วันที่ 20 มี.ค. 56 นิเทศศาสตร์ จุฬาฯ จัดงานเสวนาสาธารณะ “ตอบโจทย์ เรื่อง
‘ตอบโจทย์’ ทีวีสาธารณะและพื้นที่สาธารณะในสังคมไทย” โดยมี รศ.ดร.จุมพล
รอดคำดี ผู้อำนวยการสถานีวิทยุแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นักวิชาการอิสระ
พ.อ.ดร.นที ศุกลรัตน์ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง
กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล
รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ นายสมชัย
สุวรรณบรรณ ผอ.สถานีไทยพีบีเอส ร่วมเสวนา
ยืนยันเดินหน้า “ตอบโจทย์” ต่อไป ย้ำ! ทำแน่ตอบโจทย์ “พลังงาน"
สมชัย สุวรรณบรรณ
ไทยพีบีเอส ถือว่าเป็นสื่อสาธารณะแห่งแรกในประเทศไทย และการมีอยู่ของสื่อ
สาธารณะจะเป็นตัวชี้วัดคุณภาพของความเป็นประชาธิปไตยในประเทศนั้นๆ ส่วนกระแส
ที่ว่า ทางสถานีไทยพีบีเอานำประเด็นถกเถียงเรื่อง “สถาบันพระมหากษัตริย์” มาถก
เถียงในเวลาที่เร็วเกินไปหรือไม่นั้น นายสมชัยกล่าวว่า สังคมไทยมีความขัดแย้งและเห็น
ต่างกันทางความคิด มีการบ่อนทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยเฉพาะในลักษณะที่
ไม่เปิดเผย ใต้ดิน ซึ่งหากนำสิ่งที่โต้เถียงกันมาอยู่บนดิน ทำให้สามารถตรวจสอบได้ หัก
ล้างกันบนเวทีด้วยการใช้เหตุผล และมีความรับผิดชอบต่อสิ่งที่พูด
นายสมชัย กล่าวต่อไปว่า โดยเฉพาะในเวลานี้ มีการประชุมทางวิชาการ อีกทั้งมีนักวิชาการ
ต่างชาติมาหาข้อมูลเรื่องสถาบันกษัตริย์ในเวลาที่สั้น แล้วคิดว่ารู้ไปทั้งหมดนั้น ถ้าสังคมไทย
มีพื้นที่ในการพูดคุยประเด็นนี้ ก็จะไม่มีการนำมาใส่สีตีไข่ ฉะนั้น จะเปิดเวทีที่อื่นทำไม ทำไม
ไม่เปิดเวทีที่นี่
ส่วนประเด็นเรื่อง สถานีไม่ให้ความสำคัญกับ “โจทย์” อื่นๆ ในประเทศนั้น นายสมชัย กล่าวว่า
หลายประเด็นทางสถานีมองว่าเป็นวาระข่าวทั้งนั้น เช่น การแก้รัฐธรรมนูญ นโยบายพลังงาน
รวมไปถึง กม.อาญา ม.112 ซึ่งตนมองว่าก็น่าจะเป็นวาระข่าวเพราะน่าจะมีการผลักดันเข้าสู่สภา
ส่วนเรื่องนโยบายพลังงานได้ถูกวางไว้เป็นลำดับถัดไปจากตอนสถาบันฯ
และจากกรณีที่ ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา และทีมงานรายการตอบโจทย์ประกาศว่าจะลาออก
จะยังมีรายการตอบโจทย์อยู่หรือไม่ นายสมชัย กล่าวว่า แม้คนทำรายการจะประกาศเลิก แต่
“ตอบโจทย์” เป็นรายการของสถานี ส่วนภิญโญและทีมงานทางสถานีจ้างมาทำรายการ
ฉะนั้นยืนยันว่ารายการตอบโจทย์จะยังมีต่อไป คืนนี้จะมีรายการตอบโจทย์อยู่ และในคืนนี้ก็ทำ
รายการเพื่อเปิดพื้นที่ให้มาตรวจสอบการทำงานของไทยพีบีเอส ซึ่งความเป็นสื่อสาธารณะน่า
จะเป็นแบบนี้
