Call For Papers
Ramkhamhaeng University, Bangkok
International Symposium on
“ASEAN + 3 communities:
Socio-Political Challenges on Identity and Difference”
16 - 17 July 2014
Amari Watergate Hotel, Bangkok
• East Asian Studies Centre (EASC), Faculty of Political Science, Ramkhamhaeng University, Bangkok.
• The symposium will be co-organized by many institutes such as Ramkamheang University, Thammasat University, Assumption University, Huachiew Chalermprakiet University, Bangkok Thailand and Yunnan University (China), along with many foreign participating institutes from Malaysia, Singapore, Korea, Indonesia, with approval and endorsement by Office of the Higher Education Commission of Thailand and East Asia Academic Cooperation Council (EACC) ASEAN University Network (AUN)
ขอเชิญส่งบทความทางวิชาการ
มหาวิทยาลัยรามคำแหง (หัวหมาก) กรุงเทพฯ
การประชุมวิชาการนานาชาติประชาคมอาเซียน + 3:
ความท้าทายทางสังคมการเมือง อัตลักษณ์ และความแตกต่าง
ในวันที่ 16 - 17 กรกฎาคม 2557
ณ โรงแรมอมารี วอเตอร์เกท, กรุงเทพฯ
จัดโดย ศูนย์ศึกษาเอเชียตะวันออก บัณฑิตศึกษา คณะรัฐศาสตร์ และศูนย์เกาหลีศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ศูนย์ศึกษาเอเชียตะวันออก บัณฑิตศึกษา คณะรัฐศาสตร์ ร่วมกับศูนย์เกาหลีศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง ขอเชิญนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ นักวิจัย นักศึกษาและบุคคลผู้สนใจทั่วไปเข้าร่วมประชุมวิชาการนานาชาติ เรื่อง “ประชาคมอาเซียน + 3: ความท้าทายทางสังคมการเมือง อัตลักษณ์ และความแตกต่าง” ประเด็นสำคัญประกอบด้วย การขับเคลื่อนในด้านการจัดการและนโยบายทางสังคมวัฒนธรรมและการเมือง ความท้าทายการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางสังคมการเมือง และปฏิกิริยาของรัฐบาลกับประชาชนของประเทศต่างๆ ในการเคลื่อนไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ซึ่งการประชุมจะจัดขึ้นในวันที่ 16 - 17 กรกฎาคม 2557
บทความที่ส่งจะได้รับการคัดเลือกโดยผ่านการพิจารณาและประเมินในด้านความคิดสร้างสรรค์ ความทันสมัย ถูกต้องตามหลักวิชาการ ทั้งนี้ผู้ส่งบทความต้องส่งต้นฉบับ ผลงานวิจัยหรือทฤษฎีที่ยังไม่เคยถูกตีพิมพ์มาก่อนและต้องมีคุณสมบัติตามเกณฑ์จึงจะได้รับการพิจารณา บทความที่ถูกคัดเลือกจะได้รับการตีพิมพ์ในวารสารประจำปี EASC 2014 ภายหลังการนำเสนอและแก้ไขปรับปรุงแล้วตามข้อเสนอแนะ
วิธีการนำเสนอ: ผู้ส่งผลงานสามารถเลือกส่งเพื่อนำเสนอแบบปากเปล่า (oral presentation) หรือ แบบโปสเตอร์ (poster presentation)
1 มกราคม 2557 เปิดรับบทความและสมัครเข้าร่วมสัมมนา
1 มิถุนายน 2557 แจ้งตอบการรับบทความกับผู้เขียน
14 มิถุนายน 2557 ปิดรับสมัครเข้าร่วมสัมมนา
16 – 17 กรกฎาคม 2557 วันจัดประชุมวิชาการ
หลักการและเหตุผล
การรวมตัวของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในนาม สมาคมประเทศอาเซียน ASEAN (Association of Southeast Asia Nation) และต่อมาได้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง เป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community) ในปี 2558 นั้น เป็นพัฒนาการของความร่วมมือในภูมิภาคนี้อย่างน่าสนใจยิ่ง การรวมตัวในลักษณะประชาคมจะทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างกันในหมู่สมาชิกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้มีความแน่นแฟ้นและใกล้ชิดมากยิ่งขึ้นในอนาคตข้างหน้า เป็นการก้าวข้ามอุปสรรคของความแตกต่างทั้งทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมการบริหารจัดการครั้งใหญ่ ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการสร้างอัตลักษณ์ใหม่ที่มีความหลากหลายแทนที่โครงสร้างเดิมในอดีตที่เน้นความเป็นหนึ่งเดียวของอัตลักษณ์ประจำชาติอันอาจนำมาซึ่งความขัดแย้งทางอัตลักษณ์และชาติพันธุ์ อย่างไรก็ตามการเน้นความหลากหลายในตัวตนอาจนำไปสู่ปัญหาใหม่ๆ การศึกษาเรื่องอัตลักษณ์และความแตกต่างจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการที่จะปรับปรุงและแก้ไขปัญหาเตรียมการรับซึ่งสถานการณ์ในอนาคตในรูปของการจัดการและการเรียกร้องซึ่งความเป็นธรรมในสังคมไทยและในกรอบอาเซียนเองในวันข้างหน้า
วิสัยทัศน์ความเป็นหนึ่งของอาเซียนคือ “หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งอัตลักษณ์ หนึ่งประชาคม” ถ้าสร้างอัตลักษณ์โดยไม่วิเคราะห์ให้รอบคอบ เพียงแค่ยึดตัวอักษรตามคำขวัญก็อาจจะเกิดปัญหาขึ้นได้ แนวคิดการสร้างชาติแบบเก่าๆที่บีบบังคับให้คนยอมรับอัตลักษณ์เดียวกันในการสร้างชาติซึ่งเป็นความคิดแบบอดีตไม่ควรจะนำมาสร้างอัตลักษณ์อาเซียน ดังนั้น อาเซียนควรจะตั้งทิศทางการอยู่ร่วมกันแบบไม่กลืนหายโดยอัตลักษณ์หนึ่งเพื่อที่จะรักษาความพิเศษของความแตกต่างในแต่ละกลุ่ม ความสำคัญของสิทธิของประชาชนในการเลือกรูปแบบการตัดสินใจในอนาคตของตน ควรมีการพูดคุยกันอย่างเปิดใจและเปิดเผยต่อสาธารณะเพื่อให้พวกเขาสามารถแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นว่าจะทำอย่างไรที่จะจัดการกับจุดหลอมและการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางการเมือง สังคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจ
การประชุมมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้นักวิชาการ นักเรียนนักศึกษา เอ็นจีโอ ผู้กำหนดนโยบาย และตัวแทนต่างๆได้เข้าใจความท้าทายนี้เหมือนๆกัน และพวกเขาสามารถเตรียมการจัดการป้องกันปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประเด็นของอัตลักษณ์และความแตกต่างคือยอมรับการตีความและเข้าใจวิธีการและระเบียบที่หลากหลาย
คำว่าอัตลักษณ์โดยตัวมันเองมีความหมายที่เข้าใจกันโดยทั่วไปที่ไม่ยากแต่ถ้าตีความกันให้ลึกๆแล้ว จากมุมมองที่แตกต่าง อัตลักษณ์สามารถจะเกิดขึ้นมาโดยไม่คำนึงถึงพื้นที่หรือเวลา ตัวอย่างเช่น ในเวลาหนึ่งกลุ่มชนสามารถจะมีอัตลักษณ์โดยมีความเชื่อหรือศาสนาที่ร่วมกันหรือชาติพันธุ์ที่เหมือนกันในช่วงใดช่วงหนึ่งของประวัติศาสตร์ แต่ในเวลาต่อมาอัตลักษณ์นี้ก็อาจสามารถที่จะหมดความสำคัญลงไปและถูกแทนที่ด้วยอัตลักษณ์ใหม่ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับอัตลักษณ์เดิม เช่น ในเรื่องของอุดมการณ์ที่ผูกสังคมเข้าไว้ด้วยกันเป็นหนึ่งเดียว อัตลักษณ์จึงสามารถตีความได้ในมุมมองของปรัชญา ความเชื่อ อุดมการณ์ความต้องการ ของสังคมที่มีลักษณะพิเศษที่เป็นเอกลักษณ์ที่สามารถจะนำพาชุมชนหรือองค์กรไปสู่ทิศทางใดทิศทางหนึ่งหรือในเรื่องของการพัฒนาประเทศไปยังเป้าหมายใดๆหรือการที่จะปกครองจัดการตัวเอง ตังอย่างเช่น ความเชื่อแบบเสรีนิยม ทุนนิยม ก็มักจะอยู่ตรงกันข้ามกับความเชื่อแบบอนุรักษ์นิยมหรือสิ่งแวดล้อมนิยมก็นำไปสู่ทิศทางในการบริหารและพัฒนาของสังคมหรือกลุ่มองค์กรที่มีความเป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างกัน
