สวัสดีชาวหว้ากอทุกท่านครับ วันนี้ผมจะมาตั้งกระทู้เกี่ยวกับ เอกภพคู่ขนาน ว่าแนวคิดมันเป็นอย่างไร
เริ่มกันเลยครับ
เริ่มจาก แมวกึ่งเป็นกึ่งตาย
สมมติ ให้มีแมวตัวหนึ่งอยู่ในกล่องปิดพร้อมด้วยอุปกรณ์ที่บรรจุอะตอมของธาตุกัมมันตรังสีที่มีโอกาส 50:50
ในการสลายตัวภายใน1ชั่วโมงหากอะตอมสลายตัวขวดยาพิษก็จะแตกและแมวก็จะตาย เห็นได้ชัดว่าสภาพของแมวขึ้นอยู่กับอะตอมของธาตุกัมมันตรังสีว่าจะสลายตัวหรือไม่และการสลายตัวนี้ขึ้นอยู่กับความน่าจะเป็น คนที่ให้แนวคิดนี้คือ ชเรอดิงเจอร์
แล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่าแมวตายหรือไม่ตาย ทันทีที่กล่องถูกเปิดออก เราจะได้คำตอบ เราจะเห็นว่าแมวมีชีวิตอยู่หรือตาย
แต่มันจะเกิดเรื่องยุ่งยากขึ้นไปอีกคือ เกิดอะไรขึ้นกับสถานะที่ "ไม่ได้ถูกใช้" ของอะตอม
นีลส์ โบห์ร เชื่อว่าสถานะอีกอย่างหนึ่งหายไปเฉยๆเขารู้สึกพิศวงกับการตีความทางคณิตศาสตร์ของทฤษฎีควอนตัม
ดังนั้นเขาและเพื่อนร่วมงานชื่อ เวอร์เนอร์ ไฮเซนแบร์ก จึงตัดสินใจว่าการสังเกตได้บังคับให้เกิดเป็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งก่อน
การสังเกตระบบควอนตัมจะอยู่ในสถานะผสมของผลลัพธ์ที่เป็นไปได้ทั้งหมดแบบที่เรียกกันว่า
การซ้อนทับกัน(Super Position) เราเรียกการตีความแบบนี้ว่า การตีความแบบโคเปนเฮเกน นั่นคือการวัดทำให้เกิดความจริงแท้
แต่ปัญหาที่เป็นสามัญสำนึกของมุมมองนี้ก็เป็นดังเช่นที่ ชเรอดิงเจอร์ว่าไว้ คือแมวเป็นผีดิบ
ทั้งเป็นและตายในเวลาเดียวกันจนกว่าเราจะเปิดกล่องนั่นเอง
เกริ่นมาซะนานเข้าประเด็นกันเลยดีกว่าครับ
การตีความถึงโลกหลายใบ
ฮิวจ์ เอเวอเร็ต(Hugh Everett) ได้เสนอว่าเราควรมองทฤษฎีควอนตัมตามคำกล่าวอ้างและเชื่อว่าคณิตศาสตร์ของมันอธิบายถึง
ความจริงแท้ดังนั้นเมื่อสมการแสดงผลลัพธ์ที่เป็นไปได้แตกต่างกัน ผลลัพธ์ทั้งหมดก็ต้องถูกแสดงออกมาให้เห็นในที่ใดที่หนึ่ง
เช่น ในเอกภพหนึ่งแมวยังมีชีวิตอยู่ในอีกแห่งหนึ่งมันตาย เอกภพของเราเองเดินจากสถานะควอนตัมหนึ่งไปยังอีกอัน
โดยเลือกตามรอยหนึ่งในเส้นทางที่มากมาย แนวคิดของเอเวอเร็ตเป็นที่ยอมรับในฐานะการตีความแบบ "โลกหลายใบ"
แต่ใช้เวลานานกว่าจะเป็นที่นิยม เนื่องจาก โบห์รปฎิเสธที่จะสนใจมันอย่างจริงจัง จนในทศวรรษ 1970 นักฟิสิกส์จึงสนใจในสมมุติฐานนี้
เนื่องจากพวกเขา กำลังใช้มิติที่สูงขึ้นในการคำนวณ และตระหนักว่ามิติเหล่านี้อาจเป็นที่ตั้งของเอกภพคู่ขนานซึ่งดำรงอยู่ควบคู่ไปกับ
เอกภพของเราแต่เคลื่อนที่ผ่านมิติที่เราไม่สามารถรับรู้ได้
แนวคิดนี้เหมือนการเปิดโลกทรรศน์ใหม่ มีกระทั่งหลักฐานถึงรูปแบบที่แตกต่างกันหลากหลาย เป็นที่รู้จักกันในชื่อ 'พหุภพ' (Mutiverse)
การตีความ'โลกหลายใบ'ทุกครั้งที่ตัดสินใจทางควอนตัมเกิดขึ้น เอกภพจะแยกตัวเป็นเอกภพคู่ขนานจำนวนมากมาย
