนาจริง ขึ้นทะเบียนตามจริง สุดท้ายไม่ได้ผลผลิต หรือได้มากกว่าขึ้นทะเบียน ก็มีสิทธิได้เท่าที่ขึ้นทะเบียนเท่านั้น ซึ่งหลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียน ของการประกันรายได้ กับจำนำข้าว ก็ใช้หลักเกณฑ์เดียวกัน ก็ไม่รู้ว่า การรับจำนำข้าว มีการเพิ่มความรัดกุม ในขั้นตอนไหน ถึงทำให้ป้องกันการโกงได้ดีกว่า
ราคาข้าวของรัฐบาลอภิสิทธิ์ที่มีการขาดทุนในระดับเดียวกันแต่ชาวนาได้รับผล ประโยชน์น้อยมากผลประโยชน์ตกอยู่กับโรงสีและพ่อค้ามากกว่า
ตรงนี้คงต้องมีตัวเลขประกอบ ถึงจะสามารถเห็นภาพว่า ผลประโยชน์ที่ชาวนาได้น้อยกว่า เป็นเพราะราคาที่รัฐจ่ายไม่เท่ากัน หรือเป็นเพราะผลประโยชน์นั้นไปตกกับพ่อค้ามากกว่าแน่
แต่ที่แน่ ๆ ในชั้นนี้ ผมมั่นใจว่า ถ้าวัดปริมาณเงินที่พ่อค้าได้ประโยชน์ โครงการจำนำข้าว ให้ประโยชน์พ่อค้ามากกว่าโครงการประกันรายได้แน่นอนครับ
โครงการรับจำนำข้าวมีการป้องกันการโกง โดยที่ชาวนาที่จะเข้าโครงการต้องขึ้นทะเบียนมีการตรวจสอบว่าเป็นชาวนาจริงมี พื้นที่ในการทำนาจริง มีการถ่ายภาพที่นามีการกด GPS เพื่อหาพิกัดของนาที่ขึ้นทะเบียนก่อนปลูก
ถ้าตอนนี้ขั้นตอนการขึ้นทะเบียนทำแบบนี้จริง การขึ้นทะเบียนประกันรายได้ ก็ต้องทำแบบนี้ครับ เพราะเรื่องการขึ้นทะเบียนเริ่มมาจากการประกันรายได้ (เมื่อก่อนจำนำไม่ต้องขึ้นทะเบียน) แล้วก็มีการพัฒนาให้รัดกุมขึ้น ทุจริตยากขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี
เมื่อปลูกข้าวแล้วได้ผลผลิตก็ส่งเข้าโรงสีที่เข้าร่วมโครงการ โรงสีก็จะออกใบประทวนข้าวให้ชาวนาตีราคาตามคุณภาพข้าว ประกันราคาที่ 15,000 บาท/ตันแต่ชาวนาโดยมากจะได้ไม่ถึงเนื่องจากต้องหักค่าความชื้นและสิ่งเจือปน ที่เกินกำหนดจะได้ประมาณ 13,000บาท/ตัน
จริง ๆ ท่อนนี้ไม่มีอะไร แต่อยากจะพูดเรื่องเดิม ๆ ก็คือ ราคาที่ชาวนาได้ไม่ถึง 15,000 บาท เป็นเพราะคุณภาพเมล็ดข้าวไม่ได้ คือเป็นข้าว 5% ก็จะเหลือ 14,800 บาท ถ้าเป็นข้าว 10% ก็เหลือ 14,600 บาท
ส่วนเรื่องความชื้น สิ่งเจือปนนั้น ไม่ได้หักที่ราคาครับ แต่หักที่น้ำหนัก
เช่นเอาข้าว 5% ชั่งจากบ้านได้ 1,000 กก.ไปจำนำ ไปถึงโรงสีวัดความชื้นได้ 25% ก็จะหักน้ำหนักออกประมาณ 20% ก็จะคิดเงินให้ 800 กก. หรือได้เงินประมาณ 12,000 บาท ไม่ใช่จ่ายค่าข้าวให้ตันละ 12,000 บาท แต่ให้ตันละ 14,800 บาทแหละ เพียงแต่ในนั้นมีน้ำปน ก็หักน้ำหนักน้ำออกก่อน ก็เหลือ 800 กก. ก็เลยได้เงินแค่ 12,000 บาท