ส่วนชะลอการฉาย “ตอบโจทย์ประเทศไทย” ในวันที่ 15 มี.ค.นั้น สมชัย ชี้แจงว่า เป็นการชะลอ
การฉาย ไม่ใช่การงดฉาย ทั้งนี้เป็นเพราะตนในฐานะที่เป็นผู้อำนวยการสถานีและเป็นหัวหน้า
กองบรรณาธิการ และไทยพีบีเอสก็มีอาศัยงบประมาณจากรัฐบาล จึงต้องปกป้องสถานที่ในฐานะ
สถานที่ราชการ และสร้างความปลอดภัยให้กับพนักงาน ส่วนในฐานะหัวหน้ากองบรรณาธิการก็
ต้องรักษาความเป็นอิสระทางวิชาชีพสื่อ ซึ่งตนเลือกหน้าที่ในฐานะผู้อำนวยการสถานีก่อน เพื่อ
ลดการเผชิญหน้ากับกระแสสังคม กระแสโซเซียลเน็ตเวิร์ค และกลุ่มที่มาคัดค้านการออกอากาศ
รายการดังกล่าว ซึ่งหากไม่ชะลอการออกอากาศก็อาจไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้
ส่วนในวันที่มีกลุ่มผู้ชุมนุมมาที่สถานีเพื่อคัดค้านการออกอากาศ และเสนอว่าของทางกลุ่มดูเทป
รายการก่อนว่าควรออกอากาศหรือไม่นั้น ตนมองว่าผิดหลักการทำงานของสื่อสารมวลชน จึงบอก
กับกลุ่มว่า ให้ดูไม่ได้ และอีกเหตุผลหนึ่งคือ การที่จะดูแค่เทป 5 ซึ่งเป็นเทปสุดท้าย จะทำให้ไม่
เข้าใจองค์ประกอบและเจตนาทั้งหมดของรายการ
นอกจากนั้น สมชัย ยังกล่าวถึง การดึงคำพูดของผู้ร่วมรายการแล้วนำไปโพสในโซเซียลเน็ตเวิร์ค
อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้ เพราะขาดบริบทของคำพูด ไม่มีที่มาที่ไปของคำพูด
ทั้งนี้ สมชัย ชี้แจงต่อไปว่า การออกอากาศรายการตอบโจทย์ ตอนสถาบันฯนั้น คนในไทยพีบีเอส
ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่ สมศักดิ์ เจียมธีระสกุล และสุลักษณ์ ศิวรักษ์ พูด
แต่ก็ไม่จำเป็นต้องข้างใครคนหนึ่งคนใด เพราะด้วยฐานะของความเป็นสื่อสาธารณะ จะต้องเป็นพื้นที่
กลางบนความเป็นสาธารณะ ซึ่งโดยส่วนตัวแล้ว ไม่เห็นกับ สมศักดิ์ หลายเรื่อง แต่ถ้าไม่ให้สมศักดิ์
มีพื้นที่ในสื่อสาธารณะเลยก็ไม่ใช่จริยธรรมของคนทำสื่อ
ส่วนประเด็นที่สถานีไทยพีบีเอสใช้กระแสรายการตอบโจทย์เรียกความนิยมหรือเรตติ้งของช่องนั้น
สมชัย ชี้แจงว่า ในวันที่ 15 มี.ค. คนดูวันนั้นเพิ่มขึ้นเพียงนิดเดียว สะท้อนว่าคนดูละครมากกว่าคนที่
ชอบดูตอบโจทย์หรือไม่ เพราะคนที่ดูตอบโจทย์อาจเป็นกลุ่มปัญญาชนที่มีพื้นที่ในสังคมมากแต่เป็น
กลุ่มที่ไม่ใหญ่มาก ซึ่งตลอดเวลาที่ผ่านมาตอบโจทย์เป็นรายการที่มีคนดูย้อนหลังมากเป็นอันดับหนึ่ง
แสดงให้เห็นว่ารายการนี้สร้างมีส่วนทำให้คนตามดูย้อนหลัง ซึ่งตนเข้าใจว่ากลุ่มคนการดูย้อนหลังนั้น
เป็นคนที่การตั้งใจดูและคิดตามไปกับรายการ ซึ่งต่างจากการออกอากาศปกติที่บางคนอาจไม่ได้ติด
ตามต่อเนื่องแค่เปลี่ยนช่องทีวีไปเจอ
ทั้งนี้ สมชัย ปฏิเสธที่จะให้ความเห็น ต่อคำสัมภาษณ์ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ.
