ข้อมูลบางส่วนจาก fb ของท่านฯ ครับ
..........
กฎอัยการศึก เป็น กฎหมายยามศึก หรือกฎหมายในภาวะสงคราม เป็นมาตรการทางกฎหมายอย่างหนึ่งของทหาร และเป็นกฎหมายที่เวลาปกติ มีอยู่แต่ไม่ได้ใช้บังคับ เวลาจะใช้ต้องประกาศ และกำหนดเขตพื้นที่ที่จะใช้ เป็นพื้นที่ใช้กฎอัยการศึก
กฎอัยการศึก เป็นสิ่งสากลจำเป็น สำหรับทหารในประเทศ เมื่อประกาศใช้เหนือเขตพื้นที่ใด เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารจะมีอำนาจเหนือเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนในบางเรื่องที่กำหนด ประชาชนต้องถูกรอนสิทธิ์เสรีภาพในบางเรื่อง จึงเป็นกฎหมายที่ถูกรังเกียจ แต่จำเป็นต้องใช้ในการรักษาชาติประเทศให้อยู่รอดในภาวะวิกฤต
บางประเทศ ไม่มีเป็นลายลักษณ์อักษร เช่น อังกฤษ สหรัฐอเมริกา แต่บางประเทศก็ยอมรับ และตราเป็นลายลักษณ์อักษรโดยเปิดเผย เช่น ฝรั่งเศส ไทย
ประเทศไทย ตรากฎหมายกฎอัยการศึก เป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรก ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ “ กฎอัยการศึก ร . ศ .126” ตรงกับ พ . ศ .2450 ปีที่ประเทศไทยปรับปรุง ( ชำระ ) กฎหมายขนานใหญ่ให้ทันสมัย เพื่อจะได้ขอฝรั่งยกเลิกเรื่องสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ที่ไทยเสียเอกราชทางศาลอยู่ ที่ปรึกษากฎหมายของรัฐบาลไทยท่านหนึ่งชื่อ นายยอร์ช ปาร์ดู เป็นชาวฝรั่งเศส ร่างพระธรรมนูญศาลทหารบกเสร็จ กฎหมายฉบับนี้มีภาคหนึ่ง ว่าด้วยศาลทหารระหว่างประเทศ ใช้กฎอัยการศึก จึงจำเป็นต้องร่างกฎหมาย ว่าด้วยกฎอัยการศึกออกมารองรับ จึงเป็นที่มาของ “ พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก ร . ศ .126”
กฎอัยการศึก ร . ศ .126 มีเพียง 8 มาตรา ถอดแบบมาจาก กฎหมายว่าด้วยกฎอัยการศึกของฝรั่งเศส 9 สิงหาคม 1843 ( พ . ศ .2392) โดยกำหนดว่าเมื่อประกาศใช้กฎอัยการศึก เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอำนาจ ( มาตรา 8) คือ
1. มีอำนาจที่จะเจ้าค้นที่หนึ่งที่ใด เวลาใดก็ได้
2. มีอำนาจขับไล่ผู้ใดซึ่งไม่มีภูมิลำเนาเป็นหลักฐานอยู่ในตำบลนั้น
3. มีอำนาจบังคับให้คนในตำบลนั้นส่งอาวุธและกระสุตดินปืนที่มีอยู่ไปยังเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารและมีอำนาจตรวจและจับกุมอาวุธและกระสุนดินปืน และสิ่งของต้องห้ามในการสงคราม
กฎอัยการศึก ร . ศ .126 นี้ ใช้อยู่เพียง 7 ปีก็ถูกยกเลิก โดยพระราชบัญญัติ กฎอัยการศึก พุทธศักราช 2457 เหตุผลซึ่งแจ้งไว้ในพระราชปรารภของกฎหมายก็คือ อำนาจของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร ที่จะทำการใดๆ ( อำนาจ 3 อย่างข้างต้น ) ยังหาตรงกับระเบียบพิชัยสงคราม อันจะได้รักษาความเรียบร้อยปราศจากภัยที่จะมีมาจากภายนอก หรือเกิดขึ้นภายในได้สะดวกไม่ จึงควรแก้ไขกฎอัยการศึก ให้สมกับกาลสมัย
สรุปเหตุผลที่ยกเลิกกฎหมายก็คือ กองทัพไทยรบตามแบบพิชัยสงครามของอินเดีย จะอาศัยอำนาจฝ่ายทหารเพียง 3 อย่าง เช่น การรบของฝรั่งเศส ไม่พอ ไม่เหมาะสม จึงต้องแก้ไขปรับปรุง
พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พุทธศักราช 2457 ฉบับนี้ยังใช้อยู่จนปัจจุบัน มีสาระสำคัญ คือ
1. การประกาศกฎอัยการศึก จะเป็นไปโดยพระบรมราชโองการ หรือผู้บังคับบัญชาทหารที่มีกำลังอยู่ ใต้บังคับบัญชา ไม่น้อยกว่า 1 กองพัน ประกาศใช้ก็ได้ แต่ การยกเลิกใช้กฎอัยการศึก จะเป็นไปได้ต่อเมื่อมีพระบรมราชโองการประกาศเลิกใช้เท่านั้น