เดี๋ยวมาต่อครับ พักกินข้าวแปบนึง ถ้าชอบก็โหวตให้ด้วยนะครับ
เอกภพคู่ขนาน Parallel Universes
เริ่มกันเลยครับ
เริ่มจาก แมวกึ่งเป็นกึ่งตาย
สมมติ ให้มีแมวตัวหนึ่งอยู่ในกล่องปิดพร้อมด้วยอุปกรณ์ที่บรรจุอะตอมของธาตุกัมมันตรังสีที่มีโอกาส 50:50
ในการสลายตัวภายใน1ชั่วโมงหากอะตอมสลายตัวขวดยาพิษก็จะแตกและแมวก็จะตาย เห็นได้ชัดว่าสภาพของแมวขึ้นอยู่กับอะตอมของธาตุกัมมันตรังสีว่าจะสลายตัวหรือไม่และการสลายตัวนี้ขึ้นอยู่กับความน่าจะเป็น คนที่ให้แนวคิดนี้คือ ชเรอดิงเจอร์
แล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่าแมวตายหรือไม่ตาย ทันทีที่กล่องถูกเปิดออก เราจะได้คำตอบ เราจะเห็นว่าแมวมีชีวิตอยู่หรือตาย
แต่มันจะเกิดเรื่องยุ่งยากขึ้นไปอีกคือ เกิดอะไรขึ้นกับสถานะที่ "ไม่ได้ถูกใช้" ของอะตอม
นีลส์ โบห์ร เชื่อว่าสถานะอีกอย่างหนึ่งหายไปเฉยๆเขารู้สึกพิศวงกับการตีความทางคณิตศาสตร์ของทฤษฎีควอนตัม
ดังนั้นเขาและเพื่อนร่วมงานชื่อ เวอร์เนอร์ ไฮเซนแบร์ก จึงตัดสินใจว่าการสังเกตได้บังคับให้เกิดเป็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งก่อน
การสังเกตระบบควอนตัมจะอยู่ในสถานะผสมของผลลัพธ์ที่เป็นไปได้ทั้งหมดแบบที่เรียกกันว่า
การซ้อนทับกัน(Super Position) เราเรียกการตีความแบบนี้ว่า การตีความแบบโคเปนเฮเกน นั่นคือการวัดทำให้เกิดความจริงแท้
แต่ปัญหาที่เป็นสามัญสำนึกของมุมมองนี้ก็เป็นดังเช่นที่ ชเรอดิงเจอร์ว่าไว้ คือแมวเป็นผีดิบ
ทั้งเป็นและตายในเวลาเดียวกันจนกว่าเราจะเปิดกล่องนั่นเอง
เกริ่นมาซะนานเข้าประเด็นกันเลยดีกว่าครับ
การตีความถึงโลกหลายใบ
ฮิวจ์ เอเวอเร็ต(Hugh Everett) ได้เสนอว่าเราควรมองทฤษฎีควอนตัมตามคำกล่าวอ้างและเชื่อว่าคณิตศาสตร์ของมันอธิบายถึง
ความจริงแท้ดังนั้นเมื่อสมการแสดงผลลัพธ์ที่เป็นไปได้แตกต่างกัน ผลลัพธ์ทั้งหมดก็ต้องถูกแสดงออกมาให้เห็นในที่ใดที่หนึ่ง
เช่น ในเอกภพหนึ่งแมวยังมีชีวิตอยู่ในอีกแห่งหนึ่งมันตาย เอกภพของเราเองเดินจากสถานะควอนตัมหนึ่งไปยังอีกอัน
โดยเลือกตามรอยหนึ่งในเส้นทางที่มากมาย แนวคิดของเอเวอเร็ตเป็นที่ยอมรับในฐานะการตีความแบบ "โลกหลายใบ"
แต่ใช้เวลานานกว่าจะเป็นที่นิยม เนื่องจาก โบห์รปฎิเสธที่จะสนใจมันอย่างจริงจัง จนในทศวรรษ 1970 นักฟิสิกส์จึงสนใจในสมมุติฐานนี้
เนื่องจากพวกเขา กำลังใช้มิติที่สูงขึ้นในการคำนวณ และตระหนักว่ามิติเหล่านี้อาจเป็นที่ตั้งของเอกภพคู่ขนานซึ่งดำรงอยู่ควบคู่ไปกับ
เอกภพของเราแต่เคลื่อนที่ผ่านมิติที่เราไม่สามารถรับรู้ได้
แนวคิดนี้เหมือนการเปิดโลกทรรศน์ใหม่ มีกระทั่งหลักฐานถึงรูปแบบที่แตกต่างกันหลากหลาย เป็นที่รู้จักกันในชื่อ 'พหุภพ' (Mutiverse)
การตีความ'โลกหลายใบ'ทุกครั้งที่ตัดสินใจทางควอนตัมเกิดขึ้น เอกภพจะแยกตัวเป็นเอกภพคู่ขนานจำนวนมากมาย
เดี๋ยวมาต่อครับ พักกินข้าวแปบนึง ถ้าชอบก็โหวตให้ด้วยนะครับ