(บางส่วน)
[๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ
ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจรรย์
ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ
ภิกษุผู้เถระเป็นผู้พูดหลอกลวง ๑
เป็นผู้พูดหวังลาภ ๑
เป็นผู้พูดเลียบเคียงหาลาภ ๑
เป็นผู้พูดคาดคั้นให้บริจาค ๑
เป็นผู้แสวงหาลาภด้วยลาภ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล
ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจ ไม่เป็นที่เคารพและไม่เป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจรรย์ ฯ
------------------------
กุหกสูตร
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ บรรทัดที่ ๒๕๔๓ - ๒๕๕๘. หน้าที่ ๑๑๐ - ๑๑๑.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=22&A=2543&Z=2558&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=83
**************************************************************
(บางส่วน)
[๘๗๘]
การหลอกลวง เป็นไฉน
การหลอกลวงเกี่ยวด้วยการเสพปัจจัย การหลอกลวงด้วยการพูดเลียบเคียง หรือการดำรงอิริยาบถ กิริยาที่ดำรงอิริยาบถ
ความดำรงอิริยาบถด้วยดี ความสยิ้วหน้า สภาพที่สยิ้วหน้า การหลอกลวง กิริยาที่หลอกลวง สภาพที่หลอกลวง
ของภิกษุผู้มุ่งลาภสักการะและชื่อเสียง ผู้มีความปรารถนาลามก ถูกความอยากครอบงำ นี้เรียกว่า การหลอกลวง
[๘๗๙]
การพูดประจบ เป็นไฉน
การทักทายคนอื่น การแนะนำตัวเอง การพูดปลอบโยน การพูดยกย่อง การพูดเยินยอ การพูดอ้อมค้อม การพูดชมเชย
การพูดสรรเสริญ การพูดสรรเสริญบ่อยๆ การพูดเอาใจให้คนรัก การพูดยกย่องเพื่อต้องการให้เขารัก
การพูดทีจริงทีเล่นเสมอด้วยแกงถั่ว การเป็นผู้รับเลี้ยงเด็ก
ของภิกษุผู้มุ่งลาภสักการะและชื่อเสียง ผู้มีความปรารถนาลามก ถูกความอยากครอบงำอันใด
นี้เรียกว่า การพูดประจบ
[๘๘๐]
การแสดงนิมิต เป็นไฉน
การทำนิมิต ความฉลาดในการทำนิมิต การพูดเกี่ยวด้วยปัจจัย การพูดเป็นเลศนัย
การกระซิบใกล้ๆ การพูดเลียบเคียงแก่ชนเหล่าอื่น อันใด
ของภิกษุผู้มุ่งลาภสักการะและชื่อเสียง ผู้มีความปรารถนาลามก ถูกความอยากครอบงำ
นี้เรียกว่า การแสดงนิมิต
[๘๘๑]
การพูดติเตียน เป็นไฉน
การด่า การพูดข่ม การนินทา การพูดตำหนิโทษ การกล่าวโทษ การพูดติเตียน การพูดเหยียดหยาม
การพูดให้เสียชื่อเสียง การพูดให้เสียชื่อเสียงอย่างร้ายแรง การนำเรื่องไปเที่ยวติเตียน
การพูดไพเราะต่อหน้านินทาลับหลังแก่ชนเหล่าอื่น อันใด
ของภิกษุผู้มุ่งลาภสักการะและชื่อเสียง ผู้มีความปรารถนาลามก ถูกความอยากครอบงำ นี้เรียกว่า การพูดติเตียน
[๘๘๒]
การแลกเปลี่ยนลาภด้วยลาภ เป็นไฉน
ภิกษุผู้มุ่งลาภสักการะและชื่อเสียง
ผู้มีความปรารถนาลามก ถูกความอยากครอบงำ
นำอามิสที่ได้จากข้างนี้ไปให้ข้างโน้น นำอามิสที่ได้จากข้างโน้นมาให้ข้างนี้ การปรารถนา การเสาะหา การแสวงหา
กิริยาที่เที่ยวหา กิริยาที่แสวงหา ซึ่งอามิสด้วยอามิส อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า การแลกเปลี่ยนลาภด้วยลาภ
Ref.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_item.php?book=35&item=868
ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมไม่เป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจรรย์
[๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ
ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจรรย์
ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ
ภิกษุผู้เถระเป็นผู้พูดหลอกลวง ๑
เป็นผู้พูดหวังลาภ ๑
เป็นผู้พูดเลียบเคียงหาลาภ ๑
เป็นผู้พูดคาดคั้นให้บริจาค ๑
เป็นผู้แสวงหาลาภด้วยลาภ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล
ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจ ไม่เป็นที่เคารพและไม่เป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจรรย์ ฯ
------------------------
กุหกสูตร
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ บรรทัดที่ ๒๕๔๓ - ๒๕๕๘. หน้าที่ ๑๑๐ - ๑๑๑.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=22&A=2543&Z=2558&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=83
**************************************************************
(บางส่วน)
[๘๗๘] การหลอกลวง เป็นไฉน
การหลอกลวงเกี่ยวด้วยการเสพปัจจัย การหลอกลวงด้วยการพูดเลียบเคียง หรือการดำรงอิริยาบถ กิริยาที่ดำรงอิริยาบถ
ความดำรงอิริยาบถด้วยดี ความสยิ้วหน้า สภาพที่สยิ้วหน้า การหลอกลวง กิริยาที่หลอกลวง สภาพที่หลอกลวง
ของภิกษุผู้มุ่งลาภสักการะและชื่อเสียง ผู้มีความปรารถนาลามก ถูกความอยากครอบงำ นี้เรียกว่า การหลอกลวง
[๘๗๙] การพูดประจบ เป็นไฉน
การทักทายคนอื่น การแนะนำตัวเอง การพูดปลอบโยน การพูดยกย่อง การพูดเยินยอ การพูดอ้อมค้อม การพูดชมเชย
การพูดสรรเสริญ การพูดสรรเสริญบ่อยๆ การพูดเอาใจให้คนรัก การพูดยกย่องเพื่อต้องการให้เขารัก
การพูดทีจริงทีเล่นเสมอด้วยแกงถั่ว การเป็นผู้รับเลี้ยงเด็ก
ของภิกษุผู้มุ่งลาภสักการะและชื่อเสียง ผู้มีความปรารถนาลามก ถูกความอยากครอบงำอันใด นี้เรียกว่า การพูดประจบ
[๘๘๐] การแสดงนิมิต เป็นไฉน
การทำนิมิต ความฉลาดในการทำนิมิต การพูดเกี่ยวด้วยปัจจัย การพูดเป็นเลศนัย
การกระซิบใกล้ๆ การพูดเลียบเคียงแก่ชนเหล่าอื่น อันใด
ของภิกษุผู้มุ่งลาภสักการะและชื่อเสียง ผู้มีความปรารถนาลามก ถูกความอยากครอบงำ
นี้เรียกว่า การแสดงนิมิต
[๘๘๑] การพูดติเตียน เป็นไฉน
การด่า การพูดข่ม การนินทา การพูดตำหนิโทษ การกล่าวโทษ การพูดติเตียน การพูดเหยียดหยาม
การพูดให้เสียชื่อเสียง การพูดให้เสียชื่อเสียงอย่างร้ายแรง การนำเรื่องไปเที่ยวติเตียน
การพูดไพเราะต่อหน้านินทาลับหลังแก่ชนเหล่าอื่น อันใด
ของภิกษุผู้มุ่งลาภสักการะและชื่อเสียง ผู้มีความปรารถนาลามก ถูกความอยากครอบงำ นี้เรียกว่า การพูดติเตียน
[๘๘๒] การแลกเปลี่ยนลาภด้วยลาภ เป็นไฉน
ภิกษุผู้มุ่งลาภสักการะและชื่อเสียง ผู้มีความปรารถนาลามก ถูกความอยากครอบงำ
นำอามิสที่ได้จากข้างนี้ไปให้ข้างโน้น นำอามิสที่ได้จากข้างโน้นมาให้ข้างนี้ การปรารถนา การเสาะหา การแสวงหา
กิริยาที่เที่ยวหา กิริยาที่แสวงหา ซึ่งอามิสด้วยอามิส อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า การแลกเปลี่ยนลาภด้วยลาภ
Ref.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_item.php?book=35&item=868