2. ในเขตที่ประกาศใช้กฎอัยการศึกษา ให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมี อำนาจเหนือเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือน ในส่วนที่เกี่ยวกับการยุทธ การระงับปราบปราม หรือ การรักษาความสงบเรียบร้อย และเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนต้องปฎิบัติตามความต้องการของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร ( มาตรา 6)
3. เมื่อประกาศใช้กฎอัยการศึกในตำบลใด เมืองใด มณฑลใด เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอำนาจเต็มที่จะ ตรวจค้น ที่จะเกณฑ์ ที่จะห้าม ที่จะยึด ที่จะเข้าอาศัย ที่จะทำลายหรือเปลี่ยนแปลงสถานที่ และที่จะขับไล่ ( มาตรา 8)
4. ความเสียหายที่จะเกิดขึ้นอย่างหนึ่งอย่างใด ในเรื่องอำนาจที่ เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารตามข้อ 3. บุคคล หรือบริษัทใดจะร้องขอค่าเสียหายหรือค่าปรับอย่างหนึ่งอย่างใดแก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารไม่ได้เลย …( มาตรา 16)
มาตราการทางกฏหมายที่ให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร โดยกฎอัยการศึกนี้ ได้รับการยอมรับอย่างมั่นคงในรัฐธรรมนูญแห่งราชาอาณาจักรไทยตลอดมา ฉบับปัจจุบันก็ปรากฎความในมาตรา 222 ว่า
“ มาตรา 222 พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการประกาศใช้และเลิกใช้กฎอัยการศึกตามลักษณะและวิธีการตามกฎหมายว่าด้วยกฎอัยการศึก ”
ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องประกาศใช้กฎอัยการศึกเฉพาะแห่งเป็นการรีบด่วน เจ้าหน้าที่ ฝ่ายทหารย่อมกระทำได้ตามกฎหมายว่าด้วยกฎอัยการศึก
..........
เกี่ยวกับ กฎอัยการศึก...
..........
กฎอัยการศึก เป็น กฎหมายยามศึก หรือกฎหมายในภาวะสงคราม เป็นมาตรการทางกฎหมายอย่างหนึ่งของทหาร และเป็นกฎหมายที่เวลาปกติ มีอยู่แต่ไม่ได้ใช้บังคับ เวลาจะใช้ต้องประกาศ และกำหนดเขตพื้นที่ที่จะใช้ เป็นพื้นที่ใช้กฎอัยการศึก
กฎอัยการศึก เป็นสิ่งสากลจำเป็น สำหรับทหารในประเทศ เมื่อประกาศใช้เหนือเขตพื้นที่ใด เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารจะมีอำนาจเหนือเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนในบางเรื่องที่กำหนด ประชาชนต้องถูกรอนสิทธิ์เสรีภาพในบางเรื่อง จึงเป็นกฎหมายที่ถูกรังเกียจ แต่จำเป็นต้องใช้ในการรักษาชาติประเทศให้อยู่รอดในภาวะวิกฤต
บางประเทศ ไม่มีเป็นลายลักษณ์อักษร เช่น อังกฤษ สหรัฐอเมริกา แต่บางประเทศก็ยอมรับ และตราเป็นลายลักษณ์อักษรโดยเปิดเผย เช่น ฝรั่งเศส ไทย
ประเทศไทย ตรากฎหมายกฎอัยการศึก เป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรก ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ “ กฎอัยการศึก ร . ศ .126” ตรงกับ พ . ศ .2450 ปีที่ประเทศไทยปรับปรุง ( ชำระ ) กฎหมายขนานใหญ่ให้ทันสมัย เพื่อจะได้ขอฝรั่งยกเลิกเรื่องสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ที่ไทยเสียเอกราชทางศาลอยู่ ที่ปรึกษากฎหมายของรัฐบาลไทยท่านหนึ่งชื่อ นายยอร์ช ปาร์ดู เป็นชาวฝรั่งเศส ร่างพระธรรมนูญศาลทหารบกเสร็จ กฎหมายฉบับนี้มีภาคหนึ่ง ว่าด้วยศาลทหารระหว่างประเทศ ใช้กฎอัยการศึก จึงจำเป็นต้องร่างกฎหมาย ว่าด้วยกฎอัยการศึกออกมารองรับ จึงเป็นที่มาของ “ พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก ร . ศ .126”
