“..การเปิดทีวีดิจิตอลนอกจากจะเป็นการเปิดโอกาสให้กับคนระดับรองได้ขึ้นมาระดับสูงแล้วยังเป็นการเปิดโอกาสให้นักศึกษาจบใหม่ได้มีงานทำและพัฒนาศักยภาพของตนเองอีกด้วย.."
กรณีการเปิดตัวของสื่อทีวีจิตอลในขณะนี้สร้างความสั่นสะเทือนให้วงการสื่อมวลชนอีกครั้ง เมื่อกลุ่มทุนใหญ่ไล่ล่าตัวผู้ประกาศข่าว นักข่าวมือดีเข้าสังกัด สื่อกระแสหลักที่ได้รับผลกระทบมากกว่าใครเพื่อน คือ ทีวีสาธารณะ“ไทยพีบีเอส”เมื่อผู้ประกาศข่าวแถวหน้าและนักข่าวระดับบรรณาธิการตัดสินใจย้ายสังกัดหลายคน
(อ่านประกอบ:ยุคสื่อทีวีดิจิตอลฝุ่นตลบ!เช็กชื่อ“คนดังหน้าจอ”ย้ายไปอยู่ช่องไหนกัน?)
http://www.isranews.org/isranews-scoop/item/28904-diji.html
30 เมษายน 2557 ที่ผ่านมา สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org สัมภาษณ์นายสมชัย สุวรรณบรรณ ผู้อำนวยการองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย หรือ ส.ส.ท.
ในประเด็นหลักการปรับตัวของไทยพีบีเอสหลังอาฟเตอร์ช็อก!
“สมชัย”บอกว่า เรื่องการโยกย้ายที่ทำงานของพนักงาน เป็นเรื่องปกติธรรมดาของกลไกลตลาด การที่สมองไหลเป็นเพราะ กระบวนการที่เร่งรัดและการต้องการกำลังคนเข้าไปทำงานเพิ่มมากขึ้น จึงไม่แปลกที่จะเกิดการย้ายค่ายกัน
“ผมมองว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องปกติ คือ จากเดิมฟรีทีวี หกช่องก็เกิดเพิ่มขึ้นมา เกิดการแย่งชิงตัวบุคลากร ช่องที่เขาเปิดใหม่เขาก็ไม่มีเวลาไปปั้นคน เพราะว่ามันไม่ทัน ปกติคนทำงานวิทยุโทรทัศน์ ทำงานตั้งหลายปีกว่าจะมีทักษะ เพราะฉะนั้นวิธีการก็คือไปดึงตัวมาจากที่ทำงานเป็นมาออกหน้าจอตรงนี้ ถ้ามองดู ในฐานะที่อยู่ในกลไกลตลาด อันนี้ถือเป็นเรื่องปกติ ในโลกทุนนิยม”
“ผมเชื่อว่าสื่อสาธารณะเราสร้างคนเราไม่ซื้อคน”
ในเรื่องของผลกระทบ “สมชัย”ยอมรับว่าไทยพีบีเอสก็มีผลกระทบเช่นกันเพราะผู้ประกาศที่ออกไปเป็นเหมือนดาราระดับแนวหน้าของช่อง ทั้ง ชัยรัตน์ ถมยา กมลวรรณ ตรีพงศ์ ตาล-ประวีณมัย บ่ายคล้อย พิมพ์นารา อรุณโน และ เบญจมาลัญช์ ทิพย์ขันทอง
แต่ทั้งนี้แล้วทางผู้อำนวยการสถานนี้ได้ชี้แจงว่า “ผมมองว่าเป็นทั้งวิกฤตและโอกาสเพราะว่าคนที่อยู่ในระดับรองก็จะได้มีโอกาสเติบโตขึ้นมาตามขั้นตอน ในขณะเดียวกันเราก็รับสมัครคนเข้ามาก็เป็นไปตามกระบวนการที่เป็นเรื่องปกติ”
“จะแก้ไขในเรื่องนี้ก็แก้ไขไม่ได้เพราะเป็นเรื่องปกติ ทางกลไกตลาด ทางอุตสาหกรรมมันเกิดการเปลี่ยนแปลง เรามีความภูมิใจที่บุคคลากรของเราเป็นกลุ่มเป้าหมายของโทรทัศน์เกิดใหม่ ก็ต้องยอมรับว่าถ้าเขามาเลือกคนของเรา ทั้งคุณภาพ ทักษะ เป็นเรื่องของความภาคภูมิใจที่เราสามารถผลิตคนได้มีคุณภาพ ออกสู่ตลาด”
สมชัยบอกอีกว่า การผลิตบุคคลการออกมาแล้วเป็นที่ยอมรับ เป็นที่นิยมของวงการอุตสาหกรรมแล้วก็ไปเติบโต เติบใหญ่ในที่อื่น ถือว่าเป็นความภาคภูมิใจขององค์กรเรา แล้วเราพร้อมที่จะพัฒนาคนขึ้นมาอีก มารองรับคนที่ตัดสินใจไป คนที่ระดับรองลงมาก็ได้มีโอกาสได้เติบโตขึ้นไป เราก็มีความคาดหวังว่า ภายในหกเดือนหรือหนึ่งปีคนที่อยู่ปัจจุบัน ตอนนี้ก็สามารถมีความเข้มแข็ง มีความคิดความสามารถเพิ่มมากขึ้น ตรงนี้แม้จะเป็นวิกฤตแต่มันก็ยังมีโอกาส
