ตั้งชื่อให้ดูแปลกๆน่าสนใจ
ความจริงจะโพสต์เกี่ยวกับเรื่องเงินปันผล
ที่เจ้ามือตัวจริง หรือคนที่นั่งทำงานอยู่ในบริษัทจดทะเบียนที่เราถือหุ้นอยู่จ่ายให้
เกี่ยวกับการซื้อหุ้นเพื่อกินเงินปันผล
สำหรับผมจะคิดไปถึงปัจจัยเหล่านี้
๑ ราคาหุ้นที่เราเข้าซื้อ ได้ยีลด์ปันผลเท่าไร
เช่นปันผล ๑ บาท เข้าซื้อที่ราคาหุ้น ๑๐ บาท จะได้ยีลด์ปันผลสิบเปอร์เซนต์
ถ้าปันผล ๑ บาท เข้าซื้อตอนราคาหุ้น ๒๐ บาท ก็เหลือยีลด์ปันผลแค่ห้าเปอร์เซนต์
ยีลด์ปันผลที่ได้ จะบอกเราว่า
เราจะได้เงินต้นคืนภายในกี่ปี
ในกรณีที่บริษัทจ่ายเงินปันผลได้เท่าเดิม
ในพอร์ตของผม ตัวที่ได้เงินต้นคืนจากปันผลเร็วที่สุด
คือตัวที่ซื้อตอนยีลด์ ๑๘ ช่วงซับไพร์ม (MCS เข้าไปซื้อที่ราคาแถวๆ ๑.๘๐บาท และได้ขายทิ้งไปซื้อตัวอื่นแทน)
๒ จำนวนหุ้นที่จะได้จากราคาหุ้นที่เข้าซื้อด้วยจำนวนเงินเท่าๆกัน
เช่น ปันผล ๑ บาท ใช้เงิน ๑ ล้านบาท ซื้อหุ้นที่ราคา ๑๐ บาท ได้หุ้นจำนวน หนึ่งแสนหุ้น ได้เงินปันผล ๑ แสนบาท
ถ้าใช้เงิน ๑ ล้านบาท ซื้อที่ราคา ๒๐ บาท ได้หุ้นเหลือแค่ ๕ หมื่นหุ้น ได้เงินปันผลเหลือแค่ ๕ หมื่นบาท
๓ ดูความต่อเนื่องของเงินปันผลจ่ายย้อนหลังไปซักสามปีขึ้นไป
ยิ่งต่อเนื่องยาวนานมากเท่าไร ก็ยิ่งดีกว่าตัวที่จ่ายวูบวาบ ผลุบๆโผล๋ๆ เดี๋ยวมากเดี๋ยวน้อย
๔ ดูความต่อเนื่องของผลกำไรบริษัท
จ่ายปันผลมาก แต่กำไรเท่าเดิมหรือลดลง
จะสู้บริษัทที่จ่ายปันผลต่อหุ้นเท่ากัน แต่กำไรโตต่อเนื่องไม่ได้
๕ คุณภาพของเงินปันผลที่จ่ายเท่าๆกัน
เทียบเป็นกี่เปอร์เซนต์ของกำไรสุทธิประจำปี
และจ่ายจากกำไรประจำปีหรือจ่ายจากกำไรสะสม
ถ้าจ่ายจากกำไรประจำปีเกือบทั้งหมด จะสู้บริษัทที่จ่ายจากแค่ ห้าสิบเปอร์เซนต์ไม่ได้
ตอนนี้ตัวอย่างเห็นๆคือ กลุ่มสื่อสารบางตัว ซึ่งจ่ายปันผลจากกำไรประจำปีเกือบหมด
ส่วนจ่ายจากกำไรสุทธิประจำปี จะดีกว่าจ่ายจากกำไรสะสมของบริษัทหรือไม่
ช่วงนี้ ต้องดูผลประกอบการประจำปีประกอบด้วย
เพราะบางบริษัทมีกำไรสุทธิ แต่เลือกจะจ่ายจากกำไรสะสม
เพราะมีผลประโยชน์จากการคำนวณเครดิตภาษี
แต่ถ้าจ่ายจากกำไรสะสม เพราะผลประกอบการปีปัจจุบันขาดทุน
จะถือเป็นเงินปันผลที่คุณภาพไม่ค่อยดี
๖ ยีลด์ปันผลจากสภาพคล่องของหุ้น
ยีลด์ปันผลที่ได้จากหุ้นที่ไม่มีสภาพคล่อง ต้องสูงกว่ายีลด์ปันผลที่ได้จากหุ้นที่มีสภาพคล่อง
