จากกระทู้ก่อนหน้านี้
http://ppantip.com/topic/31981280 ที่ได้รีวิววิธีการสั่งซื้ออุปกรณ์จากร้านโคตรถูก Red Sun กันมาแล้ว วันนี้พอมีเวลาว่างเลยลองหยิบของที่ซื้อมารีวิวแกะกล่องกันดู
ชิ้นแรกที่จะว่ากันในวันนี้ ได้ลองค้นหาใน Pantip แล้ว พบว่ายังไม่เคยมีใครได้ทำการรีวิวกันมาก่อนเลย ได้แก่ หมวกกันน็อก Arai Tour Cross 3 ได้มาในราคา 31,190 เยน หรือประมาณ 9,981 บาท มาเริ่มกันเลยดีกว่าครับ กล่องเรียบง่ายมากกระดาษลูกฟูกสีขาว ตัวหนังสือและลวดลายสีน้ำเงิน
ข้างกล่องแปะสติกเกอร์บอกชื่อรุ่น สี และขนาด
เปิดฝากล่องเจอหมวกกันน็อควางหงายอยู่ในถุงผ้าสีน้ำเงิน
หยิบหมวกออกภายในกล่องเหลือแค่เอกสารอยู่ 2 ฉบับ ทั้ง 2 ฉบับเป็นภาษาญี่ปุ่นเสีย 99% ... อ่านไม่ออก แต่ก็ไม่เป็นไรสามารถหา Download คู่มือภาษาอังกฤษได้ไม่ยาก
กลับมาดูถุงผ้าสีน้ำเงินกันต่อ ด้านนอกเป็นผ้ากึ่งมันมีสกรีนสีขาวอย่างที่เห็น (ด้านเดียว) ด้านในเป็นคล้ายๆ สักหลาดนุ่มๆ น่าจะไว้ใช้เช็ดหมวก
เอาถุงผ้าออกจะเจอกับ...ด้านซ้าย หมวกรุ่นนี้เป็นหมวกแนวโมตาดครับ ลูกผสมระหว่างหมวกทางเรียบกับหมวกวิบาก ลักษณะเด่นๆ คือ มี Cap ด้านหน้า และส่วนปากยืดยาวออกไปข้างหน้าคล้ายๆ หมวกวิบาก มีชีลด์ใสเปิด-ปิดได้แบบหมวกทางเรียบ โดยชีลด์ที่ว่ามีขนาดกว้างกว่าหมวกทางเรียบอย่างเห็นได้ชัด
หน้าตรง
ตัวล็อคชีลด์หน้าเวลาปิดลงมาสุด
ด้านขวา
ด้านหลัง
ซูมด้านหลังตรงท้ายทอย มีชื่อรุ่น พร้อมสกรีนยี่ห้อและเครื่องหมายรับรองของ Snell
ด้านบน
มาดูรายละเอียดบริเวณช่องระบายอากาศมี 9 จุด ได้แก่
(จุดที่ 1) ด้านหน้าบริเวณปาก มีปุ่มเปิด-ปิดเล็กๆ อยู่ตรงกลาง เมื่อเลื่อนปุ่มดังกล่าวจะขยับชิ้นพลาสติกที่อยู่ภายในโครงหมวกทำหน้าที่เปิด-ปิด ช่องลมทั้ง 10 ช่องที่อยู่ด้านหน้า (จุดที่ 2-3) และด้านข้างที่เห็นเป็นตระแกรงสีเงินอีก 2 ด้าน
ปริมาณของลมที่จะเข้าตรงกลางนอกจากจะปิด-เปิดที่ปุ่มด้านหน้าแล้ว ยังสามารถควบคุมได้ด้วยว่าจะให้ลมเข้ามากน้อยแค่ไหนโดยการเลื่อนแผ่นพลาสติกที่อยู่ด้านในหมวก เลื่อนขึ้นลมเข้าน้อยที่สุด (ปิดเกือบสนิท)
เลื่อนลงเปิดรับลมเต็มที่จนสามารถมองเห็นออกไปข้างนอกได้
ช่องระบายอากาศด้านข้างที่เป็นตระแกรงสีเงินสามารถเปิด-ปิดได้จากปุ่มเล็กๆ ที่อยู่ด้านในของหมวกทั้ง 2 ด้าน
(จุดที่ 4-5) ด้านบนค่อนไปทางข้างหน้าเล็กน้อย ช่องเปิดรับลมเข้าทั้ง 2 ด้าน รับลมที่ถูกบีบเข้ามาจากใต้ Cap เปิด-ปิด ได้
(จุดที่ 6-7) ด้านบนค่อนไปทางด้านหลัง ช่องระบายอากาศออกขนาดใหญ่ เปิด-ปิด ได้เช่นเดียวกัน
(จุดที่ 8-9) ขอบด้านบนของชีลด์หน้า มีสิ่งที่ฝรั่งที่ทำการรีวิวไว้เรียกว่า “Eyelid” เปิด-ปิด ได้เช่นเดียวกันครับ ซึ่งเมื่อเปิดแล้ว จะส่งลมต่อเข้าไปในโครงหมวก(เหนือโฟม) เพื่อให้เกิดการไหลเวียนอีกทีนึง ทำให้อาจไม่รู้สึกถึงลมที่ผ่านตรงนี้ครับ
ด้านล่าง ใช้สายรัดคางแบบ DD-Ring
แผ่นกันลมใต้คางสามารถเลื่อนปรับได้
ปกติ...