ถึงกระแสตอบโจทย์
ไม่ใช่คุยไม่ได้ แต่จะคุยอย่างไร กับข้อสังเกต กระบวนการชะลอ ‘ตอบโจทย์’ “ชอบกล”ทางกฎหมาย
ปริญญา เทวานฤมิตรกุล
สังคมยังต้องการ พื้นที่สาธารณะบนความเห็นที่แตกต่างเพื่อทำให้เกิดการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่าง
สันติ และจากกรณีกระแสรายการตอบโจทย์ไม่ใช่เป็นประเด็นแค่ของสถานีไทยพีบีเอส แต่เป็น
ประเด็นร่วมของสาธารณะ
ปริญญา ตั้งข้อสังเกตที่นายสมชัยชะลอการออกอากาศเพราะมีผู้ชุมนุมมากดดันและกังวลว่าจะเป็น
อันตรายต่อทรัพย์สินของทางสถานีและสวัสดิภาพของพนักงาน ทั้งที่ จำนวนผู้ชุมนุมในวันนั้นมีไม่
มากนัก คือ มีประมาณ 20 – 30 คน แต่ ไม่เกิน 50 คน อีกทั้งทางสถานีก็น่าจะมีหน่วยรักษาความ
ปลอดภัยอยู่แล้วนั้น
นายสมชัย ชี้แจงว่า ถ้าคนไม่อยู่ตรงนั้นก็พูดง่าย แต่การที่ ปริญญา บอกว่ามีคนแค่นั้น มันไม่ใช่
เพราะมีการปั่นกระแสรายการในโซเซียลเน็ตเวิร์คด้วย
ปริญญา ตั้งข้อสังเกตต่อไปในเรื่อง กระบวนการในการพิจารณาชะลอการออกอากาศว่า ก่อนการ
ออกอากาศ เทปรายการตอบโจทย์ ตอนสถาบันฯ ทุกตอน คณะกรรมการนโยบายของไทยพีบีเอส
ที่มีสมชัย นั่งเป็นประธานโดยตำแหน่ง ได้ดูเทปทั้งหมดและอนุมัติให้ออกอากาศได้ แต่ทั้งหมดก็จบลง
เมื่อนำมา ออกอากาศวันที่ 18 มี.ค.ที่ผ่านมา เนื่องจากมีประชาชนร้องเรียนว่าขัดกับ ม.46 ใน พ.ร.บ.
องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2551 ว่าด้วยหลักปฏิบัติตามหลัก
จริยธรรม ซึ่งนายสมชัยได้ขอความเห็นคณะกรรมการนโยบายของสถานีพิจารณาว่าควรออกอากาศต่อ
ไปได้หรือไม่
ซึ่งการที่คณะกรรมการนโยบายเป็นผู้ที่ตัดสินในตอนแรกว่าเทปรายการตอบโจทย์สามารถออกอากาศได้
และเมื่อมีผู้ร้องเรียนก็เป็นคณะกรรมการนโยบายเป็นผู้พิจารณาอีกรอบหนึ่งนั้นในทางกฎหมายมองว่า
เป็นเรื่อง "ชอบกลทางกฎหมาย" ซึ่งนายสมชัย ชี้แจงว่า ครึ่งหนึ่งของคณะกรรมการนโยบายเป็นตัวแทน
จากบุคคลากรภายนอกซึ่งมาจากสมาคมวิชาชีพต่างๆ ทำให้เกิดความหลากหลายในการพิจารณามากขึ้น
ส่วนประเด็นเรื่อง “เนื้อหา” ของรายการ อ.ปริญญา กล่าวว่า ไม่ใช่เรื่องว่าจะพูดถึงสถาบันฯ หรือไม่
แต่เป็นประเด็นเรื่องว่าจะพูดถึงอย่างไร เพราะประเด็นเรื่องสถาบันฯ ค่อนข้างละเอียดอ่อน และเราอยู
ในระบอบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ซึ่งการวิพากษ์วิจารณ์ต้องใช้เหตุผล ที่อยู่บน
พื้นฐานการใช้สิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญซึ่งมีขอบเขต อ.ปริญญา กล่าวว่า สิทธิเสรีภาพย่อมมา
พร้อมกับการทำหน้าที่และความรับผิดชอบต่อการกระทำหรือคำพูดด้วย เสรีภาพในการพูดจึงต้องไม่
ใช่ในการหมิ่นปะมาทคนอื่น ไม่ล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
และไม่ทำให้สังคมเสื่อมศีลธรรมและจริยธรรม ซึ่งกระแสการวิพากษ์วิจารณ์หรือการพูดในโซเซียล