นอกจากนี้ อัตลักษณ์ยังเป็นกระบวนการที่จะทำให้เรามองคนอื่นว่ามีความแตกต่างหรือตรงข้ามกับตัวเราอย่างไร ซึ่งสิ่งนี้สร้างปัญหาให้กับสังคมการเมืองเป็นอย่างมาก ด้วยเหตุนี้แนวคิดความแตกต่างจึงจำเป็นจะต้องนำมาร่วมในการศึกษามีความเป็นการเมืองใน
กระบวนการสร้างอัตลักษณ์ ถ้าเราศึกษาความหมายของคำว่าแตกต่างในตัวมัน เช่นว่าเราจะตัดสินใจได้อย่างไรว่าสิ่งใดควรจะรวมอยู่หรือแยกออกจากลักษณะของตัวตน นี่คือความเป็นการเมืองในกระบวนการสร้างอัตลักษณ์ ตั้งแต่ต้น ยกตัวอย่างเช่น ในการที่เราจะศึกษาเรื่องของความเป็นไทยเราจึงจะเลือกว่าสิ่งซึ่งเราคิดว่าดีนั้นคือลักษณะของไทยในขณะที่สิ่งซึ่งเป็นความตรงกันข้ามของคนอื่นย่อมมีความพึงประสงค์ในตัวตนของอัตลักษณ์ไทยนั้น แต่ในขณะเดียวกันในการสร้างอัตลักษณ์เหนือชนชาติแบบอาเซียน ความเป็นอื่นซึ่งอยู่ตรงข้ามกับความเป็นไทยนั้นจะถูกยอมรับให้มีความเท่าเทียมกับความเป็นไทยได้อย่างไร นี่คือตัวอย่างซึ่งอาจจะถูกยกขึ้นมาถกเถียงได้ในการประชุมในครั้งนี้ โดยสรุป คำขวัญของอาเซียนในความเป็นหนึ่ง “หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งอัตลักษณ์ หนึ่งประชาคม” จำเป็นจะต้องมีการตรวจสอบอย่างระมัดระวัง ด้วยความหวังที่ว่าอาเซียนจะเป็นสังคมที่มีความหลากหลายและสามารถยอมรับความแตกต่างและสิทธิของทุกคนที่อยู่ร่วมกัน
การศึกษาในเรื่องอัตลักษณ์และความแตกต่างนั้นสามารถเข้าถึงได้จากหลายมุมมองด้วยทัศนะที่แตกต่างกันโดยเฉพาะในด้านวิชาการซึ่งมีการศึกษาในหลายแขนง การจัดประชุมจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องร่วมบูรณาการแนวทางในการศึกษาต่างๆมาเปรียบเทียบเพื่อเรียนรู้จากกันและกันไม่ว่าจะเป็นเรื่องของนโยบายและแผนของภาครัฐหรือการเรียกร้องเรื่องใหม่ เรื่องสิทธิในตัวตนขององค์กรเอกชนและองค์กรต่างๆโดยเฉพาะจากมุมมองทางการศึกษาของประเทศต่างๆนั้นจะได้นำมาซึ่งความหลากหลายและบทสรุปที่ประเทศไทยและสมาชิกอาเซียนสามารถเรียนรู้และศึกษาข้อสรุปจากกันและกัน
การจัดการประชุมและสัมมนาเชิงลึกขึ้นในระดับนานาชาตินี้มีจุดประสงค์ที่สำคัญในการแลกเปลี่ยนการศึกษาปัญหาและแนวทางในการจัดการกับปัญหาที่เกิดได้ดีกว่าการศึกษาในวงแคบเพียงแต่ในประเทศใดประเทศหนึ่งหรือในกรอบของ ASEAN เพียงอย่างเดียว การที่มีการดึง 3 ชาติของเอเชียตะวันออก (จีน ญี่ปุ่น เกาหลี) เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาในครั้งนี้ มุมมองที่แตกต่างจะนำมาสู่การ ตัวของวิธีการศึกษาและความเข้าใจต่อประเด็นที่สังคมต้องการทางออกมาขึ้น