โรงสีจะเป็นผู้เก็บข้าวแล้วออกใบประทวนให้ชาวนาไปแจ้งขอรับเงินที่ ธกส. ธกส.จะโอนเงินเข้าบัญชีให้ชาวนาตามจำนวนที่แจ้งในใบประทวน
จริง ๆ ขั้นตอนสองขั้นตอนนี้ต้องบอกว่า ชาวนาเอาข้าวไปจำนำที่โรงสี แล้วโรงสีก็ออกใบประทวนให้ หลังจากนั้น ชาวนาก็เอาใบประทวน ไปจำนำที่ ธกส. เพื่อรับเงินมา โดยธกส.จะโอนเงินเข้าบัญชีชาวนาตามยอดนั้น
ท่านคิดว่าจะมีการโกงกันในขั้นตอนใด
ที่โกงได้ ก็อยู่ในขั้นตอนการขึ้นทะเบียนเป็นหลักแหละครับ ถ้าหากมีชาวนาปลอมขึ้นทะเบียนด้วยที่ดินปลอมได้ มันก็เป็นไปได้ทั้งสองโครงการ การประกันรายได้ ขึ้นทะเบียนเสร็จก็รอใช้สิทธิรับเงินส่วนต่าง
ส่วนจำนำข้าว พอขึ้นทะเบียนเสร็จ ก็ไปหาข้าวที่ไหนก็ได้มาสวมสิทธิ เข้าโครงการจำนำไป
จุดเริ่มต้นการทุจริต อยู่ที่การขึ้นทะเบียนทั้งนั้น อย่าพยายามมองภาพว่า จำนำโกงไม่ได้ แต่ประกันรายได้โกงได้ เพราะทั้งสองโครงการ เริ่มต้นด้วยการขึ้นทะเบียนชาวนาเหมือนกัน จุดเริ่มต้นการโกงก็ทำได้เหมือนกัน แต่ที่ไม่เหมือนกันก็คือ ประกันรายได้นั้น รัฐจะเสียหายคือเงินส่วนต่างที่จ่ายออกไป เช่น 3,000 บาท ก็เสียหาย 3,000 บาท (ไม่ได้ข้าว) แต่จำนำข้าวนั้น จะต้องจ่ายเงิน 15,000 บาท (แต่ได้ข้าวมา 1 ตัน ถ้าเป็นข้าวดี ก็จะขาดทุนจากการซื้อแพงกว่าราคาตลาด สมมติ 5,000 บาท ก็เสียหาย 5,000 บาท) จะเสียหายมากน้อย ก็คงต้องดูว่า หลังจากได้ข้าวมาแล้ว ขายออกไปได้เงินคืนมาเท่าไหร่
ซึ่งต่างจากโครงการประกันราคาข้าวที่การขึ้นทะเบียนไม่ชัดเจนบางคนเอา พื้นที่ไร่ไปขึ้นทะเบียนเพื่อให้ได้จำนวนพื้นที่มากๆแล้วรับส่วนต่างของราคา ที่รัฐประกันให้และโรงสีจ่ายเงินโดยตรงทำให้มีการหักหัวคิวและมีการโกงกัน อย่างมากมายชาวนาได้ผลประโยชน์น้อยมาก
ท่อนนี้ ก็คงไม่มีอะไรแล้ว เพราะพูดไปข้างบนแล้ว
แต่อยากให้คิดว่า พื้นที่ปลูกข้าวจะโกงกันได้เต็มที่ไม่จำกัดขนาดที่พูดเลยเหรอครับ ส่วนขั้นตอนการจ่ายเงิน ธกส.ก็โอนเงินให้ชาวนาโดยตรง เหมือนกับการจำนำเหมือนกัน
ชาวนาจึงต้องการโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลยิ่งลักษณ์มากกว่า
ผมว่าที่ชาวนาต้องการมากกว่า คือ ได้ 15,000 บาท กับ 11,000 บาท ก็ต้องเลือก 15,000 มากกว่าครับ
แล้วตอนนี้ผมว่า ถ้าหากทำการสำรวจดี ๆ กระจายกลุ่มเป้าหมายให้กว้างพอ น่าจะได้ข้อสรุปที่ต่างออกไปแล้ว
