จขกท ไปอ่านเจอมาในเฟสบุ๊คค่ะ
อาจจะยาวไปหน่อย แต่อ่านแล้วได้แง่คิดดีนะคะ คุณหมอเป็นคนเขียนค่ะ
เลี้ยงลูกอย่างไรให้ฉลาด เป็นม้าตีนปลาย
ถ้าลูกเรียนไม่เก่ง อ่านไม่ออก เมื่อชั้นอนุบาลหรือ ป 1 ท่านจะทำอย่างไร?
จาก คลีนิกหมอสังคม
หมอจะเล่าให้ฟังถึงประสบการณ์ของหมอและลูกหมอเองให้ฟัง เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และข้อคิดกับผู้อ่านทุกท่าน ถ้าเป็นกรณีลูกของคุณ คุณจะทำอย่างไร?
ลูกชายคนโต เรียนโรงเรียนอนุบาลแห่งหนึ่งที่เน้นการเลี้ยงดูเด็ก สอนเด็กให้ช่วยเหลือตัวเอง เข้าสังคมเล่นกับเพื่อน
ไม่เน้นการเรียนการสอนหนังสือให้อ่านออกเขียนได้หรือแม้กระทั่งการบวกเลข ไม่ว่าจะเป็นเลขหนึ่งหลักหรือสองหลักก็ทำไม่ได้ เพราะฉะนั้นเมื่อลูกหมอเริ่มเข้าโรงเรียนชั้นประถม 1 อ่านหนังสือเป็นคำไม่ได้เลย
อ่านวันที่ที่ครูจดบนกระดานไม่ได้ อ่านได้แต่ ก .. ไก่ ข.. ไข่ ค... ควาย หรือคำง่ายๆ เช่น กา ขา เป็นต้น ในขณะที่เด็กคนอื่นส่วนมากอ่านออกและบวกเลขได้แล้ว
ถ้าคุณเป็นตัวหมอ คุณคิดว่าคุณควรทำอย่างไร
1)จ้างครูมาสอนพิเศษตัวต่อตัว
หรือ 2)ส่งลูกไปเรียนพิเศษ และทำการบ้านเพิ่มเติม
หรือ 3) ติวและสอนหนังสือลูกด้วยตัวเองอย่างเข้มข้นเพื่อให้ลูกเรียนทันเพื่อน
ถ้าคุณตอบข้อ 1, 2 หรือ 3 ข้อใดข้อหนึ่งคุณคิด ........ผิดครับ
เพราะหมอแน่ใจในตัวลูกหมอว่าไม่โง่แน่นอน (ถ้าคุณผู้อ่านยังจำได้ คนเราจะฉลาดหรือไม่ขึ้นอยู่กับพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมครับ) หมอจึงปล่อยให้ลูกเรียนอย่างสบายตามปกติ ไม่มีการติวหรือเรียนพิเศษ
เพียงแต่ให้ทำการบ้านตามที่คุณครูสั่ง หมอมีหน้าที่ตรวจว่าลูกทำการบ้านครบและถูกต้องเพียงเท่านั้น
เสาร์อาทิตย์เป็นวันครอบครัว เป็นวันพักผ่อน พาไปเที่ยวเขาดินแทบทุกอาทิตย์ ไม่มีการส่งลูกไปเรียนพิเศษตั้งแต่เช้าจรดเย็นอย่างที่หลายคนทำกันอยู่
ถึงเวลาสอบเทอมแรกลูกหมอยังอ่านหนังสือไม่คล่อง เวลาสอบลูกเล่าว่าต้องให้คุณครูยืนอยู่ข้างๆ อ่านโจทย์ให้ฟังแล้วให้ลูกเลือกคำ ตอบเอง
ผลการสอบเทอมแรกลูกหมอได้ที่ 29 จาก 30 คน อ่านไม่ผิดหรอกครับ ได้ที่ 2 จากท้ายห้อง น่าตกใจไหมครับ?
ถึงตอนนี้ถ้าคุณเป็นตัวหมอ คุณจะทำอย่างไร?
1)จ้างครูมาสอนพิเศษตัวต่อตัว
หรือ 2) ส่งลูกไปเรียนพิเศษและทำการบ้านเพิ่มเติม
หรือ 3) สอนหนังสือลูกด้วยตัวเองอย่างเข้มข้นเพื่อให้ลูกสอบดีขึ้น
ถ้าคุณตอบข้อ 1 , 2 หรือ 3 ข้อใดข้อหนึ่ง คุณตอบ........ผิดครับ
ปิดเทอมหมอส่งลูกไปอยู่กับอาม่า (แม่ของหมอ) ที่กาญจนบุรี ไปใช้ชีวิตเรียนรู้ธรรมชาติต่างจังหวัด เปิดเทอมจึงไปรับกลับมาเรียนตามปกติ ไม่มีการสอนหรือเรียนพิเศษเพิ่มเติมเหมือนเทอมแรก
ผลการสอบเทอมปลาย ลูกหมอเริ่มอ่านหนังสือได้คล่อง สอบได้ที่ประมาณ 22 – 23 ของห้อง
ปิดเทอมใหญ่ก็ไปอยู่กับอาม่าที่ต่างจังหวัดเหมือนเคยจนเปิดเทอม
กลับมาเรียน ป.2 ลูกไปเรียนตามปกติ ทุกอย่างยังทำเหมือนเดิม หมอเพียงตรวจการบ้านว่าทำครบและถูกต้อง ผลการสอบปรากฏว่าลูกค่อยๆ ดีขึ้น
จนประมาณ ป . 3 ก็เริ่มเห็นว่าลูกทันเพื่อนในชั้นแล้ว แต่เกรดการสอบก็อยู่ในเกณฑ์เฉลี่ยปานกลางของห้อง
จะมาเริ่มเห็นว่าลูกเริ่มเก่งประมาณ ม. 1 พอถึง ม. 3 หมอก็แน่ใจว่าลูกเก่งพอสมควร สอบได้เกรด 3 กว่า
พอ ม. 4 – ม. 6 ผลการสอบก็ดีขึ้นตามลำดับ จนสามารถสอบเข้าเรียนแพทย์ได้
จากเด็กที่อ่านหนังสือไม่ออก สอบได้ที่ท้ายสุดของห้อง ปัจจุบันเรียนจบเป็นหมออายุรกรรมโรคหัวใจแล้วครับ
ลูกคนที่ 2 ก็เหมือนกัน ตอนเข้าเรียนชั้นประถม 1 อ่านไม่ออก เขียนเป็นคำไม่ได้ ปรากฏว่าโรงเรียนมีโครงการทดลองจับ เด็กเรียนอ่อนทั้งหมด 40 กว่าคนรวมอยู่ห้องเดียวกัน ให้ครูประจำชั้น 2 คนดูแล
สอนติวพิเศษตอนเย็นทุกวัน ครูสั่งการบ้านเยอะแยะไปหมด เช่นเลข 10 ข้อ แต่ละข้อจะมี 10 ข้อย่อย รวมเป็น 100 ข้อต่อครั้ง ตอนเย็นพ่อแม่ต้องมานั่งรอกันเต็มหน้าห้องทุกวัน หลายคนเป็นทุกข์กังวลใจมากและนั่งคุยปรับทุกข์กันเอง
ส่วนหมอนั้นชินเสียแล้ว เพราะประสบการณ์จากลูกคนแรกสอนว่าถ้าลูกเรานั้นใช้ได้ เริ่มต้นถึงจะช้ากว่า แต่ท้ายที่สุดก็จะสามารถทันเพื่อนได้โดยตัวเขาเอง
โดยไม่ต้องเร่งเรียนพิเศษ ผลการสอนปรากฏว่าเย็นวันหนึ่ง หมอไปถึงหน้าห้อง เห็นห้องปิดหมดทั้งประตูและหน้าต่าง ปิดไฟมืดและเงียบ พ่อแม่นั่งรอคอยกันเต็มหน้าห้องเหมือนทุกวัน
ถามได้ความว่าครูทนไม่ไหว ในความเป็นเด็กอ่อนของนักเรียนทั้งห้อง ซนมาก ไม่สนใจเรียน ไม่ยอมนั่งเรียน เดิน วิ่งไม่ฟังครู จนครูทนไม่ไหว ร้องไห้ ปิดประตูหน้าต่างรวมทั้งไฟและพัดลม ปล่อยให้เด็กนั่งนิ่งเงียบอยู่ในห้อง เป็นการทำโทษ