ทั้งนี้ ผู้อำนวยการส.ส.ท. ยังได้เปรียบเทียบกับ BBC ในตอนที่ทำงานอยู่ที่นั้นว่า พนักงาน BBC เป็น 200 คนทำงานอยู่ด้วยกันก็หายไป 100 คน ซึ่งในขณะนั้น ได้เปิดตัวสถานีโทรทัศน์ aljazeera พนักงานกว่าครึ่งของ BBCก็ไปทำงานที่นั้น คนที่ทำงานที่ BBC เองก็อัพตัวเองขึ้นมา เพื่อทำงานทดแทน จนตอนนี้ BBC ก็ยังสามารถอยู่ได้ และaljazira เองก็เติบโตเร็วและคุณภาพสูง ก็นับว่าเป็นประโยชน์ของประชาชน
สำหรับการแผนกลยุทธ์ของไทยพีบีเอสหลังเข้าสู่ทีวีดิจิตอลแล้วคือสัดส่วน ในปีนี้จะมีการแบ่งช่องที่ชัดเจนโดยแบ่งเป็นสัดส่วนของช่องข่าว และ ช่องเด็กเยาวชนและครอบครัว ได้แบ่งเนื้อหาของแต่ละช่องออกเป็นข่าว สาระบันเทิง และสาระประโยชน์ โดยในปีนี้ข่าวจะเพิ่มขึ้นมาจากเดิม 50 เปอร์เซ็น เป็น 60 เปอร์เซ็น คาดว่า จะพร้อมในไตรมาสที่สามของปีนี้ แต่จะยึดความเป็นทีวีสาธารณะไว้ ไม่ไปแข่งกับเอกชนจะแข่งขันเฉพาะในส่วนที่เป็นการสร้างสังคม คุณภาพ คุณธรรม ที่ตรงกับวิสัยทัศน์ของทางสถานี
“การเปิดทีวีดิจิตอลนอกจากจะเป็นการเปิดโอกาสให้กับคนระดับรองได้ขึ้นมาระดับสูงแล้วยังเป็นการเปิดโอกาสให้นักศึกษาจบใหม่ได้มีงานทำและพัฒนาศักยภาพของตนเองอีกด้วย นอกจากนี้แล้วการเข้าสู่ทีวี ดิจิตอลยังส่งผลดีต่อไทยพีบีเอส เนื่องจากถ่ายทอดของสถานีช่องอื่นๆต้องมาเช่า อุปกรณ์ของทางไทยพีบีเอสเพื่อ ออกอากาศเป็นการทำรายได้ให้กับทางสถานีอีกทางหนึ่ง”
หากมองไปแล้วว่าไทยพีบีเอสเป็นทีวีของประชาชน เป็นทีวีสาธารณะที่มีการตรวจสอบอำนาจรัฐและไทยพีบีเอสยังเป็นสถานีข่าวทีวีสาธารณะที่ทำข่าวเรื่องจำนำข้าวเยอะที่สุด คิดเป็น ร้อยละ 48 ของเวลาออกอากาศทั้งหมด ของสามช่อง ทั้งช่อง 5 และช่อง 11 (ข้อมูลอ้างอิงจาก มีเดียมอนิเตอร์) ส่วนเรื่องคดีฟ้องร้องนั้นยังคงเป็นคดีความกันในตอนนี้ ทางสถานีไทยพีบีเอสมีการตรวจสอบรัฐบาลในเรื่องที่มีผลกระทบต่อประชาชน
ผู้อำนวยการ ส.ส.ท. กล่าวทิ้งท้ายว่า “ไม่ว่าเราจะโดนฟ้องไปกี่คดี เราก็ยังคงทำเรื่องนี้ต่อไป”
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://www.isranews.org/%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%88%E0%B8%99-%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%B2/item/29086-tpbs_29086.html
ที่นี่ ไทยพีบีเอส “สมชัย สุวรรณบรรณ”:สื่อสาธารณะสร้างคน ไม่ซื้อคน
กรณีการเปิดตัวของสื่อทีวีจิตอลในขณะนี้สร้างความสั่นสะเทือนให้วงการสื่อมวลชนอีกครั้ง เมื่อกลุ่มทุนใหญ่ไล่ล่าตัวผู้ประกาศข่าว นักข่าวมือดีเข้าสังกัด สื่อกระแสหลักที่ได้รับผลกระทบมากกว่าใครเพื่อน คือ ทีวีสาธารณะ“ไทยพีบีเอส”เมื่อผู้ประกาศข่าวแถวหน้าและนักข่าวระดับบรรณาธิการตัดสินใจย้ายสังกัดหลายคน
(อ่านประกอบ:ยุคสื่อทีวีดิจิตอลฝุ่นตลบ!เช็กชื่อ“คนดังหน้าจอ”ย้ายไปอยู่ช่องไหนกัน?)