ดึงออกมาสุด
นวมภายในถอดได้ 3 ชิ้น เป็นชิ้นแก้ม 2 ข้าง และชิ้นบน 1 ชิ้น ยึดติดกับโครงหมวกด้วยกิ๊ปพลาสติกถอดง่าย ประกอบกลับสะดวก
นวมชิ้นแก้มทั้ง 2 ด้าน มี Tap ผ้าเล็กๆ เขียนว่า Emergency TAP Inside จากคู่มือบอกว่าภายในผ้าหุ้มจะมีห่วงผ้าอยู่ ซึ่งในกรณีอุบัติเหตุ เมื่อปลด DD-Ring แล้ว ให้ดึงที่ห่วงผ้านี้แผ่นแก้มจะหลุดออกมาเลยทำให้สามารถถอดหมวกได้ง่ายขึ้น
ภายในหมวกเมื่อเอานวมออกจะเป็นโฟมหล่อแข็ง มีสติกเกอร์โน่นนี่แปะอยู่โดยรอบ
ด้านขวาเป็นสติกเกอร์รับรองมาตรฐาน M2010 ของ SNELL และ Motorcycle Federation of Japan (FIM)
ด้านซ้ายดูออกแต่ วัน เดือน ปี ที่ผลิต ใบนี้ก็ วันที่ 14 เม.ย. 2014 ก่อนหน้าที่จะทำการสั่งซื้อประมาณ 5 วัน
สรุปครับ
จากการทดลองใช้แว๊ปเดียวจริงๆ กับระยะทางประมาณ 10 กม. บนรถมอเตอร์ไซค์อายุ 40 กว่าปี ที่วิ่งได้เต็มที่แค่ 60 กม./ชม.
ข้อดีเท่าที่สัมผัส
- เป็นหมวกที่มีการระบายอากาศได้ดีสุดๆ น่าจะเป็นหมวกที่เย็นที่สุดใบหนึ่งก็ว่าได้
- ทัศนวิสัยมองได้กว้างมาก กว้างกว่าหมวกทางเรียบเยอะ จึงน่าจะเหมาะสำหรับการขับขี่แบบกินลมชมวิวเป็นอย่างยิ่ง
ข้อเสียเท่าที่พบ
- ชีลด์หน้าติดจะหลอกตานิดๆ ใส่ประมาณ 10 กม.แล้วมีอาการงงหน่อยๆ อาจจะต้องใช้เวลาปรับตัวให้เข้ากับหมวกอีกนิด (...โดยส่วนตัวเป็นคนเมารถง่ายมาก มีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงการมองเห็นสูง หมวกเขาอาจจะดีแล้วก็ได้)
เพิ่มเติมส่งท้าย
สำหรับท่านที่หาหมวกแนวนี้ อาจจะเคยสับสนเหมือนผมว่า Tour Cross 3 เป็นหมวกรุ่นเก่าที่ตกรุ่นไปแล้ว ของ Arai หรือเปล่า เพราะในตลาดมี XD4 และ Tour X4 ที่หน้าตาเหมือนกันเป๊ะๆ ขายอยู่ด้วย จากการศึกษาด้วยตนเองพบว่าไม่น่าใช่ครับ Tour Cross 3 เป็นชื่อรุ่นของหมวกกันน็อคแนวโมตาดรุ่นปัจจุบันของ Arai ที่ขายอยู่เฉพาะในญี่ปุ่น ซึ่งถ้าไปขายในโซนอเมริกาและออสเตรเลียจะใช้ชื่อรุ่น XD4 และโซนยุโรปจะใช้ชื่อรุ่น Tour-X4 ที่สามารถยืนยันได้จาก Web Site ของ Arai แต่ด้วยเหตุผลใด จึงใช้เลข 3 แทนที่จะเป็นเลข 4 เหมือนที่อื่นๆ ก็สุดจะทราบได้ครับ ส่วนเรื่องที่ว่า แล้วหมวกรุ่นนี้ที่รหัสต่างกันตามพื้นที่จำหน่าย จะมีความแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร ก็สุดที่จะทราบได้ครับ แต่สิ่งหนึ่งที่คนรู้จักที่เป็นอาจารย์ชาวญี่ปุ่นเคยพูดไว้ก็คือ “ส่วนตัวเขาเชื่อว่าผลิตภัณฑ์ใดๆ ที่มีขายในญี่ปุ่นและต่างประเทศแล้วมีชื่อรุ่นหรือรหัสเรียกขานต่างกัน รหัสที่ทำขายเฉพาะในญี่ปุ่นจะถูกผลิตขึ้นด้วยวัสดุ และความประณีตมากกว่าที่ทำเพื่อการส่งออก เพื่อให้คนของเขาได้ใช้ของที่ดีที่สุด”
Arai-Japan
Arai-America
Arai-Europe
สำหรับท่านที่สนใจหมวกรุ่นนี้ เท่าที่ค้นหามาในไทยมีคนนำเข้ามาขายทั้ง Tour Cross 3, XD4 และ Tour X4 ครับ ราคาก็แตกต่างกันไป โดยที่เท่าที่เห็น Tour Cross 3 จะถูกที่สุดครับ
ปล.สุดท้ายจริงๆ ยังมีอีก 3 ชิ้นที่สั่งซื้อมาจากญี่ปุ่น ได้แก่ เสื้อแจ๊กเก็ตโคมิเนะ JK-036, เสื้อเกราะโคมิเนะ SK-676 และกางเกงโคมิเนะ PK-712 ถ้ามีโอกาสจะนำมารีวิวให้ดูกันต่อไปครับ ถ้าท่านใดสนใจชิ้นไหนเป็นพิเศษก็ฝากไว้ได้ครับ จะนำมารีวิวให้ก่อน
[CR] Review-หมวกอะไร (แพงอิ๊บอ๋าย) Tour Cross 3
ชิ้นแรกที่จะว่ากันในวันนี้ ได้ลองค้นหาใน Pantip แล้ว พบว่ายังไม่เคยมีใครได้ทำการรีวิวกันมาก่อนเลย ได้แก่ หมวกกันน็อก Arai Tour Cross 3 ได้มาในราคา 31,190 เยน หรือประมาณ 9,981 บาท มาเริ่มกันเลยดีกว่าครับ กล่องเรียบง่ายมากกระดาษลูกฟูกสีขาว ตัวหนังสือและลวดลายสีน้ำเงิน
ข้างกล่องแปะสติกเกอร์บอกชื่อรุ่น สี และขนาด
เปิดฝากล่องเจอหมวกกันน็อควางหงายอยู่ในถุงผ้าสีน้ำเงิน
หยิบหมวกออกภายในกล่องเหลือแค่เอกสารอยู่ 2 ฉบับ ทั้ง 2 ฉบับเป็นภาษาญี่ปุ่นเสีย 99% ... อ่านไม่ออก แต่ก็ไม่เป็นไรสามารถหา Download คู่มือภาษาอังกฤษได้ไม่ยาก
กลับมาดูถุงผ้าสีน้ำเงินกันต่อ ด้านนอกเป็นผ้ากึ่งมันมีสกรีนสีขาวอย่างที่เห็น (ด้านเดียว) ด้านในเป็นคล้ายๆ สักหลาดนุ่มๆ น่าจะไว้ใช้เช็ดหมวก
เอาถุงผ้าออกจะเจอกับ...ด้านซ้าย หมวกรุ่นนี้เป็นหมวกแนวโมตาดครับ ลูกผสมระหว่างหมวกทางเรียบกับหมวกวิบาก ลักษณะเด่นๆ คือ มี Cap ด้านหน้า และส่วนปากยืดยาวออกไปข้างหน้าคล้ายๆ หมวกวิบาก มีชีลด์ใสเปิด-ปิดได้แบบหมวกทางเรียบ โดยชีลด์ที่ว่ามีขนาดกว้างกว่าหมวกทางเรียบอย่างเห็นได้ชัด
หน้าตรง
ตัวล็อคชีลด์หน้าเวลาปิดลงมาสุด
ด้านขวา
ด้านหลัง
ซูมด้านหลังตรงท้ายทอย มีชื่อรุ่น พร้อมสกรีนยี่ห้อและเครื่องหมายรับรองของ Snell
ด้านบน