สักพักจึงปล่อยกลับบ้าน ทำเอาพ่อแม่ใจเสียกันแทบทุกคน ยกเว้นหมอคนเดียวที่มีประสบการณ์มาแล้ว จึงรู้สึกเฉยๆ
เพราะสังเกตเห็นและคิดว่าลูกเรานั้นใช้ได้ โตขึ้นก็จะเก่งและดีขึ้นได้โดยตัวเขาเองเหมือนพี่ของเขาเช่นเดียวกัน
ช่วงเสาร์อาทิตย์ก็เป็นวันครอบครัว พาลูกไปเที่ยวเล่นตามประสาเด็ก เที่ยวเขาดินเหมือนเดิม ปิดเทอมลูกคนเล็กก็ไปอยู่กับอาม่าพร้อมพี่ชาย
ผลการสอบของลูกคนเล็กเป็นไปตามคาด ปีแรกๆคล้ายพี่ชาย แต่ผลการเรียนก็ดีขึ้นตามลำดับ ถึง ม.3 ก็เห็นชัดว่าเขาเรียนใช้ได้ สอบเข้าเรียนได้คณะวิศวะจุฬาฯ จนจบทำงาน 3 ปี แล้วได้ทุนจากธนาคารแห่งหนึ่ง ไปเรียนจบปริญญาโทบริหารธุรกิจ ( MBA) ประเทศสหรัฐอมริกา และกลับมาทำงานที่ธนาคารแห่งนั้นอยู่ในขณะนี้
จากประสบการณ์ที่ได้จากลูกทั้ง2คนที่ผ่านมา หมอจึงไม่แน่ใจว่าการเรียนพิเศษ การติวนั้นจะช่วยให้ลูกเรียนเก่งขึ้น ฉลาดขึ้นในระยะยาวได้จริงอย่างที่หลายคนตั้งความหวังไว้หรือไม่?
จะเกิดอะไรขึ้นถ้าหมอส่งลูกไปเรียนพิเศษ ติวอย่างเข้มข้น ลูกจะเรียนเก่งสอบเอนทรานซ์ได้ดีกว่านี้หรือไม่?
แต่หมอแน่ใจอยู่เรื่องหนึ่งว่า การเคี่ยวเข็ญให้เด็กเรียนหนักทั้งที่เด็กไม่พร้อม ศักยภาพไม่เพียงพอ แทนที่จะช่วยส่งเสริมเด็ก หมอคิดว่ากลับจะทำให้เด็กเหนื่อยเกินไป รู้สึกล้าและเบื่อการเรียน จนโตขึ้นเป็นคนที่ไม่อยากเรียนรู้ ไม่สนใจเรียนเพิ่มเติม ไม่สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง เรียนได้แต่ในห้อง ค้นคว้าเรียนเองไม่ได้ คิดเองไม่เป็นและทำงานไม่เป็น
การยัดเยียดให้เด็กเรียนจนเต็มสมอง จนสมองไม่มีที่ว่างพอที่จะเติมหรือใส่อะไรลงไปได้อีกเมื่อโตขึ้นไม่น่าจะเป็นผลดีต่อตัวเด็ก
ถ้าเปรียบเหมือนม้าแข่ง การเฆี่ยนม้าให้วิ่งเต็มที่อยู่ตลอดเวลา โดยที่โค้ชไม่รู้จัก ไม่เข้าใจสภาพและศักยภาพของม้า ไม่มีผ่อนหนัก ผ่อนเบา จนม้าหมดแรง หมดสภาพ
ก็มีแต่จะพ่ายแพ้ เหมือนม้าตีนต้น สู้รู้จักผ่อนหนัก ผ่อนเบา ถนอมม้า แล้วเร่งเมื่อถึงเวลา ก็จะ
เข้าสู่เส้นชัย
เปรียบเหมือนม้าตีนปลายน่าจะได้ผลดีกว่า
ขอให้มีความสุข และสนุกกับการเลี้ยงลูกนะครับ
Credit คลีนิกหมอสังคม
ที่มา
https://www.facebook.com/322023247856832/photos/a.322407071151783.75659.322023247856832/582826391776515/?type=1&theater
เลี้ยงลูกอย่างไรให้ฉลาด เป็นม้าตีนปลาย ถ้าลูกเรียนไม่เก่ง อ่านไม่ออก เมื่อชั้นอนุบาลหรือ ป 1 ท่านจะทำอย่างไร?