เน็ตเวิร์คเป็นการพูดโดยไม่รับผิดชอบ เพราะไม่เห็นหน้าตาหรือชื่อที่แท้จริง อีกทั้งสิ่งที่ขาดหายไป
นอกจากนั้น สิ่งที่ขาดคือมีการเรียนในโรงรียนเรื่องระบอบประชาธิปไตยอันมีสถาบันเป็นประมุข ไม่มี
การสอนถึงหลักการของระบอบนี้ ซึ่งหลักการคือ the king can do no wrong สถาบันฯ อยู่เหนือ
ความขัดแย้งทางการเมือง ฉะนั้นอย่าดึงสถาบันฯ และอย่าใช้ กม.อาญา ม.112 ไปเพื่อการนี้
ซึ่ง ม.112 ในส่วนตัวความผิดไม่มีปัญหา เพราะประเทศต่างๆ ที่มีสถาบันฯ เป็นเรื่องปกติที่จะมีกฎหมาย
หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ แต่ อ.ปริญญา มองว่า ปัญหา คือ โทษมีความรุนแรงไป ซึ่งในระบอบ
สมบูรณาญาสิทธิราชย์ กำหนดโทษให้จำคุกไม่เกิน 3 ปี ต่อมาหลังเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 มีการเพิ่ม
โทษเป็นต่ำสุด 3 ปีสูงสุด 15 ปี และมีการใช้กฎหมายดังกล่าวอย่างไม่ระมัดระวัง ท้ายที่สุด ถ้าใช้
ม.112 อย่างพร่ำเพรื่ออย่างไม่เป็นธรรม แทนที่เป็นการปกป้องกลับส่งผลในทางกันข้าม
ประเด็นเรื่อง “สถาบันฯ” ซึ่งเป็นประเด็นที่มีความเห็นที่แตกต่างชัดเจน ต้องถ่วงดุลข้อมูลจากทั้งสอง
ฝ่ายให้ดี ฉะนั้นจึงไม่ใช่พูดไม่ได้ แต่จะพูดอย่างไร ซึ่งนี่เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน ควรมีพื้นที่สาธารณะ
ในการเห็นต่าง ซึ่งเทปตอบโจทย์ตอนสถาบันฯ ตนเห็นด้วยว่าจะต้องดูให้ครบทั้ง 5 เทป และเห็นด้วย
กับการเปิดพื้นที่ให้คิดกันได้ สนับสนุนให้ไทยพีบีเอาเปิดพื้นที่ในความขัดแย้งและเปิดพื้นที่ความเป็น
สื่อสาธารณะให้สังคม
ท้ายที่สุด ประขาชนต้องอดทนและใจกว้างระบอบประชาธิปไตยคือการอยู่ร่วมกันของคนที่คิดต่างได้
ความแตกต่างเป็นสิ่งธรรมดาของระบอบประชาธิปไตย ต้องเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันท่ามกลางความขัดแย้ง
ความแตกต่าง ส่วนผู้ที่เห็นต่างกับการที่ไทยพีบีเอสเอาตอนที่ 5 มาออกต้องใจกว้าง เหตุการณ์นื้ถือ
ได้ว่าเป็นบทเรียนกับทุกฝ่าย ที่ต้องใจกว้างต่อความเห็นต่าง
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1363783138&grpid=01&catid=&subcatid=
ยังต้อง "ตอบโจทย์" กันต่อไป ว่ามัน เคลียร์ ทุกประเด็นไหม...เมื่อวานวงการสื่อ ..ตอบกันไปแล้ว วันนี้ เป็นวงการวิชาการด้านสื่อ
แล้วยังต้องมีวงการ ศาล...อีกด้วย เพราะ ตำรวจให้รับแจ้งความได้แล้ว ..อีกเรื่อง ...คุณภิญโญ...ดังมาก เพราะขึ้นปก มติชน
...เนชั่นสุดสัปดาห์แต่ก็ชอบ ..นะคะ เพราะชื่นชมในฝีมือ ...ของคุณภิญโญ...อยู่แล้ว ...แม้จะประกาศ ถอนตัวจาก TPBS ไปแล้ว
...แต่จะกลับมาอีกแน่นอน..เชื่อมั่น ...จะเป็นช่องไหน เท่านั้น ช่อง 3 ชอบมากกับการ ใช้วิธีเอาคนดังมา ... ต่อยอด และที่อยากได้มากๆ
น่าจะเป็น Voice TV ขึ้นกับว่า คุณภิญโญ ...จะเลือกไปช่องไหน ......
