ปัญหาเรื่องหนี้สิน กับ การไหลออกของบุคลากรในองค์กร

อยากสอบถามแลกเปลี่ยนพูดคุย กับเพื่อนๆพี่ๆน้องๆทุกคน ที่ทำงานในองค์กร ทั้งเอกชน ราชการ และรัฐวิสาหกิจ
เกี่ยวกับปัญหาหนี้สินของบุคลากร  และการเปลี่ยนแปลงในองค์กรในด้านต่างๆ

  ช่วง 3 ปีที่ผ่านมา บุคลากรในองค์กรเริ่มมีการตื่นตัวมากขึ้นเกี่ยวกับการกู้ยืมในรูปแบบต่างๆ มาบูมหนักสุดตอนรถคันแรก แบบว่า แกมีฉันก็ต้องมี ออกรถกับแทบทุกคนในองค์กร ปีถัดมาเริ่มมีการพูดคุยในแวดวงลูกจ้าง เกี่ยวกับการรวมกลุ่มกู้สินเชื่อจาก ออมสิน ซึ่งมีบุคลากรสนใจกันมาก กู้กันมืดฟ้ามัวดิน เท่าที่ทราบมาส่วนใหญ่เอาไปออกมือถือใหม่ ไม่ก็เอาไปชำระค่างวดหนี้เดิมที่ค้างก่อนหน้า   หลังจากนั้นก็รวมตัวกันกู้ ธนาคารกรุงไทย กันอีกรอบ ล่าสุดที่ผ่านมา มาขอทำ MOU จะไปกู้กันอีกรอบกับธนาคารใหม่ !!!!!   ค่าแรงที่เพิ่มขึ้นแทบไม่ได้ทำให้ชีวิตดีขึ้นเลยแม้แต่นิด เพราะเกือบทั้งหมด หนี้เพิ่มขึ้นเร็วกว่า

ปัญหามันมาเกิดตรง ประธานขอให้ฝ่าย CFO และ human resource  ปรับปรุงโครงสร้างค่าตอบแทนนอกเวลา (ประมานว่าจะปรับลดโอทีลง  เพราะกิจการเริ่มมีกำไร และสภาพคล่องต่ำลง)  ทีนี้เกิดการประท้วงกันยกใหญ่ เพราะส่วนใหญ่เป็นประเภท  " เงินเดือนมีไว้ใช้หนี้ โอทีมีไว้แดรก "
พอฝ่าย CFO ลงไปศึกษาโครงสร้างของเงินเดือนของลูกจ้าง พบว่า ค่าจ้างเดือนละประมาณ 9000 บาท  ถูกหักหนี้รายเดือนที่ MOU ไว้กับแบงค์ต่างๆ 6000 บาท!!!!!   เหลือเงิน 3000 บาท จึงต้องทำโอทีเพิ่ม การตัดลดโอทีจึงเกิดปัญหาขึ้น

ไฟปะทุขึ้น เมื่อลูกจ้างบ้างคนรู้สึกว่าตัวเองโดนเอาเปรียบแบบว่า  ทำงานทั้งเดือนได้เงินแค่ 3000 ลาออกไปทำที่อื่นดีกว่า ที่จะไม่โดนการเงินหักเงินนำส่งแบงค์  ( ทั้งๆที่เป็นความผิดตัวเอง)   เมื่อคนนึงลาออก แต่ไม่ได้เอาหนี้ไปด้วย ชิ่งหนีไม่ยอมส่ง ทำให้ลูกจ้างที่เหลือที่ค้ำกันเองโดนฟ้องต้องโดนยึดเงินเดือนมาส่งจ่ายด้วย !!!!!

ทีนี้ใครจะยอมโดนหักจนเงินเหลือ 15 % ลาออกไปทำที่ใหม่ที่ไม่โดนหักดีกว่า  ทำไร่ไถนาก็ได้  หนี้ที่ผ่านมา NPL ซะ ตอนนี้องค์กร คนเลย Drain ออกเรื่อยๆ จะหาคนใหม่มาทำแทนก็ยากมากขึ้น ที่มีอยู่เดิมที่น่าสงสารมาก งาน load สาหัส บางแผนกบาง section ต้องยุบรวมมาอยู่หน่วยกลาง

ที่อื่นมีปัญหากันบ้างไหม  แก้ไขกันอย่างไร หรือมีความเห็นกันอย่างไรบ้าง
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่