http://www.isranews.org/isranews-scoop/item/28904-diji.html
30 เมษายน 2557 ที่ผ่านมา สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org สัมภาษณ์นายสมชัย สุวรรณบรรณ ผู้อำนวยการองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย หรือ ส.ส.ท.
ในประเด็นหลักการปรับตัวของไทยพีบีเอสหลังอาฟเตอร์ช็อก!
“สมชัย”บอกว่า เรื่องการโยกย้ายที่ทำงานของพนักงาน เป็นเรื่องปกติธรรมดาของกลไกลตลาด การที่สมองไหลเป็นเพราะ กระบวนการที่เร่งรัดและการต้องการกำลังคนเข้าไปทำงานเพิ่มมากขึ้น จึงไม่แปลกที่จะเกิดการย้ายค่ายกัน
“ผมมองว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องปกติ คือ จากเดิมฟรีทีวี หกช่องก็เกิดเพิ่มขึ้นมา เกิดการแย่งชิงตัวบุคลากร ช่องที่เขาเปิดใหม่เขาก็ไม่มีเวลาไปปั้นคน เพราะว่ามันไม่ทัน ปกติคนทำงานวิทยุโทรทัศน์ ทำงานตั้งหลายปีกว่าจะมีทักษะ เพราะฉะนั้นวิธีการก็คือไปดึงตัวมาจากที่ทำงานเป็นมาออกหน้าจอตรงนี้ ถ้ามองดู ในฐานะที่อยู่ในกลไกลตลาด อันนี้ถือเป็นเรื่องปกติ ในโลกทุนนิยม”
“ผมเชื่อว่าสื่อสาธารณะเราสร้างคนเราไม่ซื้อคน”
ในเรื่องของผลกระทบ “สมชัย”ยอมรับว่าไทยพีบีเอสก็มีผลกระทบเช่นกันเพราะผู้ประกาศที่ออกไปเป็นเหมือนดาราระดับแนวหน้าของช่อง ทั้ง ชัยรัตน์ ถมยา กมลวรรณ ตรีพงศ์ ตาล-ประวีณมัย บ่ายคล้อย พิมพ์นารา อรุณโน และ เบญจมาลัญช์ ทิพย์ขันทอง
แต่ทั้งนี้แล้วทางผู้อำนวยการสถานนี้ได้ชี้แจงว่า “ผมมองว่าเป็นทั้งวิกฤตและโอกาสเพราะว่าคนที่อยู่ในระดับรองก็จะได้มีโอกาสเติบโตขึ้นมาตามขั้นตอน ในขณะเดียวกันเราก็รับสมัครคนเข้ามาก็เป็นไปตามกระบวนการที่เป็นเรื่องปกติ”
“จะแก้ไขในเรื่องนี้ก็แก้ไขไม่ได้เพราะเป็นเรื่องปกติ ทางกลไกตลาด ทางอุตสาหกรรมมันเกิดการเปลี่ยนแปลง เรามีความภูมิใจที่บุคคลากรของเราเป็นกลุ่มเป้าหมายของโทรทัศน์เกิดใหม่ ก็ต้องยอมรับว่าถ้าเขามาเลือกคนของเรา ทั้งคุณภาพ ทักษะ เป็นเรื่องของความภาคภูมิใจที่เราสามารถผลิตคนได้มีคุณภาพ ออกสู่ตลาด”
สมชัยบอกอีกว่า การผลิตบุคคลการออกมาแล้วเป็นที่ยอมรับ เป็นที่นิยมของวงการอุตสาหกรรมแล้วก็ไปเติบโต เติบใหญ่ในที่อื่น ถือว่าเป็นความภาคภูมิใจขององค์กรเรา แล้วเราพร้อมที่จะพัฒนาคนขึ้นมาอีก มารองรับคนที่ตัดสินใจไป คนที่ระดับรองลงมาก็ได้มีโอกาสได้เติบโตขึ้นไป เราก็มีความคาดหวังว่า ภายในหกเดือนหรือหนึ่งปีคนที่อยู่ปัจจุบัน ตอนนี้ก็สามารถมีความเข้มแข็ง มีความคิดความสามารถเพิ่มมากขึ้น ตรงนี้แม้จะเป็นวิกฤตแต่มันก็ยังมีโอกาส
