ถึงคุณ โอลิฟอินเดอะซิตี้ เรื่อง "อวัจนภาษา" "รูปสัญญะ" และ "ความหมายแฝง"

ใครเพิ่งเข้ามาอ่าน ไปตามกระทู้ต้นเรื่องได้ที่นี่นะครับ
http://ppantip.com/topic/31901120


... เอาล่ะ ทีนี้ผมจะเริ่มอธิบายล่ะนะ ...


ที่ผมบอกว่าคุณ "มีปัญหาเรื่องการสื่อสาร" นั้น ผมหมายถึง ผมพยายามอธิบายว่า คุณสนใจแต่เหตุผลที่บอกกันได้ตรงๆ เป็นคำพูดแบบไม่มีความหมายซับซ้อน ถ้าในทางภาษาศาสตร์ก็คงจะเรียกว่า "วัจนภาษา" หมายถึง การสื่อสารที่ใช้ ตัวอักษร เป็นสื่อในการ รับ-ส่ง ความหมาย อันนั้นคุณคงเข้าใจดี (และไปโฟกัสอยู่กับตรงนั้นมากเสียด้วย) แต่ที่ผมบอกว่าคุณมีปัญหานั้น ผมกำลังพูดถึง "อวัจนะภาษา" หมายถึง การสื่อสารที่ใช้ อย่างอื่นนอกจากตัวอักษร เป็นสื่อในการ รับ-ส่ง ความหมาย ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น ...


เครื่องหมายทางคณิตศาสตร์

เช่น เครื่องหมายบวก (+) จริงๆแล้ว หมายถึง การนำจำนวน 2 จำนวนรวมเข้าด้วยกัน Concept ของการบวก ก็คือ การรวมเข้าด้วยกัน



แผนที่ (ไม่ต้องสนใจตัวหนังสือนะ)

เช่น ในรูปเราจะ เห็นถนน เห็นอาคาร เห็นรูปร่างของเกาะ Concept ของแผนที่ ก็คือ การแสดงภูมิศาสตร์ผ่านทางรูปภาพ



ทีนี้ สิ่งที่ผมสังเกตุได้คือ คุณมักจะจดจ่ออยู่กับข้อมูลทางตรง (ซึ่งคุณก็เองมาตีความเอง ดังนั้นอาจไม่ได้แปลว่าความหมายที่ผู้พูดต้องการจะสื่อ จะตรงกับที่คุณคิดและตีความ) แบบ วัจนภาษา เสียอย่างเดียว ฉะนั้น เวลาผมอธิบายอะไรในเชิง เปรียบเทียบ คุณเลยมักถามต่อว่า "อะไร ยังไง งง ไม่เข้าใจ พูดตรงๆเลยได้มั๊ย" ผมเลยบอกว่าคุณ "มีปัญหาในเรื่องการทำความเข้าใจข้อมูลที่เป็นความหมายแฝง" ซึ่งคำว่า "ความหมายแฝง" ในที่นี้ หมายถึง ความหมายที่ 2 หรือ 3 หรือ 4 หรือมากกว่านั้น ของสิ่งที่คุณได้ยิน ได้เห็น ได้รับรู้มา ยกตัวอย่างเช่น ...



ควาย


"ควาย" ในความหมายแรก (ความหมายทางตรง) หมายถึง สัตว์เลี่ยงลูกด้วยนมมีกีบเท้าชนิดหนึ่ง มีเขาโง้ง 2 เขา มักชอบกลิ้งตัวอยู่ในปลักและกินหญ้าเป็นอาหาร

แต่ ..

"ควาย" ในอีกความหมายนึง (ความหมายแฝง) หมายถึง คำหยาบที่ใช้บริภาษผู้อื่นว่า เป็นคนโง่เขลา โดยเปรียบเทียบกับลักษณะนิสัยของควาย


นี่แหละ คือที่ผมพยายามอธิบายว่า "ความหมายแฝง" คืออะไร แต่มันยังไม่จบแค่นั้น เพราะเรายังไม่ได้ไปถึงทางแก้ไขปัญหาของคุณ !!!

ผมจะอธิบายต่อว่า "ความหมายแฝง" ที่เราใช้กันอยู่นี้ จริงๆแล้วมันไม่ได้ทำผ่านคำพูดได้เพียงทางเดียว แต่ความหมายแฝงยังสามารถเกิดขึ้นผ่านวิธีอื่นได้อีกด้วย เช่น