"สมชัย - ปริญญา" เสวนา ตอบโจทย์ เรื่อง ′ตอบโจทย์′ - ทีวีสาธารณะกับพื้นที่สาธารณะในสังคมไทย ..... มติชนออนไลน์
‘ตอบโจทย์’ ทีวีสาธารณะและพื้นที่สาธารณะในสังคมไทย” โดยมี รศ.ดร.จุมพล
รอดคำดี ผู้อำนวยการสถานีวิทยุแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นักวิชาการอิสระ
พ.อ.ดร.นที ศุกลรัตน์ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง
กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล
รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ นายสมชัย
สุวรรณบรรณ ผอ.สถานีไทยพีบีเอส ร่วมเสวนา
ยืนยันเดินหน้า “ตอบโจทย์” ต่อไป ย้ำ! ทำแน่ตอบโจทย์ “พลังงาน"
สมชัย สุวรรณบรรณ
ไทยพีบีเอส ถือว่าเป็นสื่อสาธารณะแห่งแรกในประเทศไทย และการมีอยู่ของสื่อ
สาธารณะจะเป็นตัวชี้วัดคุณภาพของความเป็นประชาธิปไตยในประเทศนั้นๆ ส่วนกระแส
ที่ว่า ทางสถานีไทยพีบีเอานำประเด็นถกเถียงเรื่อง “สถาบันพระมหากษัตริย์” มาถก
เถียงในเวลาที่เร็วเกินไปหรือไม่นั้น นายสมชัยกล่าวว่า สังคมไทยมีความขัดแย้งและเห็น
ต่างกันทางความคิด มีการบ่อนทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยเฉพาะในลักษณะที่
ไม่เปิดเผย ใต้ดิน ซึ่งหากนำสิ่งที่โต้เถียงกันมาอยู่บนดิน ทำให้สามารถตรวจสอบได้ หัก
ล้างกันบนเวทีด้วยการใช้เหตุผล และมีความรับผิดชอบต่อสิ่งที่พูด
นายสมชัย กล่าวต่อไปว่า โดยเฉพาะในเวลานี้ มีการประชุมทางวิชาการ อีกทั้งมีนักวิชาการ
ต่างชาติมาหาข้อมูลเรื่องสถาบันกษัตริย์ในเวลาที่สั้น แล้วคิดว่ารู้ไปทั้งหมดนั้น ถ้าสังคมไทย
มีพื้นที่ในการพูดคุยประเด็นนี้ ก็จะไม่มีการนำมาใส่สีตีไข่ ฉะนั้น จะเปิดเวทีที่อื่นทำไม ทำไม
ไม่เปิดเวทีที่นี่
ส่วนประเด็นเรื่อง สถานีไม่ให้ความสำคัญกับ “โจทย์” อื่นๆ ในประเทศนั้น นายสมชัย กล่าวว่า
หลายประเด็นทางสถานีมองว่าเป็นวาระข่าวทั้งนั้น เช่น การแก้รัฐธรรมนูญ นโยบายพลังงาน
รวมไปถึง กม.อาญา ม.112 ซึ่งตนมองว่าก็น่าจะเป็นวาระข่าวเพราะน่าจะมีการผลักดันเข้าสู่สภา
ส่วนเรื่องนโยบายพลังงานได้ถูกวางไว้เป็นลำดับถัดไปจากตอนสถาบันฯ
และจากกรณีที่ ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา และทีมงานรายการตอบโจทย์ประกาศว่าจะลาออก
จะยังมีรายการตอบโจทย์อยู่หรือไม่ นายสมชัย กล่าวว่า แม้คนทำรายการจะประกาศเลิก แต่
“ตอบโจทย์” เป็นรายการของสถานี ส่วนภิญโญและทีมงานทางสถานีจ้างมาทำรายการ
ฉะนั้นยืนยันว่ารายการตอบโจทย์จะยังมีต่อไป คืนนี้จะมีรายการตอบโจทย์อยู่ และในคืนนี้ก็ทำ
รายการเพื่อเปิดพื้นที่ให้มาตรวจสอบการทำงานของไทยพีบีเอส ซึ่งความเป็นสื่อสาธารณะน่า
จะเป็นแบบนี้
