เมื่อวันที่ 26 พ.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่าศาลปกครองกลางได้อ่านคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ในคดีหมายเลขดำที่2900/2555 ที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ยื่นฟ้องรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม ในฐานะผู้ถูกฟ้องคดี กรณีออกคำสั่งกระทรวงกลาโหมที่1163/2555 ลงวันที่ 8 พ.ค.2555 ให้ปลด ร.ต. อภิสิทธิ์ ออกจากราชการ ตั้งแต่วันที่2 มิ.ย.2531 เป็นต้นไป โดยคำวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดเขตอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ที่ออกมาในวันนี้ ( 26 พ.ค.)ได้วินิจฉัยว่า คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม โดยให้เหตุผลว่าเมื่อเหตุแห่งการฟ้องคดีนี้ สืบเนื่องมาจากคำสั่งกระทรวงกลาโหม ที่ 1163/2555ลงวันที่ 8 พ.ย. ที่ปลด ร.ต.อภิสิทธิ์ ออกจากราชการเนื่องจากกระทำผิดวินัยทหารอย่างร้ายแรง โดยปรากฏข้อเท็จจริงตามคำให้การว่า ขณะร.ต.อภิสิทธิ์ ได้รับการแต่งตั้งยศแล้ว ได้นำใบสำคัญ สด. 9 แทนฉบับที่ชำรุดสูญหายไปขึ้นทะเบียนทหารกองประจำการจนทำให้เจ้าหน้าที่ สัสดีผิดหลง ออกใบสำคัญ สด.3ขั้นทะเบียนกองประจำการให้แก่ ร.ต.อภิสิทธิ์ รมว.กลาโหม ขณะนั้นจึงมีคำสั่งปลดผู้ฟ้องคดีออกจากราชการ โดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.วินัยทหาร พ.ศ. 2476และข้อบังคับกระทรวงกลาโหม ว่าด้วยการ บรรจุ ปลด ย้าย เลื่อน และลดตำแหน่งข้าราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ.2502 ประกอบข้อบังคับทหาร ที่ 11/16536พ.ศ.2482 ลงวันที่ 14 พ.ย. พ.ศ. 2482 ว่าด้วยการแบ่งประเภทนายทหารสัญญาบัตรซึ่งเป็นข้อบังคับและระเบียบแบบแผนเกี่ยวกับวินัยทหารตามมาตร 15 แห่งพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ. 2521 กรณีจึงเป็นเรื่องวินัยทหารตามมาตร 4 แห่งพ.ร.บ. ว่าด้วยวินัยทหารพ.ศ. 2476 คดีจึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการดำเนินการเกี่ยวกับวินัยทหารที่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง ตามมาตรา 9 วรรคสอง (1) ของพ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 แต่อยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลยุติธรรม
ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในชั้นการพิจารณาของคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ทั้งศาลปกครองและศาลยุติธรรม คือ ศาลแพ่ง ได้แสดงเหตุผลที่เห็นว่าคดีดังกล่าวควรอยู่ในอำนาจการพิจารณาของศาลตน โดยศาลแพ่งให้เหตุผลว่าหากข้อความในเอกสารใบสำคัญดังกล่าวยังไม่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเท็จหรือไม่ ข้อสงสัยในเอกสารก็ยังคงมีอยู่และอาจถูกนำไปอ้างให้เกิดปัญหาเป็นคดีไม่สิ้นสุดประเด็นของข้อความจึงมีความสำคัญที่ควรได้รับการวินิจฉัยโดยศาลเสียก่อนในลำดับแรกเมื่อได้ความเช่นใดแล้วจึงจะมีการวินิจฉัยว่า คำสั่งให้ปลด ร.ต.อภิสิทธิ์ออกจากราชการเป็นคำสั่งทางปกครองที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ในลำดับต่อไปอันเป็นประเด็นรอง ซึ่งการพิจารณาว่าเอกสารใดเป็นเอกสารเท็จหรือไม่และมีการใช้เอกสารเท็จ ที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชนหรือไม่เป็นกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ที่ส่งผลให้ต้องวินิจฉัยในคดีนี้จึงอยู่ในอำนาจควบคุมตรวจสอบของศาลยุติธรรม