อาจจะยาวไปหน่อย แต่อ่านแล้วได้แง่คิดดีนะคะ คุณหมอเป็นคนเขียนค่ะ
เลี้ยงลูกอย่างไรให้ฉลาด เป็นม้าตีนปลาย
ถ้าลูกเรียนไม่เก่ง อ่านไม่ออก เมื่อชั้นอนุบาลหรือ ป 1 ท่านจะทำอย่างไร?
จาก คลีนิกหมอสังคม
หมอจะเล่าให้ฟังถึงประสบการณ์ของหมอและลูกหมอเองให้ฟัง เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และข้อคิดกับผู้อ่านทุกท่าน ถ้าเป็นกรณีลูกของคุณ คุณจะทำอย่างไร?
ลูกชายคนโต เรียนโรงเรียนอนุบาลแห่งหนึ่งที่เน้นการเลี้ยงดูเด็ก สอนเด็กให้ช่วยเหลือตัวเอง เข้าสังคมเล่นกับเพื่อน
ไม่เน้นการเรียนการสอนหนังสือให้อ่านออกเขียนได้หรือแม้กระทั่งการบวกเลข ไม่ว่าจะเป็นเลขหนึ่งหลักหรือสองหลักก็ทำไม่ได้ เพราะฉะนั้นเมื่อลูกหมอเริ่มเข้าโรงเรียนชั้นประถม 1 อ่านหนังสือเป็นคำไม่ได้เลย
อ่านวันที่ที่ครูจดบนกระดานไม่ได้ อ่านได้แต่ ก .. ไก่ ข.. ไข่ ค... ควาย หรือคำง่ายๆ เช่น กา ขา เป็นต้น ในขณะที่เด็กคนอื่นส่วนมากอ่านออกและบวกเลขได้แล้ว
ถ้าคุณเป็นตัวหมอ คุณคิดว่าคุณควรทำอย่างไร
1)จ้างครูมาสอนพิเศษตัวต่อตัว
หรือ 2)ส่งลูกไปเรียนพิเศษ และทำการบ้านเพิ่มเติม
หรือ 3) ติวและสอนหนังสือลูกด้วยตัวเองอย่างเข้มข้นเพื่อให้ลูกเรียนทันเพื่อน
ถ้าคุณตอบข้อ 1, 2 หรือ 3 ข้อใดข้อหนึ่งคุณคิด ........ผิดครับ
เพราะหมอแน่ใจในตัวลูกหมอว่าไม่โง่แน่นอน (ถ้าคุณผู้อ่านยังจำได้ คนเราจะฉลาดหรือไม่ขึ้นอยู่กับพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมครับ) หมอจึงปล่อยให้ลูกเรียนอย่างสบายตามปกติ ไม่มีการติวหรือเรียนพิเศษ
เพียงแต่ให้ทำการบ้านตามที่คุณครูสั่ง หมอมีหน้าที่ตรวจว่าลูกทำการบ้านครบและถูกต้องเพียงเท่านั้น
เสาร์อาทิตย์เป็นวันครอบครัว เป็นวันพักผ่อน พาไปเที่ยวเขาดินแทบทุกอาทิตย์ ไม่มีการส่งลูกไปเรียนพิเศษตั้งแต่เช้าจรดเย็นอย่างที่หลายคนทำกันอยู่
ถึงเวลาสอบเทอมแรกลูกหมอยังอ่านหนังสือไม่คล่อง เวลาสอบลูกเล่าว่าต้องให้คุณครูยืนอยู่ข้างๆ อ่านโจทย์ให้ฟังแล้วให้ลูกเลือกคำ ตอบเอง
ผลการสอบเทอมแรกลูกหมอได้ที่ 29 จาก 30 คน อ่านไม่ผิดหรอกครับ ได้ที่ 2 จากท้ายห้อง น่าตกใจไหมครับ?
ถึงตอนนี้ถ้าคุณเป็นตัวหมอ คุณจะทำอย่างไร?
