การบอกเลิกสัญญาจ้าง "สมชัย สุวรรณบรรณ" ผู้อำนวยการ องค์กรกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) หรือไทยพีบีเอส เมื่อวันที่ 9 ต.ค.2558 ตามมติ ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบาย ส.ส.ท. มีผลให้คณะกรรมการบริหาร ไทยพีบีเอส ทั้งคณะต้องพ้นจากตำแหน่งไปพร้อมกัน
ขณะที่อุตสาหกรรมโทรทัศน์ในประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านสู่ "ทีวีดิจิทัล" ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ที่ผ่านมา "ไทยพีบีเอส" มีบทบาทสำคัญในฐานะผู้ได้รับใบอนุญาตโครงข่ายส่งสัญญาณทีวีดิจิทัล (Mux) และสถานีทีวีที่ประกาศแผนยุติอนาล็อกเป็นสถานีแรก เริ่ม ธ.ค.2558 ถึงปี 2561 ที่จะยุติทั้งหมดทั่วประเทศ
ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงคณะผู้บริหารไทยพีบีเอส จึงถูกจับตาถึงแผนการขยายโครงข่ายและการยุติระบบอนาล็อก หลังจากนี้
กันตชัย ศรีสุคนธ์ ผู้อำนวยการสำนักวิศวกรรม องค์การกระจายเสียงและ แพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) หรือไทยพีบีเอส กล่าวว่าปัจจุบันไทยพีบีเอส ดำเนินการขยายโครงข่าย ส่งสัญญาณทีวีดิจิทัลตามแผนและ กรอบเวลาที่ กสทช.กำหนด โดยการขยายโครงข่ายปีที่1 และ2 ช่วง มิ.ย.2556-มิ.ย.2558 ดำเนินการขยายโครงข่ายสถานีหลัก ซึ่งเป็นของไทยพีบีเอส 35 สถานี จากทั้งหมด 39 สถานี ครอบคลุมพื้นที่ส่งสัญญาณ 80% ทั่วประเทศตามเงื่อนไข กสทช.
หลังจากขยายโครงข่ายสถานีหลักเรียบร้อยแล้ว การดำเนินการปีที่ 3และ4 เป็นการขยายโครงข่ายสถานีเสริมรวม 132 สถานี แบ่งออกเป็น 3 เฟส คือ เฟสที่1 (A1) 45 สถานี เฟสที่ 2(A2) 38 สถานี และเฟสที่3 (A3) 49 สถานี
ปัจจุบันอยู่ในช่วงการขยายโครงข่าย ปีที่ 3 ช่วง มิ.ย.2558-มิ.ย.2559 สถานีเสริมรวม 45 สถานี โดยได้กำหนดผู้ให้บริการโครงข่ายที่รับผิดชอบการลงทุนขยายสถานีเสริมเรียบร้อยแล้ว โดยส่วนส่งลงทุนอุปกรณ์เสาส่งสัญญาณในพื้นที่ สถานีส่งเดิมของผู้ให้บริการโครงข่ายทั้ง 4 ราย คือ ไทยพีบีเอส ททบ.5 อสมท กรมประชาสัมพันธ์ (กปส.)การขยายโครงข่ายสถานีเสริมเฟสแรกอยู่ในพื้นที่ บมจ.ทีโอที และ กสท โทรคมนาคม (CAT) ผู้ให้บริการสิ่งอำนวยความสะดวกไม่มาก