กฎอัยการศึก ร . ศ .126 มีเพียง 8 มาตรา ถอดแบบมาจาก กฎหมายว่าด้วยกฎอัยการศึกของฝรั่งเศส 9 สิงหาคม 1843 ( พ . ศ .2392) โดยกำหนดว่าเมื่อประกาศใช้กฎอัยการศึก เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอำนาจ ( มาตรา 8) คือ
1. มีอำนาจที่จะเจ้าค้นที่หนึ่งที่ใด เวลาใดก็ได้
2. มีอำนาจขับไล่ผู้ใดซึ่งไม่มีภูมิลำเนาเป็นหลักฐานอยู่ในตำบลนั้น
3. มีอำนาจบังคับให้คนในตำบลนั้นส่งอาวุธและกระสุตดินปืนที่มีอยู่ไปยังเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารและมีอำนาจตรวจและจับกุมอาวุธและกระสุนดินปืน และสิ่งของต้องห้ามในการสงคราม
กฎอัยการศึก ร . ศ .126 นี้ ใช้อยู่เพียง 7 ปีก็ถูกยกเลิก โดยพระราชบัญญัติ กฎอัยการศึก พุทธศักราช 2457 เหตุผลซึ่งแจ้งไว้ในพระราชปรารภของกฎหมายก็คือ อำนาจของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร ที่จะทำการใดๆ ( อำนาจ 3 อย่างข้างต้น ) ยังหาตรงกับระเบียบพิชัยสงคราม อันจะได้รักษาความเรียบร้อยปราศจากภัยที่จะมีมาจากภายนอก หรือเกิดขึ้นภายในได้สะดวกไม่ จึงควรแก้ไขกฎอัยการศึก ให้สมกับกาลสมัย
สรุปเหตุผลที่ยกเลิกกฎหมายก็คือ กองทัพไทยรบตามแบบพิชัยสงครามของอินเดีย จะอาศัยอำนาจฝ่ายทหารเพียง 3 อย่าง เช่น การรบของฝรั่งเศส ไม่พอ ไม่เหมาะสม จึงต้องแก้ไขปรับปรุง
พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พุทธศักราช 2457 ฉบับนี้ยังใช้อยู่จนปัจจุบัน มีสาระสำคัญ คือ
1. การประกาศกฎอัยการศึก จะเป็นไปโดยพระบรมราชโองการ หรือผู้บังคับบัญชาทหารที่มีกำลังอยู่ ใต้บังคับบัญชา ไม่น้อยกว่า 1 กองพัน ประกาศใช้ก็ได้ แต่ การยกเลิกใช้กฎอัยการศึก จะเป็นไปได้ต่อเมื่อมีพระบรมราชโองการประกาศเลิกใช้เท่านั้น
2. ในเขตที่ประกาศใช้กฎอัยการศึกษา ให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมี อำนาจเหนือเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือน ในส่วนที่เกี่ยวกับการยุทธ การระงับปราบปราม หรือ การรักษาความสงบเรียบร้อย และเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนต้องปฎิบัติตามความต้องการของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร ( มาตรา 6)
3. เมื่อประกาศใช้กฎอัยการศึกในตำบลใด เมืองใด มณฑลใด เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอำนาจเต็มที่จะ ตรวจค้น ที่จะเกณฑ์ ที่จะห้าม ที่จะยึด ที่จะเข้าอาศัย ที่จะทำลายหรือเปลี่ยนแปลงสถานที่ และที่จะขับไล่ ( มาตรา 8)
4. ความเสียหายที่จะเกิดขึ้นอย่างหนึ่งอย่างใด ในเรื่องอำนาจที่ เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารตามข้อ 3. บุคคล หรือบริษัทใดจะร้องขอค่าเสียหายหรือค่าปรับอย่างหนึ่งอย่างใดแก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารไม่ได้เลย …( มาตรา 16)
มาตราการทางกฏหมายที่ให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร โดยกฎอัยการศึกนี้ ได้รับการยอมรับอย่างมั่นคงในรัฐธรรมนูญแห่งราชาอาณาจักรไทยตลอดมา ฉบับปัจจุบันก็ปรากฎความในมาตรา 222 ว่า
“ มาตรา 222 พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการประกาศใช้และเลิกใช้กฎอัยการศึกตามลักษณะและวิธีการตามกฎหมายว่าด้วยกฎอัยการศึก ”
ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องประกาศใช้กฎอัยการศึกเฉพาะแห่งเป็นการรีบด่วน เจ้าหน้าที่ ฝ่ายทหารย่อมกระทำได้ตามกฎหมายว่าด้วยกฎอัยการศึก
..........