ความหลากหลายนี้มีหลายด้านไม่ใช่เป็นเพียงเรื่องของความแตกต่างในเพียงเรื่องของชาติพันธุ์หรือจุดยืนทางการเมืองอย่างเดียวแต่ทั้งนี้รวมถึงเรื่องของวิธีการจัดการและประเด็นในด้านกฎหมายสาธารณะวัฒนธรรมท้องถิ่นสิ่งแวดล้อมและการอยู่ร่วมกันด้วยการเคารพไว้ซึ่งอัตลักษณ์ของอีกกลุ่มหนึ่ง การเรียนรู้แบบเปรียบเทียบเชิงสหวิทยาการจะช่วยให้เราเปิดมุมมองที่แตกต่างได้มากกว่าการศึกษาโดยใช้กรอบวิเคราะห์จากวิชาใดวิชาหนึ่ง การยอมรับความแตกต่างของจุดยืนที่แตกต่างในการศึกษาประเด็นทางสังคมในชุมชนอาเซียน + 3 จะช่วยให้เรามีเครื่องมือในการจัดการที่ดีขึ้นในการเข้าสู่การเป็นประชาคมที่แท้จริงซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานเรื่องของความอดทนในการอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างของชุมชน
หัวข้อย่อยการประชุม:
หัวข้อย่อยการประชุมควรเป็นประเด็นในด้านขบวนการความเคลื่อนไหว การจัดการและนโยบายบนสังคมวัฒนธรรมและการเมืองในชุมชนอาเซียนและอาเซียน+3 ที่มีความเกี่ยวข้องกับอัตลักษณ์และความแตกต่างโดยไม่จำกัดขอบเขตในเชิงทฤษฎีและมุมมองในการวิเคราะห์ ซึ่งอาจแตกต่างหรือนอกเหนือจากตัวอย่างหัวข้อที่เสนอแนะ
ตัวอย่างหัวข้อย่อย:
- ชุมชน / พื้นที่, ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม
- ทฤษฎีวิพากษ์และนโยบาย
- การจัดการทางวัฒนธรรม
- แนวคิดร่วมสมัยโลก
- การศึกษาและอัตลักษณ์ชุมชน
- การเมืองเรื่องเพศและการเคลื่อนไหวทางสังคม
- นโยบายต่างประเทศ
- ความขัดแย้งในโลก
- โลกาภิวัตน์
- กฎหมายระหว่างประเทศ
- การจัดการการเมืองระหว่างประเทศ
- การก่อการร้ายข้ามชาติ
- ประเด็นการพัฒนาของโลกที่สาม
- การเคลื่อนไหวทางศาสนา
- การจัดการความขัดแย้งในภูมิภาค
- นักแสดงที่ไม่ใช่รัฐ
- การศึกษาด้านความมั่นคง
- การศึกษาด้านสันติภาพโลก
- การสนทนาในด้านความหลากหลายของเชื้อชาติ ศาสนา และอื่นๆในสังคม
รายละเอียดการส่งบทความ
ส่งบทความมาได้ที่
ศูนย์ศึกษาเอเชียตะวันออก
คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
หัวหมาก, บางกะปิ,
กรุงเทพฯ 10240
ผ่านทางระบบออนไลน์ www.eascram.net หรือ 2014eascconf@gmail.com
ผู้เขียนจะต้องส่งต้นฉบับบทความ กรณีศึกษา บทวิจารณ์ และรายงานบทคัดย่อแบบเสนอโครงงานการวิจัยในขอบเขตของการประชุม บทความที่ส่งเข้ามาทุกฉบับจะถูกประเมินเพื่อพิจารณาในการประชุม บทความควรเป็นไปตามรูปแบบ ต้นฉบับทั้งหมดควรจะผ่านการพิสูจน์อักษรโดยผู้เชี่ยวชาญในด้านนั้นๆก่อนยื่นนำเสนอ
1. เวลาสำหรับการนำเสนอ: เวลานำเสนอไม่เกิน 20 นาที สำหรับการนำเสนอแต่ละครั้งจะมีเสียงเตือนแจ้งให้ผู้นำเสนอทราบในครั้งแรกหลังจากผ่านไป 10 นาทีครั้งสุดท้ายหลังจาก 19 นาที และผู้นำเสนอจะต้องสรุปให้เสร็จภายใน 1 นาทีสุดท้ายที่เหลือ
2.สถานที่นำเสนอ: ห้องประชุมจะมีแล็ปท็อปและหน้าจอสำหรับการนำเสนองาน PowerPoint ติดตั้งไว้ให้ท่านนำงานที่จะต้องนำเสนอเก็บไว้ในหน่วยความจำส่วนตัวสำหรับเตรียมนำเสนอ ซึ่งควรจะตรวจหาไวรัสก่อนการใช้งาน
3. การส่งบทความครั้งที่ 2 : ผู้เขียนสามารถส่งบทความที่ 2 (เสริม) ได้ในห้องประชุม
4. การแต่งกาย: ชุดสูทหรือชุดที่สุภาพเหมาะกับการนำเสนองาน
Call For Papers International Symposium on “ASEAN + 3 communities
Ramkhamhaeng University, Bangkok
International Symposium on
“ASEAN + 3 communities:
Socio-Political Challenges on Identity and Difference”
16 - 17 July 2014
Amari Watergate Hotel, Bangkok
• East Asian Studies Centre (EASC), Faculty of Political Science, Ramkhamhaeng University, Bangkok.