และเงินที่รัฐยอมขาดทุนจำนวน สองแสนกว่าล้านบาทก็อยู่ในมือชาวนาซึ่งเป็นคนจนที่ต้องมีการจับจ่ายใช้เงิน ในการลงทุน ใช้จ่ายในการบริโภคเงินหมุนเวียนตลอดเวลาทำให้รัฐมีรายได้จากภาษีมูลค่า เพิ่ม ในจำนวนเงิน 100 บาทรัฐได้ภาษี 7 บาท 1,000 บาทได้ภาษี 70 บาทเงินหมุน 14 ครั้งรัฐก็ได้ภาษีเกิน 1,000 บาทแล้วซึ่งต่างจากเงินคนรวยที่ถือเงินไว้เฉยๆหรือฝากแบงค์รัฐได้ภาษีจาก เงินจำนวนนี้น้อยมาก จะเห็นว่าเงินภาษีที่คนจนใช้เป็นเงินภาษีที่คนจนจ่ายกันเอง ขอให้เข้าใจตามนี้ด้วย ครับ
ผมว่า วรรคนี้ เป็นการคิดในแง่ดีมาก ๆ เพราะผมคิดว่า เงินสองแสนกว่าล้านที่รัฐขาดทุน (ต้องคิดให้จบว่า แล้วไปอยู่ในมือชาวนาเท่าไหร่ด้วย แต่ตอนนี้คิดว่าอยู่ในมือชาวนาหมดเลยก็ได้) มันจะไปหมุน 14 รอบได้ยังไง เพราะถ้าใช้หลักการว่า อยู่ในมือคนรวยแล้วไม่หมุน ผมว่ารอบแรก พอชาวนารับเงินไปปุ๊บ เงินก็หมุนเปลี่ยนไปเข้ามือคนรวยเป็นส่วนใหญ่แล้วครับ คงไม่มีการหมุนเวียนในมือคนจนเกิน 3 รอบแน่ ๆ
เป็นว่า ถ้าคุณ 1007993 เห็นกระทู้นี้ อยากแสดงความเห็นเพิ่มเติมในบางประเด็น ที่ผมอาจจะเข้าใจผิด ก็ยินดีครับ หรือใครที่ยกไปตอบในหลายกระทู้ อยากให้ความเห็นเพิ่มเติม ก็ลองว่ามานะครับ
ขอตอบความเห็น (ของคุณ 1007993) นี้สักหน่อย
ผมลองไปค้นดู ก็คิดว่า น่าจะเป็นการแสดงความเห็น ในกระทู้อันนี้
http://ppantip.com/topic/32134940/comment12
แล้วขอตัดมาเป็นท่อน ๆ เพื่อตอบนะครับ
-การเริ่มต้นโครงการรัฐบาลก็ตั้งประมาณการณ์ไว้แล้วว่าจะต้องขาดทุนประมาณ สองแสนกว่าล้านอยู่แล้ว
อันนี้ผมว่า น่าจะเข้าใจผิดนะครับ เพราะรัฐบาลไม่เคยพูดว่าจะขาดทุนสองแสนกว่าล้านเลย มีแต่บอกว่า รับรองจะไม่ขาดทุนมากกว่าประกันรายได้ ซึ่งสองปีใช้เงินไป 110,000 ล้านบาทเท่านั้น
เพราะต้องการยกระดับรายได้ของชาวนาให้อยู่ได้จากปกติประมาณ 60,000 บาท/ปี เฉลี่ย 5,000 บาท/เดื่อน จากฐานคิดชาวนาทำนา 15 ไร่ ได้ข้าว 12 ตัน(ตีให้อย่างสูง) ราคาตันละ 7,500 บาทได้เงิน 90,000บาทหักค่าลงทุน 60,000 บาทเหลือ 30,000 บาททำนา 2 รอบได้ 60,000 บาทเฉพาะในพื้นที่ชลประทานเท่านั้น ภาคอิสานไม่ต้องพูดถึงปีหนึ่งทำได้คร้ังเดียวบางปีก็แล้งมากๆคุณคิดว่า 60,000บาท/ปีคุณอยู่ได้ไหม
ผมว่าอันนี้คงคิดไปเองมากกว่า เพราะถ้าหากมีหลักคิดตรงนี้ ก็คงต้องตอบคำถามว่า แล้วชาวนาที่ปลูกข้าวได้น้อยกว่า 12 ตันล่ะครับ จะอยู่ได้มั้ย ก็ยิ่งอยู่ไม่ได้ใหญ่
แล้วชาวนาที่ทำนาเป็นร้อยไร่ แบบนี้ก็ยิ่งสบายซิครับ
ผมเคยแสดงความเห็นนึงไว้ เมื่อนานมาแล้ว