อย่างน้อยสองเท่าขึ้นไป
สรุปสั้นๆคือ
ราคาหุ้นที่เราเข้าซื้อ
จะมีแต้มต่อมากๆหรือไม่ เมื่อเทียบกับปัจจัยดังกล่าวข้างต้น
๙ แล้ว ๖ ๖ แล้ว ๙ เรื่องของเงินจริง ที่เจ้ามือตัวจริงจ่ายให้กับผู้ร่วมวง
ความจริงจะโพสต์เกี่ยวกับเรื่องเงินปันผล
ที่เจ้ามือตัวจริง หรือคนที่นั่งทำงานอยู่ในบริษัทจดทะเบียนที่เราถือหุ้นอยู่จ่ายให้
เกี่ยวกับการซื้อหุ้นเพื่อกินเงินปันผล
สำหรับผมจะคิดไปถึงปัจจัยเหล่านี้
เช่นปันผล ๑ บาท เข้าซื้อที่ราคาหุ้น ๑๐ บาท จะได้ยีลด์ปันผลสิบเปอร์เซนต์
ถ้าปันผล ๑ บาท เข้าซื้อตอนราคาหุ้น ๒๐ บาท ก็เหลือยีลด์ปันผลแค่ห้าเปอร์เซนต์
ยีลด์ปันผลที่ได้ จะบอกเราว่า
เราจะได้เงินต้นคืนภายในกี่ปี
ในกรณีที่บริษัทจ่ายเงินปันผลได้เท่าเดิม
ในพอร์ตของผม ตัวที่ได้เงินต้นคืนจากปันผลเร็วที่สุด
คือตัวที่ซื้อตอนยีลด์ ๑๘ ช่วงซับไพร์ม (MCS เข้าไปซื้อที่ราคาแถวๆ ๑.๘๐บาท และได้ขายทิ้งไปซื้อตัวอื่นแทน)
เช่น ปันผล ๑ บาท ใช้เงิน ๑ ล้านบาท ซื้อหุ้นที่ราคา ๑๐ บาท ได้หุ้นจำนวน หนึ่งแสนหุ้น ได้เงินปันผล ๑ แสนบาท
ถ้าใช้เงิน ๑ ล้านบาท ซื้อที่ราคา ๒๐ บาท ได้หุ้นเหลือแค่ ๕ หมื่นหุ้น ได้เงินปันผลเหลือแค่ ๕ หมื่นบาท
ยิ่งต่อเนื่องยาวนานมากเท่าไร ก็ยิ่งดีกว่าตัวที่จ่ายวูบวาบ ผลุบๆโผล๋ๆ เดี๋ยวมากเดี๋ยวน้อย
จ่ายปันผลมาก แต่กำไรเท่าเดิมหรือลดลง
จะสู้บริษัทที่จ่ายปันผลต่อหุ้นเท่ากัน แต่กำไรโตต่อเนื่องไม่ได้
เทียบเป็นกี่เปอร์เซนต์ของกำไรสุทธิประจำปี
และจ่ายจากกำไรประจำปีหรือจ่ายจากกำไรสะสม
ถ้าจ่ายจากกำไรประจำปีเกือบทั้งหมด จะสู้บริษัทที่จ่ายจากแค่ ห้าสิบเปอร์เซนต์ไม่ได้
ตอนนี้ตัวอย่างเห็นๆคือ กลุ่มสื่อสารบางตัว ซึ่งจ่ายปันผลจากกำไรประจำปีเกือบหมด
ส่วนจ่ายจากกำไรสุทธิประจำปี จะดีกว่าจ่ายจากกำไรสะสมของบริษัทหรือไม่
ช่วงนี้ ต้องดูผลประกอบการประจำปีประกอบด้วย
เพราะบางบริษัทมีกำไรสุทธิ แต่เลือกจะจ่ายจากกำไรสะสม
เพราะมีผลประโยชน์จากการคำนวณเครดิตภาษี
แต่ถ้าจ่ายจากกำไรสะสม เพราะผลประกอบการปีปัจจุบันขาดทุน
จะถือเป็นเงินปันผลที่คุณภาพไม่ค่อยดี
ยีลด์ปันผลที่ได้จากหุ้นที่ไม่มีสภาพคล่อง ต้องสูงกว่ายีลด์ปันผลที่ได้จากหุ้นที่มีสภาพคล่อง
อย่างน้อยสองเท่าขึ้นไป
สรุปสั้นๆคือ
ราคาหุ้นที่เราเข้าซื้อ
จะมีแต้มต่อมากๆหรือไม่ เมื่อเทียบกับปัจจัยดังกล่าวข้างต้น