มาดูรายละเอียดบริเวณช่องระบายอากาศมี 9 จุด ได้แก่
(จุดที่ 1) ด้านหน้าบริเวณปาก มีปุ่มเปิด-ปิดเล็กๆ อยู่ตรงกลาง เมื่อเลื่อนปุ่มดังกล่าวจะขยับชิ้นพลาสติกที่อยู่ภายในโครงหมวกทำหน้าที่เปิด-ปิด ช่องลมทั้ง 10 ช่องที่อยู่ด้านหน้า (จุดที่ 2-3) และด้านข้างที่เห็นเป็นตระแกรงสีเงินอีก 2 ด้าน
ปริมาณของลมที่จะเข้าตรงกลางนอกจากจะปิด-เปิดที่ปุ่มด้านหน้าแล้ว ยังสามารถควบคุมได้ด้วยว่าจะให้ลมเข้ามากน้อยแค่ไหนโดยการเลื่อนแผ่นพลาสติกที่อยู่ด้านในหมวก เลื่อนขึ้นลมเข้าน้อยที่สุด (ปิดเกือบสนิท)
เลื่อนลงเปิดรับลมเต็มที่จนสามารถมองเห็นออกไปข้างนอกได้
ช่องระบายอากาศด้านข้างที่เป็นตระแกรงสีเงินสามารถเปิด-ปิดได้จากปุ่มเล็กๆ ที่อยู่ด้านในของหมวกทั้ง 2 ด้าน
(จุดที่ 4-5) ด้านบนค่อนไปทางข้างหน้าเล็กน้อย ช่องเปิดรับลมเข้าทั้ง 2 ด้าน รับลมที่ถูกบีบเข้ามาจากใต้ Cap เปิด-ปิด ได้
(จุดที่ 6-7) ด้านบนค่อนไปทางด้านหลัง ช่องระบายอากาศออกขนาดใหญ่ เปิด-ปิด ได้เช่นเดียวกัน
(จุดที่ 8-9) ขอบด้านบนของชีลด์หน้า มีสิ่งที่ฝรั่งที่ทำการรีวิวไว้เรียกว่า “Eyelid” เปิด-ปิด ได้เช่นเดียวกันครับ ซึ่งเมื่อเปิดแล้ว จะส่งลมต่อเข้าไปในโครงหมวก(เหนือโฟม) เพื่อให้เกิดการไหลเวียนอีกทีนึง ทำให้อาจไม่รู้สึกถึงลมที่ผ่านตรงนี้ครับ
ด้านล่าง ใช้สายรัดคางแบบ DD-Ring
แผ่นกันลมใต้คางสามารถเลื่อนปรับได้
ปกติ...
ดึงออกมาสุด
นวมภายในถอดได้ 3 ชิ้น เป็นชิ้นแก้ม 2 ข้าง และชิ้นบน 1 ชิ้น ยึดติดกับโครงหมวกด้วยกิ๊ปพลาสติกถอดง่าย ประกอบกลับสะดวก
นวมชิ้นแก้มทั้ง 2 ด้าน มี Tap ผ้าเล็กๆ เขียนว่า Emergency TAP Inside จากคู่มือบอกว่าภายในผ้าหุ้มจะมีห่วงผ้าอยู่ ซึ่งในกรณีอุบัติเหตุ เมื่อปลด DD-Ring แล้ว ให้ดึงที่ห่วงผ้านี้แผ่นแก้มจะหลุดออกมาเลยทำให้สามารถถอดหมวกได้ง่ายขึ้น
ภายในหมวกเมื่อเอานวมออกจะเป็นโฟมหล่อแข็ง มีสติกเกอร์โน่นนี่แปะอยู่โดยรอบ
ด้านขวาเป็นสติกเกอร์รับรองมาตรฐาน M2010 ของ SNELL และ Motorcycle Federation of Japan (FIM)
ด้านซ้ายดูออกแต่ วัน เดือน ปี ที่ผลิต ใบนี้ก็ วันที่ 14 เม.ย. 2014 ก่อนหน้าที่จะทำการสั่งซื้อประมาณ 5 วัน
สรุปครับ
จากการทดลองใช้แว๊ปเดียวจริงๆ กับระยะทางประมาณ 10 กม. บนรถมอเตอร์ไซค์อายุ 40 กว่าปี ที่วิ่งได้เต็มที่แค่ 60 กม./ชม.
