กาโปเอย์รา หรือ คาโปเอย์ร่า



กาโปเอย์รา (โปรตุเกส: Capoeira) ศิลปะป้องกันตัวแขนงหนึ่ง มีต้นกำเนิดจากประเทศบราซิล เกิดจากการผสมผสานระหว่างการต่อสู้ การเต้น ดนตรี กายกรรม ปรัชญา กาโปเอย์ราเกิดโดยทาสชาวแอฟริกาในบราซิล เริ่มในช่วงประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 15 ซึ่งมีข้อถกเถียงกันว่า กาโปเอย์รานั้นอาจเกิดขึ้นครั้งแรกในแอฟริกา

กาโปเอย์ราจะมี 2 รูปแบบคือ การฝึกแบบดั้งเดิมหรือแบบอังกอลา (Angola) ที่ใช้เวลาฝึกยาวนานและท่วงท่าเชื่องช้ากว่าแบบเรชีโอนาล (Regional) ที่มีการเคลื่อนไหวรวดเร็วกว่า และใช้เวลาสั้นกว่าในการปฏิบัติ

ประวัติ


"Negros fighting, Brazil" ค.ศ. 1824 วาดโดย Augustus Earle แสดงให้เห็นถึงการแอบฝึกกาโปเอย์ราในริโอเดอนาเจโร
ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16-19 โปรตุเกสได้ส่งทาสจากแอฟริกาตะวันตกมายังอเมริกาใต้ ชาวแอฟริกันจำนวนมากถูกนำตัวมายังประเทศบราซิล (ประมาณ 4 ล้านคน) ทาสเหล่านี้ได้นำวัฒนธรรมพวกเขามาด้วย เหล่าทาสได้ถูกแบ่งออกไปเป็นกลุ่ม ๆ เพื่อที่แยกย้ายกันไปทำงานในที่ต่าง ๆ ในทาสกลุ่มนี้จะมีคนจากหลายพื้นที่และต่างวัฒนธรรมมารวมกัน หลังจากที่ทาสเหล่านี้อยู่ด้วยกันต่างก็แลกเปลี่ยนและซึมซับวัฒนธรรมซึ่งกันและกัน

ในกลุ่มชุมชนเล็ก ๆ นี้ กาโปเอย์ราได้เริ่มก่อตัวและพัฒนาเพื่อใช้ในการต่อสู้และป้องกันตัวจากทหารชาวโปรตุเกส และเริ่มมีการสอนกาโปเอย์ราให้กับคนอื่น ๆ โดยที่จะฝึกหัดกันในวันอาทิตย์ซึ่งเป็นวันหยุดพักของทาส แต่เนื่องจากทาสนั้นไม่ได้รับอนุญาตให้ฝึกศิลปะป้องกันตัว การฝึกจึงถูกแต่งเติมไปด้วยการเต้นและร้องเพลงซึ่งเป็นวัฒนธรรมของชาวแอฟริกาอยู่แล้ว เพื่อที่จะใช้บังหน้าจากการฝึกกาโปเอย์รา

ต่อมาหลังจากมีการเลิกทาส ในช่วง ค.ศ 1888 ชาวแอฟริกันบางส่วนเดินทางกลับ แต่บางส่วนยังคงอาศัยอยู่ในบราซิล แต่เนื่องด้วยไม่มีงานทำมากนัก จึงทำให้หลายกลุ่มกลายเป็นอันธพาล พวกเขายังคงฝึกกาโปเอย์ราอยู่และกลายเป็นพวกต่อต้านรัฐบาลก่ออาชญากรรม เมื่อมีการนำกาโปเอย์ราไปใช้ในทางที่ผิด ทางรัฐบาลของบราซิลจึงมีคำสั่งให้กาโปเอย์รานั้นเป็นสิ่งผิดกฎหมาย (ช่วงปีค.ศ 1890) ผู้ฝ่าฝืนจะถูกจับ แต่ก็มีบางส่วนที่ขัดขืนก็จะถูกยิง โดยที่ตำรวจในสมัยนั้นก็ฝึกฝนกาโปเอย์ราด้วยเช่นกัน เพื่อที่จะใช้ต่อสู้กับผู้ฝ่าฝืนได้

จนกระทั่งถึงช่วงที่ บราซิลทำสงครามกับปารากวัย รัฐบาลบราซิลได้จัดตั้งกลุ่มนักรบขึ้นมากลุ่มหนึ่งซึ่งเป็นนักสู้กาโปเอย์รา โดยเรียกว่า "กองทหารดำ" (Black Military) จะส่งไปรบกับปารากวัย โดยสามารถนำชัยชนะมาให้กับบราซิลได้ นั่นทำให้เหล่านักสู้กาโปเอย์ราได้รับการยกย่องอีกครั้ง