ส่วนที่โต้แย้งกันว่า ร.ต.อภิสิทธิ์ อยู่ในบังคับ พ.ร.บ.ว่าด้วย วินัยทหารหรือไม่ ซึ่งควรได้รับการวินิจฉัยในกรณีหลัก ไม่ควรได้รับวินิจฉัยในชั้นของคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลเพราะอาจมีผลครอบงำให้คดีต้องมีคำพิพากษาตามทำให้ขาดอิสระในการพิจารณาพิพากษาโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากศาลที่จะต้องพิจารณาพิพากษาในคดีหลักยังคงเป็นศาลเดียวกันกับศาลตามความเห็นซึ่งอยู่ในระดับหน่วยงานเดียวกันนอกจากนี้การพิจารณาวินิจว่า ร.ต.อภิสิทธิ์อยู่ในบังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยวินัยทหารหรือไม่ก็จำเป็นต้องนำกฎหมายว่าด้วยวินัยทหารมาพิจารณาวินิจฉัยว่าใช้บังคับแก่กรณีนี้หรือไม่ซึ่งเป็นกรณีที่อยู่ในความหมายของคำว่า การดำเนินการเกี่ยวกับวินัยทหารตามมาตร 9 วรรคสอง(1) ศาลปกครองจึงไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้จึงเห็นว่าอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
สำหรับคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดประกอบด้วย นายดิเรก อิงคนินันท์ ประธานศาลฎีกา นายสุวัฒน์ วรรธนะหทัยกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม นายหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุลประธานศาลปกครองสูงสุด นายจรัญ หัตถกรรม กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครองพล.ร.ท.กฤษฎา เจริญพานิช หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร และพล.ต.พัฒนพงษ์ เกิดอุดมกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิศาลทหาร และนายจิระ บุญพจนสุนทร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ทั้งนี้นายไพโรจน์ มินเด็นโฆษกศาลปกครองชี้แจงว่า เมื่อคู่กรณีในคดีมีการโต้แย้งเกี่ยวกับเขตอำนาจของศาล โดยขั้นตอนการพิจารณาจะตกเป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่จะชี้ขาดในเรื่องนี้ โดยให้ศาลที่คู่กรณีอ้างถึงทำคำชี้แจงเหตุผลที่เห็นว่าคดีดังกล่าวอยู่ในเขตอำนาจศาลของตนเองหรือไม่ แต่สุดท้ายแล้วคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดฯ จะเป็นผู้ชี้เป็นรายคดีไป โดยไม่อาจที่จะอุทธรณ์ได้อีกแล้ว ซึ่งในคดีนี้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดฯชี้ว่าคดีนี้ให้มีผลผูกพันอยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรมแต่เพียงศาลเดียว
“ เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่คู่กรณี สำนักงานศาลปกครองจะทำการโอนสำนวนคดีไปดำเนินการต่อในศาลยุติธรรมได้โดยทันที โดยคู่กรณีไม่ต้องไปยื่นฟ้องใหม่แต่อย่างใดเลย ” โฆษกศาลปกครองกล่าว.