• The symposium will be co-organized by many institutes such as Ramkamheang University, Thammasat University, Assumption University, Huachiew Chalermprakiet University, Bangkok Thailand and Yunnan University (China), along with many foreign participating institutes from Malaysia, Singapore, Korea, Indonesia, with approval and endorsement by Office of the Higher Education Commission of Thailand and East Asia Academic Cooperation Council (EACC) ASEAN University Network (AUN)
ขอเชิญส่งบทความทางวิชาการ
มหาวิทยาลัยรามคำแหง (หัวหมาก) กรุงเทพฯ
การประชุมวิชาการนานาชาติประชาคมอาเซียน + 3:
ความท้าทายทางสังคมการเมือง อัตลักษณ์ และความแตกต่าง
ในวันที่ 16 - 17 กรกฎาคม 2557
ณ โรงแรมอมารี วอเตอร์เกท, กรุงเทพฯ
จัดโดย ศูนย์ศึกษาเอเชียตะวันออก บัณฑิตศึกษา คณะรัฐศาสตร์ และศูนย์เกาหลีศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ศูนย์ศึกษาเอเชียตะวันออก บัณฑิตศึกษา คณะรัฐศาสตร์ ร่วมกับศูนย์เกาหลีศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง ขอเชิญนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ นักวิจัย นักศึกษาและบุคคลผู้สนใจทั่วไปเข้าร่วมประชุมวิชาการนานาชาติ เรื่อง “ประชาคมอาเซียน + 3: ความท้าทายทางสังคมการเมือง อัตลักษณ์ และความแตกต่าง” ประเด็นสำคัญประกอบด้วย การขับเคลื่อนในด้านการจัดการและนโยบายทางสังคมวัฒนธรรมและการเมือง ความท้าทายการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางสังคมการเมือง และปฏิกิริยาของรัฐบาลกับประชาชนของประเทศต่างๆ ในการเคลื่อนไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ซึ่งการประชุมจะจัดขึ้นในวันที่ 16 - 17 กรกฎาคม 2557
บทความที่ส่งจะได้รับการคัดเลือกโดยผ่านการพิจารณาและประเมินในด้านความคิดสร้างสรรค์ ความทันสมัย ถูกต้องตามหลักวิชาการ ทั้งนี้ผู้ส่งบทความต้องส่งต้นฉบับ ผลงานวิจัยหรือทฤษฎีที่ยังไม่เคยถูกตีพิมพ์มาก่อนและต้องมีคุณสมบัติตามเกณฑ์จึงจะได้รับการพิจารณา บทความที่ถูกคัดเลือกจะได้รับการตีพิมพ์ในวารสารประจำปี EASC 2014 ภายหลังการนำเสนอและแก้ไขปรับปรุงแล้วตามข้อเสนอแนะ
วิธีการนำเสนอ: ผู้ส่งผลงานสามารถเลือกส่งเพื่อนำเสนอแบบปากเปล่า (oral presentation) หรือ แบบโปสเตอร์ (poster presentation)
1 มกราคม 2557 เปิดรับบทความและสมัครเข้าร่วมสัมมนา
1 มิถุนายน 2557 แจ้งตอบการรับบทความกับผู้เขียน
14 มิถุนายน 2557 ปิดรับสมัครเข้าร่วมสัมมนา
16 – 17 กรกฎาคม 2557 วันจัดประชุมวิชาการ
หลักการและเหตุผล
การรวมตัวของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในนาม สมาคมประเทศอาเซียน ASEAN (Association of Southeast Asia Nation) และต่อมาได้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง เป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community) ในปี 2558 นั้น เป็นพัฒนาการของความร่วมมือในภูมิภาคนี้อย่างน่าสนใจยิ่ง การรวมตัวในลักษณะประชาคมจะทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างกันในหมู่สมาชิกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้มีความแน่นแฟ้นและใกล้ชิดมากยิ่งขึ้นในอนาคตข้างหน้า เป็นการก้าวข้ามอุปสรรคของความแตกต่างทั้งทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมการบริหารจัดการครั้งใหญ่ ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการสร้างอัตลักษณ์ใหม่ที่มีความหลากหลายแทนที่โครงสร้างเดิมในอดีตที่เน้นความเป็นหนึ่งเดียวของอัตลักษณ์ประจำชาติอันอาจนำมาซึ่งความขัดแย้งทางอัตลักษณ์และชาติพันธุ์ อย่างไรก็ตามการเน้นความหลากหลายในตัวตนอาจนำไปสู่ปัญหาใหม่ๆ การศึกษาเรื่องอัตลักษณ์และความแตกต่างจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการที่จะปรับปรุงและแก้ไขปัญหาเตรียมการรับซึ่งสถานการณ์ในอนาคตในรูปของการจัดการและการเรียกร้องซึ่งความเป็นธรรมในสังคมไทยและในกรอบอาเซียนเองในวันข้างหน้า
วิสัยทัศน์ความเป็นหนึ่งของอาเซียนคือ “หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งอัตลักษณ์ หนึ่งประชาคม” ถ้าสร้างอัตลักษณ์โดยไม่วิเคราะห์ให้รอบคอบ เพียงแค่ยึดตัวอักษรตามคำขวัญก็อาจจะเกิดปัญหาขึ้นได้ แนวคิดการสร้างชาติแบบเก่าๆที่บีบบังคับให้คนยอมรับอัตลักษณ์เดียวกันในการสร้างชาติซึ่งเป็นความคิดแบบอดีตไม่ควรจะนำมาสร้างอัตลักษณ์อาเซียน ดังนั้น อาเซียนควรจะตั้งทิศทางการอยู่ร่วมกันแบบไม่กลืนหายโดยอัตลักษณ์หนึ่งเพื่อที่จะรักษาความพิเศษของความแตกต่างในแต่ละกลุ่ม ความสำคัญของสิทธิของประชาชนในการเลือกรูปแบบการตัดสินใจในอนาคตของตน ควรมีการพูดคุยกันอย่างเปิดใจและเปิดเผยต่อสาธารณะเพื่อให้พวกเขาสามารถแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นว่าจะทำอย่างไรที่จะจัดการกับจุดหลอมและการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางการเมือง สังคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจ
การประชุมมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้นักวิชาการ นักเรียนนักศึกษา เอ็นจีโอ ผู้กำหนดนโยบาย และตัวแทนต่างๆได้เข้าใจความท้าทายนี้เหมือนๆกัน และพวกเขาสามารถเตรียมการจัดการป้องกันปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประเด็นของอัตลักษณ์และความแตกต่างคือยอมรับการตีความและเข้าใจวิธีการและระเบียบที่หลากหลาย
คำว่าอัตลักษณ์โดยตัวมันเองมีความหมายที่เข้าใจกันโดยทั่วไปที่ไม่ยากแต่ถ้าตีความกันให้ลึกๆแล้ว จากมุมมองที่แตกต่าง อัตลักษณ์สามารถจะเกิดขึ้นมาโดยไม่คำนึงถึงพื้นที่หรือเวลา ตัวอย่างเช่น ในเวลาหนึ่งกลุ่มชนสามารถจะมีอัตลักษณ์โดยมีความเชื่อหรือศาสนาที่ร่วมกันหรือชาติพันธุ์ที่เหมือนกันในช่วงใดช่วงหนึ่งของประวัติศาสตร์ แต่ในเวลาต่อมาอัตลักษณ์นี้ก็อาจสามารถที่จะหมดความสำคัญลงไปและถูกแทนที่ด้วยอัตลักษณ์ใหม่ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับอัตลักษณ์เดิม เช่น ในเรื่องของอุดมการณ์ที่ผูกสังคมเข้าไว้ด้วยกันเป็นหนึ่งเดียว อัตลักษณ์จึงสามารถตีความได้ในมุมมองของปรัชญา ความเชื่อ อุดมการณ์ความต้องการ ของสังคมที่มีลักษณะพิเศษที่เป็นเอกลักษณ์ที่สามารถจะนำพาชุมชนหรือองค์กรไปสู่ทิศทางใดทิศทางหนึ่งหรือในเรื่องของการพัฒนาประเทศไปยังเป้าหมายใดๆหรือการที่จะปกครองจัดการตัวเอง ตังอย่างเช่น ความเชื่อแบบเสรีนิยม ทุนนิยม ก็มักจะอยู่ตรงกันข้ามกับความเชื่อแบบอนุรักษ์นิยมหรือสิ่งแวดล้อมนิยมก็นำไปสู่ทิศทางในการบริหารและพัฒนาของสังคมหรือกลุ่มองค์กรที่มีความเป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างกัน