หลัก ๆ ก็คือ การช่วยเหลือชาวนา ที่รัฐคิด ไม่ใช่จุดนี้แน่ ๆ แต่ที่ต้องรับจำนำราคาสูง และต้องทุกเมล็ด เพื่อหวังผลเรื่องการยกระดับราคามากกว่า ไม่ใช่เกี่ยวกับการช่วยเหลือชาวนา
เพราะถ้ามีเป้าหมายที่รายได้ขั้นต่ำของชาวนา ก็คงจะกำหนดหลักเกณฑ์การจำนำในรูปแบบอื่น เช่นการกำหนดราคารับจำนำเป็นขั้นบันได ข้าวต้นแรก ๆ ให้ราคาสูง ข้าวตันหลัง ๆ ให้ราคาต่ำลงไปเรื่อย ๆ จนถึงจุดที่ไม่ช่วยเหลือ ให้ไปขายเองในตลาดตามราคาตลาด
ถ้าเขาอยู่ไม่ได้เขาก็ต้องดิ้นรนหากินให้ได้ไม่ว่าจะเป็นวิธีใด เช่น จี้ ปล้น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสังคมโดยรวมทำให้การแก้ไขปัญหามีความยุ่งยากต้องเสียงบ ประมาณจำนวนมหาศาล
ท่อนนี้ไปกันใหญ่ จะบ้ากันไปแล้ว รายได้ไม่พอกับค่าใช้จ่าย ต้องไปเป็นโจรกันเลยเหรอครับ ทำไมไม่มองว่า จะพยายามหาอาชีพเสริม ปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ หรือไปหางานอื่นทำในช่วงว่างจากการทำนา คงไม่ใช่ว่า พอทำนารอบเดียว ก็หวังว่า เงินรอบเดียวจะพออยู่ได้ทั้งปี ถ้าเงินไม่พอ จะต้องไปประกอบอาชีพไม่สุจริตมั้งครับ
โครงการรับจำนำข้าวมีความรัดกุมในการป้องกันการโกงได้ดีกว่าโครงการประกัน
จุดนี้ใจจริงผมอยากจะให้คุณ 1007993 ช่วยขยายความหน่อย เพราะเท่าที่ผมรู้ โครงการประกันรายได้มีการทุจริตกันในขั้นตอนการขึ้นทะเบียนเป็นหลัก ส่วนในขั้นตอนอื่นนั้น ไม่น่าจะมีจุดให้ทุจริตได้เพิ่มแล้ว เช่นถ้าทำนาจริง ขึ้นทะเบียนตามจริง สุดท้ายไม่ได้ผลผลิต หรือได้มากกว่าขึ้นทะเบียน ก็มีสิทธิได้เท่าที่ขึ้นทะเบียนเท่านั้น ซึ่งหลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียน ของการประกันรายได้ กับจำนำข้าว ก็ใช้หลักเกณฑ์เดียวกัน ก็ไม่รู้ว่า การรับจำนำข้าว มีการเพิ่มความรัดกุม ในขั้นตอนไหน ถึงทำให้ป้องกันการโกงได้ดีกว่า
ราคาข้าวของรัฐบาลอภิสิทธิ์ที่มีการขาดทุนในระดับเดียวกันแต่ชาวนาได้รับผล ประโยชน์น้อยมากผลประโยชน์ตกอยู่กับโรงสีและพ่อค้ามากกว่า
ตรงนี้คงต้องมีตัวเลขประกอบ ถึงจะสามารถเห็นภาพว่า ผลประโยชน์ที่ชาวนาได้น้อยกว่า เป็นเพราะราคาที่รัฐจ่ายไม่เท่ากัน หรือเป็นเพราะผลประโยชน์นั้นไปตกกับพ่อค้ามากกว่าแน่
แต่ที่แน่ ๆ ในชั้นนี้ ผมมั่นใจว่า ถ้าวัดปริมาณเงินที่พ่อค้าได้ประโยชน์ โครงการจำนำข้าว ให้ประโยชน์พ่อค้ามากกว่าโครงการประกันรายได้แน่นอนครับ
โครงการรับจำนำข้าวมีการป้องกันการโกง โดยที่ชาวนาที่จะเข้าโครงการต้องขึ้นทะเบียนมีการตรวจสอบว่าเป็นชาวนาจริงมี พื้นที่ในการทำนาจริง มีการถ่ายภาพที่นามีการกด GPS เพื่อหาพิกัดของนาที่ขึ้นทะเบียนก่อนปลูก