ทั้งนี้ แผนการขยายโครงข่ายในสถานีเสริมพื้นที่ของ ทีโอที และ แคท ในปีนี้มีการปรับแผนใหม่ จากเดิมทั้ง 2 หน่วยงาน จะทำหน้าที่เป็นผู้ลงทุนเสา ส่งสัญญาณในกิจการบรอดแคสติ้ง ในพื้นที่ สถานีส่งสัญญาณโทรคมนาคม แต่เนื่องจากทั้ง 2 หน่วยงานมองว่ากิจการบรอดแคสติ้งไม่ใช่ธุรกิจหลัก จึงไม่ต้องการลงทุนเสา ส่งสัญญาณเพิ่มเติม ดังนั้น กสทช.จึงเข้า มาร่วมหารือแนวทางการขยายโครงข่าย ทีวีดิจิทัลร่วมกับทีโอทีและแคท
โดยได้ข้อสรุปว่าทั้งทีโอที และแคท จะให้ผู้ประกอบการโครงข่ายทั้ง 4 ราย เช่าพื้นที่ในสถานีส่งสัญญาณโทรคมนาคมปัจจุบัน โดยโครงข่ายเป็นผู้ลงทุนก่อสร้างเสาส่งสัญญาณในพื้นที่ดังกล่าวเอง หลังจากได้ข้อสรุปดังกล่าวผู้ประกอบการโครงข่ายทั้ง 4 ราย ได้หารือร่วมกันเพื่อแบ่งพื้นที่ลงทุนเสาส่งสัญญาณสถานีเสริม ในพื้นที่สถานีส่งสัญญาณของทีโอทีและแคท
การขยายโครงข่ายปีที่ 3 ในปีนี้ พื้นที่สถานีเสริมเฟสแรก ไทยพีบีเอสรับผิดชอบ สถานีเสริม 9 สถานี จากทั้งหมด 45 สถานี ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินงานซึ่งยังเป็นไปตามแผนและกรอบเวลาที่ กสทช.กำหนด ภายในเดือนมิ.ย.2559 ที่จะครอบคลุมพื้นที่ส่งสัญญาณทีวีดิจิทัล 90%
ส่วนการขยายโครงข่ายปีที่4 ระหว่างเดือน มิ.ย.2559-มิ.ย.2560 อยู่ในกลุ่มสถานีเสริม เฟสที่ 2 ไทยพีบีเอส รับผิดชอบ 9 สถานีจากทั้งหมด 38 สถานี และสถานีเสริมเฟสที่ 3 รวม 49 สถานี ยังไม่กำหนดโครงข่ายที่รับผิดชอบการขยายสถานี ส่งสัญญาณ แต่เป็นสถานีที่ไทยพีบีเอส ต้องรับผิดชอบอีกไม่มาก เชื่อว่าจะเป็น ตามแผนครอบคลุมการส่งสัญญาณ ทีวีดิจิทัลทั่วประเทศ 95% ตามที่ กสทช. กำหนด
"แผนขยายโครงข่ายทีวีดิจิทัล ในกลุ่มสถานีเสริม ไทยพีบีเอสรับผิดชอบลงทุนอีกไม่มาก โดยจะกระจายให้โครงข่ายอื่นๆ ลงทุนเป็นหลัก"
สำหรับแผนการยุติส่งสัญญาณทีวีอนาล็อกของไทยพีบีเอส พื้นที่แรกเกาะสมุย สุราษฎร์ธานี และไชยปราการ เชียงใหม่ ในเดือนธ.ค.นี้ ยังเป็นไปตามแผนที่เสนอกับ กสทช. ขณะนี้สำนักงาน กสทช.กำลังอยู่ระหว่างการลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์ครัวเรือนในพื้นที่ดังกล่าว เพื่อเตรียมความพร้อมตามแผนที่วางไว้
จากการสำรวจของไทยพีบีเอส ในพื้นที่เกาะสมุยและไชยปราการ พื้นที่แรก ที่จะยุติระบบอนาล็อก ส่วนใหญ่รับชมทีวีผ่านระบบจานดาวเทียม เชื่อว่าการยุติอนาล็อกครัวเรือนในพื้นที่จะไม่ได้รับ ผลกระทบ ขณะที่แผนการยุติทีวีอนาล็อกไทยพีบีเอส ยังเดินตามแผนเดิมที่เสนอกับ กสทช.
'การยุติทีวีอนาล็อก ยังเป็นไปตามแผนเดิมที่เสนอ กสทช.