นอกจากนี้ อัตลักษณ์ยังเป็นกระบวนการที่จะทำให้เรามองคนอื่นว่ามีความแตกต่างหรือตรงข้ามกับตัวเราอย่างไร ซึ่งสิ่งนี้สร้างปัญหาให้กับสังคมการเมืองเป็นอย่างมาก ด้วยเหตุนี้แนวคิดความแตกต่างจึงจำเป็นจะต้องนำมาร่วมในการศึกษามีความเป็นการเมืองใน
กระบวนการสร้างอัตลักษณ์ ถ้าเราศึกษาความหมายของคำว่าแตกต่างในตัวมัน เช่นว่าเราจะตัดสินใจได้อย่างไรว่าสิ่งใดควรจะรวมอยู่หรือแยกออกจากลักษณะของตัวตน นี่คือความเป็นการเมืองในกระบวนการสร้างอัตลักษณ์ ตั้งแต่ต้น ยกตัวอย่างเช่น ในการที่เราจะศึกษาเรื่องของความเป็นไทยเราจึงจะเลือกว่าสิ่งซึ่งเราคิดว่าดีนั้นคือลักษณะของไทยในขณะที่สิ่งซึ่งเป็นความตรงกันข้ามของคนอื่นย่อมมีความพึงประสงค์ในตัวตนของอัตลักษณ์ไทยนั้น แต่ในขณะเดียวกันในการสร้างอัตลักษณ์เหนือชนชาติแบบอาเซียน ความเป็นอื่นซึ่งอยู่ตรงข้ามกับความเป็นไทยนั้นจะถูกยอมรับให้มีความเท่าเทียมกับความเป็นไทยได้อย่างไร นี่คือตัวอย่างซึ่งอาจจะถูกยกขึ้นมาถกเถียงได้ในการประชุมในครั้งนี้ โดยสรุป คำขวัญของอาเซียนในความเป็นหนึ่ง “หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งอัตลักษณ์ หนึ่งประชาคม” จำเป็นจะต้องมีการตรวจสอบอย่างระมัดระวัง ด้วยความหวังที่ว่าอาเซียนจะเป็นสังคมที่มีความหลากหลายและสามารถยอมรับความแตกต่างและสิทธิของทุกคนที่อยู่ร่วมกัน
การศึกษาในเรื่องอัตลักษณ์และความแตกต่างนั้นสามารถเข้าถึงได้จากหลายมุมมองด้วยทัศนะที่แตกต่างกันโดยเฉพาะในด้านวิชาการซึ่งมีการศึกษาในหลายแขนง การจัดประชุมจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องร่วมบูรณาการแนวทางในการศึกษาต่างๆมาเปรียบเทียบเพื่อเรียนรู้จากกันและกันไม่ว่าจะเป็นเรื่องของนโยบายและแผนของภาครัฐหรือการเรียกร้องเรื่องใหม่ เรื่องสิทธิในตัวตนขององค์กรเอกชนและองค์กรต่างๆโดยเฉพาะจากมุมมองทางการศึกษาของประเทศต่างๆนั้นจะได้นำมาซึ่งความหลากหลายและบทสรุปที่ประเทศไทยและสมาชิกอาเซียนสามารถเรียนรู้และศึกษาข้อสรุปจากกันและกัน
การจัดการประชุมและสัมมนาเชิงลึกขึ้นในระดับนานาชาตินี้มีจุดประสงค์ที่สำคัญในการแลกเปลี่ยนการศึกษาปัญหาและแนวทางในการจัดการกับปัญหาที่เกิดได้ดีกว่าการศึกษาในวงแคบเพียงแต่ในประเทศใดประเทศหนึ่งหรือในกรอบของ ASEAN เพียงอย่างเดียว การที่มีการดึง 3 ชาติของเอเชียตะวันออก (จีน ญี่ปุ่น เกาหลี) เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาในครั้งนี้ มุมมองที่แตกต่างจะนำมาสู่การ ตัวของวิธีการศึกษาและความเข้าใจต่อประเด็นที่สังคมต้องการทางออกมาขึ้น
