ลาวแพน
ฝ่ายพวกลาวเป่าแคนแสนเสนาะ มาสอเพาะเข้ากับแคนแสนขยัน
เป็นใจความยามยากจากเวียงจันทน์ ตกมาอยู่เขตขัณฑ์อยุธยา
แอ่ว"อีแม่ คุณเอ๋ย เฮาบ่เคย จะตกยาก ตกระกำ ลำบาก แสนยาก นี้หนักหนา พลัดทั้งที่ดิน ถิ่นฐาน พลัดทั้งบ้าน เมืองมา พลัดทั้งปู่ พลัดทั้งย่า พลัดทั้งตา ทั้งยาย พลัดทั้งแม่ ลูกเมีย พลัดทั้งเสีย ลูกเต้า พลัดทั้งพงศ์ ทั้งเผ่า ทั้งลูกเต้า ก็หนีหาย บักไทย มันเฆี่ยน บักไทย มันขัง จนไหล่ จนหลัง ของข่อย นี้ลาย จะตาย เสียแล้วหนา ที่ในป่า ดงแดน
ผ้าทอ ก็บ่มีนุ่ง ผ้าถุง ก็บ่มีห่ม คาดแต่เตี่ยว เกลียวกลม หนาวลม นี่เหลือแสน ระเหินระหก ตกยาก ต้องเป็นคนกาก คนแกน มีแต่แคน คันเดียว ก็พอได้เที่ยว ขอทานเขากิน ตกมาอยู่ ในเมือง ต้องถีบกระเดื่อง กระด้อย สีซ้อม ตำต้อย ตะบิดตะบอย บ่ฮู้สิ้น ถือแต่เคียว เกี่ยวหญ้า เอาไปให้ม้า ของเพื่อนมันกิน เที่ยวซมซาน ไปทุกบ้านทุกถิ่น จะได้กิน ก็แต่เดน แสนอึด (อด) แสนจน เหมือนอย่างคน ตกนาฮก (นรก) มืดมน ฝนตก เที่ยวหยก ๆ ถกเขมร ถือข้อง ส่องคบ จับกบ ทุ่งพระเมรุ เปื้อนเลน เปื้อนตม เหม็นขม เหม็นคาว จับทั้งอ่าง ท้องขึง จับทั้งอึ่ง ท้องเขียว จับทั้งเยว ทั้งปู จับทั้งหนู ท้องขาว จับกบ ขาเหยียดๆ จับเขียด ขายาวๆ จับเอามา ให้สิ้น มาต้มกิน กับเหล้า เป็นกรรม ของเรา เพราะอ้ายเจ้า เวียงจันทน์เพื่อนเอย"
ดั้งเดิม จะถ่ายทอดความลำบาก ตกยาก เคียดแค้น ดังเนื้อเพลงที่ขึ้นไว้ตอนต้นนะครับ แต่ก็ยังแฝงด้วยความอ่อนหวาน ที่จะดับทุกข์ไว้ด้วย ลักษณะของเพลงลาวแพนเดิมที่มีดังกล่าวนั้นก็เนื่องมาจากมันเป็นเพลงของพวกเชลยลาวที่ถูกจับกวาดต้อนลงมาอยู่ในกรุงเทพฯ เมื่อคราวศึกเจ้าอนุวงศ์กษัตริย์เวียงจันทน์ในสมัยรัชกาลที่สาม พวกเชลยลาวเหล่านี้คือพวกประชาชนที่เจ้าอนุวงศ์เกณฑ์ลงมาโจมตีกรุงเทพฯ เพื่อปลดแอกเวียงจันทน์จากไทย แต่เมื่อยกมาถึงเพียงนครราชสีมาก็ถูกต้านตีจนแตกยับเยิน เชลยลาวที่ถูกจับได้ถูกกวาดต้อนลงมาในกรุงเทพฯ พวกเจ้าขุนมูลนายฝ่ายศักดินาไทยกระทำการทารุณเอาตามอำเภอใจ พวกเชลยเหล่านั้นได้รับความเดือดร้อนอย่างแสนสาหัส แต่เนื่องด้วยพวกเชลยลาวปราศจากการนำอันเข้มแข็ง ปราศจากการจัดตั้งอันมีระเบียบ การที่จะลุกฮือขึ้นต่อสู้จึงกลายเป็นเรื่องในฝัน เป็นเรื่องท้อแท้ เป็นสิ่งเป็นไปไม่ได้ ทางออกของเขาก็คือระบายความเคียดแค้น ความเร่าร้อน ความปวดร้าว และทุกข์ยากออกมาเป็นบทเพลง เพลงบทนั้นก็คือเพลงลาวแพน