ขอขอบคุณแหล่งข่าว
หนังสือพมิพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2558 (หน้า 32, 28)
ไทยพีบีเอสยันเดินตามแผนขยายโครงข่าย - ยุติอนาล็อก
การบอกเลิกสัญญาจ้าง "สมชัย สุวรรณบรรณ" ผู้อำนวยการ องค์กรกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) หรือไทยพีบีเอส เมื่อวันที่ 9 ต.ค.2558 ตามมติ ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบาย ส.ส.ท. มีผลให้คณะกรรมการบริหาร ไทยพีบีเอส ทั้งคณะต้องพ้นจากตำแหน่งไปพร้อมกัน
ขณะที่อุตสาหกรรมโทรทัศน์ในประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านสู่ "ทีวีดิจิทัล" ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ที่ผ่านมา "ไทยพีบีเอส" มีบทบาทสำคัญในฐานะผู้ได้รับใบอนุญาตโครงข่ายส่งสัญญาณทีวีดิจิทัล (Mux) และสถานีทีวีที่ประกาศแผนยุติอนาล็อกเป็นสถานีแรก เริ่ม ธ.ค.2558 ถึงปี 2561 ที่จะยุติทั้งหมดทั่วประเทศ
ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงคณะผู้บริหารไทยพีบีเอส จึงถูกจับตาถึงแผนการขยายโครงข่ายและการยุติระบบอนาล็อก หลังจากนี้
กันตชัย ศรีสุคนธ์ ผู้อำนวยการสำนักวิศวกรรม องค์การกระจายเสียงและ แพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) หรือไทยพีบีเอส กล่าวว่าปัจจุบันไทยพีบีเอส ดำเนินการขยายโครงข่าย ส่งสัญญาณทีวีดิจิทัลตามแผนและ กรอบเวลาที่ กสทช.กำหนด โดยการขยายโครงข่ายปีที่1 และ2 ช่วง มิ.ย.2556-มิ.ย.2558 ดำเนินการขยายโครงข่ายสถานีหลัก ซึ่งเป็นของไทยพีบีเอส 35 สถานี จากทั้งหมด 39 สถานี ครอบคลุมพื้นที่ส่งสัญญาณ 80% ทั่วประเทศตามเงื่อนไข กสทช.
หลังจากขยายโครงข่ายสถานีหลักเรียบร้อยแล้ว การดำเนินการปีที่ 3และ4 เป็นการขยายโครงข่ายสถานีเสริมรวม 132 สถานี แบ่งออกเป็น 3 เฟส คือ เฟสที่1 (A1) 45 สถานี เฟสที่ 2(A2) 38 สถานี และเฟสที่3 (A3) 49 สถานี
ปัจจุบันอยู่ในช่วงการขยายโครงข่าย ปีที่ 3 ช่วง มิ.ย.2558-มิ.ย.2559 สถานีเสริมรวม 45 สถานี โดยได้กำหนดผู้ให้บริการโครงข่ายที่รับผิดชอบการลงทุนขยายสถานีเสริมเรียบร้อยแล้ว โดยส่วนส่งลงทุนอุปกรณ์เสาส่งสัญญาณในพื้นที่ สถานีส่งเดิมของผู้ให้บริการโครงข่ายทั้ง 4 ราย คือ ไทยพีบีเอส ททบ.5 อสมท กรมประชาสัมพันธ์ (กปส.)การขยายโครงข่ายสถานีเสริมเฟสแรกอยู่ในพื้นที่ บมจ.ทีโอที และ กสท โทรคมนาคม (CAT) ผู้ให้บริการสิ่งอำนวยความสะดวกไม่มาก