ส่วนชะลอการฉาย “ตอบโจทย์ประเทศไทย” ในวันที่ 15 มี.ค.นั้น สมชัย ชี้แจงว่า เป็นการชะลอ
การฉาย ไม่ใช่การงดฉาย ทั้งนี้เป็นเพราะตนในฐานะที่เป็นผู้อำนวยการสถานีและเป็นหัวหน้า
กองบรรณาธิการ และไทยพีบีเอสก็มีอาศัยงบประมาณจากรัฐบาล จึงต้องปกป้องสถานที่ในฐานะ
สถานที่ราชการ และสร้างความปลอดภัยให้กับพนักงาน ส่วนในฐานะหัวหน้ากองบรรณาธิการก็
ต้องรักษาความเป็นอิสระทางวิชาชีพสื่อ ซึ่งตนเลือกหน้าที่ในฐานะผู้อำนวยการสถานีก่อน เพื่อ
ลดการเผชิญหน้ากับกระแสสังคม กระแสโซเซียลเน็ตเวิร์ค และกลุ่มที่มาคัดค้านการออกอากาศ
รายการดังกล่าว ซึ่งหากไม่ชะลอการออกอากาศก็อาจไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้
ส่วนในวันที่มีกลุ่มผู้ชุมนุมมาที่สถานีเพื่อคัดค้านการออกอากาศ และเสนอว่าของทางกลุ่มดูเทป
รายการก่อนว่าควรออกอากาศหรือไม่นั้น ตนมองว่าผิดหลักการทำงานของสื่อสารมวลชน จึงบอก
กับกลุ่มว่า ให้ดูไม่ได้ และอีกเหตุผลหนึ่งคือ การที่จะดูแค่เทป 5 ซึ่งเป็นเทปสุดท้าย จะทำให้ไม่
เข้าใจองค์ประกอบและเจตนาทั้งหมดของรายการ
นอกจากนั้น สมชัย ยังกล่าวถึง การดึงคำพูดของผู้ร่วมรายการแล้วนำไปโพสในโซเซียลเน็ตเวิร์ค
อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้ เพราะขาดบริบทของคำพูด ไม่มีที่มาที่ไปของคำพูด
ทั้งนี้ สมชัย ชี้แจงต่อไปว่า การออกอากาศรายการตอบโจทย์ ตอนสถาบันฯนั้น คนในไทยพีบีเอส
ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่ สมศักดิ์ เจียมธีระสกุล และสุลักษณ์ ศิวรักษ์ พูด
แต่ก็ไม่จำเป็นต้องข้างใครคนหนึ่งคนใด เพราะด้วยฐานะของความเป็นสื่อสาธารณะ จะต้องเป็นพื้นที่
กลางบนความเป็นสาธารณะ ซึ่งโดยส่วนตัวแล้ว ไม่เห็นกับ สมศักดิ์ หลายเรื่อง แต่ถ้าไม่ให้สมศักดิ์
มีพื้นที่ในสื่อสาธารณะเลยก็ไม่ใช่จริยธรรมของคนทำสื่อ
ส่วนประเด็นที่สถานีไทยพีบีเอสใช้กระแสรายการตอบโจทย์เรียกความนิยมหรือเรตติ้งของช่องนั้น
สมชัย ชี้แจงว่า ในวันที่ 15 มี.ค. คนดูวันนั้นเพิ่มขึ้นเพียงนิดเดียว สะท้อนว่าคนดูละครมากกว่าคนที่
ชอบดูตอบโจทย์หรือไม่ เพราะคนที่ดูตอบโจทย์อาจเป็นกลุ่มปัญญาชนที่มีพื้นที่ในสังคมมากแต่เป็น
กลุ่มที่ไม่ใหญ่มาก ซึ่งตลอดเวลาที่ผ่านมาตอบโจทย์เป็นรายการที่มีคนดูย้อนหลังมากเป็นอันดับหนึ่ง
แสดงให้เห็นว่ารายการนี้สร้างมีส่วนทำให้คนตามดูย้อนหลัง ซึ่งตนเข้าใจว่ากลุ่มคนการดูย้อนหลังนั้น
เป็นคนที่การตั้งใจดูและคิดตามไปกับรายการ ซึ่งต่างจากการออกอากาศปกติที่บางคนอาจไม่ได้ติด
ตามต่อเนื่องแค่เปลี่ยนช่องทีวีไปเจอ
ทั้งนี้ สมชัย ปฏิเสธที่จะให้ความเห็น ต่อคำสัมภาษณ์ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ.