ทั้งนี้ ผู้อำนวยการส.ส.ท. ยังได้เปรียบเทียบกับ BBC ในตอนที่ทำงานอยู่ที่นั้นว่า พนักงาน BBC เป็น 200 คนทำงานอยู่ด้วยกันก็หายไป 100 คน ซึ่งในขณะนั้น ได้เปิดตัวสถานีโทรทัศน์ aljazeera พนักงานกว่าครึ่งของ BBCก็ไปทำงานที่นั้น คนที่ทำงานที่ BBC เองก็อัพตัวเองขึ้นมา เพื่อทำงานทดแทน จนตอนนี้ BBC ก็ยังสามารถอยู่ได้ และaljazira เองก็เติบโตเร็วและคุณภาพสูง ก็นับว่าเป็นประโยชน์ของประชาชน
สำหรับการแผนกลยุทธ์ของไทยพีบีเอสหลังเข้าสู่ทีวีดิจิตอลแล้วคือสัดส่วน ในปีนี้จะมีการแบ่งช่องที่ชัดเจนโดยแบ่งเป็นสัดส่วนของช่องข่าว และ ช่องเด็กเยาวชนและครอบครัว ได้แบ่งเนื้อหาของแต่ละช่องออกเป็นข่าว สาระบันเทิง และสาระประโยชน์ โดยในปีนี้ข่าวจะเพิ่มขึ้นมาจากเดิม 50 เปอร์เซ็น เป็น 60 เปอร์เซ็น คาดว่า จะพร้อมในไตรมาสที่สามของปีนี้ แต่จะยึดความเป็นทีวีสาธารณะไว้ ไม่ไปแข่งกับเอกชนจะแข่งขันเฉพาะในส่วนที่เป็นการสร้างสังคม คุณภาพ คุณธรรม ที่ตรงกับวิสัยทัศน์ของทางสถานี
“การเปิดทีวีดิจิตอลนอกจากจะเป็นการเปิดโอกาสให้กับคนระดับรองได้ขึ้นมาระดับสูงแล้วยังเป็นการเปิดโอกาสให้นักศึกษาจบใหม่ได้มีงานทำและพัฒนาศักยภาพของตนเองอีกด้วย นอกจากนี้แล้วการเข้าสู่ทีวี ดิจิตอลยังส่งผลดีต่อไทยพีบีเอส เนื่องจากถ่ายทอดของสถานีช่องอื่นๆต้องมาเช่า อุปกรณ์ของทางไทยพีบีเอสเพื่อ ออกอากาศเป็นการทำรายได้ให้กับทางสถานีอีกทางหนึ่ง”
หากมองไปแล้วว่าไทยพีบีเอสเป็นทีวีของประชาชน เป็นทีวีสาธารณะที่มีการตรวจสอบอำนาจรัฐและไทยพีบีเอสยังเป็นสถานีข่าวทีวีสาธารณะที่ทำข่าวเรื่องจำนำข้าวเยอะที่สุด คิดเป็น ร้อยละ 48 ของเวลาออกอากาศทั้งหมด ของสามช่อง ทั้งช่อง 5 และช่อง 11 (ข้อมูลอ้างอิงจาก มีเดียมอนิเตอร์) ส่วนเรื่องคดีฟ้องร้องนั้นยังคงเป็นคดีความกันในตอนนี้ ทางสถานีไทยพีบีเอสมีการตรวจสอบรัฐบาลในเรื่องที่มีผลกระทบต่อประชาชน
ผู้อำนวยการ ส.ส.ท. กล่าวทิ้งท้ายว่า “ไม่ว่าเราจะโดนฟ้องไปกี่คดี เราก็ยังคงทำเรื่องนี้ต่อไป”
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้