๙ แล้ว ๖ ๖ แล้ว ๙ ขอแตกประเด็นมาตอบ ตามที่เพื่อนสมาชิกได้ถามไว้

ในความคิดเห็นที่ ๑๕ ของกระทู้นี้ครับ

http://ppantip.com/topic/32115880



ความคิดเห็นที่ 15
.............................................................
คือผม แสกน หุ้นจาก set.or.th คร่าวๆ ทุกตัว ที่ไม่ใช่พวกหุ้นไม่มีอนาคต หุ้นปั่นแปะๆจิงๆ หุ้น ipo นะครับ เท่าที่ดู (ผมยังไม่เก่ง แสกนผ่านๆ)
เปิดดูกราฟด้วย ดูผลประกอบการจาก set.or.th

ที่ปันผลเกิน 5เปอร์ ราคาส่วนใหญ๋สูงปรี๊ดๆเลยครับ


ไม่กล้าเข้าตอนนี้ กลัวทุนสูง ถ้าๆๆๆๆ ตลาดมัน crash

เฮียซื้อหุ้นมาตั้งแต่แรกๆ ทุนต่ำมาก มากลับลำกลางทาง อาจจะได้เปรียบกว่า ทำได้ง่ายกว่า? ความกดดันน้อยกว่า? บวกประสบการณ์อีก


รึอย่างไรครับ



ถ้าไม่รบกวนเกินไป รบกวนอธิบาย เรื่องการหาแต้มต่อเรื่องปันผลอีกได้ป่ะครับ ยังไม่ค่อยเกต


ขอบพระคุณครับ
ปล ตอนนี้พอร์ตผมว่าง(ว่างมานานมากๆแล้ว)
แก้ไขข้อความเมื่อ 14 ชั่วโมงที่แล้ว
ตอบกลับ
0 1   
manorch  
14 ชั่วโมงที่แล้ว


+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ๅๅๅ


ขอแยกตอบ  ตามที่ผมทำเป็นตัวอักษรหนา  อยู่ตรงกลางข้างบนดังนี้


ที่ปันผลเกิน 5เปอร์ ราคาส่วนใหญ๋สูงปรี๊ดๆเลยครับ


ตอบ   ให้ลองค้นข้อมูลย้อนหลังดูว่า  ยีลด์ ณ .ราคาหุ้นที่ซื้อ ลดลงหรือไม่
๑ ถ้าไม่ลดลง แสดงว่า บริษัทจ่ายปันผลต่อหุ้น เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทันกับราคาหุ้นที่เพิ่มขึ้น
๒ ถ้ายีลด์ลดลง  แสดงว่า  บริษัทจ่ายปันผลต่อหุ้นเท่าเดิมหรือใกล้เคียง  แต่ราคาหุ้นเพิ่มขึ้น ยีลด์เลยลดลง

ถ้าเป็นแบบที่หนึ่ง  ถือว่าราคาหุ้น มีแต้มต่อด้านยีลด์ ดีกว่าแบบที่สองครับ
ถ้าเราตั้งเป้าหมายไว้แค่ว่า เงินปันผลจะให้ยีลด์ดีกว่าฝากธนาคาร  ก็ถือว่ามีแต้มต่อ
ถ้าเราตั้งเป้าหมายไว้ว่า   ยีลด์ต้องถึง สิบเปอร์เซนต์ จากราคาหุ้นที่เข้าซื้อ  ก็ถือว่าไม่มีแต้มต่อ

ไปๆมาๆ  ทุกคนต้องตั้งเป้าแต้มต่อกันเอาเอง ??????


เฮียซื้อหุ้นมาตั้งแต่แรกๆ ทุนต่ำมาก มากลับลำกลางทาง อาจจะได้เปรียบกว่า ทำได้ง่ายกว่า? ความกดดันน้อยกว่า? บวกประสบการณ์อีก



ตอบ ถูกต้องแล้วครับ  มันเป็นสิ่งที่ผมกำหนดให้ตัวเองว่า  อะไรที่เชื่อว่าเราไม่มีแต้มต่อจะไม่เข้าไปยุ่งกับมันไงครับ
พอเข้าไปยุ่งตอนที่เชื่อว่ามีแต้มต่อ  ก็จะได้ประมาณว่า
ราคาหุ้นที่เข้าซื้อ จะมี  พีอีต่ำ พีบีวีต่ำ ดีอีต่ำ  ยีลด์ ณ .ราคาที่ซื้อดีกว่าฝากธนาคารมากกว่า ๒ เท่า