ลาวเเเพน บทเพลงอันเจ็บปวดของชาวลาวในสยาม
ลาวแพน
ฝ่ายพวกลาวเป่าแคนแสนเสนาะ มาสอเพาะเข้ากับแคนแสนขยัน
เป็นใจความยามยากจากเวียงจันทน์ ตกมาอยู่เขตขัณฑ์อยุธยา
แอ่ว"อีแม่ คุณเอ๋ย เฮาบ่เคย จะตกยาก ตกระกำ ลำบาก แสนยาก นี้หนักหนา พลัดทั้งที่ดิน ถิ่นฐาน พลัดทั้งบ้าน เมืองมา พลัดทั้งปู่ พลัดทั้งย่า พลัดทั้งตา ทั้งยาย พลัดทั้งแม่ ลูกเมีย พลัดทั้งเสีย ลูกเต้า พลัดทั้งพงศ์ ทั้งเผ่า ทั้งลูกเต้า ก็หนีหาย บักไทย มันเฆี่ยน บักไทย มันขัง จนไหล่ จนหลัง ของข่อย นี้ลาย จะตาย เสียแล้วหนา ที่ในป่า ดงแดน
ผ้าทอ ก็บ่มีนุ่ง ผ้าถุง ก็บ่มีห่ม คาดแต่เตี่ยว เกลียวกลม หนาวลม นี่เหลือแสน ระเหินระหก ตกยาก ต้องเป็นคนกาก คนแกน มีแต่แคน คันเดียว ก็พอได้เที่ยว ขอทานเขากิน ตกมาอยู่ ในเมือง ต้องถีบกระเดื่อง กระด้อย สีซ้อม ตำต้อย ตะบิดตะบอย บ่ฮู้สิ้น ถือแต่เคียว เกี่ยวหญ้า เอาไปให้ม้า ของเพื่อนมันกิน เที่ยวซมซาน ไปทุกบ้านทุกถิ่น จะได้กิน ก็แต่เดน แสนอึด (อด) แสนจน เหมือนอย่างคน ตกนาฮก (นรก) มืดมน ฝนตก เที่ยวหยก ๆ ถกเขมร ถือข้อง ส่องคบ จับกบ ทุ่งพระเมรุ เปื้อนเลน เปื้อนตม เหม็นขม เหม็นคาว จับทั้งอ่าง ท้องขึง จับทั้งอึ่ง ท้องเขียว จับทั้งเยว ทั้งปู จับทั้งหนู ท้องขาว จับกบ ขาเหยียดๆ จับเขียด ขายาวๆ จับเอามา ให้สิ้น มาต้มกิน กับเหล้า เป็นกรรม ของเรา เพราะอ้ายเจ้า เวียงจันทน์เพื่อนเอย"
ดั้งเดิม จะถ่ายทอดความลำบาก ตกยาก เคียดแค้น ดังเนื้อเพลงที่ขึ้นไว้ตอนต้นนะครับ แต่ก็ยังแฝงด้วยความอ่อนหวาน ที่จะดับทุกข์ไว้ด้วย ลักษณะของเพลงลาวแพนเดิมที่มีดังกล่าวนั้นก็เนื่องมาจากมันเป็นเพลงของพวกเชลยลาวที่ถูกจับกวาดต้อนลงมาอยู่ในกรุงเทพฯ เมื่อคราวศึกเจ้าอนุวงศ์กษัตริย์เวียงจันทน์ในสมัยรัชกาลที่สาม พวกเชลยลาวเหล่านี้คือพวกประชาชนที่เจ้าอนุวงศ์เกณฑ์ลงมาโจมตีกรุงเทพฯ เพื่อปลดแอกเวียงจันทน์จากไทย แต่เมื่อยกมาถึงเพียงนครราชสีมาก็ถูกต้านตีจนแตกยับเยิน เชลยลาวที่ถูกจับได้ถูกกวาดต้อนลงมาในกรุงเทพฯ พวกเจ้าขุนมูลนายฝ่ายศักดินาไทยกระทำการทารุณเอาตามอำเภอใจ พวกเชลยเหล่านั้นได้รับความเดือดร้อนอย่างแสนสาหัส แต่เนื่องด้วยพวกเชลยลาวปราศจากการนำอันเข้มแข็ง ปราศจากการจัดตั้งอันมีระเบียบ การที่จะลุกฮือขึ้นต่อสู้จึงกลายเป็นเรื่องในฝัน เป็นเรื่องท้อแท้ เป็นสิ่งเป็นไปไม่ได้ ทางออกของเขาก็คือระบายความเคียดแค้น ความเร่าร้อน ความปวดร้าว และทุกข์ยากออกมาเป็นบทเพลง เพลงบทนั้นก็คือเพลงลาวแพน