ข้อดีเท่าที่สัมผัส
- เป็นหมวกที่มีการระบายอากาศได้ดีสุดๆ น่าจะเป็นหมวกที่เย็นที่สุดใบหนึ่งก็ว่าได้
- ทัศนวิสัยมองได้กว้างมาก กว้างกว่าหมวกทางเรียบเยอะ จึงน่าจะเหมาะสำหรับการขับขี่แบบกินลมชมวิวเป็นอย่างยิ่ง
ข้อเสียเท่าที่พบ
- ชีลด์หน้าติดจะหลอกตานิดๆ ใส่ประมาณ 10 กม.แล้วมีอาการงงหน่อยๆ อาจจะต้องใช้เวลาปรับตัวให้เข้ากับหมวกอีกนิด (...โดยส่วนตัวเป็นคนเมารถง่ายมาก มีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงการมองเห็นสูง หมวกเขาอาจจะดีแล้วก็ได้)
เพิ่มเติมส่งท้าย
สำหรับท่านที่หาหมวกแนวนี้ อาจจะเคยสับสนเหมือนผมว่า Tour Cross 3 เป็นหมวกรุ่นเก่าที่ตกรุ่นไปแล้ว ของ Arai หรือเปล่า เพราะในตลาดมี XD4 และ Tour X4 ที่หน้าตาเหมือนกันเป๊ะๆ ขายอยู่ด้วย จากการศึกษาด้วยตนเองพบว่าไม่น่าใช่ครับ Tour Cross 3 เป็นชื่อรุ่นของหมวกกันน็อคแนวโมตาดรุ่นปัจจุบันของ Arai ที่ขายอยู่เฉพาะในญี่ปุ่น ซึ่งถ้าไปขายในโซนอเมริกาและออสเตรเลียจะใช้ชื่อรุ่น XD4 และโซนยุโรปจะใช้ชื่อรุ่น Tour-X4 ที่สามารถยืนยันได้จาก Web Site ของ Arai แต่ด้วยเหตุผลใด จึงใช้เลข 3 แทนที่จะเป็นเลข 4 เหมือนที่อื่นๆ ก็สุดจะทราบได้ครับ ส่วนเรื่องที่ว่า แล้วหมวกรุ่นนี้ที่รหัสต่างกันตามพื้นที่จำหน่าย จะมีความแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร ก็สุดที่จะทราบได้ครับ แต่สิ่งหนึ่งที่คนรู้จักที่เป็นอาจารย์ชาวญี่ปุ่นเคยพูดไว้ก็คือ “ส่วนตัวเขาเชื่อว่าผลิตภัณฑ์ใดๆ ที่มีขายในญี่ปุ่นและต่างประเทศแล้วมีชื่อรุ่นหรือรหัสเรียกขานต่างกัน รหัสที่ทำขายเฉพาะในญี่ปุ่นจะถูกผลิตขึ้นด้วยวัสดุ และความประณีตมากกว่าที่ทำเพื่อการส่งออก เพื่อให้คนของเขาได้ใช้ของที่ดีที่สุด”
Arai-Japan
Arai-America
Arai-Europe
สำหรับท่านที่สนใจหมวกรุ่นนี้ เท่าที่ค้นหามาในไทยมีคนนำเข้ามาขายทั้ง Tour Cross 3, XD4 และ Tour X4 ครับ ราคาก็แตกต่างกันไป โดยที่เท่าที่เห็น Tour Cross 3 จะถูกที่สุดครับ
ปล.สุดท้ายจริงๆ ยังมีอีก 3 ชิ้นที่สั่งซื้อมาจากญี่ปุ่น ได้แก่ เสื้อแจ๊กเก็ตโคมิเนะ JK-036, เสื้อเกราะโคมิเนะ SK-676 และกางเกงโคมิเนะ PK-712 ถ้ามีโอกาสจะนำมารีวิวให้ดูกันต่อไปครับ ถ้าท่านใดสนใจชิ้นไหนเป็นพิเศษก็ฝากไว้ได้ครับ จะนำมารีวิวให้ก่อน