1)จ้างครูมาสอนพิเศษตัวต่อตัว
หรือ 2) ส่งลูกไปเรียนพิเศษและทำการบ้านเพิ่มเติม
หรือ 3) สอนหนังสือลูกด้วยตัวเองอย่างเข้มข้นเพื่อให้ลูกสอบดีขึ้น
ถ้าคุณตอบข้อ 1 , 2 หรือ 3 ข้อใดข้อหนึ่ง คุณตอบ........ผิดครับ
ปิดเทอมหมอส่งลูกไปอยู่กับอาม่า (แม่ของหมอ) ที่กาญจนบุรี ไปใช้ชีวิตเรียนรู้ธรรมชาติต่างจังหวัด เปิดเทอมจึงไปรับกลับมาเรียนตามปกติ ไม่มีการสอนหรือเรียนพิเศษเพิ่มเติมเหมือนเทอมแรก
ผลการสอบเทอมปลาย ลูกหมอเริ่มอ่านหนังสือได้คล่อง สอบได้ที่ประมาณ 22 – 23 ของห้อง
ปิดเทอมใหญ่ก็ไปอยู่กับอาม่าที่ต่างจังหวัดเหมือนเคยจนเปิดเทอม
กลับมาเรียน ป.2 ลูกไปเรียนตามปกติ ทุกอย่างยังทำเหมือนเดิม หมอเพียงตรวจการบ้านว่าทำครบและถูกต้อง ผลการสอบปรากฏว่าลูกค่อยๆ ดีขึ้น
จนประมาณ ป . 3 ก็เริ่มเห็นว่าลูกทันเพื่อนในชั้นแล้ว แต่เกรดการสอบก็อยู่ในเกณฑ์เฉลี่ยปานกลางของห้อง
จะมาเริ่มเห็นว่าลูกเริ่มเก่งประมาณ ม. 1 พอถึง ม. 3 หมอก็แน่ใจว่าลูกเก่งพอสมควร สอบได้เกรด 3 กว่า
พอ ม. 4 – ม. 6 ผลการสอบก็ดีขึ้นตามลำดับ จนสามารถสอบเข้าเรียนแพทย์ได้
จากเด็กที่อ่านหนังสือไม่ออก สอบได้ที่ท้ายสุดของห้อง ปัจจุบันเรียนจบเป็นหมออายุรกรรมโรคหัวใจแล้วครับ
ลูกคนที่ 2 ก็เหมือนกัน ตอนเข้าเรียนชั้นประถม 1 อ่านไม่ออก เขียนเป็นคำไม่ได้ ปรากฏว่าโรงเรียนมีโครงการทดลองจับ เด็กเรียนอ่อนทั้งหมด 40 กว่าคนรวมอยู่ห้องเดียวกัน ให้ครูประจำชั้น 2 คนดูแล
สอนติวพิเศษตอนเย็นทุกวัน ครูสั่งการบ้านเยอะแยะไปหมด เช่นเลข 10 ข้อ แต่ละข้อจะมี 10 ข้อย่อย รวมเป็น 100 ข้อต่อครั้ง ตอนเย็นพ่อแม่ต้องมานั่งรอกันเต็มหน้าห้องทุกวัน หลายคนเป็นทุกข์กังวลใจมากและนั่งคุยปรับทุกข์กันเอง
ส่วนหมอนั้นชินเสียแล้ว เพราะประสบการณ์จากลูกคนแรกสอนว่าถ้าลูกเรานั้นใช้ได้ เริ่มต้นถึงจะช้ากว่า แต่ท้ายที่สุดก็จะสามารถทันเพื่อนได้โดยตัวเขาเอง
โดยไม่ต้องเร่งเรียนพิเศษ ผลการสอนปรากฏว่าเย็นวันหนึ่ง หมอไปถึงหน้าห้อง เห็นห้องปิดหมดทั้งประตูและหน้าต่าง ปิดไฟมืดและเงียบ พ่อแม่นั่งรอคอยกันเต็มหน้าห้องเหมือนทุกวัน
ถามได้ความว่าครูทนไม่ไหว ในความเป็นเด็กอ่อนของนักเรียนทั้งห้อง ซนมาก ไม่สนใจเรียน ไม่ยอมนั่งเรียน เดิน วิ่งไม่ฟังครู จนครูทนไม่ไหว ร้องไห้ ปิดประตูหน้าต่างรวมทั้งไฟและพัดลม ปล่อยให้เด็กนั่งนิ่งเงียบอยู่ในห้อง เป็นการทำโทษ