ถ้าตอนนี้ขั้นตอนการขึ้นทะเบียนทำแบบนี้จริง การขึ้นทะเบียนประกันรายได้ ก็ต้องทำแบบนี้ครับ เพราะเรื่องการขึ้นทะเบียนเริ่มมาจากการประกันรายได้ (เมื่อก่อนจำนำไม่ต้องขึ้นทะเบียน) แล้วก็มีการพัฒนาให้รัดกุมขึ้น ทุจริตยากขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี
เมื่อปลูกข้าวแล้วได้ผลผลิตก็ส่งเข้าโรงสีที่เข้าร่วมโครงการ โรงสีก็จะออกใบประทวนข้าวให้ชาวนาตีราคาตามคุณภาพข้าว ประกันราคาที่ 15,000 บาท/ตันแต่ชาวนาโดยมากจะได้ไม่ถึงเนื่องจากต้องหักค่าความชื้นและสิ่งเจือปน ที่เกินกำหนดจะได้ประมาณ 13,000บาท/ตัน
จริง ๆ ท่อนนี้ไม่มีอะไร แต่อยากจะพูดเรื่องเดิม ๆ ก็คือ ราคาที่ชาวนาได้ไม่ถึง 15,000 บาท เป็นเพราะคุณภาพเมล็ดข้าวไม่ได้ คือเป็นข้าว 5% ก็จะเหลือ 14,800 บาท ถ้าเป็นข้าว 10% ก็เหลือ 14,600 บาท
ส่วนเรื่องความชื้น สิ่งเจือปนนั้น ไม่ได้หักที่ราคาครับ แต่หักที่น้ำหนัก
เช่นเอาข้าว 5% ชั่งจากบ้านได้ 1,000 กก.ไปจำนำ ไปถึงโรงสีวัดความชื้นได้ 25% ก็จะหักน้ำหนักออกประมาณ 20% ก็จะคิดเงินให้ 800 กก. หรือได้เงินประมาณ 12,000 บาท ไม่ใช่จ่ายค่าข้าวให้ตันละ 12,000 บาท แต่ให้ตันละ 14,800 บาทแหละ เพียงแต่ในนั้นมีน้ำปน ก็หักน้ำหนักน้ำออกก่อน ก็เหลือ 800 กก. ก็เลยได้เงินแค่ 12,000 บาท
โรงสีจะเป็นผู้เก็บข้าวแล้วออกใบประทวนให้ชาวนาไปแจ้งขอรับเงินที่ ธกส. ธกส.จะโอนเงินเข้าบัญชีให้ชาวนาตามจำนวนที่แจ้งในใบประทวน
จริง ๆ ขั้นตอนสองขั้นตอนนี้ต้องบอกว่า ชาวนาเอาข้าวไปจำนำที่โรงสี แล้วโรงสีก็ออกใบประทวนให้ หลังจากนั้น ชาวนาก็เอาใบประทวน ไปจำนำที่ ธกส. เพื่อรับเงินมา โดยธกส.จะโอนเงินเข้าบัญชีชาวนาตามยอดนั้น
ท่านคิดว่าจะมีการโกงกันในขั้นตอนใด
ที่โกงได้ ก็อยู่ในขั้นตอนการขึ้นทะเบียนเป็นหลักแหละครับ ถ้าหากมีชาวนาปลอมขึ้นทะเบียนด้วยที่ดินปลอมได้ มันก็เป็นไปได้ทั้งสองโครงการ การประกันรายได้ ขึ้นทะเบียนเสร็จก็รอใช้สิทธิรับเงินส่วนต่าง
ส่วนจำนำข้าว พอขึ้นทะเบียนเสร็จ ก็ไปหาข้าวที่ไหนก็ได้มาสวมสิทธิ เข้าโครงการจำนำไป