ถึงกระแสตอบโจทย์
ไม่ใช่คุยไม่ได้ แต่จะคุยอย่างไร กับข้อสังเกต กระบวนการชะลอ ‘ตอบโจทย์’ “ชอบกล”ทางกฎหมาย
ปริญญา เทวานฤมิตรกุล
สังคมยังต้องการ พื้นที่สาธารณะบนความเห็นที่แตกต่างเพื่อทำให้เกิดการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่าง
สันติ และจากกรณีกระแสรายการตอบโจทย์ไม่ใช่เป็นประเด็นแค่ของสถานีไทยพีบีเอส แต่เป็น
ประเด็นร่วมของสาธารณะ
ปริญญา ตั้งข้อสังเกตที่นายสมชัยชะลอการออกอากาศเพราะมีผู้ชุมนุมมากดดันและกังวลว่าจะเป็น
อันตรายต่อทรัพย์สินของทางสถานีและสวัสดิภาพของพนักงาน ทั้งที่ จำนวนผู้ชุมนุมในวันนั้นมีไม่
มากนัก คือ มีประมาณ 20 – 30 คน แต่ ไม่เกิน 50 คน อีกทั้งทางสถานีก็น่าจะมีหน่วยรักษาความ
ปลอดภัยอยู่แล้วนั้น
นายสมชัย ชี้แจงว่า ถ้าคนไม่อยู่ตรงนั้นก็พูดง่าย แต่การที่ ปริญญา บอกว่ามีคนแค่นั้น มันไม่ใช่
เพราะมีการปั่นกระแสรายการในโซเซียลเน็ตเวิร์คด้วย
ปริญญา ตั้งข้อสังเกตต่อไปในเรื่อง กระบวนการในการพิจารณาชะลอการออกอากาศว่า ก่อนการ
ออกอากาศ เทปรายการตอบโจทย์ ตอนสถาบันฯ ทุกตอน คณะกรรมการนโยบายของไทยพีบีเอส
ที่มีสมชัย นั่งเป็นประธานโดยตำแหน่ง ได้ดูเทปทั้งหมดและอนุมัติให้ออกอากาศได้ แต่ทั้งหมดก็จบลง
เมื่อนำมา ออกอากาศวันที่ 18 มี.ค.ที่ผ่านมา เนื่องจากมีประชาชนร้องเรียนว่าขัดกับ ม.46 ใน พ.ร.บ.
องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2551 ว่าด้วยหลักปฏิบัติตามหลัก
จริยธรรม ซึ่งนายสมชัยได้ขอความเห็นคณะกรรมการนโยบายของสถานีพิจารณาว่าควรออกอากาศต่อ
ไปได้หรือไม่
ซึ่งการที่คณะกรรมการนโยบายเป็นผู้ที่ตัดสินในตอนแรกว่าเทปรายการตอบโจทย์สามารถออกอากาศได้
และเมื่อมีผู้ร้องเรียนก็เป็นคณะกรรมการนโยบายเป็นผู้พิจารณาอีกรอบหนึ่งนั้นในทางกฎหมายมองว่า
เป็นเรื่อง "ชอบกลทางกฎหมาย" ซึ่งนายสมชัย ชี้แจงว่า ครึ่งหนึ่งของคณะกรรมการนโยบายเป็นตัวแทน
จากบุคคลากรภายนอกซึ่งมาจากสมาคมวิชาชีพต่างๆ ทำให้เกิดความหลากหลายในการพิจารณามากขึ้น
ส่วนประเด็นเรื่อง “เนื้อหา” ของรายการ อ.ปริญญา กล่าวว่า ไม่ใช่เรื่องว่าจะพูดถึงสถาบันฯ หรือไม่
แต่เป็นประเด็นเรื่องว่าจะพูดถึงอย่างไร เพราะประเด็นเรื่องสถาบันฯ ค่อนข้างละเอียดอ่อน และเราอยู
ในระบอบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ซึ่งการวิพากษ์วิจารณ์ต้องใช้เหตุผล ที่อยู่บน
พื้นฐานการใช้สิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญซึ่งมีขอบเขต อ.ปริญญา กล่าวว่า สิทธิเสรีภาพย่อมมา
พร้อมกับการทำหน้าที่และความรับผิดชอบต่อการกระทำหรือคำพูดด้วย เสรีภาพในการพูดจึงต้องไม่
ใช่ในการหมิ่นปะมาทคนอื่น ไม่ล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
และไม่ทำให้สังคมเสื่อมศีลธรรมและจริยธรรม ซึ่งกระแสการวิพากษ์วิจารณ์หรือการพูดในโซเซียล