แหมพี่ท่านเค้าทำเรื่องให้ศาลกี่ปีละครับเพิ่งมาจะเริ่มขบวนการตอนนี้ ก่อนทำรับประหารทำไหมไม่ทำครับพี่ หรือมันจะไม่ยุติธรรม
ที่มา
http://www.dailynews.co.th/Content/politics/240301/%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%9B%E0%B8%81%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%94%E0%B8%B5++_+%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%84_+%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5
ศาลปกครองเตรียมทำคดี มาร์ดหนีทหาร ถ้าท่านยุติธรรมทำตอนไหนก็เหมือนกัน ทำไหมถึงเพิ่งเริ่มหลังทำรัฐประหาร
เมื่อวันที่ 26 พ.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่าศาลปกครองกลางได้อ่านคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ในคดีหมายเลขดำที่2900/2555 ที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ยื่นฟ้องรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม ในฐานะผู้ถูกฟ้องคดี กรณีออกคำสั่งกระทรวงกลาโหมที่1163/2555 ลงวันที่ 8 พ.ค.2555 ให้ปลด ร.ต. อภิสิทธิ์ ออกจากราชการ ตั้งแต่วันที่2 มิ.ย.2531 เป็นต้นไป โดยคำวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดเขตอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ที่ออกมาในวันนี้ ( 26 พ.ค.)ได้วินิจฉัยว่า คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม โดยให้เหตุผลว่าเมื่อเหตุแห่งการฟ้องคดีนี้ สืบเนื่องมาจากคำสั่งกระทรวงกลาโหม ที่ 1163/2555ลงวันที่ 8 พ.ย. ที่ปลด ร.ต.อภิสิทธิ์ ออกจากราชการเนื่องจากกระทำผิดวินัยทหารอย่างร้ายแรง โดยปรากฏข้อเท็จจริงตามคำให้การว่า ขณะร.ต.อภิสิทธิ์ ได้รับการแต่งตั้งยศแล้ว ได้นำใบสำคัญ สด. 9 แทนฉบับที่ชำรุดสูญหายไปขึ้นทะเบียนทหารกองประจำการจนทำให้เจ้าหน้าที่ สัสดีผิดหลง ออกใบสำคัญ สด.3ขั้นทะเบียนกองประจำการให้แก่ ร.ต.อภิสิทธิ์ รมว.กลาโหม ขณะนั้นจึงมีคำสั่งปลดผู้ฟ้องคดีออกจากราชการ โดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.วินัยทหาร พ.ศ. 2476และข้อบังคับกระทรวงกลาโหม ว่าด้วยการ บรรจุ ปลด ย้าย เลื่อน และลดตำแหน่งข้าราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ.2502 ประกอบข้อบังคับทหาร ที่ 11/16536พ.ศ.2482 ลงวันที่ 14 พ.ย. พ.ศ. 2482 ว่าด้วยการแบ่งประเภทนายทหารสัญญาบัตรซึ่งเป็นข้อบังคับและระเบียบแบบแผนเกี่ยวกับวินัยทหารตามมาตร 15 แห่งพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ. 2521 กรณีจึงเป็นเรื่องวินัยทหารตามมาตร 4 แห่งพ.ร.บ. ว่าด้วยวินัยทหารพ.ศ. 2476 คดีจึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการดำเนินการเกี่ยวกับวินัยทหารที่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง ตามมาตรา 9 วรรคสอง (1) ของพ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 แต่อยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลยุติธรรม
ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในชั้นการพิจารณาของคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ทั้งศาลปกครองและศาลยุติธรรม คือ ศาลแพ่ง ได้แสดงเหตุผลที่เห็นว่าคดีดังกล่าวควรอยู่ในอำนาจการพิจารณาของศาลตน โดยศาลแพ่งให้เหตุผลว่าหากข้อความในเอกสารใบสำคัญดังกล่าวยังไม่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเท็จหรือไม่ ข้อสงสัยในเอกสารก็ยังคงมีอยู่และอาจถูกนำไปอ้างให้เกิดปัญหาเป็นคดีไม่สิ้นสุดประเด็นของข้อความจึงมีความสำคัญที่ควรได้รับการวินิจฉัยโดยศาลเสียก่อนในลำดับแรกเมื่อได้ความเช่นใดแล้วจึงจะมีการวินิจฉัยว่า คำสั่งให้ปลด ร.ต.อภิสิทธิ์ออกจากราชการเป็นคำสั่งทางปกครองที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ในลำดับต่อไปอันเป็นประเด็นรอง ซึ่งการพิจารณาว่าเอกสารใดเป็นเอกสารเท็จหรือไม่และมีการใช้เอกสารเท็จ ที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชนหรือไม่เป็นกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ที่ส่งผลให้ต้องวินิจฉัยในคดีนี้จึงอยู่ในอำนาจควบคุมตรวจสอบของศาลยุติธรรม