ราคาหุ้นที่ได้แบบนั้น ย่อมทนแรงเสียดทานการกระทำของคนในตลาดหุ้นที่มีต่อราคาหุ้น
ได้ดีกว่าราคาหุ้นที่เข้าซื้อ ตอนที่อำนาจซื้อของเงินในมือเรา มีน้อยลง   

อย่าลืมว่า   จำนวนเงินมันตายตัว  แต่อำนาจซื้อของเงินมันไม่มีตายตัว   ขึ้นอยู่กับราคาหุ้นที่เราเข้าไปซื้อ
จำนวนเงินหนึ่งล้าน มันก็คือเงินหนึ่งล้าน แต่เงินหนึ่งล้านเอาไปซื้อหุ้นที่ราคาหนึ่งบาทกับที่ราคาสิบบาท
อำนาจซื้อของเงินมันต่างกว่ากันตั้งสิบเท่า








ถ้าไม่รบกวนเกินไป รบกวนอธิบาย เรื่องการหาแต้มต่อเรื่องปันผลอีกได้ป่ะครับ ยังไม่ค่อยเกต



ตอบ   ให้กลับไปดูภาพประกอบในกระทู้ที่แล้วครับ

สิ่งที่เหมือนกันหรือใกล้เคียงกันคือ  จำนวนเงินที่ได้จากการชายหุ้นตัวเก่า  แล้วเอาไปซื้อหุ้นตัวใหม่
จำนวนเงินที่ใช้ซื้อขายใกล้เคียงกัน
แต่ราคาหุ้นที่เท่ากันหรือแตกต่างกัน  หรือ  เงินปันผลต่อหุ้นที่เท่ากันหรือแตกต่างกัน
จะทำให้ยีลด์ที่ได้แตกต่างกันไป

ลองดูตามภาพประกอบข้างใต้   
เหตุผลในการแลกหุ้นไปตามแต้มต่อด้านยีลด์  
บางทีเราก็คำนวณผิด  แต่ผลที่ได้กลับถูกก็มี


อย่างเช่น  ๑ pr แลก ๓ pb   ตอนนั้นผมคงจำผิดว่า  pr  จ่ายปันผลแค่ปีละครั้ง
ก็เลยกลายเป็นคิดว่า ๑ หุ้นพีอาร์  ได้รับเงินปันผลน้อยกว่า ๓ หุ้นพีบีรวมกัน

อมยิ้ม16อมยิ้ม16อมยิ้ม16อมยิ้ม16อมยิ้ม16



+


จำนวนเงินเท่าๆกัน ที่ขาย sam สองหุ้น ไปซื้อ pap หนึ่งหุ้น
เป็นการขายหุ้นที่ไม่มียีลด์ตอบแทนจากเงินปันผล  ไปถือหุ้นที่มียีลด์ตอบแทนดีกว่าฝากธนาคาร

ทำไมคิดว่า ตัวนี้จะมีปันผล ตัวนั้นจะไม่มีปันผล ?  
ผมก็จะดูย้อนหลังเอาจากผลประกอบการ และกำไรสะสม  ซึ่งมันเป็นที่มาของเงินปันผล
เพราะเงินปันผล ไม่สามารถจ่ายจากบริษัทที่มีผลประกอบขาดทุนสะสม  
บางบริษัทที่ขาดทุนรายปี แต่จ่ายปันผลได้  ก็เพราะว่ามีกำไรสะสมเหลืออยู่






จ่ายปันผลเท่ากัน  แต่ราคาหุ้นต่างกันเกือบครึ่ง

ขาย tndt  ที่จ่ายปันผลต่อหุ้น ยี่สิบสตางค์ หนึ่งหุ้น   
ไปซื้อ maco ที่จ่ายปันผลต่อหุ้นเท่ากัน  แต่มีราคาหุ้นต่างกัน  ได้สองหุ้น
ทำให้จำนวนเงินเท่าๆกัน     จะได้ปันผลจากมาร์โก้กลายเป็น สี่สิบสตางค์   





ที่เอามาให้ดูข้างต้น
แค่ยกเป็นตัวอย่าง  แต้มต่อของตัวผมเองนะครับ
ไม่ได้หมายความว่า  คนอื่นทำตามแล้วจะได้ผลแน่นอน
อาจจะไม่ได้ผลเลยก็ได้  เพราะความสามารถตามปัจจัยพื้นฐานสะสมขอแต่ละคนมีไม่เท่ากัน

ผมสรุปด้วยคำถามนี้เหมือนเดิม


อะไรคือความสามารถที่คุณทำได้ดีที่สุด และเอามาใช้ประโยชน์ในการลงทุนหรือการเก็งกำไรได้ ?




แก้ไขข้อความเมื่อ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่