ขวดน้ำดื่ม โดม


มองผ่านๆเราก็จะได้ความหมายจากรูปนี้ ว่าคือ น้ำดื่มยี่ห้อโดม มองให้ลึกอีกหน่อย ก็อาจจะรู้ว่าผลิตโดย ม.ธรรมศาสตร์ แต่ถ้าเราจะมองในเชิงความหมายแฝง สิ่งสำคัญที่เราจะตีความ ไม่ได้อยู่ที่รูปทรงของขวด หรือ คุณภาพของน้ำในขวด หากแต่เป็นฉลากที่พันอยู่รอบขวด อันเป็นรูปโดมและดอกยูงทอง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของชาวธรรมศาสตร์ เมื่อเรานำสัญลักษณ์สำคัญมาอยู่บนวัตถุใดๆก็ตาม เราจึงอาจตีความหมายแฝงได้ว่า "น้ำดื่มนี้ ประดุจดั่งตัวแทนของจิตวิญญาณธรรมศาสตร์" ถามว่า จิตวิญญาณธรรมศาสตร์ คืออะไร ?? เราอาจตอบได้ไม่กระจ่างนัก เพราะเป็นเรื่องในเชิงนามธรรม แต่ถ้าหากวัตถุนี้ซึ่งมีสัญลักษณ์สำคัญติดอยู่ ถูกใครนำไปย่ำยี ก็อาจสร้างความไม่พอใจให้ชาวธรรมศาสตร์ได้ เพราะถือเสมือนว่าลบหลู่ ดูแคลน ในสิ่งแสดงแทนตนของชาวธรรมศาสตร์ ซึ่งสิ่งแสดงแทนตนนี้ เราเรียกว่า "รูปสัญญะ" (รูป + สัญลักษณ์) ซึ่งกรณีเดียวกันนี้ อาจเกิดขึ้นได้กับสิ่งของอีกหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น พระพุทธรูป ธงชาติ เพลงชาติ โกศ และอะไรก้ตามที่มีคนนำไปยึดถือเพื่อเคารพ บูชา


ที่นี้ "รูปสัญญะ" มันเกี่ยวกับ ปัญหาของคุณอย่างไร ??

ที่ผมพูดมาทั้งหมดนี้ ก็เพื่อจะสื่อให้เห็นว่า "รูปสัญญะ" คือสิ่งที่เก็บความหมายแฝงของสิ่งต่างๆเอาไว้ มันเป็นสิ่งที่รับรู้โดยตรงได้ไม่ง่ายนัก ผมถึงได้บอกว่าบางอย่างมันบอกกันตรงๆไม่ได้ เช่น สมมติว่าคุณอยากจะบอกรักใครสักคน วิธีการที่คุณจะบอกให้เขา/เธอรู้นั้น มันก็ไม่ได้มีแค่การ "พูดออกไปตรงๆ" แต่คุณอาจบอกได้ด้วยการกระทำ เช่น การสบสายตา การโอบกอด การจูบ การมีsex การดูแลเอาใจใส่ ฯลฯ เช่นเดียวกันกับปัญหาของคุณ ผมกำลังมองว่าที่เพื่อนคุณทำนั้น จริงๆแล้วเขากำลังสื่อสารกับคุณโดยอ้อมผ่านทาง รูปสัญญะ ที่เกิดจากอารมณ์และพฤติกรรม เช่น การนินทา การไม่พูดด้วย ฯลฯ ประกอบกับสีหน้า ท่าที อาการของคุณที่พวกเขาเห็น ซึ่งมันอาจจะดูแข็งๆไปสำหรับพวกเขา ก็เลยทำให้เกิดปัญหาขึ้น ซึ่งคุณก็มักจะตอบผมด้วยเหตุผลที่ว่า "ฉันยังไม่ทันจะทำอะไรให้พวกเขาเลย ..."

อยากจะบอกตรงนี้ว่า "การตัดสินใจของคนเรานั้น มันไม่จำเป็นว่าจะต้องทำอะไรสักอย่างแล้วถึงจะเกิดผล เพราะจริงแล้วการอยู่บนโลกนี้ เราสามารถก่อให้เกิดผลลัพของเหตุการณ์ได้ ทั้งด้วยการตัดสินใจกระทำ และ ไม่กระทำ ในสิ่งใดลงไป" หมายความว่า ต่อให้คุณไม่ได้ทำอะไรกับพวกเขาเลย ก็ไม่ได้แปลว่าโลกจะหยุดหมุน และไม่ได้แปลว่าพวกเขาจะหยุดตัดสินคุณ เพราะการไม่ทำอะไรเลย ก็เปรียบเสมือนการกระทำอย่างหนึ่งในบางกรณี ยกตัวอย่างเช่น สมมติว่าคุณเดินไปเจอสุนัขโดนรถชน กำลังจะตายอยู่ข้างถนน สิ่งที่คุณทำได้คือ

1. เลือกที่จะทำ คือพามันไปหาหมอ

หรือ

2. เลือกที่จะไม่ทำ คือเดินผ่านมันไป

ฉะนั้น การจะมาอ้างว่ายังไม่ทันจะทำอะไร แล้วโดนคนอื่นตัดสินนั้น เป็นข้ออ้างที่ใช้ไม่ได้ครับ "เพราะบนโลกนี้เราไม่สามารถเปลี่ยนใครได้ นอกจากตัวเราเอง" ฉะนั้น เมื่อโลกไม่เคยหยุดหมุน และมนุษย์ไม่เคยหยุดตัดสินผู้อื่น (เพราะการตัดสินใจเป็นเรื่องธรรมชาติ ทุกวินาทีของชีวิตตั้งอยู่บนการเลือกของแต่ละคน) คุณจึงต้องยอม "ปล่อยมันไปบ้าง" เพื่อไม่ให้ตัวเองต้องแบกรับความทุกข์มากเกินไป ...


OK ? มีอะไรสงสัยอีกมั๊ย ?? ...

ปล. ขอแท็ก สยามสแควร์ นะครับ เจ้าตัวจะได้หาเจอ
แก้ไขข้อความเมื่อ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่