ส่วนที่โต้แย้งกันว่า ร.ต.อภิสิทธิ์ อยู่ในบังคับ พ.ร.บ.ว่าด้วย วินัยทหารหรือไม่ ซึ่งควรได้รับการวินิจฉัยในกรณีหลัก ไม่ควรได้รับวินิจฉัยในชั้นของคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลเพราะอาจมีผลครอบงำให้คดีต้องมีคำพิพากษาตามทำให้ขาดอิสระในการพิจารณาพิพากษาโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากศาลที่จะต้องพิจารณาพิพากษาในคดีหลักยังคงเป็นศาลเดียวกันกับศาลตามความเห็นซึ่งอยู่ในระดับหน่วยงานเดียวกันนอกจากนี้การพิจารณาวินิจว่า ร.ต.อภิสิทธิ์อยู่ในบังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยวินัยทหารหรือไม่ก็จำเป็นต้องนำกฎหมายว่าด้วยวินัยทหารมาพิจารณาวินิจฉัยว่าใช้บังคับแก่กรณีนี้หรือไม่ซึ่งเป็นกรณีที่อยู่ในความหมายของคำว่า การดำเนินการเกี่ยวกับวินัยทหารตามมาตร 9 วรรคสอง(1) ศาลปกครองจึงไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้จึงเห็นว่าอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
สำหรับคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดประกอบด้วย นายดิเรก อิงคนินันท์ ประธานศาลฎีกา นายสุวัฒน์ วรรธนะหทัยกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม นายหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุลประธานศาลปกครองสูงสุด นายจรัญ หัตถกรรม กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครองพล.ร.ท.กฤษฎา เจริญพานิช หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร และพล.ต.พัฒนพงษ์ เกิดอุดมกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิศาลทหาร และนายจิระ บุญพจนสุนทร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ทั้งนี้นายไพโรจน์ มินเด็นโฆษกศาลปกครองชี้แจงว่า เมื่อคู่กรณีในคดีมีการโต้แย้งเกี่ยวกับเขตอำนาจของศาล โดยขั้นตอนการพิจารณาจะตกเป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่จะชี้ขาดในเรื่องนี้ โดยให้ศาลที่คู่กรณีอ้างถึงทำคำชี้แจงเหตุผลที่เห็นว่าคดีดังกล่าวอยู่ในเขตอำนาจศาลของตนเองหรือไม่ แต่สุดท้ายแล้วคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดฯ จะเป็นผู้ชี้เป็นรายคดีไป โดยไม่อาจที่จะอุทธรณ์ได้อีกแล้ว ซึ่งในคดีนี้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดฯชี้ว่าคดีนี้ให้มีผลผูกพันอยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรมแต่เพียงศาลเดียว
“ เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่คู่กรณี สำนักงานศาลปกครองจะทำการโอนสำนวนคดีไปดำเนินการต่อในศาลยุติธรรมได้โดยทันที โดยคู่กรณีไม่ต้องไปยื่นฟ้องใหม่แต่อย่างใดเลย ” โฆษกศาลปกครองกล่าว.
แหมพี่ท่านเค้าทำเรื่องให้ศาลกี่ปีละครับเพิ่งมาจะเริ่มขบวนการตอนนี้ ก่อนทำรับประหารทำไหมไม่ทำครับพี่ หรือมันจะไม่ยุติธรรม
ที่มา http://www.dailynews.co.th/Content/politics/240301/%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%9B%E0%B8%81%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%94%E0%B8%B5++_+%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%84_+%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5