ความหลากหลายนี้มีหลายด้านไม่ใช่เป็นเพียงเรื่องของความแตกต่างในเพียงเรื่องของชาติพันธุ์หรือจุดยืนทางการเมืองอย่างเดียวแต่ทั้งนี้รวมถึงเรื่องของวิธีการจัดการและประเด็นในด้านกฎหมายสาธารณะวัฒนธรรมท้องถิ่นสิ่งแวดล้อมและการอยู่ร่วมกันด้วยการเคารพไว้ซึ่งอัตลักษณ์ของอีกกลุ่มหนึ่ง การเรียนรู้แบบเปรียบเทียบเชิงสหวิทยาการจะช่วยให้เราเปิดมุมมองที่แตกต่างได้มากกว่าการศึกษาโดยใช้กรอบวิเคราะห์จากวิชาใดวิชาหนึ่ง การยอมรับความแตกต่างของจุดยืนที่แตกต่างในการศึกษาประเด็นทางสังคมในชุมชนอาเซียน + 3 จะช่วยให้เรามีเครื่องมือในการจัดการที่ดีขึ้นในการเข้าสู่การเป็นประชาคมที่แท้จริงซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานเรื่องของความอดทนในการอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างของชุมชน
หัวข้อย่อยการประชุม:
หัวข้อย่อยการประชุมควรเป็นประเด็นในด้านขบวนการความเคลื่อนไหว การจัดการและนโยบายบนสังคมวัฒนธรรมและการเมืองในชุมชนอาเซียนและอาเซียน+3 ที่มีความเกี่ยวข้องกับอัตลักษณ์และความแตกต่างโดยไม่จำกัดขอบเขตในเชิงทฤษฎีและมุมมองในการวิเคราะห์ ซึ่งอาจแตกต่างหรือนอกเหนือจากตัวอย่างหัวข้อที่เสนอแนะ
ตัวอย่างหัวข้อย่อย:
- ชุมชน / พื้นที่, ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม
- ทฤษฎีวิพากษ์และนโยบาย
- การจัดการทางวัฒนธรรม
- แนวคิดร่วมสมัยโลก
- การศึกษาและอัตลักษณ์ชุมชน
- การเมืองเรื่องเพศและการเคลื่อนไหวทางสังคม
- นโยบายต่างประเทศ
- ความขัดแย้งในโลก
- โลกาภิวัตน์
- กฎหมายระหว่างประเทศ
- การจัดการการเมืองระหว่างประเทศ
- การก่อการร้ายข้ามชาติ
- ประเด็นการพัฒนาของโลกที่สาม
- การเคลื่อนไหวทางศาสนา
- การจัดการความขัดแย้งในภูมิภาค
- นักแสดงที่ไม่ใช่รัฐ
- การศึกษาด้านความมั่นคง
- การศึกษาด้านสันติภาพโลก
- การสนทนาในด้านความหลากหลายของเชื้อชาติ ศาสนา และอื่นๆในสังคม
รายละเอียดการส่งบทความ
ส่งบทความมาได้ที่
ศูนย์ศึกษาเอเชียตะวันออก
คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
หัวหมาก, บางกะปิ,
กรุงเทพฯ 10240
ผ่านทางระบบออนไลน์ www.eascram.net หรือ 2014eascconf@gmail.com
ผู้เขียนจะต้องส่งต้นฉบับบทความ กรณีศึกษา บทวิจารณ์ และรายงานบทคัดย่อแบบเสนอโครงงานการวิจัยในขอบเขตของการประชุม บทความที่ส่งเข้ามาทุกฉบับจะถูกประเมินเพื่อพิจารณาในการประชุม บทความควรเป็นไปตามรูปแบบ ต้นฉบับทั้งหมดควรจะผ่านการพิสูจน์อักษรโดยผู้เชี่ยวชาญในด้านนั้นๆก่อนยื่นนำเสนอ
1. เวลาสำหรับการนำเสนอ: เวลานำเสนอไม่เกิน 20 นาที สำหรับการนำเสนอแต่ละครั้งจะมีเสียงเตือนแจ้งให้ผู้นำเสนอทราบในครั้งแรกหลังจากผ่านไป 10 นาทีครั้งสุดท้ายหลังจาก 19 นาที และผู้นำเสนอจะต้องสรุปให้เสร็จภายใน 1 นาทีสุดท้ายที่เหลือ
2.สถานที่นำเสนอ: ห้องประชุมจะมีแล็ปท็อปและหน้าจอสำหรับการนำเสนองาน PowerPoint ติดตั้งไว้ให้ท่านนำงานที่จะต้องนำเสนอเก็บไว้ในหน่วยความจำส่วนตัวสำหรับเตรียมนำเสนอ ซึ่งควรจะตรวจหาไวรัสก่อนการใช้งาน
3. การส่งบทความครั้งที่ 2 : ผู้เขียนสามารถส่งบทความที่ 2 (เสริม) ได้ในห้องประชุม
4. การแต่งกาย: ชุดสูทหรือชุดที่สุภาพเหมาะกับการนำเสนองาน