เห็นเพื่อนๆ ส่วนใหญ่ในห้องนี้มักจะ"กลัว" หูกระจง กะ พญาสัตตบรรณ กันมาก
จริงๆ แล้ว 2 ต้นนี้ เป็นต้นไม้ฟอร์มสวย และนิยมใช้กันในวงการ Landscape
โดยส่วนตัวชอบหูกระจงมากครับ(เฉยๆ กับพญาสัตตบรรณ) จึงอยากแสดงความเห็นส่วนตัวเกี่ยวกับเรื่องรากลอย(ไม่รวมเรื่องกลิ่นและใบร่วง)
ตามที่เคยแสดงไว้ใน
http://ppantip.com/topic/32130428/comment4
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้อยากอธิบายให้ทราบ เกี่ยวกับไม้ยืนต้น ที่รากลอย แล้วไปทำลายโครงสร้าง ไม่ใช่หูกระจงทุกต้นจะเป็นเหมือนกันหมด
สาเหตุส่วนหนึ่งอาจเกิดจาก
1. ระดับน้ำไต้ดินสูง (สังเกตจาก ไม้ยืนต้นริมตลิ่ง จะมีรากลอยให้เห็นบ่อยๆ)
2. ออกซิเจน/ธาตุอาหารในดินน้อย
3. มีดินดานหรือดินบดอัดอยู่ชั้นล่าง (สังเกตตามลานจอดรถต่างๆ ข้างตึก หรือแม้กระทั่งบ้านเราเอง)
เมื่อต้นไม้พบปัญหาข้างต้น รากจึงไม่ยอมหยั่งลึก เลือกที่จะแผ่ออกข้างๆ จึงทำให้เห็นรากลอย หรือทำลายโครงสร้างอย่างที่เห็นกัน
แล้วกับต้นไทร จะอธิบายยังไง ....ผมเดาว่า ต้นไทรเป็นไม้ที่ต้องการอ๊อกซิเจนสูง สังเกตจากมักจะมีรากอากาศเยอะ รากจึงไม่เจริญในแนวดิ่วมากนัก เพราะยิ่งลึก ออกซิเจนยิ่งน้อย
เหล่านี้คือความเห็นส่วนตัว ที่ใช้หลักวิชาการมาอธิบายครับ
อย่าเหมาว่าต้นนั้นแย่ ต้นนี้ไม่ดี ไปเสียหมด
จึงอยากแชร์ความเห็น จากเพื่อนๆ ว่า ใครเห็นอย่างไรบ้าง คิดว่าสาเหตุมาจากอะไร เป็นการระดมความคิดครับ
ขอบคุณมากครับ
ความเห็นส่วนตัว เรื่องต้นไม้รากลอยและทำลายโครงสร้าง
จริงๆ แล้ว 2 ต้นนี้ เป็นต้นไม้ฟอร์มสวย และนิยมใช้กันในวงการ Landscape
โดยส่วนตัวชอบหูกระจงมากครับ(เฉยๆ กับพญาสัตตบรรณ) จึงอยากแสดงความเห็นส่วนตัวเกี่ยวกับเรื่องรากลอย(ไม่รวมเรื่องกลิ่นและใบร่วง)
ตามที่เคยแสดงไว้ใน http://ppantip.com/topic/32130428/comment4
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
จึงอยากแชร์ความเห็น จากเพื่อนๆ ว่า ใครเห็นอย่างไรบ้าง คิดว่าสาเหตุมาจากอะไร เป็นการระดมความคิดครับ
ขอบคุณมากครับ