ทั้งนี้ แผนการขยายโครงข่ายในสถานีเสริมพื้นที่ของ ทีโอที และ แคท ในปีนี้มีการปรับแผนใหม่ จากเดิมทั้ง 2 หน่วยงาน จะทำหน้าที่เป็นผู้ลงทุนเสา ส่งสัญญาณในกิจการบรอดแคสติ้ง ในพื้นที่ สถานีส่งสัญญาณโทรคมนาคม แต่เนื่องจากทั้ง 2 หน่วยงานมองว่ากิจการบรอดแคสติ้งไม่ใช่ธุรกิจหลัก จึงไม่ต้องการลงทุนเสา ส่งสัญญาณเพิ่มเติม ดังนั้น กสทช.จึงเข้า มาร่วมหารือแนวทางการขยายโครงข่าย ทีวีดิจิทัลร่วมกับทีโอทีและแคท
โดยได้ข้อสรุปว่าทั้งทีโอที และแคท จะให้ผู้ประกอบการโครงข่ายทั้ง 4 ราย เช่าพื้นที่ในสถานีส่งสัญญาณโทรคมนาคมปัจจุบัน โดยโครงข่ายเป็นผู้ลงทุนก่อสร้างเสาส่งสัญญาณในพื้นที่ดังกล่าวเอง หลังจากได้ข้อสรุปดังกล่าวผู้ประกอบการโครงข่ายทั้ง 4 ราย ได้หารือร่วมกันเพื่อแบ่งพื้นที่ลงทุนเสาส่งสัญญาณสถานีเสริม ในพื้นที่สถานีส่งสัญญาณของทีโอทีและแคท
การขยายโครงข่ายปีที่ 3 ในปีนี้ พื้นที่สถานีเสริมเฟสแรก ไทยพีบีเอสรับผิดชอบ สถานีเสริม 9 สถานี จากทั้งหมด 45 สถานี ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินงานซึ่งยังเป็นไปตามแผนและกรอบเวลาที่ กสทช.กำหนด ภายในเดือนมิ.ย.2559 ที่จะครอบคลุมพื้นที่ส่งสัญญาณทีวีดิจิทัล 90%
ส่วนการขยายโครงข่ายปีที่4 ระหว่างเดือน มิ.ย.2559-มิ.ย.2560 อยู่ในกลุ่มสถานีเสริม เฟสที่ 2 ไทยพีบีเอส รับผิดชอบ 9 สถานีจากทั้งหมด 38 สถานี และสถานีเสริมเฟสที่ 3 รวม 49 สถานี ยังไม่กำหนดโครงข่ายที่รับผิดชอบการขยายสถานี ส่งสัญญาณ แต่เป็นสถานีที่ไทยพีบีเอส ต้องรับผิดชอบอีกไม่มาก เชื่อว่าจะเป็น ตามแผนครอบคลุมการส่งสัญญาณ ทีวีดิจิทัลทั่วประเทศ 95% ตามที่ กสทช. กำหนด
"แผนขยายโครงข่ายทีวีดิจิทัล ในกลุ่มสถานีเสริม ไทยพีบีเอสรับผิดชอบลงทุนอีกไม่มาก โดยจะกระจายให้โครงข่ายอื่นๆ ลงทุนเป็นหลัก"
สำหรับแผนการยุติส่งสัญญาณทีวีอนาล็อกของไทยพีบีเอส พื้นที่แรกเกาะสมุย สุราษฎร์ธานี และไชยปราการ เชียงใหม่ ในเดือนธ.ค.นี้ ยังเป็นไปตามแผนที่เสนอกับ กสทช. ขณะนี้สำนักงาน กสทช.กำลังอยู่ระหว่างการลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์ครัวเรือนในพื้นที่ดังกล่าว เพื่อเตรียมความพร้อมตามแผนที่วางไว้
จากการสำรวจของไทยพีบีเอส ในพื้นที่เกาะสมุยและไชยปราการ พื้นที่แรก ที่จะยุติระบบอนาล็อก ส่วนใหญ่รับชมทีวีผ่านระบบจานดาวเทียม เชื่อว่าการยุติอนาล็อกครัวเรือนในพื้นที่จะไม่ได้รับ ผลกระทบ ขณะที่แผนการยุติทีวีอนาล็อกไทยพีบีเอส ยังเดินตามแผนเดิมที่เสนอกับ กสทช.
'การยุติทีวีอนาล็อก ยังเป็นไปตามแผนเดิมที่เสนอ กสทช.
ขอขอบคุณแหล่งข่าว
หนังสือพมิพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2558 (หน้า 32, 28)