จุดเริ่มต้นการทุจริต อยู่ที่การขึ้นทะเบียนทั้งนั้น อย่าพยายามมองภาพว่า จำนำโกงไม่ได้ แต่ประกันรายได้โกงได้ เพราะทั้งสองโครงการ เริ่มต้นด้วยการขึ้นทะเบียนชาวนาเหมือนกัน จุดเริ่มต้นการโกงก็ทำได้เหมือนกัน แต่ที่ไม่เหมือนกันก็คือ ประกันรายได้นั้น รัฐจะเสียหายคือเงินส่วนต่างที่จ่ายออกไป เช่น 3,000 บาท ก็เสียหาย 3,000 บาท (ไม่ได้ข้าว) แต่จำนำข้าวนั้น จะต้องจ่ายเงิน 15,000 บาท (แต่ได้ข้าวมา 1 ตัน ถ้าเป็นข้าวดี ก็จะขาดทุนจากการซื้อแพงกว่าราคาตลาด สมมติ 5,000 บาท ก็เสียหาย 5,000 บาท) จะเสียหายมากน้อย ก็คงต้องดูว่า หลังจากได้ข้าวมาแล้ว ขายออกไปได้เงินคืนมาเท่าไหร่
ซึ่งต่างจากโครงการประกันราคาข้าวที่การขึ้นทะเบียนไม่ชัดเจนบางคนเอา พื้นที่ไร่ไปขึ้นทะเบียนเพื่อให้ได้จำนวนพื้นที่มากๆแล้วรับส่วนต่างของราคา ที่รัฐประกันให้และโรงสีจ่ายเงินโดยตรงทำให้มีการหักหัวคิวและมีการโกงกัน อย่างมากมายชาวนาได้ผลประโยชน์น้อยมาก
ท่อนนี้ ก็คงไม่มีอะไรแล้ว เพราะพูดไปข้างบนแล้ว
แต่อยากให้คิดว่า พื้นที่ปลูกข้าวจะโกงกันได้เต็มที่ไม่จำกัดขนาดที่พูดเลยเหรอครับ ส่วนขั้นตอนการจ่ายเงิน ธกส.ก็โอนเงินให้ชาวนาโดยตรง เหมือนกับการจำนำเหมือนกัน
ชาวนาจึงต้องการโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลยิ่งลักษณ์มากกว่า
ผมว่าที่ชาวนาต้องการมากกว่า คือ ได้ 15,000 บาท กับ 11,000 บาท ก็ต้องเลือก 15,000 มากกว่าครับ
แล้วตอนนี้ผมว่า ถ้าหากทำการสำรวจดี ๆ กระจายกลุ่มเป้าหมายให้กว้างพอ น่าจะได้ข้อสรุปที่ต่างออกไปแล้ว
และเงินที่รัฐยอมขาดทุนจำนวน สองแสนกว่าล้านบาทก็อยู่ในมือชาวนาซึ่งเป็นคนจนที่ต้องมีการจับจ่ายใช้เงิน ในการลงทุน ใช้จ่ายในการบริโภคเงินหมุนเวียนตลอดเวลาทำให้รัฐมีรายได้จากภาษีมูลค่า เพิ่ม ในจำนวนเงิน 100 บาทรัฐได้ภาษี 7 บาท 1,000 บาทได้ภาษี 70 บาทเงินหมุน 14 ครั้งรัฐก็ได้ภาษีเกิน 1,000 บาทแล้วซึ่งต่างจากเงินคนรวยที่ถือเงินไว้เฉยๆหรือฝากแบงค์รัฐได้ภาษีจาก เงินจำนวนนี้น้อยมาก จะเห็นว่าเงินภาษีที่คนจนใช้เป็นเงินภาษีที่คนจนจ่ายกันเอง ขอให้เข้าใจตามนี้ด้วย ครับ
ผมว่า วรรคนี้ เป็นการคิดในแง่ดีมาก ๆ เพราะผมคิดว่า เงินสองแสนกว่าล้านที่รัฐขาดทุน (ต้องคิดให้จบว่า แล้วไปอยู่ในมือชาวนาเท่าไหร่ด้วย แต่ตอนนี้คิดว่าอยู่ในมือชาวนาหมดเลยก็ได้) มันจะไปหมุน 14 รอบได้ยังไง เพราะถ้าใช้หลักการว่า อยู่ในมือคนรวยแล้วไม่หมุน ผมว่ารอบแรก พอชาวนารับเงินไปปุ๊บ เงินก็หมุนเปลี่ยนไปเข้ามือคนรวยเป็นส่วนใหญ่แล้วครับ คงไม่มีการหมุนเวียนในมือคนจนเกิน 3 รอบแน่ ๆ
เป็นว่า ถ้าคุณ 1007993 เห็นกระทู้นี้ อยากแสดงความเห็นเพิ่มเติมในบางประเด็น ที่ผมอาจจะเข้าใจผิด ก็ยินดีครับ หรือใครที่ยกไปตอบในหลายกระทู้ อยากให้ความเห็นเพิ่มเติม ก็ลองว่ามานะครับ