เน็ตเวิร์คเป็นการพูดโดยไม่รับผิดชอบ เพราะไม่เห็นหน้าตาหรือชื่อที่แท้จริง อีกทั้งสิ่งที่ขาดหายไป
นอกจากนั้น สิ่งที่ขาดคือมีการเรียนในโรงรียนเรื่องระบอบประชาธิปไตยอันมีสถาบันเป็นประมุข ไม่มี
การสอนถึงหลักการของระบอบนี้ ซึ่งหลักการคือ the king can do no wrong สถาบันฯ อยู่เหนือ
ความขัดแย้งทางการเมือง ฉะนั้นอย่าดึงสถาบันฯ และอย่าใช้ กม.อาญา ม.112 ไปเพื่อการนี้
ซึ่ง ม.112 ในส่วนตัวความผิดไม่มีปัญหา เพราะประเทศต่างๆ ที่มีสถาบันฯ เป็นเรื่องปกติที่จะมีกฎหมาย
หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ แต่ อ.ปริญญา มองว่า ปัญหา คือ โทษมีความรุนแรงไป ซึ่งในระบอบ
สมบูรณาญาสิทธิราชย์ กำหนดโทษให้จำคุกไม่เกิน 3 ปี ต่อมาหลังเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 มีการเพิ่ม
โทษเป็นต่ำสุด 3 ปีสูงสุด 15 ปี และมีการใช้กฎหมายดังกล่าวอย่างไม่ระมัดระวัง ท้ายที่สุด ถ้าใช้
ม.112 อย่างพร่ำเพรื่ออย่างไม่เป็นธรรม แทนที่เป็นการปกป้องกลับส่งผลในทางกันข้าม
ประเด็นเรื่อง “สถาบันฯ” ซึ่งเป็นประเด็นที่มีความเห็นที่แตกต่างชัดเจน ต้องถ่วงดุลข้อมูลจากทั้งสอง
ฝ่ายให้ดี ฉะนั้นจึงไม่ใช่พูดไม่ได้ แต่จะพูดอย่างไร ซึ่งนี่เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน ควรมีพื้นที่สาธารณะ
ในการเห็นต่าง ซึ่งเทปตอบโจทย์ตอนสถาบันฯ ตนเห็นด้วยว่าจะต้องดูให้ครบทั้ง 5 เทป และเห็นด้วย
กับการเปิดพื้นที่ให้คิดกันได้ สนับสนุนให้ไทยพีบีเอาเปิดพื้นที่ในความขัดแย้งและเปิดพื้นที่ความเป็น
สื่อสาธารณะให้สังคม
ท้ายที่สุด ประขาชนต้องอดทนและใจกว้างระบอบประชาธิปไตยคือการอยู่ร่วมกันของคนที่คิดต่างได้
ความแตกต่างเป็นสิ่งธรรมดาของระบอบประชาธิปไตย ต้องเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันท่ามกลางความขัดแย้ง
ความแตกต่าง ส่วนผู้ที่เห็นต่างกับการที่ไทยพีบีเอสเอาตอนที่ 5 มาออกต้องใจกว้าง เหตุการณ์นื้ถือ
ได้ว่าเป็นบทเรียนกับทุกฝ่าย ที่ต้องใจกว้างต่อความเห็นต่าง
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1363783138&grpid=01&catid=&subcatid=
ยังต้อง "ตอบโจทย์" กันต่อไป ว่ามัน เคลียร์ ทุกประเด็นไหม...เมื่อวานวงการสื่อ ..ตอบกันไปแล้ว วันนี้ เป็นวงการวิชาการด้านสื่อ
แล้วยังต้องมีวงการ ศาล...อีกด้วย เพราะ ตำรวจให้รับแจ้งความได้แล้ว ..อีกเรื่อง ...คุณภิญโญ...ดังมาก เพราะขึ้นปก มติชน
...เนชั่นสุดสัปดาห์แต่ก็ชอบ ..นะคะ เพราะชื่นชมในฝีมือ ...ของคุณภิญโญ...อยู่แล้ว ...แม้จะประกาศ ถอนตัวจาก TPBS ไปแล้ว
...แต่จะกลับมาอีกแน่นอน..เชื่อมั่น ...จะเป็นช่องไหน เท่านั้น ช่อง 3 ชอบมากกับการ ใช้วิธีเอาคนดังมา ... ต่อยอด และที่อยากได้มากๆ
น่าจะเป็น Voice TV ขึ้นกับว่า คุณภิญโญ ...จะเลือกไปช่องไหน ......