สักพักจึงปล่อยกลับบ้าน ทำเอาพ่อแม่ใจเสียกันแทบทุกคน ยกเว้นหมอคนเดียวที่มีประสบการณ์มาแล้ว จึงรู้สึกเฉยๆ
เพราะสังเกตเห็นและคิดว่าลูกเรานั้นใช้ได้ โตขึ้นก็จะเก่งและดีขึ้นได้โดยตัวเขาเองเหมือนพี่ของเขาเช่นเดียวกัน
ช่วงเสาร์อาทิตย์ก็เป็นวันครอบครัว พาลูกไปเที่ยวเล่นตามประสาเด็ก เที่ยวเขาดินเหมือนเดิม ปิดเทอมลูกคนเล็กก็ไปอยู่กับอาม่าพร้อมพี่ชาย
ผลการสอบของลูกคนเล็กเป็นไปตามคาด ปีแรกๆคล้ายพี่ชาย แต่ผลการเรียนก็ดีขึ้นตามลำดับ ถึง ม.3 ก็เห็นชัดว่าเขาเรียนใช้ได้ สอบเข้าเรียนได้คณะวิศวะจุฬาฯ จนจบทำงาน 3 ปี แล้วได้ทุนจากธนาคารแห่งหนึ่ง ไปเรียนจบปริญญาโทบริหารธุรกิจ ( MBA) ประเทศสหรัฐอมริกา และกลับมาทำงานที่ธนาคารแห่งนั้นอยู่ในขณะนี้
จากประสบการณ์ที่ได้จากลูกทั้ง2คนที่ผ่านมา หมอจึงไม่แน่ใจว่าการเรียนพิเศษ การติวนั้นจะช่วยให้ลูกเรียนเก่งขึ้น ฉลาดขึ้นในระยะยาวได้จริงอย่างที่หลายคนตั้งความหวังไว้หรือไม่?
จะเกิดอะไรขึ้นถ้าหมอส่งลูกไปเรียนพิเศษ ติวอย่างเข้มข้น ลูกจะเรียนเก่งสอบเอนทรานซ์ได้ดีกว่านี้หรือไม่?
แต่หมอแน่ใจอยู่เรื่องหนึ่งว่า การเคี่ยวเข็ญให้เด็กเรียนหนักทั้งที่เด็กไม่พร้อม ศักยภาพไม่เพียงพอ แทนที่จะช่วยส่งเสริมเด็ก หมอคิดว่ากลับจะทำให้เด็กเหนื่อยเกินไป รู้สึกล้าและเบื่อการเรียน จนโตขึ้นเป็นคนที่ไม่อยากเรียนรู้ ไม่สนใจเรียนเพิ่มเติม ไม่สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง เรียนได้แต่ในห้อง ค้นคว้าเรียนเองไม่ได้ คิดเองไม่เป็นและทำงานไม่เป็น
การยัดเยียดให้เด็กเรียนจนเต็มสมอง จนสมองไม่มีที่ว่างพอที่จะเติมหรือใส่อะไรลงไปได้อีกเมื่อโตขึ้นไม่น่าจะเป็นผลดีต่อตัวเด็ก
ถ้าเปรียบเหมือนม้าแข่ง การเฆี่ยนม้าให้วิ่งเต็มที่อยู่ตลอดเวลา โดยที่โค้ชไม่รู้จัก ไม่เข้าใจสภาพและศักยภาพของม้า ไม่มีผ่อนหนัก ผ่อนเบา จนม้าหมดแรง หมดสภาพ
ก็มีแต่จะพ่ายแพ้ เหมือนม้าตีนต้น สู้รู้จักผ่อนหนัก ผ่อนเบา ถนอมม้า แล้วเร่งเมื่อถึงเวลา ก็จะ
เข้าสู่เส้นชัย
เปรียบเหมือนม้าตีนปลายน่าจะได้ผลดีกว่า
ขอให้มีความสุข และสนุกกับการเลี้ยงลูกนะครับ
Credit คลีนิกหมอสังคม
ที่มา https://www.facebook.com/322023247856832/photos/a.322407071151783.75659.322023247856832/582826391776515/?type=1&theater