พล.ต.ต.อดุลย์ ณรงค์ศักดิ์ รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล(รองผบช.น.) เปิดเผยถึงกรณีที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ(สตช.)ได้มีการขอจัดตั้งแผนกคดีจราจรภายในศาลยุติธรรม ว่า ภายหลังจากที่การส่งเรื่องไปยังศาลยุติธรรมแล้ว ศาลได้มีวินิจฉัยออกมาว่าไม่สามารถจัดตั้งได้ เนื่องจากการจัดตั้งศาลยุติธรรมมีขึ้นมาเพื่ออำนวยความยุติธรรมในการคุ้มครองสิทธิของประชาชน ประชาชนสามารถเข้าถึงสิทธิความยุติธรรมได้โดยง่ายและสะดวก แต่การขอให้จัดตั้งศาลจราจรนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดวินัยของประชาชน ซึ่งศาลเห็นว่าวัตถุประสงค์นั้นสวนทางกับการปฏิบัติหน้าที่ของศาล ประกอบกับผู้พิพากษามีจำนวนน้อย และยังมีอีกหลายคดีที่ยังค้างคาหากมีการนำคดีจราจรเข้าไปจะเป็นการเพิ่มภาระให้แก่ศาลดังนั้นเพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระศาลจึงได้มอบข้อเสนอแนะสำหรับวิธีการแก้ไขปัญหาคดีความจราจรให้นำเอาข้อกฎหมายที่มีอยู่มายังคับใช้ให้ เข้มงวด เช่นการนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่ไปประยุกต์ใช้โดยการถ่ายภาพผู้กระทำผิดกฎจราจร การควบคุมและออกใบสั่งด้วยระบบคอมพิวเตอร์การงดรับชำระภาษีประจำปีสำหรับผู้ที่ไม่มาชำระเงินค่าปรับ หรือพักใช้และเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ ซึ่งวิธีการดังกล่าวจะสามารถลดพฤติกรรมการกระทำผิดกฎจราจรได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่นกัน อย่างไรก็ตามบชน.จะพยายามผลักดันให้มีการจัดตั้งแผนกคดีจราจรขึ้น โดยจะจัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมาศึกษาแนวทาง โดยจะให้เป็นหน่วยงานหนึ่งในส่วนของกองบังคับการเท่านั้น ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการออกแบบว่าทำออกมาในรูปแบบใด โดยในเบื้องต้นอาจจะให้พนักงานสอบสวนเป็นผู้บังคับใช้กฎหมายเพราะพนักงานสอบสวนมีอำนาจหน้าที่อยู่แล้ว พร้อมกันนี้ยังได้มอบหมายให้สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.)ศึกษาหาแนวทางรายละเอียดเพื่อให้เกิดความชัดเจน และมีผลที่ดีที่สุดสำหรับการดำเนินการโดยจะต้องทำให้มีรูปแบบสามารถอ้างอิงและน่าเชื่อถือโดยจะยึดตามแบบของประทศอินเดียมาประกอบ เพราะที่ประเทศอินเดียได้จัดให้คดีจราจรทุกคดีขึ้นอยู่ภายใต้การควบคุมของศาล
พล.ต.ต.อดุลย์ กล่าวต่อว่า สำหรับข้อดีหากมีการจัดตั้งศาลจราจรนั้นจะช่วยให้ตำรวจบังคับใช้กฎหมายกับประชาชน และกฎระเบียบจะมีความชัดเจนได้มากขึ้นเพราะปัจจุบันเจ้าหน้าที่ไม่สามารถเรียกจับ-ปรับได้อย่างเต็มที่ เช่นกรณีที่ถูกจับและเจ้าหน้าที่ออกใบสั่งเมื่อมีแผนกคดีจราจรแล้ว หากผู้ที่ถูกจับไม่ยอมไปดำเนินการเสียค่าปรับตามกำหนด7วัน จะมีหมายจับออกมาให้ไปดำเนินการจ่ายค่าปรับในราคาสูงสุด หรือหากไม่ทำจะต้องมีโทษจำคุก6เดือน นอกจากนี้ยังจะช่วยลดขั้นตอนในการทำงานของเจ้าหน้าที่ในกรณีที่ยื่นเอกสารไปยังกรมการขนส่งทางบกเพื่อทำการอายัดการต่อทะเบียนด้วย
เดลินิวส์
ยังไม่สามารถตั้งศาลจราจรได้ เหตุศาลมีคดีเยอะผู้พิพากษาน้อย
พล.ต.ต.อดุลย์ กล่าวต่อว่า สำหรับข้อดีหากมีการจัดตั้งศาลจราจรนั้นจะช่วยให้ตำรวจบังคับใช้กฎหมายกับประชาชน และกฎระเบียบจะมีความชัดเจนได้มากขึ้นเพราะปัจจุบันเจ้าหน้าที่ไม่สามารถเรียกจับ-ปรับได้อย่างเต็มที่ เช่นกรณีที่ถูกจับและเจ้าหน้าที่ออกใบสั่งเมื่อมีแผนกคดีจราจรแล้ว หากผู้ที่ถูกจับไม่ยอมไปดำเนินการเสียค่าปรับตามกำหนด7วัน จะมีหมายจับออกมาให้ไปดำเนินการจ่ายค่าปรับในราคาสูงสุด หรือหากไม่ทำจะต้องมีโทษจำคุก6เดือน นอกจากนี้ยังจะช่วยลดขั้นตอนในการทำงานของเจ้าหน้าที่ในกรณีที่ยื่นเอกสารไปยังกรมการขนส่งทางบกเพื่อทำการอายัดการต่อทะเบียนด้วย
เดลินิวส์