เมสตรี บิงบา (Mestre Bimba) และเมสตรี ปัสตินยา (Mestre Pastinha) บิดาแห่งกาโปเอย์รายุคใหม่ โดยบิงบาได้ก่อตั้งโรงเรียนสอนกาโปเอย์ราแห่งแรก(ในปี ค.ศ. 1942) ขึ้นมา นี่เป็นก้าวสำคัญที่แสดงให้เห็นว่า กาโปเอย์ราเป็นศิลปะการต่อสู้ที่ถูกกฎหมาย และได้ทำให้กาโปเอย์รากลับมาสู่ความนิยมอีกครั้ง

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ



ดนตรี
เครื่องดนตรีการเล่นกาโปเอย์รา ในภาพคือเบริงเบาและปังเดย์รู‎
กาโปเอย์ราเป็นศิลปะที่มีการเล่นดนตรี เพิ่มจังหวะให้กับการเล่น เครื่องดนตรีคือ
เบริงเบา (Berimbau)
ปังเดย์รู (Pandeiro)
อาตาบากี (Atabaque)
อาโกโก (Agogô)



การเล่น
กาโปเอย์ราไม่ได้มีจุดมุ่งหมายเพื่อทำให้ผู้อื่นบาดเจ็บ แต่จะเน้นที่ฝีมือและทักษะของผู้เล่น

ชิงกา
'"ชิงกา'" (Ginga) เป็นท่าพื้นฐานของกาโปเอย์รา ถ้าเปรียบเทียบกับศิลปะการต่อสู้ชนิดอื่น ๆ ก็คือ การเต้นฟุตเวิร์ก โดยพยายามก้าวขาประมาณความกว้างของอก และก้าวเท้าหนึ่งไปข้างหลังและกลับมาที่เดิม เป็นลักษณะสามเหลี่ยมบนพื้น การเคลื่อนไหวแบบนี้จะทำให้ส่วนของร่างกายพร้อมไปกับการเคลื่อนไหวส่วนอื่น

การจู่โจม
โดยพื้นฐาน กาโปเอย์ราจะจู่โจมโดยการเตะ การปัด การใช้หัวโขก บางครั้งจะเห็นการใช้มือบ้าง แต่ไม่บ่อยส่วนใหญ่จะใช้ข้อศอกแทน การใช้เข่าเห็นบ้าง บางครั้งกาโปเอย์ราใช้ความผาดโผนและการเคลื่อนไหวที่แข็งแรง ที่ใช้เป็นกลยุทธ์ต่อคู่แข่งขันการตีลังกาหรือ อาอู (Au), handstands (bananeira), headspins (piao de cabeca), hand-spins (piao de mao), hand-springs (gato), sitting movements, การหมุน, การกระโดด, การดีด ทั้งหมดล้วนเป็นท่าพื้นฐานของกาโปเอย์ราขึ้นอยู่กับความสามารถและจังหวะ

การป้องกัน
การป้องกันประกอบด้วยการหลบและการหมุน ขึ้นอยู่กับทิศทางและจุดประสงค์ของการป้องกัน การป้องกันอย่างง่ายคือการหมุน โดยรวมการหลบและการเคลื่อนตัวช้า และสามารถเคลื่อนย้ายตัวเองมาจู่โจมการหลบอย่างอื่นเช่น rasteira, vingativa, tesoura de mão หรือ queda จะทำให้เคลื่อนและเข้าใกล้หาจุดโหว่ของคู่ต่อสู้ได้

จู่โจมและป้องกัน
ท่า ‎Au batido
มีบางท่าอย่าง au batido ที่เป็นการจู่โจมและป้องกันพร้อมกัน โดยเริ่มจากการตีลังกาหนี จากนั้นใช้ขาเตะออกไปพร้อมกัน การเตะ 2 ครั้งเรียก meia lua de frente และ armada คือการหมุน 2 ครั้งแล้วเตะ

ชามาดา
ชามาดา (Chamada) มีความหมายว่า "เรียก" เป็นส่วนหนึ่งที่เกิดในกาโปเอย์ราแบบอังกอลา เป็นการหยุดเมื่อรู้สึกถึงอันตราย

วอลตาเอามุงดู
วอลตาเอามุงดู (Volta ao mundo) มีความหมายว่า "เดินรอบโลก" เกิดขึ้นเมื่อการเปลี่ยนการเคลื่อนไหวได้จบลงหรือหลังจากเกิดการหยุดชะงักในเกม ผู้เล่นจะเดินเป็นวงกลมรอบวง และผู้เล่นอีกคนจะร่วมเดินรอบวงด้วย จึงจะกลับสู่เกมปกติ

ถ้าอยากลองดูคนไทยมาประชันกัน อย่าลืมติดตาม รายการ Martial Warrior นะ


Credit : Capoeira4all.com,Capoeirista.com,
www.facebook.com/martialwarrior.tv
http://www.martialwarrior.tv
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่